บุหรี่ในภาพยนตร์ :ความคิดเห็นจากเด็ก (1)


สำหรับเรื่องที่เด็กบางคนจำภาพบุหรี่ในได้มีรายชื่อภาพยนตร์ ได้แก่ 2499 อันธพาลครองเมือง Resident evil, 7ประจัญบาน, X-Men, เฮี้ยน,ช็อคโกแลต, POP-EYES,โหน่งเท่ง นักเลงภูเขาทอง สาเหตุที่จำได้จำได้เพราะเท่ห์ เป็นมุขขำขัน.............แล้วคุณจำเรื่องอะไรได้บ้าง?เอ่ย?

 

บันทึกการสัมภาษณ์กลุ่มย่อย : กลุ่มเยาวชนอายุ12-15 ปี

โครงการวิจัยและพัฒนาเกณฑ์การปรากฏตัวภาพบุหรี่ในสื่อภาพยนตร์

ตามระดับความเหมาะสมของภาพยนตร์

ครั้งที่ ๑/๒๕๕๒  วันพุธที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒ห้องประชุม ๑ ชั้น ๑๕ เวลา ๙.๓๐ – ๑๑.๓๐ น.

คณะผู้เข้าร่วมกิจกรรม     :        อาจารย์อิทธิพล ปรีติประสงค์ หัวหน้าโครงการ ฯ

:        คุณ สุรวดี รักดี ผู้ดำเนินการสัมภาษณ์

:        คุณอารยา ชินวรโกมล

:        คุณสาวิตรี อริยชัยเดช

:        คุณสถาพร จิรัตนานนท์

..........................................................................................................................................................

รายชื่อเข้าร่วมกิจกรรม                            


๑.     ดข. ปฏิพล ศรใสย์   (แบงค์)

๒.     ด.ญ. นฤมล  ขนาทะราชา (ขวัญ)

๓.     ด.ญ. กรศิริ  อุ่มเจริญ (เดียร์)

๔.     ด.ญ.ศิราดา มณีรจนา (มิ้นท์)

๕.     ด.ช. ธนากร ผลใหญ่ (แบงค์)

๖.     ด.ช. กันตพงศ์ ปานะทุม ( น๊อต)

๗.     ด.ช. คณิน ศรีประจักษ์ (เอริ์ท)

๘.     น.ส. รวิยา ปิติเสาวภาคย์ (วิ)

๙.     น.ส.ปรียาวรรณ จันทร์ประเสริฐ (เพื่อน)

๑๐.                        น.ส. วรรณวิภา  สุรัสวดี ( น้ำ)

๑๑.                        ด.ช. ทศพล จันทร์เพ็ญ (มินทร์)


 

กระบวนการทำกิจกรรมสัมภาษณ์กลุ่มย่อย

ขั้นตอนการชมภาพยนตร์

คัดเลือกเยาวชนแบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม อายุ ได้แก่ กลุ่มที่หนึ่งมีอายุระหว่าง ๑๑ - ๑๒ ปี  จำนวน ๖ คน ให้ชมภาพยนตร์ที่ทีมวิจัยคัดเลือกไว้ให้ คือ เรื่อง “โหมโรง” และ กลุ่มที่สองมีอายุระหว่าง ๑๓ -๑๕ ปี  จำนวน ๕ คน โดยกลุ่มที่สองนี้จะได้ชมภาพยนตร์เรื่อง “ชัตเตอร์” ก่อนที่จะนัดหมายมาแสดงความคิดเห็นต่อการสูบบุหรี่ในภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว

 

 

ขั้นตอนการสัมภาษณ์

          นำเยาวชนทั้งสองกลุ่มมาทำความรู้จักกันกับทีมงานวิจัยและแลกเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับเรื่องภาพยนตร์ที่ได้ชมมาเพื่อเป็นสร้างความคุ้นเคย ในการสัมภาษณ์ดังกล่าวนี้จึงเลือกใช้ชื่อเล่นในการพูดคุยกันเป็นหลัก  โดยได้เตรียมชุดคำถามในการไว้ดังนี้

ชุด คำถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์

·       ภูมิหลังของเด็กเรื่องการสูบบุหรี่ ภูมิหลังด้านครอบครัวเกี่ยวกับการสูบบุหรี่  

-          เคยทดลองสูบ หรือ  มีเพื่อนสูบหรือไม่ มีสมาชิกใครครอบครัวสูบบุหรี่อยู่ หรือ สูบมาก่อนหรือไม่

-          ทัศนคติต่อการสูบ หรือ เพื่อนที่สูบ

-          ความเข้าใจเหตุผลต่อการสูบหรี่

-          กรณีรู้สึกไม่ชอบมีวิธีการจัดการอย่างไร

-          มีความสนใจที่จะทดลองสูบบุหรี่หรือไม่

·       คำถามเกี่ยวกับภาพยนตร์

-          เคยชมภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวมาก่อนหรือไม่ รู้สึกอย่างไร

·       ทัศนคติเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ในภาพยนตร์

๑.     หลังจากชมภาพยนตร์จบ สังเกตว่ามีการสูบบุหรี่ในเรื่องดังกล่าวหรือไม่

๒.     ให้เล่ารายละเอียดฉากที่มีการใช้บุหรี่

๓.     รู้สึกอย่างไรกับการสูบบุหรี่ในฉากนั้นๆ

๔.     ความเข้าใจเหตุผลต่อการสูบหรี่และความรู้เกี่ยวกับสูบบุหรี่

๕.     เมื่อชมภาพยนตร์จบแล้ว คิดว่าการปรากฏตัวในภาพยนตร์เรืองดังกล่าวสามารถยอมรับได้หรือไม่? อย่างไร?

๖.     เมื่อชมภาพยนตร์จบแล้วมีความรู้สึกอยากทดลองสูบบุหรี่ บ้างหรือไม่ อย่างไร?

·       นอกจากภาพยนตร์เรื่องที่ให้รับชมแล้ว มีภาพยนตร์เรื่องใดทีมีบุหรี่แล้วเราจำได้บ้าง? เพราะอะไร?

·       หากมีการกำหนดเรื่องบุหรี่เป็นเงื่อนไขหนึ่งของการจัดระดับความเหมาะสม  ยอมรับให้มีบุหรี่ได้ในเงื่อนไขใดบ้าง ? เพราะอะไร?

ผลสรุปการสัมภาษณ์

·       ภูมิหลังของเด็กเรื่องการสูบบุหรี่

เคยทดลองสูบ หรือ  มีเพื่อนสูบหรือไม่ มีสมาชิกใครครอบครัวสูบบุหรี่อยู่ หรือ สูบมาก่อนหรือไม่

ในกลุ่มสัมภาษณ์มีคนสูบบุหรี่ หรือ ทดลองสูบบุหรี่มาก่อน แต่จากเยาวชนที่เข้าร่วมทั้ง ๑๑ คน มีเพียง ๒ คนเท่านั้นที่ทางบ้านไม่มีคนสูบบุหรี่ คือ น้องวิและน้องเพื่อน นอกนั้นจะมีสมาชิกอย่างน้อยหนึ่งในครอบครัวสูบบุหรี่ โดยส่วนใหญ่จะเป็น ญาติ ฝ่ายชาย คือ พ่อ คุณตา คุณน้าคุณอา และอาศัยอยู่บ้านเดียวกัน

·       ทัศนคติต่อการสูบของคนในครอบครัว หรือ เพื่อนที่สูบ

มีสองทัศนคติในเรื่องนี้ คือ กลุ่ม เฉยๆ เพราะรู้ว่าธรรมดาในชีวิตจริงใครก็สูบกัน และกลุ่มไม่ชอบการสูบบุหรี่อยู่แล้ว  เมื่อเป็นคนครอบครัวสูบก็ไม่ชอบ เพราะเหม็น แสบตาควัน ไม่อยากให้เพื่อน หรือ พ่อ สูบ

·       ความเข้าใจเหตุผลต่อการสูบหรี่

เข้าใจว่าการสูบหรี่เป็นเรื่องส่วนตัวของแต่ละคน    โดยเฉพาะผู้ใหญ่ แต่ถ้าเป็นเด็กรุ่นเดียวกันคงไม่ชอบ

·       กรณีรู้สึกไม่ชอบมีวิธีการจัดการอย่างไร

โดยส่วนมากมีคำตอบที่คล้ายกันคือเดินหนีออกจากบริเวณที่มีคนสูบบุหรี่ 

·       มีความสนใจที่จะทดลองสูบบุหรี่หรือไม่

ไม่เคย เพราะไม่ชอบ และในบางคนบอกว่ายังไม่เคย แต่ โตกว่านี้ไม่แน่ใจถ้าเพื่อนชวนคงลองได้

 

 (ยังไปจบโปรดติดตามตอนต่อไป)

·       

หมายเลขบันทึก: 262330เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2009 18:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 01:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ

* แวะมาดูกิจกรรมงายวิจัย   

* เป็นกำลังใจให้ค่ะ

* สุขกายสุขใจนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท