ประชุมหารือเพื่อพัฒนาโครงการ“วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อหารูปแบบและวิธีการในการสนับสนุนกองทุนสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นตามนโยบายของรัฐบาล”


ติดตามพี่ภีม ลงพื้นที่ประชุมพัฒนาโครงการฯ 2 จังหวัด คือ ลำปาง และลำพูน เพื่อสรรหาพื้นที่ที่จะเข้าร่วมโครงการหารูปแบบและวิธีการในการสนับสนุนกองทุนสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นตามนโยบายของรัฐบาล (รัฐบาลนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้เห็นชอบในหลักการ โดยมีแนวคิดที่จะหมุนเงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุเข้าสู่ระบบสวัสดิการชุมชนท้องถิ่น และได้มอบหมายให้นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรีไปศึกษาว่าในปีงบประมาณ 2553 จะทำได้อย่างไร? )

 

วัตถุประสงค์ของโครงการฯ

            ศึกษารูปแบบและวิธีการในการสนับสนุนกองทุนสวัสดิการชุมชนตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี

1.ศึกษารูปแบบและวิธีการจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นตามแนวทางความร่วมมือ1ต่อ1ต่อ1  มีประเด็น เช่น

-งบประมาณสมทบกองทุนสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นของรัฐบาลควรตั้งไว้ที่ไหน?และดำเนินการอย่างไร? รวมทั้งขนาดและการขยายเพิ่มในแต่ละปี

-งบประมาณและบทบาทของอบต./เทศบาลในการร่วมสมทบกับกองทุนสวัสดิการชุมชนท้องถิ่น

2.ความพอเพียงของระบบสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นที่จะรองรับบำนาญผู้สูงอายุโดยพิจารณาเชื่อมโยงกับระบบเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ มีประเด็น เช่น

            -สวัสดิการเกิด แก่ เจ็บ ตายที่สอดคล้องกับเงินกองทุน

-การจัดการเงินกองทุนสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นเพื่อให้เกิดความพอเพียง

-การบริหารจัดการเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพของท้องถิ่นที่จะเชื่อมโยงกับกองทุนสวัสดิการชุมชนท้องถิ่น

นั้น  ได้หารือกับทีมเครือข่าย ออมบุญวันละหนึ่งบาทเพื่อสวัสดิการชุมชนบ้านดอนไชย สร้างทุนทางสังคมยั่งยืน จังหวัดลำปาง วันที่ 12 พฤษภาคม 2552  ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลล้อมแรด อ.เถิน จ.ลำปาง มีผู้เข้าร่วมประมาณ 30 คน ค่ะ  

 

ออมบุญวันละหนึ่งบาทเพื่อสวัสดิการชุมชนบ้านดอนไชย

กลุ่มออมบุญวันละหนึ่งชุมชนบ้านดอนไชย เปิดกองทุนเพื่อการชราภาพ ที่เป็นการออมเงินไว้ใช้ในอนาคต และเป็นเงินออมไว้ใช้ในยามจำเป็น ของการดำรงชีวิต และมีการทำงานที่มีความสอดคล้องกับกองทุนสวัสดิการชุมชน โดยสมาชิกที่จะเปิดบัญชีกองทุนเพื่อการชราภาพได้ ต้องเป็นสมาชิกของกองทุนสวัสดิการชุมชนก่อน เพื่อจะได้ไม่มีความเสี่ยงที่อันจะเกิดจากการกู้ของสมาชิก เมื่อสมาชิกคนไหนที่กู้ยืมเงินและได้ถึงแก่ชีวิต  จึงทำให้กองทุนสวัสดิการยังสามารถที่จะเข้ามาช่วยเหลือในด้านการเงินได้เป็นบางส่วน ยังเป็นการค้ำประกันความเสี่ยงได้ในระดับหนึ่ง

วัตถุประสงค์ ที่ทางกลุ่มองค์กร "ออมบุญวันละหนึ่งบาทเพื่อสวัสดิการชุมชนบ้านดอนไชย" ไม่ได้เปิดทำแต่เรื่องสวัสดิการอย่างเดียว แต่มีการออมอีก รูปแบบหนึ่ง เพื่อที่จะได้มีการระดมเงินออมที่มาจากสมาชิก โดยไม่ต้องพึ่งเงินจากแหล่งอื่นเลย แต่จะเป็นการระดมเงินที่มีอยู่ในชุมชนเท่านั้น โดยมีการสะสมเงินออมที่ไม่มีใครสามารถเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ในกองทุนนี้ได้ เพราะการออมเงินในแต่ละเดือนทางกลุ่มจะเป็นผู้กำหนด วงเงินที่สูงสุด เพียง 200 บาทต่อเดือนเท่านั้น จึงทำให้สมาชิกคนไหนที่มีเงินมากก็ไม่สามารถที่จะนำเงินออมมากกว่านี้ได้

สมาชิกเริ่มต้นเพียง 62 คน เงินออม 6,700 บาท ปัจจุบันมีกลุ่มที่อยู่ในเครือข่ายจำนวน 8 กลุ่ม สมาชิก 6,947 คน จำนวนเงินกองทุนประมาณ 17 ล้านบาท (ข้อมูล ธันวาคม 2551)

สรุปพื้นที่ที่เข้าร่วมงานในโครงการเร่งด่วนเพื่อให้ได้ข้อมูลเสนอต่อรัฐบาลของพื้นที่ลำปางนั้น มี

1)      องค์กรชุมชน ออมบุญวันละหนึ่งบาทเพื่อสวัสดิการชุมชนตำบลแม่พริก

2)      องค์กรชุมชน ออมบุญวันละหนึ่งบาทเพื่อสวัสดิการชุมชนตำบลล้อมแรด

3)      องค์กรชุมชน ออมบุญวันละหนึ่งบาทเพื่อสวัสดิการชุมชนตำบลป่าตัน

 

ในส่วนของจังหวัดลำพูนจัดเวทีวันที่ 13 พฤษภาคม 2552 ณ โรงเรียนอรพินพิทยา อ.เมือง จ.ลำพูน มีตัวแทนจากกองทุนสวัสดิการเข้าร่วม กว่า 60 คน สรุปพื้นที่เข้าร่วมงานในโครงการเร่งด่วนเพื่อให้ได้ข้อมูลเสนอต่อรัฐบาลของพื้นที่ลำพูนนั้น มี

1)      กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์

2)      กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลดงดำ

3)      กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลม่วงน้อย

4)      กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลลี้

5)      กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลบ้านธิ

วันที่ 4 มิถุนายน 2552 นัดรวบรวมข้อมูลของแต่ละกองทุนฯ วางแผนการดำเนินงานต่อ ณ  กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลม่วงน้อย

 

กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลม่วงน้อยอ.ป่าซาง จ.ลำพูน

เริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2549 ที่บ้านสะปุ๋ง ม.3  มีสมาชิก 198 คน ต่อมาได้ขยายครบทุกหมู่บ้านในตำบลม่วงน้อย เมื่อ 5 ธันวาคม 2550 ได้รับอุดหนุนงบประมาณจากเทศบาลตำบลม่วงน้อย จำนวน 500,000 บาท ในปี 2551 และ 200,000 บาท ในปี 2552 และได้รับจาก พอช.55,000 บาท

 

ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 2,2286 คน เงินทุนหมุนเวียน 524,736 บาท (ข้อมูล 12 ก.พ.52) คณะกรรมการบริหารกองทุน 16 คน มีนายเชน ปัญญาแก้ว เป็นประธาน

 

รูปแบบการจัดสวัสดิการของกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลม่วงน้อย

 

ทุกคนที่เข้าเป็นสมาชิกและสะสมเงินในกองทุน 90 วันมีสิทธิได้รับสวัสดิการเท่าเทียมกัน

สวัสดิการแนวนอน

-          สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล นอนโรงพยาบาล 2 คืนขึ้นไปช่วยค่ารักษาพยาบาลคืนละ 100 บาท ปีละไม่เกิน 1,000 บาท และค่าเยี่ยมไข้ครั้งละ 300 บาท ปีละไม่เกิน 2 ครั้ง

-          สวัสดิการช่วยการศึกษา จบการศึกษา+หลักฐานการจบ ชั้น ป.6และม.3 ได้ 500 บาท จบชั้น ม.6 ปวช. ปวส.หรืออนุปริญญา ได้ 1,000 บาท จบปริญญาตรี 1,500 บาท

-          สวัสดิการคลอดบุตร รับขวัญมารดา 500 บาท รับขวัญลูก 500 บาท

-          สวัสดิการช่วยงานแต่ง แต่งงานครั้งแรกและจดทะเบียนสมรส รับเลย 1,000 บาท

-          สวัสดิการช่วยเกณฑ์ทหาร สมาชิกที่เข้ารับราชการทหาร รับเลย 3,000 บาท

-          สวัสดิการช่วยอุบัติเหตุ ป่วยทุพลภาพ จ่ายปีละ 1,000 บาท

-          สวัสดิการผู้ประสบสาธารณภัย บ้านเสียหายทั้งหลัง จ่าย 20,000 บาท

-          สวัสดิการทำบุญบ้านใหม่ ซื้อ/ปลูกใหม่ จ่าย 1,000 บาท

สวัสดิการขั้นบันได

-          สงเคราะห์ผู้เสียชีวิต จ่าย 10 เท่าของเงินสะสม ไม่เกิน 12,000 บาท(สมาชิกครบ 10 ปี)

-          เงินบำนาญ สมาชิกที่อายุครบ 60 ปี และเป็นสมาชิกครบตามกำหนดรับเงินบำนาญสงเคราะห์รายปีตามที่กำหนดในระเบียบ

คำสำคัญ (Tags): #สวัสดิการชุมชน
หมายเลขบันทึก: 262325เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2009 17:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีน้องแหม่ม

 กลับมาจากประชุม สภาองค์กรชุมชนที่ทะเลน้อย สองวันหนึ่งคืน

ทีม นคร นำโดยคุณ สง่า ทองคำ

ทีมสงขลานำโดย พี่ภาส และพี่แก้ว คนอง

ส่วนพัทลุง พีคณิต และบังหล๊ะ จิระชูช่วย

ได้ประเด็นการพูดคุยหลายประเด็นมีโอกาสจะนำมาเล่า มาเยี่ยมโหมบ้านเรามั้งต๊ะแหม่ม

ปัทมาวดี โพชนุกูล ซูซูกิ

เป็นการดีที่รัฐบาลจะลงมาสนับสนุนค่ะ

แต่ก็เป็นห่วงเพราะ เห็นแค่รายการสวัสดิการที่กลุ่มจัดให้นั้นก็จะดูดี แต่บอกไม่ได้ว่า จะดำเนินการต่อเนื่องได้ยืนนานหรือไม่อย่างไร

ครูชบเสนอให้รัฐสนับสนุนในรูปแบบกลุ่มของครูชบ แต่กลุ่มอื่นก็มีรูปแบบอื่นๆ ตามวิเคราะห์ทุกรูปแบบไม่ไหว คิดว่ารัฐบาลคงไม่สามารถสมทบเจาะจงในกองทุนบางรูปแบบเท่านั้นได้

ถ้าตัวเองเป็นรัฐบาล จะสมทบให้เพื่อใช้เฉพาะในบางกิจกรรมที่รัฐเห็นว่าสำคัญแต่รัฐยังเข้าไม่ถึงเท่านั้น เช่น บำนาญ (แก่) ประกันรายได้ขั้นต่ำ แต่ต้องสมทบกับทุกคนไม่ว่าจะเป็นสมาชิกกองทุนชุมชนแบบใด

เรื่องการศึกษา สุขภาพ (เกิด เจ็บ) นั้น รัฐมีการดำเนินการแบบถ้วนหน้าอยู่แล้ว ไม่ต้องสมทบอีก

ส่วนตายนั้นไม่ต้องค่ะ ตรงข้าม ตายแล้วต้องคืนให้แผ่นดินค่ะ ยิ่งรวยมากยิ่งต้องคืนมาก

(สงสัยจังว่า ฌาปนกิจนั้น ส่วนใหญ่เก็บไว้ให้ลูกหลานข้างหลัง หรือใช้เยอะไปกับงานศพคะ นักวิจัยเคยสอบถามไหม)

หากรัฐสมทบเฉพาะบางกิจกรรม ก็จะหลีกเลี่ยงการนำเงินไปใช้ในบางสวัสดิการที่เป็นความเสี่ยงสูงเกินไป หรือหลีกเลี่ยงการนำเงินไปใช้ในที่ที่มีประโยชน์น้อย เช่น การแต่งงาน

คิดว่า สิ่งจำเป็นเร่งด่วนคือ การให้เครื่องมือสำหรับกลุ่มจะได้วิเคราะห์สถานการณ์การเงินและการวางแผนการเงินของกลุ่มให้ได้ก่อนในเบื้องต้น ก่อนที่เงินสมทบจะลงมา คงเป็นการ "ล้างท่อ" เตรียมไว้แบบกองทุนหมู่บ้านเช่นกัน

อย่างที่บอก...พบกลุ่มที่ลงบัญชีผิดที่ ทำให้เข้าใจสถานะการเงินของตนเองดีกว่าที่เป็นจริง... ต้องรีบช่วยแก้ไขค่ะ พี่เลี้ยง พม. พอช. ต้องขยันและต้องช่วยชาวบ้านวิเคราะห์ได้ค่ะ

คิดอยู่ว่า โครงการใหม่ที่กำลังจะทำ จะต้องหาเครื่องมือให้ทั้งสองสาย คือ สายกองทุนหมู่บ้าน และสายกองทุนสวัสดิการค่ะ สายหลังนี่ ยากกว่าสายแรกนะคะ

ฝากสะท้อนความเห็นนี้ถึงอาจารย์ภีมด้วยค่ะ

แนวทาง จ.สุรินทร์

๔. ตาย

( ช่วยจัดการศพ) ถ้าเป็นงานศพปลอดเหล้าและปลอดการพนัน โดยผ่านการประเมินจากคณะกรรมการ สมทบทำบุญ ๒,๐๐๐ บาท

- ฝากสัจจะ ๖ เดือน ( ๑๘๐ วัน) ช่วยงานศพ ๒,๕๐๐ บาท

- ฝากสัจจะ ๑ ปี ( ๓๖๕ วัน) ช่วยงานศพ ๕,๐๐๐ บาท

- ฝากสัจจะ ๒ ปี ( ๗๓๐ วัน) ช่วยงานศพ ๑๐,๐๐๐ บาท

- ฝากสัจจะ ๔ ปี ( ๑,๔๖๐ วัน) ช่วยงานศพ ๑๕,๐๐๐ บาท

- ฝากสัจจะ ๘ ปี ( ๒,๙๒๐ วัน) ช่วยงานศพ ๒๐,๐๐๐ บาท

- ฝากสัจจะ ๑๒ ปี ( ๔,๓๘๐ วัน) ช่วยงานศพ ๒๕,๐๐๐ บาท

- ฝากสัจจะ ๑๖ ปี (๕,๘๔๐ วัน) ช่วยงานศพ ๓๐,๐๐๐ บาท

- ฝากสัจจะ ๒๐ ปี (๗,๓๐๐วัน) ช่วยงานศพ ๓๕,๐๐๐ บาท

- ฝากสัจจะ ๒๔ ปี ( ๘,๗๖๐ วัน) ช่วยงานศพ ๔๐,๐๐๐ บาท

- ฝากสัจจะ ๒๘ ปี ( ๑๐,๒๒๐ วัน) ช่วยงานศพ ๔๕,๐๐๐ บาท

- ฝากสัจจะ ๓๒ ปี ( ๑๑,๖๘๐ วัน) ช่วยงานศพ ๕๐,๐๐๐ บาท ( สูงสุดแล้ว)

ข้อที่ ๒๔/๑ การจัดสวัสดิการแก่สมาชิก ในส่วนเงินช่วยจัดการศพ เจ้าภาพงานศพนั้นและคณะกรรมการกองทุนคุณธรรมฯ ปรึกษากันเพื่อจัดการบริจาคแก่องค์กรสาธารณประโยชน์ เช่น บ้าน วัด โรงเรียน สมาคม มูลนิธิ ชมรม กลุ่ม คณะ ตามเกณฑ์ต่อไปนี้

(๑) เมื่อทางกองทุนคุณธรรมฯ ได้ช่วยจัดการศพ จำนวน ๑๐,๐๐๐ บาทขึ้นไป ขอให้ช่วยเพิ่มการบริจาคแก่กองทุนคุณธรรมสวัสดิการชุมชนพึ่งตนเองตำบลทุ่งมน (องค์กรสวัสดิการชุมชน) จำนวน ๑,๐๐๐ บาท และ

(๒) เมื่อทางกองทุนคุณธรรมฯ ได้ช่วยจัดการศพ จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาทขึ้นไป ขอให้ช่วยเพิ่มการบริจาคแก่โรงเรียนที่ชุมชนใช้บริการ จำนวน ๕๐๐ บาท และ สถานีอนามัยประจำตำบลหรือกลุ่ม อสม. จำนวน ๕๐๐ บาท หรือ รวมทั้งสิ้น ๒,๐๐๐ บาท และ

(๓) เมื่อทางกองทุนคุณธรรมฯ ได้ช่วยจัดการศพ จำนวน ๓๐,๐๐๐ บาทขึ้นไป ขอให้ช่วยเพิ่มการบริจาคแก่วัดใน/ใกล้ชุมชน จำนวน ๕๐๐ บาท และ สภาองค์กรชุมชนตำบล........ จำนวน ๕๐๐ บาท หรือ รวมทั้งสิ้น ๓,๐๐๐ บาท และ

(๔) เมื่อทางกองทุนคุณธรรมฯ ได้ช่วยจัดการศพ จำนวน ๔๐,๐๐๐ บาทขึ้นไป ขอให้ช่วยเพิ่มบริจาคแก่องค์กรเด็ก เยาวชน จำนวน ๑,๐๐๐ บาท รวมบริจาคทั้งสิ้น ๔,๐๐๐ บาท และ

(๕) เมื่อทางกองทุนคุณธรรมฯ ได้ช่วยจัดการศพ จำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท ขอให้ช่วยเพิ่มบริจาคแก่องค์กรชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม อีก ๑ องค์กร จำนวน ๑,๐๐๐ บาท หรือ รวมบริจาคทั้งสิ้น ๕,๐๐๐ บาท

๕. ทุนการศึกษา - นักเรียน(อนุบาล – ม.ปลาย)ที่ฝากสัจจะแต่ละรอบ ๕ ปี รับทุนการศึกษา ๑ ทุน จำนวน ๕๐๐ บาท

- นักเรียน(อนุบาล – ม.ปลาย)ที่ฝากสัจจะ ๓ ปีขึ้นไป มีสิทธิ์พิจารณารับทุนสำนึกรักบ้านเกิด ปีละ ๕ ทุน ทุนละ ๑,๐๐๐ บาท โดยการจับฉลาก

- นักศึกษา(สูงกว่า ม.ปลาย)ที่ฝากสัจจะ ๕ ปีขึ้นไป มีสิทธิ์พิจารณารับทุนการศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เช่น ทุนเรียนพยาบาล หรืออื่น ๆ ปีละ ๑ ทุน ๆละ ๕,๐๐๐ บ. โดยการจับฉลาก

๖. ช่วยประสบภัย - ฝากสัจจะ ๒ ปี ขึ้นไป ช่วยเหลือประสบอัคคีภัยครอบครัวละไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท - ฝากสัจจะ ๒ ปีขึ้นไป ช่วยเหลือประสบวาตภัยครอบครัวละไม่เกิน ๕๐๐ บาท

๗.ทุนคนขยัน คนดีมีคุณธรรม - ฝากสัจจะ ๒ ปีขึ้นไป มีสิทธิ์พิจารณารับรางวัลคนขยัน คนดีมีคุณธรรม ที่จัดขึ้นตามโครงการ และโอกาสสำคัญ ที่คณะกรรมการดำเนินการ

๘. คนด้อยโอกาส กองทุนรับจ่ายฝากสัจจะแทน ปีละจำนวน ๓๖๕ บาท โดยผู้ด้อยโอกาสมีสิทธิ์เหมือนสมาชิกทั่วไป สัดส่วนรับคนด้อยโอกาส ๑ คนต่อสมาชิก ๕๐ คน

๙. สาธารณประโยชน์ เมื่อได้รับการสมทบกองทุนจากภาครัฐบาลและท้องถิ่น ให้มีการจัดสวัสดิการชุมชนที่มากกว่าการเกิด แก่ เจ็บ ตาย คือ การดูแลทรัพยากรธรรมและสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมประเพณีชุมชน เยาวชน การลดละเลิกอบายมุข การศึกษา การส่งเสริมสุขภาพและดูแลคุณภาพชีวิตของชุมชนโดยภาพรวมด้วย

ด้วยกองบุญคุณธรรมเพื่อจัดสวัสดิการชุมชนตำบล............. ประกอบด้วยภาคีทุกฝ่าย (บ้าน วัด โรงเรียน อนามัย องค์การบริหารส่วนตำบล = บ ว ร อ ) ได้จัดตั้งกองบุญคุณธรรมเพื่อจัดสวัสดิการชุมชนตำบล............. “ออมเพื่อให้” เมื่อวันที่.................................... และประกาศใช้ระเบียบข้อบังคับกองบุญคุณธรรมเพื่อจัดสวัสดิการชุมชนตำบล............. เมื่อวันที่ ............................... นั้น เป็นระยะเวลา ...............ปีแล้วที่ได้ใช้ระเบียบข้อบังคับกองบุญคุณธรรมเพื่อจัดสวัสดิการชุมชนตำบล............. ฉบับนี้เป็นแนวทางในการจัดสวัสดิการแก่สมาชิก

บัดนี้ ทางกองบุญคุณธรรมเพื่อจัดสวัสดิการชุมชนตำบล............. เห็นสมควรแก้ไขระเบียบข้อบังคับกองบุญคุณธรรมเพื่อจัดสวัสดิการชุมชนตำบล............. ในหมวด ๖ เรื่องสวัสดิการ เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินการที่เป็นไปได้จริง เป็นไปได้ เป็นปัจจุบัน สอดคล้องกับสถานการณ์ทางสังคม ชุมชน ภาวะโลกร้อน และนโยบายรัฐ ส่งเสริมความเป็นพลเมือง เช่น การเสริมกระบวนการเรียนรู้ให้สมาชิกกองทุนทุกคนได้เข้าใจหลักคิดปรัชญาของกองทุนสวัสดิการชุมชนอย่างถูกต้องและลึกซึ้งด้วยการสื่อความหมายว่า “กองบุญออมเพื่อให้” พร้อมกับช่วยกันพัฒนาตำบล............ให้เป็นพื้นที่ลด ละ เลิกอบายมุขอย่างจริงจัง และ เป็นชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง และให้การจัดสวัสดิการชุมชนนี้เป็นไปได้อย่างยั่งยืน มีการหนุนเสริมความเข้มแข็งแก่องค์กรชุมชนและสถาบันทางสังคมในตำบลอย่างมีพลวัตร ผลักดันให้เป็นหลักสูตรท้องถิ่น

  • อนุโมทนาสาธุ ด้วยค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท