พฤติกรรมที่แสดง "ความไม่สมบูรณ์ของอารมณ์" ของผู้เข้าประชุม


บันทึกนี้เป็นบันทึกสุดท้ายในเรื่องราวของพฤติกรรมของผู้เข้าประชุม ต่อจาก พฤติกรรมที่มุ่งสนับสนุน "เพื่อความสำเร็จ" ของการประชุม และ พฤติกรรมของผู้ประชุมที่ "มุ่งรักษาสัมพันธภาพ" ได้แก่ พฤติกรรมที่แสดงความไม่สมบูรณ์ของอารมณ์ของผู้เข้าประชุม ดังนี้

 

(1) ผู้ปรามาส : ชอบดูถูกผู้อื่น ทำให้ผู้อื่นเสียหน้า

หากผู้ปรามาสแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว ประธานต้องให้ถอนคำพูดในที่ประชุม หากประพฤติหลายครั้งประธานอาจปรามตั้งแต่ก่อนเข้าประชุม

แต่เห็นว่า ปรามไม่ไหวและเพื่อให้ที่ประชุมดำเนินต่อไปได้ อาจต้องงดเชิญเข้าประชุม

 

(2) ผู้ครอบงำ :

ชอบอวดอ้างความรู้ อวดอ้างประสบการณ์ในอดีต หรือวางอำนาจของตนเองเพื่อบดบังความคิดเห็นของผู้อื่น

ประธานต้องมั่นคงในการดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ ยึดประเด็นที่กำลังเสนอให้ที่ประชุมพิจารณา (ห้ามการพูดนอกประเด็น) และหาทางให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็นในเวลาที่จำกัด

 

(3) ผู้แสวงหาการยกย่อง :

ชอบวางมาดวางท่าในที่ประชุม เวลาแบ่งงานชอบเป็นหัวหน้าแต่ไม่ทำงาน ใจจริงมิได้มุ่งหวังความสำเร็จของที่ประชุมมากกว่าการให้ผู้อื่นยกย่องตน

ประธานต้องศึกษาและเข้าใจ "ธรรมชาติ" ของสมาชิกทุกคนในที่ประชุม และหลีกเลี่ยงการมอบหมายงานให้แก่บุคคลเช่นนี้

 

(4) ผู้แอบอิงผลประโยชน์ :

สนับสนุนเฉพาะมติที่เป็นประโยชน์แก่ตนเองและพวกพ้วง แต่อ้างว่า เพื่อประโยชน์ของผู้อื่นหรือของส่วนรวม

ประธานและสมาชิกอื่นจะต้อง "เรียนรู้" และ "ฉลาดทัน" ต่อพฤติกรรมของคนประเภทนี้เพื่อหาทางแก้ไข

 

(5) ผู้ขัดขวาง :

ขณะที่กำลังประชุมพิจารณานั้น เขาจะไม่แสดงความคิดเห็น แต่เมื่อที่ประชุมตกลงเป็นมติแล้ว จึงคอยค้าน คอยจับผิด และขอให้พิจารณาทบทวนใหม่

ประธานและที่ประชุมจะต้องรอบคอบ และขอความคิดเห็นจากทุกคนโดยเฉพาะจากคนประเภทนี้ ให้เขาได้แสดงความคิดเห็นก่อนลงมติ และเมื่อลงมติแล้ว จะต้องยืนหยัด เพื่อนำมติไปปฏิบัติ

 

(6) ผู้แสวงหาความช่วยเหลือ :

ชอบกินแรงผู้อื่น ปัดความรับผิดชอบ ปลุกระดมให้ผู้อื่นมาช่วยโดยตนเองไม่ยอมปฏิบัติ ชอบบ่ายเบี่ยงว่าบุคคลอื่นทำได้ดีกว่า

ประธานและที่ประชุมควรระมัดระวังและรอบคอบในการมอบหมายงายของที่ประชุมให้แก่ผู้เต็มใจปฏิบัติ เพื่อมิให้งานเสีย

สำหรับผู้มีพฤติกรรมดังกล่าวนั้น ประธานอาจเชิญพบเฉพาะตัว เพื่อชี้ให้เห็นตัวอย่างพฤติกรรมของเขาในอดีต และขอให้เปลี่ยนพฤติกรรม ต้องยอมรับว่า บางคนก็เปลี่ยนได้ บางคนก็ไม่ยอมเปลี่ยน

 

......................................................................................................................................

 

หลายท่านอาจจะเห็นว่า ทำไมช่วงนี้ผมให้ความสนใจเรื่องราวของการประชุมมากมาย อาจจะเป็นเพราะผมมองเห็นว่า gotoknow forum กำลังใกล้มาถึง อีกทั้งช่วงนี้เข้าเป็นกรรมการของคณะเยอะมาก ทำให้ต้องเรียนรู้อะไรไว้บ้าง จะได้ไม่เข้าตาจนในการประชุม

เก็บเป็นความรู้นะครับ

ขอบคุณมากครับ

 

.......................................................................................................................................

แหล่งอ้างอิง

เกษม วัฒนชัย. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประชุม. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา, 2551.

 

หมายเลขบันทึก: 262115เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2009 18:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีค่ะ อ. Wasawat Deemarn

เปิดมาเจอบันทึกแรก...

อ่านแล้ววิเคราะห์ตาม เราเป็นแบบไหนน๊า..เวลาประชุม

เก็บเป็นความรู้แล้ว..พิจารณาอารมณ์เวลาประชุมเพื่อที่จะได้ไม่มี

"ความไม่สมบูรณ์ของอารมณ์" เหล่านี้

ขอบคุณค่ะ

ปล. จะตามไปอ่านอีก 2 บันทึกค่ะ...ช่วงนี้มีประชุมบ่อย ..อิ อิ

ขอบคุณครับ คุณพยาบาล สีตะวัน ;)

ใช่เลยครับ ผมเองก็มีประชุมเกือบทุกวัน ตาแหกตาปลิ้นทีเดียว คิดทันบ้าง ไม่ทันบ้าง แล้วแต่ประเด็น ๆ กันไป ;)

ตามอ่านมาทุกบันทึกของการประชุมแล้ว ได้ฤกษ์ได้ยามซะที..อะแฮ่มๆ

ขอบคุณค่ะ :D

เจอบุคคลประเภทไหนมั่งจะมาเล่าให้ฟังนะคะ ;)

เอาวันนี้เลยนะน้องอาจารย์ หัวใจติดปีก ;)

วันนี้ก็เจอ (4) มากที่สุด ครับ ... เงียบ ๆ หงึม ๆ หยิบชิ้นปลามัน ... เห็นเงินแล้วตาลุกวาว

เหอ เหอ

ขอบคุณคะ

เจอทุกแบบคะ ประชุมทีปวดหัวมาก ๆ

ขอบคุณ พี่พยาบาล ประกาย ที่แวะมาพรวนบันทึกครับ ;)

อาจารย์ครับ ผมขออนุญาตเพิ่มเติมอีกประเภทหนึ่งครับ คล้ายๆกับผู้ขัดขวางครับ แต่ผมใช้คำว่าขวางทุกอย่างที่คนอื่นพูดครับ ไม่ว่านอกที่ประชุม หรือในที่ประชุม เป็นต้องยกเหตุผลขวางทุกครั้งไป ผมเคยเจอมาหลายคน ส่วนมากจะขวางเพื่อยกตนเองว่ามีความสามารถ นี่ไมเท่าไหร่ แต่มีพวกหนึ่ง จะขวางเพราะไม่อยากทำครับ อาจารย์ว่าจัดเข้าพวกใดดี

เข้าข้อ 5 + ข้อ 6 ซะแล้วล่ะครับ คุณ ครูแทน ;)...

กรรมใครกรรมมันล่ะครับงานนี้ ทำไปย่อมกรรมเป็นตนเองอย่างแน่นอน

คุณ ครูแทน สบายใจได้นะครับ ;)

สวัสดีค่ะครูพี่เสือ...

แล้วเทียนน้อยเป็นแบบไหนน้อ...

โดนครอบงำก็ไม่ใช่  จาก  1-6  ไม่ใช่สักอย่าง...

เดี๊ยวนี้เบื่อการประชุม...ไม่รู้ว่าเป็นอะไรค่ะ...

บางอย่างก็ทำไปตามบทบาทหน้าที่...แสดงความคิดเห็นได้

แต่อำนาจตัดสินใจเด็ดขาดอยู่กับผู้นำ...ฉันคิดมาแล้วว่าจะเอาอย่างนี้  555

ก็เลยกลายเป็นว่าความเงียบ...คือคำตอบ...แม้จะรู้ว่าไม่ดี...แต่บางทีมันก็ท้อ...

ขอบคุณค่ะ  ^_^

ทำตัวแบบ "หิ่งห้อย" ที่มีแสงในตัวเอง สิครับ น้องคุณครู เทียนน้อย ;)

พวกนี้เดี๋ยวไฟฟ้าไม่เข้า...ก็จะรู้สึกเอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท