สัมภาษณ์คุณนที ขลิบทอง ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ


สัมภาษณ์และหารือคุณนที ขลิบทอง ผอ.สทบ. ณ ห้องประชุมสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม 2552 นำโดย รศ.ดร.ปัทมาวดี ซูซูกิ คณะบดีคณะเศรษฐศาสตร์ คุณภีม ภคเมธาวี ม.วลัยลักษณ์ อ.สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการการเงิน และคณะผู้ติดตาม ทั้งหมดจำนวน 6 คน

 

รศ.ดร.ปัทมาวดี ได้เล่าเรื่องราวข้อค้นพบเบื้องต้นจากโครงการศึกษาแนวทางจัดทำเครื่องมือเพื่อประเมินตนเองขององค์กรการเงินฐานราก ที่ศึกษาองค์กรการเงินในจังหวัดชัยนาท และจังหวัดนครศรีธรรมราช สาระสำคัญที่เกี่ยวเนื่องในประเด็นของกองทุนหมู่บ้าน ค้นพบว่า ไม่ถูกต้องที่คาดหวังว่า กองทุนหมู่บ้านจะต้องอยู่รอดทุกกองทุน พบข้อเท็จจริงจากภาคสนามว่า บางหมู่บ้านที่กรรมการกองทุนอ่อนแอ จะเปิดให้กองทุนที่เข้มแข็งกว่า (เช่น กองทุนที่สามารถยกระดับเป็นสถาบันการเงินได้) เข้ามาบริหารจัดการ แม้ว่าการดำเนินงานดังกล่าวจะมุ่งหวังเรื่องประสิทธิภาพในการบริหารจัดการกองทุนแต่ก็พบว่าเป็นการรวมความเสี่ยงเช่นกัน เหมือนการนำไข่หลายใบใส่ในตะกร้าใบเดียว หรือพบในส่วนของประเด็นการจดทะเบียนกองทุนหมู่บ้านเป็นนิติบุคคลมีข้อดี เกิดการคัดกรองกองทุนที่มีคุณภาพและสามารถฟ้องร้องในกรณีที่กระบวนการชุมชนไม่สามารถจัดการเกิดหนี้เสียได้ อย่างไรก็ดียังเห็นควรที่จะต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้ทราบข้อจำกัดของกฎกติกา

 

คุณนที ขลิบทอง ผอ.สทบ.ได้ฉายให้คณะได้เห็นภาพทิศทางการขับเคลื่อนงานของ กทบ.ว่าหัวใจสำคัญของ กทบ. 79,811 หมู่บ้าน 79,811 ล้านบาท สทบ.จะทำอย่างไรให้เกิดดอกออกผล จะทำอย่างไรให้ กทบ.อยู่ได้ 1) กทบ.มีความหวั่นไหวตามนโยบายการเมือง 2) กทบ.มี พรบ.ของตัวเองการจะยุบ กทบ.ต้องเข้ากระบวนการทางสภา จะยุบยากมากโดยกฎหมาย 3) ด้านการเงิน 79,811 ล้านบาท หากยุบ กทบ.จะนำเงินมาจากไหน

 

ปี 2552 กทบ.วางบันได 3 ขั้น คือ

1)      กองทุนหมู่บ้าน (ลูกข่าย)

2)      สถาบันการเงินชุมชน (เครือข่าย)

3)      ธนาคารประชาชน (แม่ข่าย)

จะทำการล้างท่อ กทบ.ประเมิน กทบ.ทั่วประเทศโดยใช้กระบวนการสำรวจซึ่งทิศทางได้คุยกับ อ.กนก โครงการต้นกล้าอาชีพ โดยให้ อาจารย์ในมหาวิทยาลัยทำหลักสูตรฝึกอบรมด้านการควบคุมตรวจสอบ ภายใน ใช้งบประมาณโครงการต้นกล้าอาชีพ อบรม 8,000 คน ระยะเวลา 2 เดือน งบประมาณกว่า 100 ล้านบาทจ้างผู้ผ่านการอบรม 3 เดือนเพื่อไปประเมิน กทบ.1 คน ต่อ 10 หมู่บ้าน

-          เตรียมการเดือน มิ.ย.

-          อบรมเดือน ก.ค.-ส.ค.

-          เก็บข้อมูล เดือน ก.ย.-ต.ค.

-          วิเคราะห์ข้อมูล เดือน ธ.ค.

ในส่วนของบัญชี จะมีการจัดหลักสูตรอบรมผู้ตรวจสอบบัญชี จำนวน 4,000 คน ที่มีใบอนุญาต ตรวจบัญชีของปี 2552 เป็นกระบวนการ Double Check  กทบ.

 

เรื่องของการสร้างโรงเรียนกองทุนหมู่บ้าน สถาบันการเรียนรู้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จังหวัดละ 1 แห่ง เพื่อรวบรวม+เชื่อมโยง+องค์กรกลางในการจัดอบรม+เพื่อเป็นแหล่งประชุม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดย สทบ.เป็นวิทยากร/พี่เลี้ยง

 

ด้านการวิจัยหัวใจ 2 เรื่อง คือ รับทราบวิเคราะห์ + จะทำอย่างไรที่จะดำเนินการต่อไปให้เกิดประโยชน์มากขึ้น ประเด็นที่น่าสนใจศึกษาในส่วนของ สทบ.

-          ผลกระทบ กทบ.ลงไปมีผลกระทบด้านใดบ้าง

-          ความพอใจ อะไรคือตัวชี้วัดความสำเร็จของ กทบ.

-          การหาทิศทางการขับเคลื่อน กทบ.ระยะต่อไป

 

จากที่เล่ามาทั้งหมดงบประมาณมีพร้อมแต่เพราะมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล สทบ.จึงต้องทยอยทำความเข้าใจ ผ่านทีละเรื่องราว คุณนที ขลิบทอง ผอ.สทบ.กล่าว เพื่อให้คณะได้เห็นภาพรวมทั้งหมดและจะได้คิดเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #กทบ.
หมายเลขบันทึก: 262104เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2009 16:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นการดีครับ การที่มีผู้นำองค์กรที่มีคุณภาพมากด้วยประสบการณ์/พร้อมกับวิชาการด้านต่างๆๆส่งผลให่กองทุนหมู่บ้านเริ่มมีทางออกที่จะพัฒนาต่อยอดกองทุนฯให้มีประสิทธิภาพบริหารจัดการในเชิงรุกแก้ตรงจุด/พร้อมกับรับฟังความคิดเห็นจากกองทุนฯและภาคีทุกภาคส่วนสามารถทำให้สมาชิกกองทุฯทั่วประเทศสามรถมองเห็นหนทางในการพัฒนากองทุนฯให้เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในชุมชนได้เป็นอย่างดีทำให้ประชาชนรากหญ้ามีเงินทุน/อาชีพ/มีวินัยในการใช้จ่ายเงินอย่างถูกต้องทำให้สมาชิกกองทุนฯสามารถยิ้มได้/มีอาชีพ/มีเงินทุน สุดท้ายไม่มีหนี้เสีย.....ขอวนับสนุน

ตามที่นโยบายของท่านผอ.นที ขลิบทองได้กำหนดไว้ข้างต้น

จากอุดรธานี ครับ สีแสดๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆขอให้ สทบ.จงเจริญๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

ปัทมาวดี โพชนุกูล ซูซูกิ

สวัสดีค่ะน้องแหม่ม

ต้องชวนวรุตม์มาเขียนข้อค้นพบและความเห็นเพิ่มเติม

สทบ.มีกระบวนการขับเคลื่อนที่น่าสนใจ แต่เนื้อหาที่จะใช้ในการขับเคลื่อน ยกระดับ ดูจะน่าสนใจติดตามมากกว่า

ข้อค้นพบสำคัญของโครงการวิจัย คือ รู้ว่าประเด็นเป็นห่วงของกรรมการกองทุนคืออะไร และเครื่องมือที่สร้างขึ้นมา จะช่วยให้กรรมการกองทุนสบายใจได้ว่า ไม่ผิดทิศทาง ยังจัดการได้ หรือต้องพึงระวังแล้ว...

กองทุนสวัสดิการเป็นเรื่องที่เป็นห่วงค่ะ ยิ่งจัดหลายรายการ และแข่งขันกันกับกองทุนอื่นๆ ยิ่งต้องมีรายละเอียดซับซ้อนขึ้น การวิเคราะห์การเงินที่ถูกต้อง เพื่อรู้สถานะตัวเองและวางแผนได้จึงสำคัญมาก จากที่เราลองดู ลงบัญชีผิดช่องก็เข้าใจสถานะของตัวเองผิดไป ยังคิดว่ามีเงินเยอะ...

บางที พช. และ พอช. ในฐานะพี่เลี้ยง ต้องขยันทำงานมากกว่านี้และต้องตามขบวนให้ทันค่ะ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท