ในวันนี้ได้มีการเข้าฟังอบรมเกี่ยวกับเรื่อง เทคโนโลยีกริด
*คำว่า Grid หมายถึง “เครือข่ายที่เชื่อมโยงกันและกระจายทรัพยากรให้กัน” ซึ่งในที่นี้
Grid Computing คือเครือข่ายของทรัพยากรคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันหมดและจะกระจาย
ทรัพยากรด้านคอมพิวเตอร์ให้กัน ไม่ว่าจะเป็นสมรรถนะในด้านการประมวลผล ความจุ หรือ
สมรรถนะในการถ่ายโอนข้อมูล โดยการจ่ายทรัพยากรนี้จะมีลักษณะเช่นเดียวกับ Grid ของ
พลังงานไฟฟ้าที่พวกเราใช้ตามบ้าน สิ่งที่เราต้องทำก็เพียงเสียบปลั๊กและเปิดสวิทซ์ เราก็จะได้
พลังงานไฟฟ้ามาบริโภคมากตามที่เราต้องการ และเทคโนโลยี Grid Computing ก็ถูกออกแบบ
ให้ผู้ที่อยู่ในเครือข่าย เพียงเสียบปลั๊กและใส่รหัสก็จะเข้าถึงทรัพยากรคอมพิวเตอร์ได้อย่างสะดวก
และเรียกใช้ทรัพยากรทาง Computer ได้มากเท่าที่เราต้องการเช่นเดียวกัน
ในกรณีของ Electricity Grid หรือเครือข่ายของพลังงานไฟฟ้าที่จ่ายไฟตามบ้านนั้น แหล่งจ่ายไฟ
จะส่งมาจาก เขื่อน หรือโรงงานผลิตไฟฟ้าถ่านหิน หรือ นั่นก็คือ มีแหล่งจ่ายทรัพยากรอยู่แหล่ง
เดียว แต่ในกรณีของ Grid Computing จะใช้ทรัพยากรที่แบ่งปันมาจากเครือข่ายที่เชื่อมโยงกัน
ของคอมพิวเตอร์ทั่วโลกที่เป็นสมาชิกของเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์นั้นจะเป็น
คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือ Supercomputer ตามศูนย์วิจัย หรือ Cluster ตามมหาวิทยาลัย โดย
ไม่จำเป็นที่คอมพิวเตอร์เหล่านี้ต้องมีแพลตฟอร์มเหมือนกัน(ข้อแตกต่างระหว่าง Cluster กับ Grid คือ Cluster เป็นการเชื่อมต่อเพื่อเพิ่มสมรรถนะของการประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีแพลตฟอร์มเดียวกันอยู่ในพื้นที่จำกัด ส่วน Grid นั้นจะเชื่อมต่อได้ทุกแพลตฟอร์ม ไม่ว่าแต่ละแพลตฟอร์มจะห่างไกลกันเท่าไร)
*แนวคิดเรื่องกริด คอมพิวติ้งมาจากเรื่องของสาธารณูปโภคไฟฟ้า โดยมีการติดตั้งคอมพิวเตอร์
เซิร์ฟเวอร์ซึ่งมีพลังประมวลผลไม่มากมายนักแต่สามารถทำงานได้ในระดับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ในการใช้ก็จะต้องจ่ายเงินตามการใช้ ภายใต้แนวความคิดนี้ ทำให้ต้นทุนลดลงมาก
*ส่วนประกอบหลักมีอยู่ 4 ส่วน โดยแต่ละส่วนแบ่งเป็นชั้นๆ (layer) ได้แก่
1. Network layer
2. Resources layer
3. Middleware layer
4. Application&Serviceware layer โดยตัวชั้นสุดท้ายนี้เป็นส่วนที่ผู้ใช้จะมองเห็นและสัมผัส
*นอกจากประโยชน์ของ Grid ต่องานทางด้านวิทยาศาสตร์แล้ว
ทางภาคธุรกิจคาดว่าเทคโนโลยี Grid
นี้สามารถนำมาช่วยขจัดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านทรัพยากรคอมพิวเตอร์
หรือช่วยในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าที่มากมายมหาศาล
ส่วนทางด้านอื่นๆ Grid คาดว่าอาจถูกนำมาใช้สำหรับทางด้านบันเทิงอย่าง
real-time calculation หรือ internet on-line game
**เทคโนโลยี
Grid Computing และ Cluster Computing
เป็นเทคโนโลยีที่มีแนวโน้มที่จะมีบทบาทสำคัญต่อการ
พัฒนาประเทศในอนาคต เนื่องจากเป็นการเพิ่มสมรรถนะการประมวลผลที่สูงขึ้น โดยลดต้นทุนได้ต่ำกว่าเพราะ
สามารถนำเทคโนโลยี Cluster มาใช้ทดแทนการลงทุนจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่ราคาสูง สำหรับทุกหน่วย
งานที่ทำงานวิจัย และการประมวลผลในลักษณะ Grid Computing เพื่อเชื่อมโยงทรัพยากรคอมพิวเตอร์ที่กระจายตัว
กันอยู่ในองค์กรต่างๆ ให้สามารถทำงานร่วมกัน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย นอกจากนั้นระบบกริดยังทำให้เกิดโครงสร้าง
การติดต่อระหว่างระบบโปรแกรม ที่เป็นมาตรฐานและมีความปลอดภัยสูง สำหรับประเทศไทยการนำระบบ
Grid Computing ไปใช้ยังไม่กว้างขวาง เนื่องจากประสบปัญหาขาดความเข้าใจในระบบ Grid Computing
อย่างถ่องแท้**ความแตกต่างของclustering และ grid computing ก็คือ หลักการในการคำนวณซึ่งในกรณีของ clustering นั้น มักจะเน้นไปที่ความเร็วในการประมวลผลกับงานที่เหมือนกัน แต่ใช้โปรเซสเซอร์หลายตัว ส่วนด้าน grid computing นั้นจะไม่เน้นด้านความเร็วแต่จะเน้นไปที่การใช้ทรัพยากรทั้งหมดอย่างเต็มที่ โดยมีการแบ่งงานที่แตกต่างกันไปให้กับเครื่องฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์แพลตฟอร์มที่เหมาะสมให้ทำการประมวลผล และส่งกลับมายังเครื่องส่วนกลางที่จะทำการรวบรวมผลมาวิเคราะห์อีกครั้งหนึ่ง
**ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ เทคโนโลยี grid
*http://www.cp.eng.chula.ac.th/service/journals/escience.pdf
*http://master.cpe.ku.ac.th/~g4465027/seminar/pub/gie_sce-g_proposal.pdf
--สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก บทความของคุณ dankejung
http://gotoknow.org/archive/2006/04/28/23/17/22/e25998
ไม่มีความเห็น