All about TRIZ #3


ว่าด้วยเรื่อง ฟังก์ชัน

กว่าจะได้กลับมาเขียนก็หลายวันเหมือนกัน

ครั้งที่แล้ว ผมถามทิ้งไว้ว่า Function ของสิ่งที่เราพยายามจะแก้ปัญหาคืออะไร

เสน่ห์ของการถามว่าฟังก์ชันที่ต้องการคืออะไร เป็นการกระตุกต่อมอยากจะตอบ(Trial & Error Mode) มาเป็น ต่อมอยากเรียนรู้ และทำความเข้าใจกับปัญหาจริงๆซะก่อน (Problem Formulation)
ถ้ายังตอบว่าคำถามว่า ฟังก์ชันที่ต้องการ หรือฟังก์ชันที่เป็นประโยชน์นั้นคืออะไร ก็ให้ระวังการแก้ปัญหาที่ไปดึงเอาคำตอบจากฐานข้อมูลในสมองและใช้การตอบตรงจาก Information เหล่านั้น หรือใช้ Mechanical Combination คือต่อ Jigsaw เอาอันโน้นนิดอันนี้หน่อย มาตอบ
แล้วถ้าเป็นคนไทยต้องระวังตอบผิดแล้วไม่ยอมรับ ใครแตะความคิดเราก็ ไปเคืองเค้าอีก!

จริงๆแล้วคำว่า ต้องการทราบขนาดมะพร้าว (กะลา) ที่อยู่ใต้เปลือกมะพร้าวลงไป (ตรงนี้อยากได้) ก็คือฟังก์ชันที่ต้องการหรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Useful Function 
(1) หาก สถานะเดิมตั้งต้นแบบที่ยืนมองมะพร้าว และไม่มีทางออก อันนี้เรียกว่า ไม่ฟังก์ชัน Incompleted Function
(2) หากสถานะิเดิม เคยปอกเปลือก สร้างความเจ็บช้ำให้กับมะพร้าวเหลือเกิน เรียกว่าเกิดฟังก์ชันที่เป็นโทษหรือ Harmful Function
(3) อ่อลืม หากเคยเคาะลูกมะพร้าวแล้วได้ผลลัพธ์ที่ไม่น่าเชื่อถือ หรือไม่แม่นยำเพียงพอ อันนั้นก็เรียกว่า Incompleted Function เช่นกัน
(4) หากสวนมะพร้าวใด เคยใช้ Ultrasonic หรือ X-Ray แล้วนึกได้ว่าอยากได้แต่ฟังก์ชัน และไม่ควรใช้ทรัพยากรโลกสิ้นเปลืองขนาดนั้น ก็อยากจะลด อันนี้เป็นการลด Resource (Mass , Dimension , Energy) โดยใช้สิ่งที่มีเหลืออยู่ในระบบตอบ "ฟังก์ชันที่ต้องการ"
(5) หากต้องการมากกว่านั้น คือ ต้องการมองเจ้ามะพร้าวจากเปลือกนอก แล้วทราบทั้งขนาด รู้ว่ามีเนื้อมะพร้าวมากน้อยเท่าไหร่ อ่อนหรือแก่ไป หวานมั้ย อันนี้เข้าใกล้ความอยากได้ฟังก์ชันเพิ่มเติม New Useful Function (ตรงนี้ วันนึงข้างหน้ากลับมาอ่าน อาจ ไม่ใช่ New UF ก็ได้ 

สังเกตได้ว่า เรายืนอยู่บนความขัดแย้ง และ สถานะการณ์ของโจทย์ก็ดูจะต้องการการแก้ปัญหาเชิงนวัตกรรม (Inventive Situation นั่นแหละครับ) 
นวัตกรรม ในนิยามสาย TRIZ คือ การค้นพบ และขจัดความขัดแย้ง หากสามารถทำได้ ก็จัดว่าเป็นนวัตกรรมแน่นอน
ถ้าสังเกต ผมพาเข้าสู่ปัญหาด้วยฟังก์ชันจึงเจอทางที่เปิดกว้าง หากใช้การตอบนำมาก่อน  จะเป็นอย่างไรอยากให้ลองคิดเปรียบเทียบดู
การเรียนการสอน TRIZ จึงไม่ง่ายนัก โจทย์ก็ต้องยากพอปวดหัวซักพัก

ต่อไปที่้ต้องรู้จักคือ องค์ประกอบของระบบ
ถ้าเราจะไปทำอะไรสักอย่างที่ตอบ ฟังก์ชัน แต่ใช้ในสวนก็เรื่องหนึ่ง ระบบหนึ่ง
ถ้าเราจะเอาไปใช้หน้าโรงงานรับซื้อมะพร้าว ก็อีกเรื่องหนึ่ง
ตรงนี้เรียก Super System นะครับ
ขอพักก่อน กลับจากขอนแก่น จะมาเขียนต่อครับ

คำสำคัญ (Tags): #triz#นวัตกรรม
หมายเลขบันทึก: 261656เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2009 11:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 13:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท