dararat
ดร. ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


ทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เด็กปฐมวัย
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยมีความสำคัญ โดยที่เป็นการส่งเสริมให้เด็กมีความสนใจอยากรู้ อยากเห็น เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว การที่เด็กได้รู้จักสิ่งต่าง ๆ ทำให้เด็กเข้าใจสิ่งที่เด็กสงสัย เข้าใจโลกที่อยู่ ซึ่งส่งผลให้สามารถพัฒนาการคิด รู้จักหาคำตอบแบบวิทยาศาสตร์ เด็กมีประสบการณ์ทางด้านวิทยาศาสตร์ จะช่วยส่งเสริมและพัฒนาเด็กในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1.สร้างความเชื่อมั่นให้กับตนเอง 2.ได้ประสบการณ์ที่จำเป็นสำหรับชีวิต 3. มีทักษะในด้านการสังเกต 4. รู้จักวิธีการแก้ปัญหาโดยมีผู้ใหญ่คอยช่วยเหลือ 5. มีความรู้พื้นฐานจากการได้สืบค้น 6. มีการพัฒนาด้านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ความหมายของการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย ไม่แตกต่างจาก ความหมายของวิทยาศาสตร์ทั่วไป ซึ่งเน้นที่กระบวนการและผลผลิตวิทยาศาสตร์ แต่เด็กปฐมวัยแตกต่างจากวัยอื่น ๆ เนื่องจากเป็นวัยที่เริ่มเรียนรู้ ดังนั้นจึงเป็นการกระทำโดยอาศัยพื้นฐาน เบื้องต้นทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับความจริงต่าง ๆ รอบตัวเอง การให้เด็กได้มีส่วนในการทำกิจกรรมจะช่วยพัฒนาทักษะในการคิดอย่างมีระบบ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการเรียนวิทยาศาสตร์ในระดับต่อไป กิจกรรมวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับกระบวนการและผลผลิต เพราะว่าเมื่อครูเตรียมให้เด็กทำกิจกรรม ครูต้องเฝ้าสังเกตดูวิธีการทำงานของเด็ก (กระบวนการ) เมื่อเด็กทำเสร็จแล้ว ครูก็ต้องดูผลงานของเด็ก (ผลผลิต) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มาจากคำว่าทักษะ และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะ หมายถึง ความชำนาญ ความคล่องแคล่ว และความแม่นยำ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง กระบวนการที่นักวิทยาศาสตร์ใช้หาความรู้ และหาคำตอบในสิ่งที่สงสัย ซึ่งเป็นกระบวนการที่เป็นระบบมีเหตุผล ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความชำนาญ ความคล่องแคล่ว ความแม่นยำ ของการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อแสวงหาความรู้ หรือหาคำตอบในสิ่งที่สงสัยในขณะที่มีการค้นคว้าหาความรู้ ตามขั้นตอนของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ผู้ทำการศึกษาค้นคว้าต้องมีการปฏิบัติและฝึกฝนทางความคิดอย่างเป็นระบบ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ตามความคิดเห็นของนักการศึกษา พอสรุปได้ว่า ทักษะที่ควรส่งเสริมให้กับเด็กปฐมวัยมีดังนี้ 1.ทักษะการสังเกต 2.ทักษะการจำแนกประเภท 3.ทักษะการวัดและทักษะการเปรียบเทียบ 4.ทักษะการสื่อความหมาย 5.ทักษะการลงความเห็น 6.ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติและเวลา สิ่งที่ครูต้องตระหนักในการสอนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ การใช้คำถามที่จะนำไปสู่ทักษะนั้น ๆ เช่น ทักษะการสังเกต สังเกตสิ่งที่ครูถือว่ามีลักษณะ รูปร่าง อย่างไร ดินเหนียวและดินทรายมีลักษณะเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร ทักษะการจำแนกประเภท ทำไมจึงจัดพวกเป็ด ไก่ อยู่ในพวกเดียวกัน ทักษะการวัดและเปรียบเทียบ นักเรียนกับครูใครสูงกว่ากัน ฯลฯ สิ่งสำคัญของการฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ ให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง โดยผ่านประสาทสัมผัส ทั้ง 5
หมายเลขบันทึก: 261257เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2009 00:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอฝากตัวเป็นเพื่อนด้วยนะคะ เป็นกรรมการด้านปฐมวัยของท้องถิ่นแห่งหนึ่งคะ อยากได้ตัวอย่างแผนการจัดประสบการ์ณการเรียน

รู้ของเด็กปฐมวัยคะ พอมีมะคะ จะนำมาเป็นตัวอย่างเพื่อพัฒนาการสอนคะ

บทความนี้ดีมากเลยคะได้ความรู้ดีเพราะดิฉันกำหลังศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท