การประชุมเชิงปฏิบัติการอาสาสมัครเอเอฟเอสประเทศไทย ประจำปี 2552(AFS Thailand Volunteer Workshop 2009) 2-4 เมษายน 2552 ณ โรงแรม The Royal Gems Lodge จังหวัดนครปฐม( ตอนที่ 3)


การเตรียมตัวผู้เข้าร่วมโครงการเอเอฟเอส/พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย จังหวัดนครปฐม

เหล่าอาสาสมัคร(บางกลุ่ม) เริ่มกิจกรรมหลังอาหารเช้าด้วยการถ่ายรูปไว้เป็นที่ระทึกใจอย่างสนุกสนาน
นายแบบ-นางแบบตัวจริงหลบไปเลย
            

          กิจกรรมของการประชุมเริ่มเวลา 8:35 .   คุณนิตยา  สารรัตน์ ได้แนะนำองค์กรเอเอฟเอสประเทศไทย
ให้กับอาสาสมัครที่เข้ามาใหม่ เริ่มตั้งแต่การก่อตั้งเอเอฟเอส  คณะกรรมการดำเนินงาน และแนวทางการ
ดำเนินงาน จบท้ายด้วยการแนะนำผู้ประสานงานที่มารับหน้าที่ในปี
2551-2552 
       คุณจิรวัฒนา   จรูญภัทรพงษ์       ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบริการการศึกษาได้แนะนำคณะบุคลากรฝ่ายบริการ
การศึกษา และได้นำเสนองานเตรียมตัวผู้เข้าร่วมโครงการ หลังการประกาศผลการคัดเลือก     ตั้งแต่ต้นจนจบ
โครงการ มีคุณจินตนาการ(น้องเอี้ยง) มูลทรัพย์ เป็นวิทยากรร่วม ได้ให้ข้อมูลในเรื่องการจัด  
National
Orientation
 
การปฐมนิเทศตัวจริงและสำรอง  โดยเรียนเชิญทั้งผู้ปกครองและนักเรียนเข้าร่วมประชุม เป็นการ
แนะนำประเทศและให้ข้อมูลรวมทั้งชี้แจงถึงขั้นตอนการเลื่อนสถานภาพของตัวสำรองเป็นตัวจริง
การสมทบทุน  และอธิบายการกรอกข้อมูลของใบสมัครนานาชาติที่เป็นแบบฟอร์มที่ต้องส่งไปแข่งขันกับ
เยาวชนชาติอื่นๆเวลาพิจารณาครอบครัวอุปถัมภ์  ซึ่งมีทั้งหมด 
9 Form ต้องส่งภายในเวลากำหนด เมื่อทาง
เอเอฟเอสประเทศไทยได้รับก็จะ
Scan และUp load ขึ้นเวปไซต์ที่กำหนด เมื่อทางประเทศนั้นๆ ได้รับเขาก็
จะนำไปขึ้นเวปไซต์ท้องถิ่น  ใครทำ
Application ดีจะได้ครอบครัวอุปถัมภ์เร็วมาก  บางเรื่องที่ดูเหมือน
ง่ายอย่างเช่นรูปภาพที่นำไปติดไว้ที่ใบสมัครนั้นกลับกลายเป็นปัญหาใหญ่ก็มี  ภาพเหล่านั้นต้องสื่อให้เห็น
กิจกรรมที่เป็นจุดเด่นของตนเอง ชาวต่างชาติบางครั้งแค่เห็นภาพกิจกรรมก็ตัดสินใจรับแล้ว   ภาษาและภาพ
จะสื่อความเป็นตัวตนของบุคคลนั้นๆ   ดังนั้นต้องพึงระมัดระวังที่จะสื่อภาพหรือเขียนบางสิ่งบางอย่างต่อ
สาธารณชน  เพราะเขาไม่รู้จักตัวตนที่แท้จริงของเรา  อาจจะตีความไปผิด   การจะระบุว่าตนเป็นโรคใดนั้น
ต้องมีใบรับรองแพทย์ไม่ใช่วิตกจริตไปเอง  ชาวต่างชาติส่วนมากรักสัตว์และเลี้ยงไว้ที่บ้าน   หลายคนที่ชอบอ้าง
ว่าแพ้สัตว์ ก็ค่อนข้างหาครอบครัวยาก  ชาวต่างชาติจะหวาดกลัวเรื่องไวรัสตับอักเสบ
B น้องๆต้องฉีดวัคซีน
ป้องกันก่อนเดินทางไป  และ ปีหน้านี้จะมีการบังคับให้ฉีดวัคซีนป้องกันไข้แกนหลังแอ่นเพิ่มขึ้น
   การเขียน
จดหมายแนะนำตัวก็สำคัญ  ไม่ควรเขียนอะไรที่สื่อไปในทางลบหรือจินตนาการแบบเพ้อฝันควรเขียนในสิ่งที่
เป็นเรื่องจริง  เขียนแบบกลางๆ แนะนำครอบครัว  แนะนำตนเอง กิจกรรมที่ชอบทำ   การเขียนเรียกร้อง
แบบนั้น-แบบนี้ถือว่าไม่สุภาพ   และอีกเรื่องหนึ่งที่ควรระมัดระวังคือภาษาที่ใช้   ประโยคหรือสำนวนบางอย่าง
อาจจะสื่อผิดความหมาย คุณครูต้องช่วยตรวจสอบด้วย  งานฝ่ายนี้จะจัดค่ายจำนวน 
4 ค่าย
Pre-Departure Camp  เป็นการให้ข้อมูล   และแนะนำการเตรียมตัวทั้งด้านภาษาและวัฒนธรรม สิ่งที่ควรเพิ่ม
เติม ควรลด /ละ/ เลิก
Departure Orientation Camp  การตรวจสอบเอกสารและข้อมูลก่อนการเดินทางและแลกเปลี่ยนเงินตรา
Post Orientation  วิทยากรจากกระทรวงศึกษาธิการ  มาแนะนำการเทียบโอน หน่วยกิต การรายงานตนเข้าศึกษา
ณ สถาบันเดิมของตน
Home Coming  งานคืนสู่เหย้า  สำหรับรุ่นพี่ปีที่แล้ว หรือรุ่นพี่ที่เป็น Staff  รวมทั้งรุ่นพี่ที่มีความประสงค์จะเข้า
ร่วมกิจกรรม 

            

  คุณรุจิรา  คันทรง   สานต่อการบรรยายด้วยเรื่อง การเทียบชั้นเรียนในต่างประเทศ จะอยู่ชั้นใดก็ได้แต่ต้องเป็น
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เลือกเรียนวิชาที่ตนถนัดและสนใจ และได้รับการประเมินผลและนำเอกสาร
ของการประเมินกลับมาด้วย การเทียบชั้นขึ้นอยู่กับระบบ-กฐระเบียบเดิมของกระทรวงศึกษาธิการ จริงๆแล้ว
นักเรียนไม่ต้องเรียนซ้ำชั้น แต่ใครที่ต้องการเรียนสายวิทยาศาสตร์ขอแนะนำว่าควรเรียนซ้ำชั้นเป็นอย่างยิ่ง
สำหรับโรง
เรียนกำแพงเพชรพิทยาคมต้องซ้ำชั้นสถานเดียวหากต้องการจะเรียนสายวิทยาศาสตร์  มีหลายราย
เหมือนกันขอเปลี่ยนเป็นสายศิลป์แทนเหตุผลเพราะมาค้นพบตนเองว่าไม่ถนัดและสนใจด้านภาษามากกว่า
ครูที่ปรึกษาอาจเรียกต่างกันไปของแต่ละสถานที่เช่น   Advisor / Counselor / angle     และยังมี ผู้ดูแล
อื่นๆเช่น  
Local Volunteer  / Local support ฯลฯ  การ Counseling Class และยังบรรยายเสริม
เรื่องการ
ER ( Early Return)  Request by Students/parents  or by Hosting Partner  / การทำ
วีซ่า การรับเกียรติบัตรทั้งจากประเทศอุปถัมภ์และประเทศไทย เป็นต้น
ฝ่ายบริการการศึกษารับหน้าที่ในการ
ประสานงาน / ดูแล /และให้คำปรึกษากับเยาวชนตลอดช่วงของการพำนักอยู่ ณ ต่างประเทศ

คุณนิตยา  สารรัตน์ ได้กล่าวสรุปและปิดการประชุม ในเวลา 12:10 น.
          หลังอาหารกลางวันคณะอาสาสมัครได้ไปทัศนศึกษาพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย จังหวัดนครปฐม   ไม่ได้มา
เที่ยวชมที่นี่นับเป็นเวลานานถึง
10 ปี   เห็นได้ถึงการพัฒนาไปสู่มาตรฐานที่ดี  ตั้งแต่การปรับภูมิทัศน์โดยรอบ
และมีการสร้างหุ่นเพิ่มขึ้นอีกหลายสิบตัว  จากการสังเกตหุ่นที่สร้างเพิ่มส่วนมากเป็นหุ่นของพระเกจิอาจารย์ที่
มีชื่อเสียงซึ่งมรณภาพไปแล้ว  หุ่นของศิลปินเพลง  หุ่นของพระมหากษัตริย์ทั้ง
8 รัชกาล  หุ่นของสมเด็จย่าและ
พระพี่นาง  ส่วนหุ่นอื่นๆที่แสดงการเล่นแบบไทยๆ และวิถีชีวิตของชาวไทยในอดีต และหุ่นตัวละครในเรื่อง
พระอภัยมณีและกวีเอกอย่างสุนทรภู่ นั้นมีมาแต่ดั้งเดิมแล้ว   คนไทยจะปั้นหุ่นขี้ผึ้งเฉพาะผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
อาจจะยึดถือเรื่องความเชื่อบางอย่างก็เป็นไปได้  

      แม้จังหวัดนครปฐมจะอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯมากนัก แต่ใช้เวลาเป็นชั่วโมงกว่าจะเดินทางกลับไปยัง
โรงเรียนสารวิทยา ได้ฟังเรื่องเล่านิทานร่วมสมัยจากคุณชเนศ(พี่ช้าง) หลายสิบเรื่องด้วยกัน  บางเรื่องฟังมาแล้ว
หลายครั้งแต่กลับไม่รู้สึกเบื่อแถมยังสนุกกว่าเดิมด้วยซ้ำอันนี้ถือว่าเป็นความสามารถเฉพาะตัวของผู้เล่า
อัจฉริยะ
!  พบกันใหม่กับการประชุมครั้งที่ 2  ช่วงเดือนตุลาคม พฤศจิกายน นี้ค่ะ

                        

 

หมายเลขบันทึก: 260282เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2009 16:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กันยายน 2015 13:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ภาพสไลด์สวยมากครับ ทั้งวิวและนางแบบ

พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งดีมาก ที่ผมชอบมากที่สุด คือ ที่ซ่อนลำโพงเยี่ยมจริงๆ ฮิฮิ

ขอบคุณค่ะ คุณเปลวเทียนช่างมีสายตาอันแหลมคม สามารถมองเห็นความงดงามทั้งในด้านศาสตร์และศิลป์ เยี่ยมค่ะ อ้อ...กรุณาอย่าเปลี่ยนเลนส์แว่นนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท