หมากหลอด_ไทเลย


ผลไม้อีสาน..กินไม่หวาด..ไม่ไหว(เยอะแยะจนกินไม่หมด)

วันก่อนผู้เขียนได้เขียนเรื่องหมากแงว...ผลไม้รสเปรี้ยวของชาวอีสานไปแล้ว..วันนี้ก็เลยนึกถึงหมากหลอด  บางครั้งก็เรียกสลอด ข้าพเจ้ามาบรรจุเป็นครูที่ อ.ปากชม  จ.เลย ก็ได้มาเห้นผลไม้ชนิดหนึ่งสีแดงมีรสเปรี้ยวมากๆๆๆ แต่อาจจะมีบางพันธ์ให้รสหวานบ้าง(แต่ก็ยังออกจะฝาดๆไม่หวานจับใจเหมือนผลไม้สุกชนิดอื่น  เพียงแค่ มันไม่เปรี้ยวจัด เราก็เหมาว่ามันหวานเอาเอง) ผู้เขียนก็เลยให้ชื่อว่าหมากหลอดไทเลย...เพราะถามเพื่อนๆที่เป็นคนจังหวัดอื่นไม่เคยกินมาก่อนเลย (ข้าพเจ้าเป็นคนชัยภูมิ) แต่ก็อร่อยติดใจไปเลย จึงขอเก็บข้อมูลมาฝากนะจ๊ะ

                  

ลักษณะ

หมากหลอดลูกเล็กๆ เรียวๆ สีเขียวเมื่อสุกจะออกส้ม-แดง  ล้ำต้นเป็นเถา มีเมล็ดรูปรียาวตามโครงสร้างของผล            

                        

วิธีรับประทาน

นำมาล้างน้ำ จะจิ้มน้ำพริกน้ำปลาหวานเหมือนมะม่วงก็ได้ใส่ข้าวคั่วนิดก็ดี  หรือจะตัดชิ้นเล็กๆ เหมือนมะม่วงลงไปแช่ในน้ำจิ้มแล้วใช้ช้อนซดกินก็แซ่บอย่าบอกใครเชียว...

ชื่อสมุนไพร : สลอด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Croton tiglium Linn.

ชื่อสามัญ : Purging Croton, Croton Oil Plant

ชื่ออื่น ๆ : สลอดต้น, หมากหลอด, หมากทาง, หมากยอง, มะข่าง, มะคัง, มะตอด, หัสคืน, ลูกผลาญศัตูร
 
วงศ์ : EUPHORBIACEAE
ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 3-6 ม. ต้นเกลี้ยง ใบเดี่ยวรูปไข่ เรียงสลับกัน ปลายใบแหลม ฐานใบกลม ขอบใบหยัก แบบซี่ฟัน มีเส้นใบ 3-5 เส้น ที่ฐานใบมีต่อม 2 ต่อม เนื้อใบบาง ก้านใบเรียวเล็ก ดอกเล็ก ออกเดี่ยว ๆ หรือออกเป็นช่อที่ยอด ใบประดับมีขนาดเล็ก ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน หรืออยู่ต่างต้นกัน ดอกเพศผู้ มีขนรูปดาว กลีบรองกลีบดอก 4-6 กลีบ
ปลายกลีบมีขน กลีบดอก 4-6 กลีบ ขอบกลีบมีขน ฐานดอกมีขน และมีต่อมจำนวนเท่ากันและอยู่ตรงข้ามกันกับกลีบรองกลีบดอก เกสรผู้มีจำนวนมาก ก้านเกสรไม่ติดกัน เมื่อดอกยังอ่อนอยู่ ก้านเกสรจะโค้งเข้าข้างใน ดอกเพศเมีย กลีบรองกลีบดอกรูปไข่ มีขนที่โคนกลีบ ไม่มีกลีบดอก หรือถ้ามีก็เล็กมาก รังไข่มี 2-4 ช่อง ผลแก่จัดแห้งและแตก รูปขอบขนานหรือรี กว้าง 1-1.5 ซม. ยาวประมาณ 2 ซม. หน้าตัดรูปสามเหลี่ยมมนๆ เมล็ดรูปขอบขนานแกมรูปรี สีน้ำตาลอ่อน (ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2530)

ประโยชน์ทางยา:

สรรพคุณและวิธีใช้ : เนื้อในเมล็ดเป็นยาถ่ายอย่างแรง จึงต้องใช้ด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ

สารประกอบทางเคมี: phorbol esters

ข้อบ่งใช้ : เมล็ด

ฤทธิ์ทางชีวภาพ ,
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
หรือผลการรักษาทางคลีนิก : สารสกัดชั้นเมทานอลยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อ HIV-1 (IC100 : 0.04 mcg/ml) และยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ HIV-1 protease (El-Mekkawy et al., 1998)

หลักฐานความเป็นพิษ และการทดสอบความเป็นพิษ : Cytotoxicity test on MT-4 cell ของสารสกัดชั้นเมทานอลมีค่า CC0 : 0.37 mcg/ml (El-Mekkawy, 2000)

เอกสารอ้างอิง: กองโรคเอดส์ กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. 2544. แนวทางการส่งเสริมสุขภาพ ผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข พิมพ์ครั้งที่ 2 โรงพิมพ์การศาสนา กรุงเทพมหานคร 106 หน้า. คณะกรรมการโครงการพัฒนาระบบบริการดูแลผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์อย่างครบถ้วนและต่อเนื่อง,2545. แนวทางการดูแลผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์อย่างครบถ้วนและต่อเนื่อง กองโรคเอดส์ กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข 41 หน้า

คำสำคัญ (Tags): #หมากหลอดไทเลย
หมายเลขบันทึก: 260255เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2009 13:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

ข้อมูลแน่นดีมากเลยครับ ผมเคยเขียนบันทึกของบักหลอดนี้เพราะที่บ้านเมืองเลยผมก็ปลูกไว้ต้นหนึ่งครับ (http://gotoknow.org/blog/attawutc/222684) แต่ไม่ได้ถ่ายรูปมา รูปถ่ายสวยดีครับ

  • ขอบคุณคุณP ไทเลย-บ้านแฮ่ ที่แวะมาทักทาย
  • คงเป็นกัลยาณมิตรที่ดี เพราะเรารักเมืองเลยนะค๊า....(ทั้งที่ไม่ใช้คนเลย แต่มาอยู่หลายปีแล้ว)5555+

ผมเป็นคนเมืองเลยโดยกำเนิด แต่มาขายแรงงานในเมืองกรุงครับ งานของผมก็เกี่ยวกับการเรียนการสอนเหมือนกับอาจารย์พิกุลครับ แต่เป็นการสอนคนทำงานครับ แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง การเรียนการสอนได้ครับ ยินดีที่รู้จักครับ

  • ขอบคุณคุณP  ไทเลย-บ้านแฮ่
  • ขอบคุณคุณP pa_daeng
  • ขอบคุณที่แวะมาทักทายกัน ยินดีรู้จักทั้งสองท่านค่ะ...*-*

สวัสดีครับ

แถวนี้เรียกมะหลอด เด็กๆส่วนใหญ่ไม่รู้จักกัน ปลูกไว้ต้นนึง ปีนี้ออกลูกดกมาก เลยลองมาจัดใส่ถาดดู น่าทานไหมครับ

ต้องขอขอบคุณสำหรับชื่ออื่นๆที่เรียก ต่างๆกันนะครับ

สลอดต้น, หมากหลอด, หมากทาง, หมากยอง, มะข่าง, มะคัง, มะตอด, หัสคืน, ลูกผลาญศัตูร

  • ขอบคุณP ARAM ที่แวะมาทักทาย
  • ขอบคุณที่ให้ข้อมูล และเก็บรูปมาฝาก

        (ชงโคขาว )

สวัสดีครับคุณพิกุล  แวะมาชมผลไม้พื้นบ้านครับ ขอบคุณที่ไปทักทายผมนะครับ

  • เคยทานค่ะ อมเปรี้ยว ๆ อร่อยดีค่ะ  บางลูกที่ออกแดง ๆ ก็มีปนหวานเล็ก ๆ นะคะ   ชอบทานมากค่ะ  แต่ไม่ทราบว่ามีสรรพคุณอะไรมาก่อน จนได้อ่านบันทึกนี้
  • จนถึงวันนี้ ไม่ได้ทานมานานนับยี่สิบปีแล้วค่ะ
  • ขอให้มีความสุขช่วงวันหยุดนี้นะคะ

ตอนนี้กำลังกินเปรี้ยวมาก

ไปซื้อที่ตลาดโต้รุ่งมาค่ะ

ถุงละ 10บาท

คนส่วนมากจะเข้าใจว่าหมากหลอดก็คือลูกสลอดที่นำเนื้อในของเมล็ดมากินเป็นยาละบาย  แต่นี้ไม่ใช่เลยคนละอย่างกันครับ  ลำต้นก็แตกต่างกันสิ้นดี สลอดเป็นไม้พุ่มแต่หมากหลอดเป็นไม้เถา(เถาวัน)บ้านผมเรียกเป็นเครือต้องมีค้างหรือร้างเพื่อให้มันเลื้อยขึ้นไป หรืออาศัยไม้อื่นเลื่อย  เป็นพืชที่มีลักษณะค่ายต้นกระดังงา(ในความคิดของผม)ส่วนมากแล้วมีมีอยู่จ เลยมาก ที่บ้านผมอยู่ในป่าก็มีนะ เถาเท่าต้นขาเห็นจะได้และมีรดเปรี้ยวมากลูกเล็กเรียวไม่ใหญ่เท่าบักหลอดบ้าน

เป็นคนหนองบัวลำภูจ้า...เคยกินเมื่อสมัยตอนเป็นเด็กบ้านย่าปลูกเอาไว้เมื่อสิบกว่าปีที่แล้วละมั้งแต่ตอนนี้แถวบ้านไม่มีเหลือแล้วแหละถามหลายๆมันยังไม่รู้จักกันเลยแต่ก็อยากกินอีกนะชอบแต่ไม่รู้จะหาที่ใหนอยากได้ตนมันมาปลูกกลัวจะสูญพันธุ์ซะก่อน


 

เข้าใจว่าน่าจะเป็นตัวเดียวกัน พอดีกำลังทานอยู่พอดี เลยหาข้อมูลส่งมาให้เพราะเข้าใจว่าข้อมูลประกอบของคุณเป็นคนละตัวกัน

                                        <table><tbody><tr><td><img style="margin: 10px;" src="http://www.biogang.net/upload_img/biodiversity/icon-biodiversity-145162-1.jpg" width="150">
                                        <table>
                            <tbody>
                                                                 
                            
                                        </tbody></table><p>

จำนวนคนถูกใจ 0 </p> </td></tr></tbody></table><table>

    <tbody><tr>
      <td>
            <strong>ชื่อที่เรียก</strong></td>
      <td>
      
            ส้มหลอด (มะหลอด)                
        </td>
    </tr>

    <tr>
      <td>
            <strong>ชื่ออื่นๆ</strong></td>
      <td>          
            -</td>
    </tr>

    <tr>
      <td>
            <strong>หมวดหมู่ทรัพยากร</strong></td>
      <td>          
            พืช</td>
    </tr>

    <tr>
      <td>
            <strong>ลักษณะ</strong></td>
      <td>          
            <div>ส้มหลอด (มะหลอด)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Elaeagnus latifolia ชื่อวงศ์ ELAEAGNACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ WILD OLIVE
ชื่ออื่นๆ มะหลอด, บ่าหลอด (ภาคเหนือ), ส้มหลอด ( ภาคใต้), สลอดเถา

ส้มหลอด เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง ที่พาดพิงต้นไม้อื่น ลำต้นและกิ่งมีเกล็ดสีเงิน ความสูงของ
ต้นส้มหลอด จะขึ้นอยู่กับความสูงของต้นไม้ที่อาศัยพึ่งพิง ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ
รูปรี กว้าง 3.5-4.5 ซม. ยาว 6-12 ซม. โคนสอบ ปลายแหลม ขอบเรียบ แผ่นใบด้านบน
สีเขียวอมน้ำเงิน เกลี้ยง ด้านล่างมีเกล็ดเล็กๆ สีเงิน ก้านยาว 0.8-1.2 ซม. ดอก ออก
เป็นกระจุกตามง่ามใบ เป็นดอกสมบูรณ์เพศ หรือมีดอกเพศผู้ปะปนด้วย กลีบดอกเชื่อม
ติดกันเป็นหลอดสามเหลี่ยมปลายแยก 5 กลีบ ผล รูปรี ยาว 1-2 ซม ผลอ่อนสีเขียว สุก
สีแดงหรือแดงออกส้ม รสเปรี้ยว ฝาดจนถึงรสหวาน แล้วแต่สายพันธุ์ เมล็ดสีน้ำตาล
เหลือง ตัวเมล็ดเป็นพู ลักษณะทางนิเวศน์ ส้มหลอด (มะหลอด)เป็นพืชที่เติบโตได้เร็วในที่ๆมีอากาศค่อนข้างเย็น ดินร่วนปนทราย
น้ำไม่ท่วมขัง ให้ผลผลิตเมื่อต้นมีอายุ 2-3 ปี ในช่วงธันวาคม-มีนาคมการขยายพันธุ์ทำได้
ด้วยการเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่งปักชำ ส้มหลอด (มะหลอด) เป็นไม้ผลพื้นเมืองที่พบมาก
ทางภาคเหนือตามป่า ทุ่งนาหรือปลูกตามบ้าน ในเขตภาคใต้จะพบได้บริเวณริมป่าเขาหลวง แถบอำเภอพิปูน-ฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ส่วนที่ใช้ประโยชน์ ผลดิบ เนื้อจะค่อนข้างกรอบใช้เป็นยาฝาดสมาน, ผลกึ่งดิบกึ่งสุก คนไทยถิ่นใต้ใช้แกง
ส้ม, ผลสุก เนื้อจะนิ่ม เป็นอาหาร(ทานกับน้ำพริกหวาน), เป็นยาระบายแก้ท้องผูก, ใช้ทำ
ไวน์มะหลอด

ดูข้อมูลเกี่ยวกับ ส้มหลอด (มะหลอด)ในเวบไซท์อื่น- "มะหลอด"ไม้ผลพื้นเมืองสู่เส้นทางงานวิจัย

</strong></div></td></tr></tbody></table>

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท