การแพทย์แผนไทยอุดรธานีกับโรคเบาหวาน
คณะทำงานจัดการความรู้ การแพทย์แผนไทยอุดรธานีกับโรคเบาหวาน

เล่าเรื่องแพทย์แผนไทยอุดรเดือน เมษายน - พฤษภาคม 2550


ประชุมแกนนำเครือข่ายหมอพื้นบ้าน 5 อำเภอ

รายงานผลการปฏิบัติงาน งานการแพทย์แผนไทย ฯ

แผนการปฏิบัติงาน งานการแพทย์แผนไทย ฯ

มิถุนายน  2550

วันที่

กิจกรรม

4 มิถุนายน 2550

ร่วมจัดเวทีเครือข่ายหมอพื้นบ้าน  สถานที่ รพ.อุดรธานี

6 มิถุนายน 2550

เตรียมการคัดเลือก คว.ตาม พรบ.คค.ภูมิปัญญา ฯ 2542 ห้องประชุมร่มโพธิ์ทอง สสจ.อด.

7 มิถุนายน 2550

ร่วมจัดเวทีเครือข่ายหมอพื้นบ้าน  สถานที่ รพ.ทุ่งฝน

11 12  มิถุนายน 2550

รับการอบรมการจัดการความรู้ รร.เจริญศรีแกรนด์ (สวช.3)

13 มิถุนายน 2550

จัดประชุมคัดเลือก คว.ตาม พรบ.คค.ภูมิปัญญา ฯ 2542 ห้องประชุมร่มโพธิ์ทอง สสจ.อด.

14 มิถุนายน 2550

ร่วมจัดเวทีเครือข่ายหมอพื้นบ้าน  สถานที่ รพ.หนองแสง

18-22  มิถุนายน 2550

จัดอบรมเจ้าหน้าที่เพื่อการออกใบรับรองการรักษา รร.การิน

25 มิถุนายน 2550

ร่วมจัดเวทีเครือข่ายหมอพื้นบ้าน  สถานที่ รพ.น้ำโสม

27 มิถุนายน 2550

ร่วมจัดเวทีเครือข่ายหมอพื้นบ้าน  สถานที่ รพ.โนนสะอาด

28 มิถุนายน 2550

เวทีแลกเปลี่ยนเหนื่อยนักพักนวด ขอนแก่น

 

ผลการดำเนินงาน

เมษายน  พฤษภาคม 2550

วันที่

กิจกรรม

17 เมษายน 2550

ร่วมจัดเวทีเครือข่ายหมอพื้นบ้าน  สถานที่ รพ.สร้างคอม (ไม่ได้ดำเนินการ)

18 เมษายน 2550

จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ ร่วมกับชมรมหมอพื้นบ้านฯ อ.บ้านดุง สถานที่ รร.เจริญโฮเต็ล

19 เมษายน 2550

ร่วมกับอคมส. ตรวจเยี่ยม รพ.โนนสะอาด ไม่ได้ร่วมดำนินการ เนื่องจากติดภารกิจเข้าร่วมคณะนิเทศงานคปสอ.โซน 4  ตรวจเยี่ยม คปสอ.กุดจับ

20 เมษายน 2550

เข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมอพื้นบ้าน จ.มหาสารคามและ จ.กาฬสินธุ์

23 เมษายน 2550

ร่วมจัดเวทีเครือข่ายหมอพื้นบ้าน  สถานที่ รพ.นายูง

25 เมษายน 2550

เข้าร่วมคณะนิเทศงานคปสอ.โซน 4  ตรวจเยี่ยม คปสอ.น้ำโสม

26 เมษายน 2550

ไม่ได้ร่วมดำนินการ เนื่องจากติดภารกิจเข้าร่วมคณะนิเทศงานคปสอ.โซน 4  ตรวจเยี่ยม คปสอ.บ้านผือ

27 เมษายน 2550

ร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายใบชะโนด และชมรมหมอพื้นบ้านสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น อ.บ้านดุง

 

วันที่

กิจกรรม

5 พฤษภาคม 2550

เข้าร่วมประชุมประชุมเตรียมการคัดเลือก คว.ตาม พรบ.คค.ภูมิปัญญา ฯ 2542 กรุงเทพฯ

11 พฤษภาคม 2550

ประชุมเชิงปฏิบัติการสรุปผลการประเมินมาตรฐานบริการการแพทย์แผนไทย

16 พฤษภาคม 2550

ร่วมจัดเวทีเครือข่ายหมอพื้นบ้าน  สถานที่ รพ.สร้างคอม

17 พฤษภาคม 2550

ร่วมกับอคมส. ตรวจเยี่ยม รพ.พิบูลย์รักษ์

18 พฤษภาคม 2550

ร่วมกับเจ้าหน้าที่ ศวก.อุดรและ สถาบันวิจัยสมุนไพร (สวพ.) วิเคราะห์สภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขเพื่อบรรลุเกณฑ์โครงการคุณภาพสมุนไพรไทย (ตัวคิว)  รพ.เพ็ญ และวัดป่าบ้านค้อ

23 พฤษภาคม 2550

ร่วมกับตัวแทนเครือข่ายใบชะโนดและชมรมหมอพื้นบ้านสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้าพบ นายก.อบจ.เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ

29 พฤษภาคม 2550

จัดประชุมแกนนำเครือข่ายหมอพื้นบ้าน 5 อำเภอ และเข้าร่วมกิจกรรมเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชนของเครือข่ายใบชะโนด ณ วัดบ้านเมืองไพร อ.บ้านดุง

 

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ

1.18 เมษายน 2550 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ ร่วมกับชมรมหมอพื้นบ้านฯ อ.บ้านดุง สถานที่ รร.เจริญโฮเต็ล จากการดำเนินงานได้นำข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุประสงค์การดำเนินงานด้านเครือข่ายแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน นำเสนอให้แก่ตัวแทนนายก อบต.ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี , เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อนำไปสู่การประสานความร่วมมือและ มีเครือข่าย / ชมรมที่มีสมาชิก และกิจกรรมชัดเจน อำเภอละ 1 เครือข่าย / ชมรม โดยสมาชิกของเครือข่าย / ชมรม อย่างน้อยหมู่บ้านละ 1 คน ทั้งนี้กิจกรรมหลักที่เสนอได้แก่สำรวจ / รวบรวม / จัดระเบียบของข้อมูลเครือข่ายภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ 5 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มหมอพื้นบ้าน / ผู้มีใบประกอบโรคศิลปะแพทย์แผนไทย , กลุ่มผู้ปลูก / แปรรูปสมุนไพร , กลุ่มผู้ผลิต / จำหน่ายยาแผนไทย ,  กลุ่ม NGO ด้านการแพทย์แผนไทย , กลุ่มนักวิชาการด้านการแพทย์แผนไทย โดยการจัดเวทีให้เครือข่ายได้พบปะแลกเปลี่ยนอย่างมีชีวิตชีวาโดยอาศัยหลัก 9 วิธีการสร้างและพัฒนาเครือข่ายให้มีชีวิตและจิตวิญญาณ รวมทั้งการสร้างกลไกการพัฒนาการดำเนินงานของเครือข่าย เช่น การจัดตั้งชมรม การร่วมกันจัดทำระเบียบข้อบังคับของชมรม

 

2.20 เมษายน 2550 จากการเข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมอพื้นบ้าน จ.มหาสารคามและ จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งคณะที่ร่วมเดินทางไปราชการครั้งนี้ ประกอบด้วยคณะกรรมการชมรมหมอพื้นบ้านสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น อ.บ้านดุง จำนวน 3 คน , ตัวแทนเครือข่ายใบชะโนด 1 คน , นายก อบต.บ้านชัย 1 คน หัวหน้าสถานีอนามัยบ้านม่วง 1 คน และเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป งานการแพทย์แผนไทย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี 1 คน รวม 8 คน โดยได้ใช้งบประมาณจากกองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย  มีกิจกรรมคือการร่วมเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับกลุ่มออมทรัพย์วันละ 1 บาท ได้ทราบข้อมูลและแนวทางในการจัดตั้งกลุ่มและการดำเนินงานของกลุ่ม ความพร้อมเพรียงและร่วมแรงร่วมใจในการดำเนินงานของกลุ่ม โดยเฉพาะในเรื่องของความผูกพันของสมาชิก ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของคนภูไท ที่มีความรักในการรวมกลุ่ม นอกจากนี้การประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของกลุ่มอย่างเข้าถึงทำให้กลุ่มเป็นที่รู้จักของสาธารณชน และได้เดินทางไปยังศูนย์เรียนรู้การแพทย์พื้นบ้าน ต.เหล่ากลาง กิ่ง อ.ฆ้องชัย คณะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการดำเนินงานของกลุ่มหมอพื้นบ้าน ซึ่งมีหมอนวดเหยียบเหล็กแดง  , หมอเป่า และหมอยา โดยมีข้อมูลเกี่ยวกับความเชื่อมโยงของกลุ่มกับชุมชน เช่นการสนับสนุนให้มีมัคคุเทศก์น้อยจากโรงเรียนได้เข้าร่วมเรียนรู้สมุนไพรในศูนย์ซึ่งมีพื้นที่กว่า 500 ไร่  จากหมอพื้นบ้าน และมีการจัดทำทะเบียนต้นยาสมุนไพร ซึ่งนายก อบต.บ้านชัยที่เดินทางไปด้วยได้แสดงความรู้สึกเกี่ยวกับความเข้มแข็งของกลุ่ม และให้ความมั่นในการที่จะสนับสนุนการดำเนินงานของชมรมหมอพื้นบ้านสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น วิทยากรคือหมอบุญยงค์ บัวบุปผา อดีตแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลกมลาไสย

 

3.23 เมษายน 2550 ร่วมจัดเวทีเครือข่ายหมอพื้นบ้าน  สถานที่ รพ.นายูง ซึ่งคณะที่ร่วมเดินทางไปราชการครั้งนี้ ประกอบด้วยคณะกรรมการชมรมหมอพื้นบ้านสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น อ.บ้านดุง จำนวน 6 คน , ตัวแทนเครือข่ายใบชะโนด 1 คน และเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป งานการแพทย์แผนไทย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี 1 คน รวม 8 คน โดยได้ใช้งบประมาณจากกองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย  มีกิจกรรมร่วมเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับตัวแทนหมอพื้นบ้าน อ.นายูง ซึ่งประกอบด้วย หมอที่มีความรู้เกี่ยวสมุนไพรบำบัด 4 คน , หมอที่มีความรู้เกี่ยวกับกายบำบัด (นวด) 8 คน  และหมอที่มีความรู้เกี่ยวกับจิตบำบัด (หมอเป่า หมอมนต์ หมอน้ำมัน) 8 คน และจากการแบ่งกลุ่มย่อย โสเหล่  หมอพื้นบ้านทางอำเภอนายูง ยังไม่ได้รวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็นชมรม แต่เมื่อได้พูดคุยกับชมรมหมอพื้นบ้าน ฯ แล้วก็มีความคิดที่จะรวมกลุ่มเช่นกัน แต่ยังขาดการสนับสนุน ทั้งนี้เจ้าหน้าที่อำเภอก็พร้อมที่จะให้การสนับสนุน ขาดเพียงทักษะในการจัดตั้งกลุ่ม ซึ่งงานแพทย์แผนไทยได้ให้แนวทางดังนี้

1.ทำอย่างไรจึงจะเกิด เครือข่ายภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพในทุกอำเภอ โดยมีสมาชิกจากทุกหมู่บ้าน อย่างน้อย 1 คน (1 3 ปี เวทีพูดคุย ไม่ต่ำกว่า 5 10 ครั้ง)

2.เมื่อเกิดเครือข่ายแล้ว ทำอย่างไรให้เครือข่ายสามารถไปต่อได้ด้วยตัวเองซอกหาคน ค้นหายา สร้างศรัทธา หาแนวทำ (1 ปีแรก กำหนดเป้า กำหนดวัตถุประสงค์ ระเบียบข้อบังคับของชมรม  ปีต่อ ๆ มา ติดตามงาน ต่อยอด ติดตา)

3.เมื่อเครือข่ายสามารถไปต่อได้ด้วยตนเองแล้ว ชุมชนได้ประโยชน์จาก แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ(2 ปีให้หลัง หลังจากเกิดเครือข่ายที่ชัดเจน เข้มแข็ง(กรรมการ กิจกรรม กองทุน) )

และ 16 พฤษภาคม 2550 ร่วมจัดเวทีเครือข่ายหมอพื้นบ้าน  สถานที่ รพ.สร้างคอม ก็ได้ผลเช่นเดียวกัน

 

4.11 พฤษภาคม 2550 ประชุมเชิงปฏิบัติการสรุปผลการประเมินมาตรฐานบริการการแพทย์แผนไทย  ได้จัดประชุมติดตามการดำเนินงานแพทย์แผนไทย รอบที่ 2 /2550   ณ ห้องประชุมร่มโพธิ์ทอง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี ตั้งแต่เวลา 09.00 16.30 น. ซึ่งมีบทสรุปเพื่อเสนอผู้บริหาร และขอให้ผู้รับผิดชอบการดำเนินงานการแพทย์แผนไทยได้ดำเนินการดังนี้

1.จัดทำรายงานประจำเดือนส่งภายในวันที่ 2 ของทุกเดือน โดยสามารถส่งในรูปแบบ EXCEL FILE และแจ้งเป็นหนังสือให้งานทราบ หรือจัดทำเป็นเอกสารส่ง โดยแบบฟอร์มสามารถดาวน์โหลดได้ในหมวดดาวน์โหลดเอกสาร

2.ส่งผลการประเมินมาตรฐานบริการการแพทย์แผนไทย ในรูปแบบ EXCEL FILE ภายในวันที่ 25 พฤษภาคม 2550

3.ส่งรายชื่อเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยผู้รับผิดชอบงานการแพทย์แผนไทย ของสถานีอนามัยที่มีบริการ           แพทย์แผนไทยระดับ 2  ซึ่งงานการแพทย์แผนไทยได้จัดทำโครงการอบรมเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยปี 2550  ภายในวันที่ 25 พฤษภาคม 2550

 

5.18 พฤษภาคม 2550  ร่วมกับเจ้าหน้าที่ ศวก.อุดรและ สถาบันวิจัยสมุนไพร (สวพ.) วิเคราะห์สภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขเพื่อบรรลุเกณฑ์โครงการคุณภาพสมุนไพรไทย (ตัวคิว)  รพ.เพ็ญ และวัดป่าบ้านค้อ โดยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานแพทย์แผนไทยนั้นคือการสำรวจข้อมูลของกลุ่มผู้ปลูกสมุนไพร

 

6.23 พฤษภาคม 2550 ร่วมกับตัวแทนเครือข่ายใบชะโนดและชมรมหมอพื้นบ้านสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้าพบ นายก.อบจ.เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ซึ่งหน่วยงานทั้งสองได้ขอความร่วมมือให้งานการแพทย์แผนไทยประสานงานและร่วมจัดทำโครงการดนตรีสัมพันธ์สื่อสารชุมชน งบประมาณ 149,000 บาท และโครงการส่งเสริมการเรียนรู้หมอพื้นบ้านภูมิปัญญาท้องถิ่น งบประมาณ 265,400 บาท

 

7.29 พฤษภาคม 2550 จัดประชุมแกนนำเครือข่ายหมอพื้นบ้าน 5 อำเภอ และเข้าร่วมกิจกรรมเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชนของเครือข่ายใบชะโนด ณ วัดบ้านเมืองไพร อ.บ้านดุง ซึ่งคณะที่ร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ได้แก่ แกนนำเครือข่ายหมอพื้นบ้านและเจ้าหน้าที่จาก 5 อำเภอได้แก่ อำเภอบ้านดุง 20 คน , อำเภอหนองหาน 1 คน , อำเภอเพ็ญ 3 คน , อำเภอไชยวาน 2 คน และอำเภอกุมภวาปี 10 คน โดยได้ใช้งบประมาณจากงานสนับสนุนวิชาการ 5 ภาคประชาชน 2,400 บาท กิจกรรมมีการนำเสนอ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือส่วนการนำเสนอของงานการแพทย์แผนไทย ได้แจ้งเกี่ยวกับการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และแนวทางการสำรวจภูมิปัญญาท้องถิ่น  โดยได้ฝากให้เจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานได้อำนวยความสะดวกและให้ข้อคิดเห็นในการสำรวจ เพื่อใช้เป็นโจทย์ในการพบกันในคราวต่อไป และจะได้นำข้อมูลเกี่ยวกับบทเรียนเครือข่าย และการจัดตั้งเครือข่ายที่เข้มแข็งมาพูดคุยให้แกนนำได้นำไปดำเนินการ ทั้งนี้คัดเลือกจาก 5 อำเภอ เนื่องจากเป็นการนำร่องและให้แกนนำของแต่ละอ

หมายเลขบันทึก: 257704เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2009 15:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 10:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

7.29 พฤษภาคม 2550 จัดประชุมแกนนำเครือข่ายหมอพื้นบ้าน 5 อำเภอ และเข้าร่วมกิจกรรมเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชนของเครือข่ายใบชะโนด ณ วัดบ้านเมืองไพร อ.บ้านดุง ซึ่งคณะที่ร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ได้แก่ แกนนำเครือข่ายหมอพื้นบ้านและเจ้าหน้าที่จาก 5 อำเภอได้แก่ อำเภอบ้านดุง 20 คน , อำเภอหนองหาน 1 คน , อำเภอเพ็ญ 3 คน , อำเภอไชยวาน 2 คน และอำเภอกุมภวาปี 10 คน โดยได้ใช้งบประมาณจากงานสนับสนุนวิชาการ 5 ภาคประชาชน 2,400 บาท กิจกรรมมีการนำเสนอ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือส่วนการนำเสนอของงานการแพทย์แผนไทย ได้แจ้งเกี่ยวกับการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และแนวทางการสำรวจภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยได้ฝากให้เจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานได้อำนวยความสะดวกและให้ข้อคิดเห็นในการสำรวจ เพื่อใช้เป็นโจทย์ในการพบกันในคราวต่อไป และจะได้นำข้อมูลเกี่ยวกับบทเรียนเครือข่าย และการจัดตั้งเครือข่ายที่เข้มแข็งมาพูดคุยให้แกนนำได้นำไปดำเนินการ ทั้งนี้คัดเลือกจาก 5 อำเภอ เนื่องจากเป็นการนำร่องและให้แกนนำของแต่ละอำเภอมีผู้ช่วยเหลือที่พร้อมดำเนินการได้ดี และส่วนการนำเสนอของเครือข่ายใบชะโนดและชมรมหมอพื้นบ้านสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งชมรมได้นำเสนอกิจกรรมที่ดำเนินการมาแล้วของชมรม ความก้าวหน้าของการดำเนินการในเรื่องการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ ความปลอดภัย สะอาด นอกจากนี้ผู้จัด (คุณชัยพฤกษ์ ประธานเครือข่ายใบชะโนด ) ได้เชิญคณะนักเรียนและประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมเรียนรู้ไปกับชมรมหมอพื้นบ้าน และเวลาบ่ายได้มีกิจกรรมศึกษาระบบนิเวศน์ป่าบ้านเมืองไพรเพื่อนำเสนอแนวคิดของการที่ชุมชนร่วมแรงร่วมใจกันอนุรักษ์ป่าชุมชนไว้ไม่ให้มีการจับจอง หักร้างถางพง ทำให้มีพื้นที่ป่าและพื้นที่ชุ่มน้ำของลำน้ำสงครามในบริเวณบ้านเมืองไพรกว่า 1 พันไร่ และชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์ในการหาของป่าโดยเฉพาะหน่อไม้ ซึ่งขณะที่คณะได้ร่วมกิจกรรมนั้นมีชาวบ้านจากอำเภอทุ่งฝนก็เข้าเก็บหาหน่อไม้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีพืชสมุนไพรในพื้นที่ชุ่มน้ำดังกล่าวอีกหลายชนิดที่ยังไม่ได้ดำเนินการสำรวจ โดยวัตถุประสงค์ของผู้จัดต้องการให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้นำไปบอกต่อ หรืออาจจะนำแนวคิดของชุมชนไปปรับใช้กับพื้นที่ของตนเอง โดยบทสรุปเสนอผู้บริหารนั้น จากการสอบถามความต้องการของแกนนำที่เข้าร่วมกิจกรรมพบว่าในส่วนของแกนนำหมอพื้นบ้านที่เข้าร่วมกิจกรรมนั้นต้องการที่จะได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับความรู้ในการใช้ยาสมุนไพรพื้นบ้านในการช่วยเหลือเพื่อนบ้านของหมอพื้นบ้าน จากประเด็นดังกล่าวน่าจะจัดทำเป็นประเด็นเชิงกลุ่มเช่นกลุ่มหมอยา หมอเป่า หมอน้ำมัน หรือเป็นประเด็น โดยจัดให้มีในกำหนดการในบางช่วง ซึ่งการแลกเปลี่ยนเช่นนี้จะทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมอยากมาเข้าร่วมในคราวต่อไปเพราะเป็นการตอบสนองความต้องการอีกส่วนหนึ่ง นอกจากตอบสนองวัตถุประสงค์ของเจ้าหน้าที่แล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท