การแพทย์แผนไทยอุดรธานีกับโรคเบาหวาน
คณะทำงานจัดการความรู้ การแพทย์แผนไทยอุดรธานีกับโรคเบาหวาน

เล่าเรื่องแพทย์แผนไทยอุดรเดือนกันยายน 2549


ก่อตั้งชมรมให้เข้มแข็ง

ประชาคมตำบล ประเด็นการเคลื่อนงานหมอพื้นบ้านในชุมชน เพื่อเสนอสภาผู้นำ

 ถ้าจะส่งเสริมหมอพื้นบ้านในอนาคตจะทำอย่างไร

1.1    หมอพื้นบ้านยังจำเป็นอยู่หรือไม่  ดีจริงหรือไม่  ถ้าจำเป็น  จำเป็นแค่ไหน  เรื่องอะไร  จะไปหาใคร(หมอพื้นบ้านคนไหนเก่งเรื่องอะไร)  ได้

1.2    ถ้าจำเป็นจริงๆ  สถานการณ์ของหมอพื้นบ้านเป็นอย่างไร

1.3    แล้วหมอพื้นบ้านวาดหวังไว้อย่างไร  (ฝันอยากให้เป็นอย่างไร)

1.4    หมอพื้นบ้านจะทำความฝันนั้นให้เป็นจริงได้อย่างไร  มีแผนการอย่างไร

จากการระดมความคิดเห็นร่วมกันของหมอพื้นบ้านใน  4  ประเด็นที่กล่าวข้องต้น  สามารถรวบรวมข้อมูลได้  ดังนี้

Ø    หมอพื้นบ้านยังจำเป็นอยู่หรือไม่  ดีจริงหรือไม่  ถ้ายังจำเป็น   จำเป็นแค่ไหน  เรื่องอะไร  จะไปหาใคร (หมอพื้นบ้านคนไหน)  ได้

จำเป็น  เพราะ 

1.       หมอพื้นบ้านสามารถช่วยเหลือเบื้องต้นได้

2.       ยังมีผู้ป่วยมารับการรักษากับหมอพื้นบ้าน

3.       มีหมอพื้นบ้านอยู่ใกล้ตัวและรักษาง่าย

4.       ไม่เสียค่ารักษาแพง

5.     โรคบางอย่างโรงพยาบาลรักษาให้หายขาดไม่ได้  แต่หมอพื้นบ้านรักษาหายขาดได้  เช่น  กำเริด  ตาแดง  งูสวัส  กลางเต้น  ไข้หมากไม้  จอดกระดูก  ทำมะลา  และอื่นๆ

6.     บางกรณีไม่จำเป็นต้องรักษากับแพทย์แผนปัจจุบัน  สามารถรักษากับ        หมอพื้นบ้านได้  เช่น  ร้อนใน  เบื่อเมา  ยาบำรุงกำลัง  ยาประสานกระดูก

 

 

Ø    ถ้าจำเป็นจริงๆสถานการณ์ของหมอพื้นบ้านเป็นอย่างไร                 

1.       การรักษาของหมอพื้นบ้านยังไม่ถูกกฎหมาย

2.       มีการรักษาแต่หลบๆซ่อนๆ

3.       มีการใช้คาถาเป่าจึงไม่ผิดกฎหมาย

4.       ยังมีคนป่วยที่ไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลแต่ไม่หายแล้วมาหาหมอพื้นบ้าน

5.       คนจนได้รับบริการทั่วถึง

6.     ราคาไม่แพง  หมอพื้นบ้านสามารถช่วยเหลือได้ในเวลาวิกาล  และไม่ได้เรียกราคา  สามารถให้คำปรึกษาอาการต่างๆของโรคได้  ซึ่งเป็นวิถีชีวิตของชุมชน  จึงขาดหมอพื้นบ้านไม่ได้

7.       ไม่มีหน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุนด้านต่างๆ

8.       ไม่มีหน่วยงานใดรับรองหมอพื้นบ้าน

9.       ไม่มีส่วนสนับสนุนด้านงบประมาณ

10.    หมอพื้นบ้านไม่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

11.    ไม่มีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับหมอพื้นบ้าน

12.    มีการจัดตั้งชมรมหมอพื้นบ้านของอำเภอแล้ว

 

Ø    แล้วหมอพื้นบ้านวาดหวังไว้อย่างไร (ฝันว่าอยากให้เป็นอย่างไร)

1.       อยากมีหนังสือรับรอง

2.       อยากมีสิทธิ์ในการเป็นหมอพื้นบ้าน

3.       อยากมีสิทธิ์การรักษาพยาบาลร่วมกับสถานพยาบาลภาครัฐ

4.       อยากให้เป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป

5.       อยากให้ทางการช่วยเหลือในเรื่องเอกสารสิทธิให้ผู้ซื้อยอมรับ

6.       อยากให้รัฐส่งเสริม

7.       อยากมีสถานที่หรือตลาดนัดยาสมุนไพร

8.       อยากมีสถานที่เป็นจุดศูนย์รวมของหมอพื้นบ้านในการจำหน่ายยาสมุนไพร

9.       อยากมีการประชุมประจำเดือน

10.    อยากมีตำราเป็นของตัวเอง

11.    อยากได้ลิขสิทธิตำรับยาของตัวเอง

12.    อยากมีโครงการก้าวหน้าให้ถาวรมากยิ่งขึ้น

13.    อยากมีที่พึ่งพา

14.    อยากให้จัดตั้งองค์กร

15.    อยากให้ตั้งชมรมหมอพื้นบ้านขึ้นต่อสถานีอนามัย

16.    อยากให้มีการรวมกลุ่มของหมอพื้นบ้าน

17.    อยากได้ใบรับรองสมาชิกชมรม (บัตรสมาชิกชมรม)

18.    อยากอนุรักษ์หมอพื้นบ้านไว้ต่อไป

19.    อยากอนุรักษ์พันธุ์พืชสมุนไพรไว้ให้ลูกหลานเรียนรู้ต่อไป

20.    อยากให้มีการอนุรักษ์ภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้าน

21.    อยากให้มีหมอพื้นบ้านต่อนานๆ

22.    อยากถ่ายทอดความรู้ให้แก่ลูกหลานต่อไป

 

Ø    หมอพื้นบ้านจะทำความฝันนั้นให้เป็นจริงได้อย่างไร  มีแผนการอย่างไร

1.     ก่อตั้งชมรมให้เข้มแข็ง  โดยการรวมตัวกัน  มีมติร่วมกันและเสนอ           ความคาดหวังทั้งหมดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาต่อไป

2.       มีชมรมเป็นของตัวเอง

3.       จัดตั้งชมรมหมอพื้นบ้าน

4.       ตั้งกลุ่มให้เข้มแข็ง

5.       มีความสามัคคีในกลุ่ม

6.       โครงการที่ต้องเสนอต้องเป็นข้อเท็จจริง

7.       ให้หน่วยงานสาธารณสุขส่งเสริมให้เป็นจริงเป็นจัง

 

หมายเลขบันทึก: 257700เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2009 15:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท