การแพทย์แผนไทยอุดรธานีกับโรคเบาหวาน
คณะทำงานจัดการความรู้ การแพทย์แผนไทยอุดรธานีกับโรคเบาหวาน

เล่าเรื่องแพทย์แผนไทยอุดรเดือนตุลาคม 2549


การจัดตั้งกลุ่ม

รายงานผลการปฏิบัติงาน งานการแพทย์แผนไทย ฯ

แผนการปฏิบัติงาน งานการแพทย์แผนไทย ฯ

พฤศจิกายน 2549

วันที่

กิจกรรม

3 พศจิกายน 2549

ประชุมจัดทำแผนปฏิบัติการตามแผนงานพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพเพื่อการพึ่งตนเองของชุมชน  ณ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยผู้ดำเนินการประชุมคือ อ.ดร.อุษา กลิ่นหอม และนายยงยุทธ ตรีนุชกร

10 พฤศจิกายน 2549

ประชุมคัดเลือก อสม ดีเด่น

 

ผลการดำเนินงาน

ตุลาคม 2549

วันที่

กิจกรรม

6 ตุลาคม 2549

นำเสนอสรุปผลการดำเนินงานโครงการวิจัยขบวนการมีส่วนร่วมของหมอพื้นบ้านในการวินิจฉัยโรคแบบพื้นบ้าน ร่วมกับเครือข่ายสุขภาพวิถีไท นพ.ประพจน์ เภตรากาศ เป็นประธาน ร่วมกับ ดร.สินธุ์ สโรบล ผู้แทนจาก สกว

10 11 ตุลาคม 2549

ระดมสมองในการจัดทำกลยุทธ์หลักในการดำเนินงานปี 2550 ร่วมกับตัวแทนผู้รับผิดชอบ ณ รร.บ้านเชียง อุดรธานี

12  ตุลาคม 2549

ลงพื้นที่สัมภาษณ์ข้อมูลเกี่ยวกับหมอนวดพื้นบ้านที่จะได้รับการประเมินรับรองเป็นผู้ที่สมควรได้รับใบประกอบโรคศิลป์ พ่อใหญ่เฟื้อ ขยันการ บ้านดงอุดม ต.หนองบัว จ.อุดรธานี

13  ตุลาคม 2549

ร่วมประชุมกับชมรมหมอพื้นบ้านสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น (จัดทำระเบียบ/ข้อบังคับชมรม , แผนงานของชมรม)

16 31 ตุลาคม 2549

สรุปผลการดำเนินงานปี 2549

จัดทำ VCD แนะนำชมรมหมอพื้นบ้าน ฯ

จัดทำ VCD แนะนำพ่อใหญ่เฟื้อ ขยันการ

25 27 ตุลาคม 2549

ร่วมดูงานชุมชนเข้มแข็ง กับสมาคมเพื่อร่วมกันพัฒนาท้องถิ่น และองค์การแพลนนานาชาติ ที่นครพนม และมุกดาหาร

 

สรุปผลการดำเนินงาน

1.จากการร่วมประชุมกับชมรมหมอพื้นบ้านสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการให้ข้อมูลกระบวนการสร้างเครือข่าย โดย อ.พัฒน์  บุณยรัตนพันธุ์ มี 3 ขั้น โดยขั้นที่ 1 ว่าด้วยการจัดตั้งกลุ่ม , ขั้นที่ 2 ว่าด้วยการเคลื่อนไหวของกลุ่ม , ขั้นที่ 3 ว่าด้วยการเจริญเติบโตของกลุ่ม

                ขั้นที่ 1 ว่าด้วยการจัดตั้งกลุ่ม มีแนวคิด 8 ด้าน คือ 1.ค้นหาผู้นำ ,  2.กำหนดความต้องการร่วม , 3.การสมัครใจมารวมกลุ่ม , 4.สิ่งแวดล้อมคล้ายกัน รู้สึกเป็นพวกเดียวกัน , 5.วัยใกล้เคียงกัน ความสนใจเดียวกัน , 6.เพศเดียวกัน สนใจเดียวกัน , 7.การมีความสัมพันธ์ต่อกันไม่ขัดแย้ง , 8.สถานการณ์เพื่อการรวมกลุ่ม

                ขั้นที่ 2 การเคลื่อนไหวของกลุ่ม มีแนวคิด 8 ด้าน คือ 1.เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ , 2.การสร้างแนวคิด ยกระดับจิตใจ จิตสาธารณะ , 3.การส่งเสริมความมีวินัย ข้อบังคับของกลุ่ม , 4.ส่งเสริมสัมพันธภาพ , 5.ส่งเสริมกิจกรรมกลุ่มเพื่อการเคลื่อนไหว-ปฏิบัติจริง , 6.ส่งเสริมวิชาการ ความรู้ใหม่ๆ , 7.ส่งเสริมผลประโยชน์ร่วม-การจัดสรรผลประโยชน์ , 8.ส่งเสริมสถานภาพความผูกพัน

                ขั้นที่ 3 การเจริญเติบโตของกลุ่ม มีแนวคิด 8 ด้าน คือ 1.สหพันธ์การรวมกลุ่ม , 2.หน่วยนำร่วม , 3.สร้างประโยชน์ร่วม , 4.กิจกรรมพึ่งพา , 5.แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่ม , 6.สร้างพลังร่วม , 7.ลดความสิ้นเปลืองร่วม , 8.สร้างพลังต่อรอง

 

2.ศึกษาดูงานชุมชนเข้มแข็ง  โดยคณะที่ร่วมเดินทางไปราชการครั้งนี้ ประกอบด้วยคณะกรรมการสมาคมเพื่อร่วมกันพัฒนาท้องถิ่น อำเภอเพ็ญ , กลุ่มทอผ้าพื้นเมือง , กลุ่มเกษตรกรรมปลอดสารพิษ , กลุ่มพิทักษ์สิทธิเยาวชนและสตรี , กลุ่มแพทย์แผนไทย และตัวแทนจากชมรมหมอพื้นบ้านสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอบ้านดุง จ.อุดรธานีโดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การแพลน ฯ พื้นที่อำเภอเพ็ญ

2.24 ตุลาคม 2549 สรุปบทเรียนเพื่อการเคลื่อนงานต่อขององค์กรชุมชน โดยมีสมาคมเพื่อร่วมกันพัฒนาท้องถิ่น ฯ ซึ่งเป็นองค์กรชุมชนที่จดทะเบียนตามกฎหมาย สามารถที่จะเป็นแกนหลักในการดำเนินงานได้ หลังจากที่องค์การแพลน ปิดพื้นที่ในเดือนมิถุนายน 2550 ซึ่งวิทยากรคือคุณศักดิ์สิทธิ์  หมื่นกุล (ท้าวสักสิด) ได้จับประเด็นเกี่ยวกับทิศทางการดำเนินงานและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ว่าจะร่วมกับสมาคมฯ ได้อย่างไร

3.25 ตุลาคม 2549 เข้าพักและร่วมเรียนรู้โดยแบ่งกลุ่มเข้าสอบถามจากพื้นที่หมู่บ้านโคกโก่ง อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์  ซึ่งเป็นหมู่บ้านโฮมสเตย์ที่มีชื่อเสียงของประเทศ  เกี่ยวกับการดำเนินงานและการดำรงชีพด้านต่าง ๆ ของชุมชน

4.26 ตุลาคม 2549 เข้าพักและร่วมเรียนรู้โดยแบ่งกลุ่มเข้าสอบถามจากพื้นที่หมู่บ้านบ้านเป้า จ.มุกดาหาร ซึ่งเป็นหมู่บ้านโฮมสเตย์ในอีกรูปแบบหนึ่ง และมีการดำเนินงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจชุมชน เพื่อชุมชนเข้มแข็ง ได้แก่ การทอผ้าเช็ดมือ , การเลี้ยงจิ้งหรีด , การทำเกษตรปลอดสารพิษ  หลังจากนั้นได้มาร่วมกันสรุปผลการดูงาน โดยใช้ประเด็นที่น่าสนใจ 3 ประเด็นได้แก่

เรียนรู้อะไร

งานที่กลุ่มจะสามารถนำไปปรับใช้ได้ด้วยกลุ่มเอง

งานที่กลุ่มจะสามารถดำเนินงานได้โดยรับการหนุนเสริมจากภาคส่วนอื่น ๆ

 

 

หมายเลขบันทึก: 257702เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2009 15:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 19:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท