แตงไทย
นฤมล ชื่อเล่น "แตงไทย" (สำหรับครอบครัว), "แตงอ่อน" (สำหรับเพื่อนๆ), "I tang" (สำหรับพี่ๆ ทั้งหลาย) จันทรศรี

คำแนะนำในการสร้างนิสัยการกินใหม่


                     


บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานฐานข้อมูล 
เว็บศูนย์รวม "สถาบันโยคะวิชาการ"
(เข้าสู่หน้าเว็บไซด์ที่นี่ค่ะ)


คำแนะนำ
ในการสร้างนิสัยการกินใหม่

แปลโดย ธำรงดุล
(เข้าอ่านงานเขียนทั้งหมดที่นี่)

(โยคะสารัตถะ ฉ.;เม.ย.'๕๒)

 

คัดบางส่วนจาก Tao of Detox โดย Daniel Reid

ทำเป็นข้อๆ ให้ง่ายต่อการนำไปใช้ อาจจะแปะไว้ที่หน้าตู้เย็น หรือ ที่กระดานในครัว เพื่อคอยเตือนตัวเอง

  1. กินเมื่อหิว และกินเพียง ¾ ของกระเพาะ
  2. ไม่ว่าจะกินที่บ้านหรือตามภัตตาคาร กินแบบง่ายๆ อย่าสั่งกับข้าวเกิน 4 อย่าง และเป็นกลุ่มอาหารที่ไม่ขัดกัน
  3. หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำจากไขมันพืช ได้แก่ เนยเทียม ครีมเทียม
  4. เพื่อความสมดุล ในหน้าร้อน เน้นอาหารที่เย็น เช่น ผลไม้ และผัก ส่วนในหน้าหนาว เน้น คาร์โบไฮเดรท และโปรตีน 
  5. กินอาหารดิบ สด ราว 30 - 50 % โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อน
  6. งดกินน้ำตาลทรายขาว ขนมหวานจัด งด น้ำตาลเทียม 
  7. เคี้ยวอาหารคำละ 30 - 40 ครั้งก่อนกลืน ถ้ากินข้าว เคี้ยวให้ถึง 100 ครั้ง เพื่อการย่อยคาร์โบไฮเดรทที่มีประสิทธิภาพ
  8. ในระหว่างมื้อ ไม่ดื่มน้ำ เพราะจะทำให้น้ำย่อยเจือจาง ทำให้การย่อยใช้เวลานานกว่าที่ควรจะเป็น
  9. ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6 แก้ว (10.5 ลิตร) เช้า 2 แก้ว สาย 1 แก้ว ก่อนเที่ยง 1 แก้ว บ่าย 2 แก้ว และ 1 แก้วก่อนนอน
  10. อย่ากินโปรตีนจากสัตว์มากนัก และสำหรับคนที่ทำงานใช้สมองมาก กินคาร์โบไฮเดรทมากๆ
  11. นั่งกิน ด้วยความผ่อนคลาย อย่ารีบกิน พึงระลึกว่า ยิ่งกินเร็ว ยิ่งย่อยช้า
  12. เมื่อมีไข้ อย่ากินอาหารหนัก อย่ากินตอนอารมณ์ไม่ดี เช่น โกรธ หรือ กังวล เพราะขณะนั้น กระเพาะไม่ทำงาน การงดอาหารคือการรักษาที่ดีมากสำหรับเกือบทุกโรค

จง กินแต่พอดี ดังสุภาษิตจีนที่ว่า เชื้อโรคเข้าทางปาก ตรงกับสุภาษิตฝรั่ง เราใช้ฟันขุดหลุมศพตัวเอง

ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่ง ท่องไปทั่วยุโรป ตามสัมภาษณ์ผู้มีอายุเกิน 100 ปี เกือบ 2,000 คน ถึงวิถีชีวิต นิสัยการกิน ลักษณะร่วมที่ค้นพบของคนเหล่านี้คือ กินแต่พอดี ดังนี้

จากการสัมภาษณ์คนเกือบ 2,000 คน ที่มีชีวิตเกินหนึ่งศตวรรษ เราพบว่าแต่ละคนจะมีนิสัยเฉพาะบางอย่าง กินอาหารเฉพาะเจาะจงบางชนิด ที่ทำให้เขามีอายุยืนยาว เราพบว่า บ้างรวย บ้างจน บ้างดื่มน้ำมาก บ้างดื่มน้ำน้อย บ้างไม่ดื่มเหล้า บ้างดื่มหล้าเป็นประจำ บ้างสูบุหรี่ บ้างไม่สูบบุหรี่ บ้างกินแต่ผัก บ้างกินเนื้อมากพอสมควร บ้างเป็นนักคิด บ้างใช้แรงงาน บ้างกินมื้อเดียว บ้างกินวันละ 3 - 4 มื้อ ในความเป็นจริง เราพบว่ากลุ่มคนเหล่านี้เต็มไปด้วยความหลากหลายของนิสัย ความหลากหลายในการกิน แต่สำหรับเรื่องอาหารแล้ว มีลักษณะร่วมที่ชัดมากคือ พวกเขาล้วนกินอาหารแต่พอดี

 

เราปิดท้ายด้วยคำของนักปรัชญากรีก ดิโอเจเนส ผู้แนะนำเกี่ยวกับเรื่องพฤติกรรมของมนุษย์ไว้มากมาย "บ้านที่เต็มไปด้วยข้าวของ มีแนวโน้มที่จะเต็มไปด้วยหนู ฉันใด ร่างกายที่เต็มไปด้วยอาหาร ก็เต็มไปด้วยโรค ฉันนั้น"



แนะนำ เข้าอ่าน "นิสัยประจำตัว" ที่นี่

 

 

 


 

มูลนิธิหมอชาวบ้าน

2220/101 ซอยรามคำแหง 36/1  ถนนรามคำแหง  แขวงหัวหมาก  เขตบางกะปิ  กรุงเทพฯ  10240  
โทรศัพท์  02-732-2016 - 17, โทรสาร 02-732-2811 มือถือ 081-401-7744 ; 
E-mail: [email protected] ; www.thaiyogainstitute.com

 


หมายเลขบันทึก: 257121เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2009 16:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท