รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลชุมชนขั้นสูง 1


การฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลชุมชน(ภาคพิเศษ)

การฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาการพยาบาลชุมชน(ภาคพิเศษ)   ภาคการศึกษาที่3 ปีการศึกษา 2551  ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์                     มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  อ.หาดใหญ่  จ.สงขลา

ระหว่างวันที่ 18 เม.ย.2552-17 พ.ค.2552                  นางอมรรัตน์  ลิ่มเฮง อาจารย์พี่เลี้ยง

โดยมีบันทึกการสะท้อนการเรียนรู้ของนักศึกษารายบุคคในกลุ่มที่รับผิดชอบ 5 ราย X 7 ครั้ง

โดยให้ใช้ชื่อผู้บันทึกตามด้วยเลขครั้งที่บันทึก เช่น ธัญพร1

ชุมชนที่นำนักศึกษาลงฝึกคือชุมชนถัดอุทิศ  ซึ่งมี 1,595 ครอบครัว  1,200 ครัวเรือน โดยเลือกส่วนหนึ่งของชุมชนที่อยู่ใกล้กับตลาดสดเทศบาลนครหาดใหญ่

เห็นภาพเสน่ห์ของชุมชนถัดอุทิศนักศึกษาถ่ายมาฝากคะ

หมายเลขบันทึก: 256740เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2009 12:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (51)

ผลการสำรวจชุมชนถัดอุทิศวันนี้ได้สรุปปัญหาในภาพรวม  พบปัญหาสุขวิทยาส่วนบุคคลซึ่งจะนำไปวางแผนโครงการแก้ปัญหาต่อไป

ธัญพร1..

    กิจกรรมการเรียนรู้ (19 เมษายน 2552)

1. มีการแนะนำสมาชิกในกลุ่ม และอาจารย์พี่เลี้ยงที่ผ่านการสอบ APN ประจำกลุ่ม

2. เขียนแผนปฏิบัติงานในการปฏิบัติกิจกรรมในชุมชน เริ่มจากขั้นตอนการประเมินชุมชน การทำรายงานโครงการและนวัตกรรม ตั้งแต่วันที่ 19-17 พฤษภาคม 2552

3. กำหนดและเลือกสรร เครื่องมือ แนวคิด ทฤษฎีทางการพยาบาลเพื่อนำมาปรับใช้

4. นัดหมายการเริ่มประเมินชุมชนในวันที่ 24 เมษายน 2552

สะท้อนการเรียนรู้ (19 เมษายน 2552)

           จากการทำกิจกรรมข้างต้น เกิดการระดมสมอง (Brain stromming) ในกลุ่มทำให้เกิดความคิดที่หลากหลายค่ะ ช่วงแรกไม่ค่อยชินค่ะ เนื่องจากเพื่อนในกลุ่มแต่ละคนไม่เคยทำงาน หรือทำกลุ่มร่วมกันมาก่อน แต่พอมีการเสนอแนวคิดของแต่ละคนขึ้นมาในการวางแผนกิจกรรม ออกมาทำให้เกิดความคิดเห็นที่สอดคล้องกันค่อนข้างดี ส่วนอาจารย์พี่เลี้ยงจะอยู่ในบทบาท ผู้ให้คำปรึกษา (cousellor) ไม่บอกข้อมูลทั้งหมด แต่จะช่วยเสนอแนะ ทำให้เราเกิดทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองค่ะโดยอาศัยการประยุกต์และประมวลวิชาความรู้ที่ได้ จากการเรียนพายบาลชุมชนในภาคเรียนที่ 2/2552

        ในส่วนตัวดิฉันเองนะคะ ไม่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานเชิงรุกในชุมชนเลยค่ะ เนื่องจากทำงานในแผนกผู้ป่วยฉุกเฉิน ทำให้ในบางเรื่องมีความรู้จากที่เรียนก็จริง แต่ขาดทั้งทักษะ การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม การแลกเปลี่ยนความรู้ในกลุ่มทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้วย กับเพื่อนในกลุ่มที่มีถึง 3 คนที่เขาทำงานเชิงรุกในสถานีอนามัย เวลาเขาอธิบายรูปแบบ หรือขั้นตอน วิธีการเข้าหาชุมชนจะเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น ทำให้ตัวดิฉันทราบว่าการเรียนรู้ของคนเรานั้นมีหลายแบบไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในห้องเรียนเท่านั้นค่ะ

       สำหรับกิจกรรมที่วางแผนนั้น อาจารย์พี่เลี้ยงเป็นผู้แนะนำ น่าจะมีการนำการใช้ SWOT Analysis มาใช้ด้วยเพื่อเป็นเครื่องมือประกอบการประเมินและจัดการกับปัญหาในชุมชน ซึ่งได้มอบหมายให้สมาชิกในกลุ่มไปศึกษาการใช้ SWOT Analysis มาด้วยในวันที่ 24 เมษายน 2552 นี้ค่ะ ...

รายงาน สะท้อนการเรียนรู้ ครั้งที่ 1 รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลชั้นสูง 1 (610-572) นางโสเพ็ญ โพธิพงศา รหัส 5110421086 ระหว่าง วันที่ 18 , 24 เมษายน 2552 กิจกรรมที่ได้ดำเนินการ คือ 1. พบอาจารย์ เพื่อรับฟังการปฐมนิเทศรายวิชา สิ่งที่ได้เรียนรู้ : ได้ร่วมกิจกรรมการทบทวนและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับอาจารย์และเพื่อนร่วมห้อง ในเรื่อง กระบวนการขั้นตอนในการทำงานในชุมชน นำทฤษฎีที่ได้เรียนรู้มาประยุกต์ใช้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งกระบวนการดังกล่าว เริ่มจาก การรู้จักชุมชนรู้ข้อมูลต่างๆของชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูลหาสาเหตุของปัญหา นำไปสู่การวางแผนการแก้ปัญหา การจัดทำโครงการดำเนินการแก้ปัญหา และขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินโครงการ ผลจากการเรียนรู้ : มีความรู้ เกิดความมั่นใจในการนำแนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับ กระบวน การปฏิบัติการพยาบาลในชุมชนการดำเนินงานในชุมชน ไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลในชุมชน 2. พบอาจารย์ (พี่เลี้ยง) ประจำกลุ่ม สิ่งที่ได้เรียนรู้ : 2.1. รู้จักชุมชนที่จะลงไปฝึกปฏิบัติการพยาบาล โดยภาพรวม ซึ่ง ชุมชนดังกล่าว เป็นชุมชนเมือง ค่อนข้างแออัด ประชากรย้ายถิ่นบ่อย ปัญหาและอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นในการทำงาน เช่น ด้านความร่วมมือ เนื่องจากประชาชน มีเศรษฐานะไม่ดี ด้านข้อมูลสุขภาพ มีไม่ครอบคลุม ประชาชน การให้ความสำคัญกับเรื่องปากท้องมากกว่าปัญหาสุขภาพ เป็นต้น ผลจากการเรียนรู้ : ทราบข้อมูล นำข้อมูลที่ได้ มาร่วมปรับ วิธีการคิด แนวทางการทำงานในชุมชนเมือง เพื่อรองรับปัญหาที่อาจเกิดขึ้น 2.2 กลุ่มร่วมกัน คิด วางแผนการดำเนินงานในชุมชน ตลอดระยะเวลาการฝึกปฏิบัติงาน คือ ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน – วันที่ 17 พฤษภาคม 2552 โดยมีอาจารย์พี่เลี้ยง คอยให้คำแนะนำถึงโอกาส ความเป็นไปได้ ของแผนปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด ผลจากการเรียนรู้ : ได้แผนปฏิบัติการในการฝึกปฏิบัติตลอดหลักสูตร นำไปสู่การดำเนินการตามแผนต่อไป 3. การลงพื้นที่ สำรวจข้อมูลในพื้นที่ คือ ชุมชนถัดอุทิศ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของศูนย์สาธารณสุขเทศบาลนครหาดใหญ่ ร่วมกับ กลุ่มงานเวชปฏิบัติชุมชน โรงพยาบาลหาดใหญ่ ผลจากการสำรวจข้อมูลและพื้นที่ ชุมน ถัดอุทิศ ดังนี้ 3.1 สภาพชุมชน เป็นชุมชนแออัด ตั้งอยู่ติดทางรถไฟ และอยู่ติดกับตลาดสด สภาพบ้านเรือน เป็นบ้านห้องแถวชั้นเดียวแคบๆ กั้นสังกะสี มีห้องนอนได้ 1 ห้อง มีถนนเข้าชุมชน 2 สายเล็กๆพอให้รถจักรยานยนต์ผ่านได้ สภาพชุมชน ถนนสะอาด มีขยะมีน้ำครำขัง บริเวณคูระบายน้ำ หน้าห้องเช่าทั้ง 2 สาย ประชากรที่เจอในช่วงสำรวจบ้าน มีเด็กวัยเรียนซึ่งอยู่ในช่วงปิดเทอม เล่นอยู่บนถนน มีผู้สูงอายุเลี้ยงหลานที่บ้าน และมีผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง 3.2 ได้รู้จักศูนย์ บริการสาธารณสุขเทศบาล ซึ่งตั้งอยู่ในโรงเรียนเทศบาล 1 (เองเสียงสามัคคี) ซึ่งรับผิดชอบให้บริการด้านสุขภาพแก่ชุมชน ถัดอุทิศ ทราบข้อมูลหลังคาเรือนโดยรวมของชุมชนมีจำนวน 1,595 หลังคาเรือน มีประชากร 7,392 คน ประชากรส่วนใหญ่ มีทั้งอยู่ถาวร และย้ายถิ่นไปมาประมาณ ครึ่งหนึ่ง อาชีพโดยรวม รับจ้าง ก่อสร้าง ค้าขาย ปัญหาสุขภาพชุมชน คือ โรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน อัมพฤตอัมพาต เป็นต้น 3.3 การเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ ได้รับการดูแลเยี่ยมบ้านจากศูนย์สาธารณสุขเทศบาลนครหาดใหญ่เป็นหลัก ซึ่งจะออกให้บริการเยี่ยมบ้านทุกวันพุธของสัปดาห์ มีจำนวนอาสาสมัครสาธารณสุขที่รับผิดชอบ จำนวน 14 คน มีกองทุนหมู่บ้าน 1 กองทุนและกองทุน ฌาปนกิจ 1 กองทุน 4. ได้รับความรู้ แนวคิด และนำประสบการณ์ แนวคิด SWOT Analysis มาใช้ประเมินชุมชน นำ จุดแข็งจุดอ่อน โอกาสและสิ่งคุกคาม ของนักศึกษาที่มีและของชุมชนที่ได้จาการสำรวจและสอบถามข้อมูลจากชุมชนและองค์กรที่เกี่ยวข้อง การนำข้อมูลที่ได้สู่กระบวนการดำเนินงานในชุมชนเน้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) โดยนำพลังและความสนใจ (Power / Interest) มาจัดลำดับปัญหาและความเป็นไปได้ในการดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จ การนำแนวคิด Force Field Analysis มาใช้ในการวางแผนจัดทำโครงการ และนำไปสู่การใช้แนวคิด Pyramid of Purpose มากำหนดแผนและการทำAction Planning Template มากำหนดแนวทางในการปฏิบัติงานในโครงการที่ได้วางแผนไว้ การดำเนินกิจกรรม วางแผนการดำเนินงานในชุมชน โดยใช้กระบวนการ โดยมีอาจารย์พี่เลี้ยงคอยให้นำแนะนำและให้คำปรึกษา จนได้โครงการและแผนการดำเนินงานที่เป็นรูปแบบนำไปสู่การประสานชุมชนเพื่อชี้แจง ร่วมรับรู้ และร่วมดำเนินงานโครงการ ต่อไป

รายงาน สะท้อนการเรียนรู้ ครั้งที่ 2 รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลชั้นสูง 1 (610-572)

ชื่อ นักศึกษา นางโสเพ็ญ โพธิพงศา รหัส 5110421086

ระหว่าง วันที่ 25-26 เมษายน 2552

กิจกรรมที่ได้ดำเนินการ คือ

1. จากการลงพื้นที่ในครั้งแรก เมื่อนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต ซักถามจากศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลที่รับผิดชอบ กลุ่มงานเวชกรรมสังคมโรงพยาบาลหาดใหญ่และจากประชาชนในชุมชน พบว่า ปัญหา คือ

1.1 ชุมชนถัดอุทิศเป็นชุมชนที่ใหญ่จะจัดโครงการใดๆทั้งชุมชนให้ประสบความสำเร็จและให้ทั่วถึงประชาชน มีโอกาสสำเร็จน้อยมาก จึงมีมติว่าน่าจะทำเฉพาะ “ชุมชนซอยถนนรถไฟ” ซึ่งเป็นชุมชนย่อยของชุมชนถัดอุทิศ น่าจะมีโอกาสทำได้ครอบคลุมและสำเร็จได้ แต่ข้อมูลของชุมชนยังไม่มีจึงจำเป็นที่จะต้องลงสำรวจข้อมูลในพื้นที่อีกครั้ง

1.2 ข้อมูลที่ได้ยังขาดความครอบคลุม ไม่ได้วางแผนร่วมกันว่าจะใช้กรอบแนวคิดอะไรมาใช้ในการประเมินสุขภาพชุมชน ดังนั้นจึงนำปัญหาดังกล่าวมาร่วมคิด และมีมติของกลุ่ม ใช้กรอบแนวคิดการประเมินสุขภาพชุมชน 2 กรอบแนวคิด มาประกอบการสำรวจข้อมูล คือ แนวคิดองค์ประกอบชุมชน ซึ่งประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ สถานที่ คนและระบบทางสังคม (Burgess & Ragland, 1983; Hitchcock, Schubert & Thomas, 1999)

1.3 ที่ผ่านมา ทีมงานไม่ได้วางแผนมอบหมายงาน ทำให้ทุกคนไม่มีแนวทาง ไม่ทราบบทบาทของตนเองว่าจะต้องทำอะไรบ้าง ในเวลาจำกัดของการดำเนินงานในชุมชนครั้งนี้ ดังนั้น จึงประชุมวางแผน มอบหมายงานให้กับทุกคนในทีม ทำการสำรวจข้อมูลตามกรอบแนวคิดดังกล่าว แยกเป็น 2 สาย ตามระยะทางความยาวของซอยเล็กๆในชุมชน สำรวจ สอบถาม สัมภาษณ์ สังเกต บันทึกข้อมูล นำข้อมูลที่ได้ของแต่ละคนในทีม มาจัดเก็บรวบรวมอย่างเป็นระบบ ผลที่ได้ คือ ได้ข้อมูลที่ค่อนข้างครอบคลุม สามารถนำไปประกอบการวางแผน ร่างโครงการเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพในชุมชน คือ โครงการ “ชุมชนกินอยู่อย่างปลอดภัย ร่วมใจกันล้างมือ” เพื่อนำเสนอ อาจารย์พี่เลี้ยง

2. ร่วมกันในทีม เขียนโครงการเพื่อแก้ปัญหาชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความรู้แก่ประชาชนในเรื่องการเลือกซื้ออาหารที่มีประโยชน์ การบริโภคอาหารที่ถูกสุขลักษณะและการส่งเสริมความรู้เรื่องการล้างมือ ซึ่งคาดว่าจะทำให้ประชาชนมีความรู้ เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการมีพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกสุขลักษณะและมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพซึ่งกันและกันของคนในชุมชน

สิ่งที่ได้เรียนรู้

1. การทำงานร่วมกับทีมงาน

- ทีมงานต้องร่วมกันประเมินการทำงาน ประเมินวิเคราะห์ว่า หลังจาก ทำงานแล้วเราได้อะไร ยังขาดอะไร ปัญหาอุปสรรคคืออะไร แล้วร่วมกันคิดแก้ไข ปัญหาร่วมกัน การยอมรับความคิดเห็นของ ทุกคน โดยคิดว่า “ ความคิดเห็นของทุกคนมีความสำคัญ ทุกคนมีศักยภาพ” แล้วงานต่างๆจะได้รับความร่วมมือจากทุกคนด้วยความเต็มใจ ร่วมเป็นเจ้าของด้วยกัน (นำแนวคิดการพัฒนาองค์กร การพัฒนาคุณภาพ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ มาประยุกต์ใช้)

- ในการเรียนรู้ รายวิชา ปฏิบัติการพยาบาลชุนชนชั้นสูง 1 ครั้งนี้ ได้นำหลักการ กรอบแนวคิดประเมินชุมชนมาใช้ในการประเมินสุขภาพ ทำให้ได้ประสบการณ์ในการทำงาน ว่าหากเรามีกรอบแนวคิด ทฤษฎี มีแนวทาง อย่างเป็นระบบ จะช่วยให้เรามีข้อมูลที่ ครอบคลุม นำไปสู่การตั้งเป้าหมาย ในการทำงาน มีแนวทางในการแก้ปัญหาได้ เมื่อเปรียบเทียบกับประสบการณ์ในการทำงานที่ผ่านมา แนวทางการทำงาน ส่วนใหญ่ จะมีนโยบาย มีเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพบริการในแต่ละระดับเป็นตัวกำหนด และคิดว่าหากได้นำกรอบแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ กับการปฏิบัติงานให้บริการด้านสุขภาพแก่ชุมชน ร่วมกับนโยบายและเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพจะทำให้ชุมชนได้รับการบริการดูแล แก้ปัญหาสุขภาพได้ครอบคลุมทั่วถึงและมีคุณภาพ

2. การทำงานในชุมชนเมือง

- เห็นความแตกต่าง ของความร่วมมือของประชาชนในชุมชนชนบทและชุมชนเมือง นั่น คือ ชุมชนชนบท มีเวลาให้กับทีมสุขภาพ เป็นชุมชนที่นิ่ง ไม่มีการย้ายถิ่น คนในชุมชนรู้จักกัน เป็นเสมือนญาติพี่น้องกัน ชุมชนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมบริการทุกอย่างที่ให้เป็นอย่างดี ผู้นำชุมชนและแกนนำสุขภาพในชุมชนให้ความร่วมมือดี ในขณะที่ชุมชนเมือง(แออัด) ที่ได้ศึกษาในครั้งนี้ เป็นชุมชนที่ไม่นิ่ง ย้ายถิ่นไปมาบ่อย คนต่างถิ่นหลากหลายอาชีพ ไม่ค่อยรู้จักกัน กลางวันมีแต่เด็กและผู้สูงอายุ ไม่มีข้อมูลพื้นฐานทางสุขภาพที่ชัดเจน ให้ความสนใจกับเรื่องการทำมาหากิน เรื่องปากท้องมากกว่าการดูแลสุขภาพ ผู้นำชุมชนไม่ได้อยู่พื้นที่ ทำให้การติดต่อต่างๆเป็นไปด้วยความลำบาก มีการเมืองท้องถิ่นเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่จากการเข้าถึงพื้นที่ การสร้างสัมพันธภาพกับคนในชุมชน ลองสอบถามความคิดเห็นเรื่องการให้บริการ ความรู้ การจัดทำโครงการ พบว่าทุกคนพร้อมให้ความร่วมมือในการจัดทำโครงการ จึงคิดว่าเป็นประสบการณ์ที่น่าสนใจ ท้าทายการทำงาน และจะพยายามทำกิจกรรมการเรียนรู้ครั้งนี้ อย่างเต็มความรู้ความสามารถ

ขอเพิ่มเติมข้อมูล รายงานสะท้อนการเรียนรู้ ครั้งที่ 2 ในหัวข้อย่อย 1.2 แนวคิดประกอบการสำรวจข้อมูล แนวคิดที่ 2 ที่นำมาใช้ คือ แนวคิดแบบแผนสุขภาพชุมชน 11 แบบแผน (Gordon,1994)

ธัญพร 2

กิจกรรมการเรียนรู้ ครั้งที่2 (24-26 เมษายน 2552)

1. มีการสำรวจชุมชนถัดอุทิศ ศูนย์อนามัยของเทศบาล 1 โรงเรียนเฮงเสียงสามัคคีและเข้าพบอสม. (ชุมชนถนนรถไฟ) เพื่อนำข้อมูลมาทำ SWOT Analysis

2. นำแผนปฏิบัติงานในการปฏิบัติกิจกรรมในชุมชนที่เขียนไว้ มา เริ่มจากขั้นตอนแรกการประเมินชุมชน วิเคราะห์ วางแผนและการเขียนรายงานโครงการ กินอยู่อย่างปลอดภัย ร่วมใจกันล้างมือ ที่ได้มาจากผลการทำขั้นตอน SWOT Analysis แล้ว

3. มอบหมายงานในกลุ่มกำหนดและเลือกสรร เครื่องมืออุปกรณ์ แนวคิด ทฤษฎีทางการพยาบาลเพื่อนำมาปรับใช้ ร่วมถึงเตรียมเข้าพบผู้เกี่ยวข้องในวันที่ 27 เมษายน 2552 ได้แก่ อสม. เทศบาล ตัวแทนชุมชน

4. ส่งโครงการให้อาจารย์พี่เลี้ยงในวันที่ 27 เมษายน 2552

สะท้อนการเรียนรู้ ครั้งที่2 (24-26 เมษายน 2552)

      จากการทำกิจกรรมการเข้าประเมินชุมชน ถัดอุทิศ ทำให้ตัวดิฉันแปลกใจและคาดไม่ถึงว่าแถวโรงพยาบาลหาดใหญ่ซึ่งเป็นแหล่งที่มีความเจริญและคนพลุกพล่านนั้น เข้ามาข้างใน ประมาณ 200 เมตรจะมีชุมชนแออัด (ชุมชนถนนรถไฟ ) คนยากจนซ่อนอยู่เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังพบสิ่งแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพเช่น แหล่งน้ำเสีย ขยะมูลฝอย เสียงรถไฟ และยังพบผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เด็กที่มีสุขอนามัยที่ไม่เหมาะสม แมลงวันตอมอาหาร เป็นต้น ผู้คนที่อาศัยอยู่ในระแวกนี้ส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง ยากจน ขาดการดูแลเอาใจใส่ในเรื่องสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ซึ่งแตกต่างกับคนอีกระแวกหนึ่งที่อยู่ใกล้กัน

          การหาข้อมูลและประเมินชุมชนใช้จากการสังเกต และถามข้อมูลคนในชุมชน โดยใช้แนวคิดองค์ประกอบชุมชน และประยุกต์ร่วมกับ แนวคิด แบบแผนสุขภาพ เมื่อได้ข้อมูลมาทำให้ยิ่งสงสารคนในชุมชนนี้มากขึ้นค่ะ อีกอย่างหนึ่งที่อยากจะกล่าวถึงคือเรื่องของความร่วมมือของคนในชุมชนซึ่งตัวดิฉันเองมาจากชุมชนชนบท (ที่โรงพยาบาลควนโดน จังหวัดสตูล) พบว่าการร่วมมือจะยากกว่าในชุมชนชนบท มักพบคนต่างคนต่างอยู่ ไม่อยู่บ้านเนื่องจากทำงานบ้าง เป็นผู้คนต่างถิ่นที่มีการย้ายเขข้า-ออกบ่อยๆบ้าง ถือว่าเป็นอุปสรรคของการประเมินชุมชนอย่างหนึ่งก็ว่าได้ค่ะ

           หลังจากการประเมินชุมชนก็มาทำ SWOT Analysis ซึ่งประกอบด้วยหลักการต่างๆ ตอนแรกยอมรับว่ายากมากค่ะเนื่องจากยังไม่เคยทำมาก่อน เมื่ออาจารย์พี่เลี้ยงอธิบาย ทำให้มีความรู้และกระบวนการ SWOT Analysis มากยิ่งขึ้น คิดว่าในอนาคตดิฉันสามารถนำหลักการนี้ไปปรับใช้ในงานอื่นได้ต่อไปค่ะ

           จากการทำ SWOT Analysis พบปัญหาที่คิดว่ามาอันดับแรกคือ เรื่อง สุขนิสัยส่วนบุคคลในเรื่องอาหารการกิน และการรักษาความสะอาดของมือ พวกเราในกลุ่มมีความคิดเห็นร่วมกันว่า ปัญหาดังกล่าว สามารถแก้ไขได้ โดยใช้งบประมาณน้อย สะดวกในการปฏิบัติ ชุมชนที่ที่ยากจน สามารถทำได้ คือลงทุนน้อยแต่ได้ผลคุ้มค่าค่ะ เมื่อตกลงกันเรียบร้อยพวกเราจึงลงมือเขียนโครงการเพื่อดำเนินการต่อไปค่ะ..

นางปาริฉัตร์ ชูสังข์

สะท้อนการเรียนรู้ วันที่ 18- 19 เมษายน 2552

ปฏิบัติการพยาบาลเพื่อสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน

สมาชิกกลุ่มได้ร่วมกันวางแผน ระดมความคิดกันในการกำหนดแผนการปฏิบัติงานในชุมชน โดยมีขั้นตอนและวิธีการทำงานชุมชน และเขียนแผนขึ้นมา เพื่อที่จะ เป็นการเตรียมคน เตรียมระบบให้พร้อมก่อนลงชุมชน พร้อมทั้งกำหนดและเลือกสรรเครื่องมือแนวคิดทฤษฏีทางการพยาบาลมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่และบริบท จากการที่สมาชิกกลุ่มได้แสดงความคิดเห็นร่วมกัน สรุปเป็นความคิดเห็นร่วมและความคิดเห็นที่เป็นไปได้ในภาพรวมมาเป็นแผนการปฏิบัติงานที่จะดำเนินการต่อไป

สะท้อนการเรียนรู้ วันที่ 24-26 เมษายน 2552

ก่อนการลงสำรวจก็ได้ไปแนะนำตัวและทำความรู้จักกับผู้นำชุมชน อสม. และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จากการที่ได้ลงสำรวจชุมชน เห็นลักษณะของชุมชน การดำเนินชีวิตของคนในชุมชนถัดอุทิศ ซึ่งเป็นลักษณะของชุมชนเมือง การเข้าถึงชุมชนต้องอาศัยเทคนิคหลาย ๆ อย่าง ที่จะทำให้คนในชุมชนเกิดความไว้วางใจ ซึ่งในชุมชนประชากรอาศัยอยู่ค่อนข้างแออัด ด้วยอาชีพเป็นอาชีพรับจ้างเป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้คนในวัยแรงงานไม่ค่อยได้อยู่บ้านในช่วงกลางวัน ในการทำงานชุมชนต้องเข้าใจแนวคิดชุมชนเพราะจะช่วยให้เข้าใจบริบทของชุมชนได้มากขึ้น สำหรับการสำรวจชุมชนได้ใช้แนวคิดสุขภาพชุมชน และแนวคิดแบบแผนสุขภาพเพื่อใช้เป็นกรอบในการประเมินสภาพผู้รับบริการทั้งรายบุคคล ครอบครัว และชุมชน และมารวมกับที่ได้ศึกษาข้อมูลชุมชนที่มีอยู่จากเทศบาล แล้วมา ทำ SWOT ซึ่งเป็น เทคนิคการวิเคราะห์ ทั้งสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์กรนั้น ๆ ในการทำ SWOT ให้กลุ่มเห็นจุดอ่อนที่เป็นปัญหา โดยกลุ่มได้คิด วิเคราะห์ ใช้เหตุผล อภิปรายแลกเปลี่ยนกัน นำไปสู่การตัดสินใจในการกำหนดโครงการ วัตถุประสงค์ขึ้นมา ซึ่งในกระบวนการวิเคราะห์ SWOT ทำให้เกิดการเรียนรู้เรื่องการวางแผนแบบทีมและเป็นระบบมากขึ้น

สะท้อนการเรียนรู้ ครั้งที่ 1 วันที่ 18และ24 เมษายน 2552 นางปวลี คงประดิษฐ์ รหัส 5110421039 รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลชั้นสูง 1 (610-572) สถานที่ฝึกปฏิบัติงาน โรงพยาบาลหาดใหญ่ การเรียนรู้ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2552 เป็นการพบอาจารย์ในการปฐมนิเทศและพบอาจารย์พี่เลี้ยงในการฝึกปฏิบัติงาน ซึ่งเริ่มต้นอาจารย์ได้ให้แนวคิดในการปฏิบัติงานชุมชน สิ่งที่ได้เรียนรู้ กระบวนการทำงานชุมชน สิ่งที่ต้องเรียนรู้ลำดับแรกคือการรู้จักชุมชน การสำรวจข้อมูลชุมชนทั้งข้อมูลทุติยภูมิและข้อมูลปฐมภูมิ ซึ่งข้อมูลปฐมภูมิมักเป็นการหาส่วนขาด ได้ข้อมูลมาหลายวิธีเช่น โดยการสอบถาม สัมภาษณ์ สำรวจ ทำประชาคม นำไปสู่การวิเคราะห์เพื่อหาปัญหา โดยใช้กระบวนการวิเคราะห์หลายรูปแบบ เช่นแผนภูมิก้างปลา เมื่อได้ปัญหาแล้วนำมาวางแผน จัดทำโครงการ ดำเนินการแก้ไขปัญหา และประเมินผล ซึ่งแต่ละขั้นตอนควรประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางการพยาบาลและต้องใช้ทักษะต่างๆที่เรียนมาประกอบในแต่ละขั้นตอน ใ นเวลาต่อมาได้พบอาจารย์พี่เลี้ยงประจำกลุ่ม ได้อธิบายลักษณะชุมชนที่ศึกษาเป็นชุมชนเมือง ซึ่งต้องมีการปรับแนวคิดและกระบวนการสำรวจชุมชนเพื่อให้เกิดความคล่องตัวโดยสอบถามความต้องการของสมาชิกกลุ่มถึงขอบเขตของข้อมูลที่ต้องการศึกษา ปรึกษาหารือระหว่างสมาชิกกลุ่มและมีการเสนอข้อคิดเห็น โดยใช้กระบวนการปฏิสัมพันธ์ ที่แต่ละบุคคลมีค่านิยมและความต้องการของตน แต่นำมาปรับทำให้การมีปฏิสัมพันธ์มีเป้าหมายเฉพาะ(transaction) สรุปได้ว่า การปฏิบัติครั้งนี้จะดำเนินการเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก และจะลงศึกษาปัญหาที่พบจริงในชุมชน ซึ่งอาจพบปัญหาอุปสรรคหลายอย่าง ดังนั้นจึงควรมีการเตรียมตัวเป็นอย่างดี ทั้งด้านความรู้และการแต่งกาย จึงมีการระดมความคิดและได้มีการวางแผนวางแผนการดำเนินงานในชุมชน ตลอดระยะเวลาการฝึกปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 18 เมษายนถึงวันที่ 17 พฤษภาคม 2552 อาจารย์พี่เลี้ยงเป็นผู้ให้คำแนะนำและเสนอแนวคิด ร่วมกำหนดระยะเวลาการดำเนินงานตามขั้นตอนต่างๆ ของแผนปฏิบัติงานจนถึงขั้นตอนการประเมินผล สรุปการเรียนรู้ในวันนี้ทำให้ได้แผนปฏิบัติการในการฝึกปฏิบัติอย่างเป็นขั้นตอนตามระยะเวลาการฝึก

วันที่ 24 เมษายน 2552 เป็นการสำรวจและรู้จักชุมชนที่ลงไปฝึกปฏิบัติการพยาบาล ชื่อชุมชนถัดอุทิศเป็นชุมชนที่อยู่ใกล้โรงพยาบาลหาดใหญ่ ลักษณะชุมชนแบ่งเป็น 2 ส่วนด้านหน้าส่วนใหญ่เป็นอาคารพาณิชย์ ประชาชนประกอบอาชีพค้าขาย ส่วนด้านหลังชุมชนเป็นชุมชนแออัดอยู่ติดริมทางรถไฟและอยู่ ติดกับตลาดขายอาหารสด สภาพบ้านเป็นห้องแถวขนาด 3x 4 เมตร ตั้งเรียง 2 แถวเป็นบ้านห้องแถวชั้นเดียวหลังคาและฝาผนังกั้นด้วยสังกะสี ที่มีบริษัทเอกชนเป็นผู้เช่าที่ดินรถไฟและสร้างให้คนเช่า ราคาห้องละ 1,200 บาท ประชาชนมีรายได้ค่อนข้างน้อย เกือบครึ่งหนึ่งเป็นคนต่างจังหวัดมาอาศัยอยู่ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง จึงมีเวลาในการดูแลสุขภาพตนเองน้อย สภาพแวดล้อมก่อให้เกิดโรคได้ง่าย มีการปรับปรุงและพัฒนาน้อยมาก ในชุมชนพบผู้สูงอายุและเด็กวัยเรียนเป็นส่วนใหญ่ อาจารย์พี่เลี้ยงได้พาเดินสำรวจพื้นที่รอบชุมชนใหญ่และทำความรู้จักกับศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลตั้งอยู่ในโรงเรียนเทศบาล 1 (เองเสียงสามัคคี) ซึ่งข้อมูลพื้นฐานบางอย่างได้จากการศึกษาที่ศูนย์บริการ รับผิดชอบประชาชนชุมชน ถัดอุทิศ มีประชากร 7,392 คน มีจำนวน 1,595 หลังคาเรือน ประชากรส่วนใหญ่มีบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า อาชีพส่วยใหญ่ รับจ้าง ก่อสร้าง ค้าขาย ปัญหาสุขภาพชุมชน คือ โรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน อัมพฤกษ์ อัมพาต ได้รับการดูแลเยี่ยมบ้านจากศูนย์สาธารณสุขเทศบาลนครหาดใหญ่เป็นหลัก ศูนย์บริการออกเยี่ยมบ้านทุกวันพุธของสัปดาห์ มีจำนวนอาสาสมัครสาธารณสุขที่รับผิดชอบ จำนวน 14 คน มีกองทุนหมู่บ้าน 1 กองทุนและกองทุน ฌาปนกิจ 1 กองทุน ซึ่งการลงสำรวจชุมชนครั้งนี้ใช้ทฤษฎีองค์ ประกอบชุมชนเป็นแนวทางในการเก็บข้อมูล เมื่อรวบรวมข้อมูลชุมชนได้พอสมควร จึงนำข้อมูลที่ได้จาการสำรวจและสอบถามข้อมูลจากชุมชนและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันค้นหาปัญหาโดยใช้ SWOT Analysis วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสพัฒนาและสิ่งคุกคาม ของชุมชน นำมาจัดลำดับความสำคัญของปัญหา นำพลังและความสนใจ ของกลุ่มที่มีความเกี่ยวข้อง วิเคราะห์ค่าคะแนนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย วิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการดำเนินการ กำหนดแนวทางในการดำเนินกิจกรรม เพื่อใช้ในการวางแผนจัดทำโครงการแก้ไขปัญหาในชุมชน การวิเคราะห์ในแต่ละขั้นตอนอาจารย์พี่เลี้ยงได้ให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด และสมาชิกกลุ่มได้ประชุมปรึกษากันถึงการรู้จักชุมชนให้ละเอียดยิ่งขึ้นจึงลงมติว่า จะค้นหาข้อมูลเชิงลึกในชุมชนโดยนำทฤษฎีแบบแผนสุขภาพ มาใช้ในการเก็บข้อมูลเพิ่มเติม โดยนัดหมายเยี่ยมชุมชนในวันที่ 25 เมษายนต่อไป สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ การสำรวจชุมชนเมืองต่างจากชุมชนในเขตชนบท ตามบริบทของคนเมืองที่ต้องประกอบอาชีพ ไม่ได้อยู่บ้าน การเรียนรู้ในพื้นที่สิ่งสำคัญคือ ผู้นำในชุมชนและแกนนำสุขภาพในชุมชนจะเป็นผู้ให้ข้อมูลได้ดี แต่การลงสำรวจชุมชนครั้งนี้ยังไม่พบผู้นำชุมชนเนื่องจากติดภารกิจ จึงใช้การสร้างสัมพันธภาพกับคนในชุมชน บอกว่าเป็นใคร มาทำอะไร ทำให้เกิดความไว้วางใจที่จะเปิดเผยข้อมูล ชุมชนถัดอุทิศถึงแม้ว่าในวันที่สำรวจจะมีแต่ผู้สูงอายุและเด็กวัยเรียนแต่ยังมีอัธยาศัยดี ให้ข้อมูลด้านสุขภาพที่เป็นประโยชน์ต่อการนำไปวางแผน ซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มต้นการสำรวจที่น่าพอใจ

สะท้อนการเรียนรู้ ครั้งที่ 2 วันที่ 25-26 เมษายน 2552 นางปวลี คงประดิษฐ์ รหัส 5110421039 รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลชั้นสูง 1 (610-572) สถานที่ฝึกปฏิบัติงาน โรงพยาบาลหาดใหญ่ การลงสำรวจชุมชนครั้งแรก เมื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์พบว่ายังมีส่วนขาดและขาดรายละเอียดของข้อมูลเชิงลึกหลายด้าน จึงมีมติของกลุ่มให้ลงสำรวจซ้ำและใช้กรอบแนวคิดในการประเมินสุขภาพชุมชนเพิ่มคือ แนวคิดแบบแผนสุขภาพใช้ในการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์อาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนในพื้นที่ ซึ่งในช่วงแรกสมาชิกกลุ่มไม่ได้มอบหมายงานกัน แต่เมื่อพบว่ามีเวลาน้อยจึงวางแผนแบ่งสมาชิกเป็น 2 กลุ่ม ซอยหน้าและซอยหลังในชุมชน ใช้การสอบถาม สัมภาษณ์ สังเกต บันทึกข้อมูล นำข้อมูลที่ได้ของแต่ละคนในทีม มาจัดเก็บรวบรวมอย่างเป็นระบบ ผลที่ได้ คือ ได้ข้อมูลที่ค่อนข้างครอบคลุม สามารถนำไปประกอบการวางแผนงาน ร่วมกันคิดโครงการ โดยมีชื่อโครงการ ชุมชนถัดอุทิศกินอยู่อย่างปลอดภัย ร่วมใจกันล้างมือ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความรู้แก่ประชาชนในเรื่องการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ และเลือกซื้ออาหาร ที่ถูกสุขลักษณะและให้ความรู้และสาธิตการล้างมือ ซึ่งประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ทำให้ประชาชนมีความรู้เรื่องอาหารมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสมและมีการล้างมือที่ถูกต้อง แนะนำคนในบ้าน เพื่อนบ้าน สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ 1. การนำแนวคิดทฤษฎีมาใช้ในการเก็บข้อมูลสุขภาพชุมชน จะช่วยเป็นแนวทางในการค้นหาข้อมูลทำให้สามารถวิเคราะห์และค้นหาปัญหาสุขภาพในชุมชนได้ตรงประเด็นและครอบคลุมยิ่งขึ้น 2.การทำงานร่วมกันเป็นทีม การยอมรับฟังความคิดเห็นของกันและกัน ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ จัดแบ่งหน้าที่ตามความรู้สามารถของแต่ละคนทำให้การดำเนินงานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี การทำงานเป็นทีมใช้ทักษะของการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ใช้ทักษะการบริหารแบบมีส่วนร่วม เห็นความสำคัญของสมาชิกทุกคนให้มีส่วนร่วมในการวางแผนและตัดสินใจ สมาชิกมีความภาคภูมิใจในคุณค่าของตนเอง ทำงานด้วยความสามัคคี ได้รับความร่วมมือจากทุกคนด้วยความเต็มใจและร่วมมือกันอย่างมีความสุข

สะท้อนการปฏิบัติ ครั้งที่ 1 วันที่ 19 เมษายน 2552 รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลชั้นสูง 1 (610-572) สถานที่ฝึกปฏิบัติงาน โรงพยาบาลหาดใหญ่ 1. เป็นการพบอาจารย์ในการปฐมนิเทศและพบอาจารย์พี่เลี้ยงในการฝึกปฏิบัติงาน ซึ่งเริ่มต้นอาจารย์ได้ทบทวนแนวคิดในการปฏิบัติงานชุมชน กระบวนการทำงานชุมชน สิ่งที่ต้องเรียนรู้ลำดับแรกคือการรู้จักชุมชน การสำรวจข้อมูลชุมชนทั้งข้อมูลทุติยภูมิและข้อมูลปฐมภูมิ ซึ่งข้อมูลปฐมภูมิมักเป็นการหาส่วนขาด ได้ข้อมูลมาหลายวิธีเช่น โดยการสอบถาม สัมภาษณ์ สำรวจ ทำประชาคม นำไปสู่การวิเคราะห์เพื่อหาปัญหา โดยใช้กระบวนการวิเคราะห์หลายรูปแบบ เช่นแผนภูมิก้างปลา เมื่อได้ปัญหาแล้วนำมาวางแผน จัดทำโครงการ ดำเนินการแก้ไขปัญหา และประเมินผล ซึ่งแต่ละขั้นตอนควรประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางการพยาบาลและต้องใช้ทักษะต่างๆที่เรียนมาประกอบในแต่ละขั้นตอน 2.ได้พบอาจารย์พี่เลี้ยงประจำกลุ่ม ได้อธิบายลักษณะชุมชนที่ศึกษาซึ่งเป็นชุมชนเมือง ซึ่งต้องมีการปรับแนวคิดและกระบวนการสำรวจชุมชนเพื่อให้เกิดความคล่องตัว มีการปรึกษาหารือพูดคุยระหว่างสมาชิกกลุ่มและมีการเสนอข้อคิดเห็น สรุปได้ว่า การปฏิบัติครั้งนี้จะดำเนินการเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก และจะลงศึกษาปัญหาที่พบจริงในชุมชน ซึ่งอาจพบปัญหาอุปสรรคหลายอย่าง ดังนั้นจึงควรมีการเตรียมตัวเป็นอย่างดี ทั้งด้านความรู้และการแต่งกายที่เป็นระเบียบ 3. มีการระดมความคิดและได้มีการวางแผนวางแผนการดำเนินงานในชุมชน ตลอดระยะเวลาการฝึกปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 18 เมษายนถึงวันที่ 17 พฤษภาคม 2552 โดยมี อาจารย์พี่เลี้ยงเป็นผู้ให้คำแนะนำและเสนอแนวคิด ร่วมกำหนดระยะเวลาการดำเนินงานตามขั้นตอนต่างๆ ของแผนปฏิบัติงานจนถึงขั้นตอนการประเมินผล และมติกลุ่มให้นำทฤษฎีองค์ประกอบชุมชนใช้เป็นแนวทางในการเก็บข้อมูลในชุมชน สรุปการเรียนรู้ในวันนี้ทำให้ได้แผนปฏิบัติการในการฝึกปฏิบัติอย่างเป็นขั้นตอนตามระยะเวลาการฝึก ชื่อสมาชิกกลุ่ม 1. นางสาวธัญพร สมันตรัฐ 2. นางปวลี คงประดิษฐ์ 3. นางสาวภิญญารัตน์ สุวรรณขำ 4. นางโสเพ็ญ โพธิพงศา 5. นางปาริฉัตร ชูสังข์

สะท้อนการปฏิบัติ ครั้งที่ 2 วันที่ 24-26 เมษายน 2552 รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลชั้นสูง 1 (610-572) สถานที่ฝึกปฏิบัติงาน โรงพยาบาลหาดใหญ่ 1. รู้จักชุมชนโดย - ทักทายและขอพบผู้นำชุมชน สร้างสัมพันธภาพกับคนในชุมชนโดยการแนะนำตัว และอาจารย์พี่เลี้ยงได้พาไปรุ้จักหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาล 1 - เรียนรู้ข้อมูลชุมชน โดยการสำรวจพื้นที่ สภาพปัญหาสุขภาพในชุมชน ตามแนวคิดองค์ประกอบสุขภาพ 2. นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้ SWOT Analysis มาใช้ประเมินชุมชน นำจุดแข็งจุดอ่อน โอกาสพัฒนาและสิ่งคุกคาม ของนักศึกษาที่มีและของชุมชนที่ได้จาการสำรวจและสอบถามข้อมูลจากชุมชนและองค์กรที่เกี่ยวข้อง มาจัดลำดับปัญหา การนำข้อมูลที่ได้สู่กระบวนการดำเนินงานในชุมชนเน้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) วิเคราะห์ค่าคะแนนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยนำพลังและความสนใจ (Power / Interest) และความเป็นไปได้ในการดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จ การนำแนวคิด Force Field Analysis มาใช้ในการวางแผนจัดทำโครงการ และนำไปสู่การใช้แนวคิด Pyramid of Purpose มากำหนดแผนและการทำAction Planning Template มากำหนดแนวทางในการปฏิบัติงานในโครงการ กำหนดแนวทางในการดำเนินกิจกรรม ใช้ในการวางแผนจัดทำโครงการแก้ไขปัญหาในชุมชน 3. ประชุมปรึกษาหารือ ระดมพลังสมองจนได้ชื่อโครงการ ชุมชนถัดอุทิศกินอยู่อย่างปลอดภัย ร่วมใจกันล้างมือ 4. กำหนดรายละเอียดกิจกรรมในโครงการ 5. ร่างโครงการนำเสนออาจารย์พี่เลี้ยงในวันที่ 27 เมษายน 2552 ชื่อสมาชิกกลุ่ม 6. นางสาวธัญพร สมันตรัฐ 7. นางปวลี คงประดิษฐ์ 8. นางสาวภิญญารัตน์ สุวรรณขำ 9. นางโสเพ็ญ โพธิพงศา 10. นางปาริฉัตร ชูสังข์

นักศึกษาได้ลงแรงแข็งขัน ขอชื่นชมในความตั้งใจและขยันทุ่มเทกับการฝึกปฏิบัติคะ ภาพข้างล่างนี้คือชุมชนถัดอุทิศ และทีมนักศึกษาปริญญาโทคะใครเป็นใครสังเกตกันเอาเองนะคะ

 

ธัญพร 3

กิจกรรมการปฏิบัติ (27-29 เมษายน 2552)

1.เสนอโครงการชุมชนถัดอุทิศ “กินอยู่อย่างปลอดภัย ร่วมใจกันล้างมือ”และตารางการจัดโครงการ แก่อาจารย์พี่เลี้ยง และแก้ไขโครงการตามที่แก่อาจารย์พี่เลี้ยงแนะนำ

2.เข้าพบหัวหน้าศูนย์อนามัยเทศบาล 1 คุณ พีรดา เพื่อเสนอโครงการและร่วมวางแผนในการจัด โครงการชุมชนถัดอุทิศ “กินอยู่อย่างปลอดภัย ร่วมใจกันล้างมือ” พร้อมทั้งเสนอทิศทางแนวปฏิบัติและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นรวมถึงการหาแหล่งสนับสนุน ในเรื่องคน อุปกรณ์

3.นัดหมายอสม.และผู้นำชุมชน ในพื้นที่มาประชุมร่วมกัน 29 เมษายน 2552 ที่โรงเรียนเทศบาล 1 เมื่อมีการพบ อสม.แล้วแจ้งที่มาที่ไปรวมถึงขั้นตอนการจัดโครงการและนัดหมายจัดโครงการในวันที่ 6 พฤษภาคม 2552

4.จัดเตรียม อุปกรณ์+ เนื้อหาการจัดโครงการ+ การประสานงาน ในกลุ่ม

5.กิจกรรมพิเศษอีกอย่างคือ ประสานพาคนในชุมชนถัดอุทิศ ที่มีปัญหาโรคไต 1 รายไปเข้าพบเจ้าหน้าที่หน่วยล้างไตทางหน้าท้องโรงพยาบาลหาดใหญ่ เพื่อแนะนำขั้นตอนการดูแล รักษาต่อไป

สะท้อนการเรียนรู้ (27-29 เมษายน 2552)

         จากการปฏิบัติกระบวนการกลุ่มในช่วงนี้จะเห็นว่าในกิจกรรมครั้งนี้ต้องอาศัย ทักษะและแนวคิดทฤษฎีต่างๆเข้ามามีส่วนร่วมหลายอย่างผสมผสานกันค่ะเช่น ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทักษะการติดต่อสื่อสาร กระบวนการกลุ่ม แนวคิดการมีส่วนร่วม ตรงขั้นตอนการทำกลุ่มเฉพาะในส่วนความรับผิดชอบของนักศึกษาเอง และในส่วนการทำกลุ่มรวมกับอสม.และผู้นำชุมชน จะเห็นนะคะว่าถ้ามีโอกาสทำงานในชุมชนจริงๆการสร้างงานให้สำเร็จได้ ต้องอาศัยความร่วมมือของหลายฝ่าย และการทำงานจริงๆก็ค่อนข้างละเอียดอ่อนมากค่ะ เพราะการที่เราซึ่งเป็นคนนอกจะเข้าไปในชุมชนอาจไม่ทราบว่า มีการแบ่งพรรค แบ่งพวกหรือไม่ ใครไม่ถูกกับใคร เราต้องทำตัวเป็นกลาง ใช้ภาษา- ท่าทางที่เหมาะกับบริบทของพื้นที่ และอ่อนน้อมถ่อมตน ซึ่งคิดว่าเรื่องนี้ก็ขึ้นอยู่กับทักษะเฉพาะตัวของเราเองนะคะว่าจะมีการปฏิบัติอย่างไร แต่ก็ต้องขอชมว่าเจ้าหน้าที่ศูนย์เทศบาล ผู้นำชุมชนและอสม.ก็มีส่วนช่วยและร่วมมือระดับหนึ่งคะ(แต่จะมาก-น้อยก็ต้องรอดูการประสานงาน และตอนวันจัดโครงการจริงอีกครั้งหนึ่งคะ)

         นอกจากนี้การทำโครงการนี้อาจจะมีข้อจำกัดในเรื่องงบประมาณด้วยเนื่องจากเป็นโครงการที่นักศึกษาจัดเองประมาณ 2500 บาทคิดว่าในทางปฏิบัติถ้าเป็นโครงการที่หน่วยราชการจัด จะดูลื่นไหลมากขึ้นค่ะ

          กิจกรรมพิเศษอีกอย่างคือ ประสานพาคนในชุมชนถัดอุทิศ ที่มีปัญหาโรคไต 1 รายไปเข้าพบเจ้าหน้าที่หน่วยล้างไตทางหน้าท้องโรงพยาบาลหาดใหญ่ เพื่อแนะนำขั้นตอนการดูแล รักษาต่อไปนั้น ทำให้เราซึ่งเป็นนักศึกษาได้ทราบหลักการรักษาโรคไตและขั้นตอน การรับสิทธิพิเศษในการรักษาผู้ป่วยที่ยากจนของ สปสช.ด้วยค่ะ และตัวดิฉันก็ได้มีโอกาสให้คำแนะนำการดูและตนเองแก่ผู้ป่วยรายนี้โดยการประยุกย์ ทฤษฎีความพร่องในการดูแลตนเองของโอเร็มด้วยค่ะ..............

หลังจากผู้ป่วยเข้าCsg แล้วผลเป็นอย่างไรบ้าง  ยังรู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับการดูแลจากทีมสุขภาพอยู่หรือไม่ ผู้ป่วยและญาติพัฒนาการปรับตัวต่อการเจ็บป่วยอยู่ในระยะใด?

ธัญพร ตอบค่ะ

ก่อนที่จะไปพบเจ้าหน้าที่ห้องล้างไต ลุงจิต ก็มีสีหน้าคาดหวังจะได้รับความช่วยเหลือ ในการรักษาป้าเพ็ญค่ะ เเต่เมื่อส่งป้าเพ็ญไปพบกับเจ้าหน้าที่หน่วยล้างไตเเล้ว พี่เจ้าหน้าที่ได้อธิบายขั้นตอนการรักษาอย่างละเอียด โดยบอกหวิธีการรักษาผู้ป่วยไตวายทั้ง 3วิธี หลังจากทราบข้อมูล ลุงจิตจึงเข้าใจเเล้ว ว่าเงินหรือความยากจนของผู้ป่วยไม่ใช่ข้อจำกัดในการรักษาค่ะ เเต่ยังมีข้อจำกัด ของผู้ดูเเลด้วย สิ่งเเวดล้อมของผู้ป่วย รวมถึงความเสี่ยงต่างๆที่อาจพบหลังการรักษาค่ะ หลังจากฟังเเล้วลุงจิตจึงเข้าใจเเละเเกจึงบอกว่าทำใจได้ค่ะ

รายงาน สะท้อนการเรียนรู้ ครั้งที่ 1 รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลชั้นสูง 1 (610-572)

วันที่ 18 – 19 เมษายน 2552

ชื่อ นักศึกษา นางสาว ภิญญารัตน์ สุวรรณขำ รหัส 5110421046

การเรียนรู้ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2552 เป็นการปฐมนิเทศและพบอาจารย์พี่เลี้ยงที่จะฝึกปฏิบัติงาน สิ่งที่ได้เรียนรู้ในการปฐมนิเทศ คือ การที่จะไปทำงานในชุมชน จำเป็นจะต้องรู้จักชุมชน ข้อมูลชุมชน ซึ่งได้แก่ ข้อมูลปฐมภูมิ ข้อมูลทุติยภูมิ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน ตลอดจนขั้นตอนและกระบวนการทำงานในชุมชน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลที่จะต้องนำไปใช้ในการทำงานร่วมกับชุมชน ต่อมาทางกลุ่มได้มีการประชุมวางแผนการทำงานในชุมชน โดยการระดมสมองเพื่อให้ได้แผนการดำเนินงานในชุมชน ได้มีการเขียนแผนการทำงาน โดยใช้แนวคิดและกระบวนการการทำงานในชุมชนมาใช้ในการเขียนแผนการทำงาน เพื่อดำเนินงานต่อไป

ภิญญารัตน์ ครั้งที่ 1

แก้ไขเพิ่มเติม รายงานครั้งที่ 1

รายงาน สะท้อนการเรียนรู้ ครั้งที่ 1 รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลชั้นสูง 1 (610-572)

วันที่ 18 – 19 เมษายน 2552

ชื่อ นักศึกษา นางสาว ภิญญารัตน์ สุวรรณขำ รหัส 5110421046

การเรียนรู้ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2552 เป็นการปฐมนิเทศและพบอาจารย์พี่เลี้ยงที่จะฝึกปฏิบัติงาน สิ่งที่ได้เรียนรู้ในการปฐมนิเทศ คือ การที่จะไปทำงานในชุมชนสิ่งแรกที่พยาบาลควรทำความเข้าใจ คือแนวคิดชุมชน ซึ่งจะเป็นข้อมูลพื้นฐานของชุมชนในแง่ของความหมาย ประเภท องค์ประกอบชุมชน และหน้าที่ของชุมชน เพราะจะช่วยให้พยาบาลเข้าใจบริบทของชุมชนมากขึ้น ดังนั้น ข้อมูลของชุมชน ซึ่งได้แก่ ข้อมูลปฐมภูมิ ข้อมูลทุติยภูมิ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน ตลอดจนขั้นตอนและกระบวนการทำงานในชุมชน รวมไปจนถึงแนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลที่จะต้องนำไปใช้ในการทำงานร่วมกับชุมชน จากแนวคิดข้างต้น ทางกลุ่มก็ได้มีการประชุมวางแผนการทำงานในชุมชน โดยการระดมสมองเพื่อวางแผนร่วมกันในการเข้าไปทำงานในชุมชน เมื่อหาข้อสรุปเบื้องต้นได้แล้ว จึงได้มีการเขียนแผนกำหนดการทำงาน โดยใช้แนวคิดและกระบวนการการทำงานในชุมชนมาใช้ในการเขียนแผนการทำงาน เพื่อใช้ในการดำเนินงานขั้นต่อไป

รายงาน สะท้อนการเรียนรู้ ครั้งที่ 2 รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลชั้นสูง 1 (610-572)

วันที่ 24 - 26 เมษายน 2552

ชื่อ นักศึกษา นางสาว ภิญญารัตน์ สุวรรณขำ รหัส 5110421046

ชุมชนที่ฝึกปฏิบัติ คือชุมชนถัดอุทิศ

ได้มีการสำรวจชุมชน เพื่อค้นหาปัญหา ความต้องการของคนในชุมชนและทำความรู้จักกับคนในชุมชน เพื่อสร้างสัมพันธภาพ ความไว้วางใจให้กับคนในชุมชน รวมไปจนถึงการสำรวจลักษณะทางกายภาพและระบบสังคมในชุมชน เช่น ระบบบริการสุขภาพ สวัสดิการ ความหนาแน่นของประชากร ขนาดครอบครัว อาชีพ ที่อยู่อาศัยและมลภาวะของสิ่งแวดล้อม และในการสำรวจชุมชนและการที่ได้ทำความรู้จักกับคนในชุมชน พบว่า ชุมชนถัดอุทิศเป็นชุมชนที่มีความแออัด และอยู่ติดริมทางรถไฟส่วนมากเป็นครอบครัวเดี่ยว แต่มีบางครอบครัวที่มีผู้สูงอายุอาศัยรวมอยู่ด้วย คนในชุมชนส่วนใหญ่เป็นคนต่างถิ่น ที่ย้ายเข้ามาทำมาหากินใน อำเภอหาดใหญ่ ส่วนใหญ่แล้วมีอาชีพรับจ้าง เช่น ก่อสร้าง ซึ่งจากผลของความแออัดของชุมชนทำให้การเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกในชุมชนแห่งนี้ค่อนข้างยากลำบาก ทำให้ขาดการดูแลเอาใจใส่จากหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง ดูเหมือนว่าคนในชุมชนต้องพึ่งพาตนเอง (ถ้าจะลงมือทำจริง ๆ คงไม่เหลือบ่ากว่าแรงและเกินความสามารถที่จะกระทำได้) ส่งผลให้สภาพแวดล้อมนั้นแย่ลงไปด้วย เช่น คูระบายน้ำมีน้ำขังส่งกลิ่นเหม็น ประกอบกับการไม่มีการจัดการกำจัดขยะ ทำให้เกิดปัญหาการทิ้งขยะไม่ถูกที่ส่งผลให้มีแหล่งน้ำเสียและมีแมลงวันเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังพบว่าผู้สูงอายุในชุมชน ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน และอัมพฤตอัมพาต เป็นจำนวนหนึ่ง

จากการสำรวจ เพื่อค้นหาปัญหา ความต้องการของคนในชุมชน ได้ใช้แนวคิดสุขภาพของชุมชน ได้แก่ โครงสร้างชุมชน กระบวนการและสถานะทางสุขภาพ ร่วมกับการใช้แบบแผนสุขภาพ 11 แบบแผน ของ Gordon นำมาประเมินภาวะสุขภาพของคนในชุมชน นอกจากนี้ได้ให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหาในชุมชนและความต้องการของคนในชุมชนด้วย โดยอาศัยแนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงความต้องการของคนในชุมชน เมื่อได้ข้อมูลดังกล่าว ทางกลุ่มได้ร่วมกันค้นหาปัญหาโดยใช้ SWOT Analysis วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสพัฒนาและสิ่งคุกคาม ของชุมชน นำมาจัดลำดับความสำคัญของปัญหา และนำมาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการดำเนินการ กำหนดแนวทางในการดำเนินกิจกรรม เพื่อใช้ในการวางแผนการจัดทำโครงการแก้ไขปัญหาในชุมชน โดยมีอาจารย์พี่เลี้ยงให้คำปรึกษาแนะนำและชี้แนะ เพื่อให้เข้าใจข้อมูลที่ตรงกันและไปในทิศทางเดียวกัน

จากการทำ SWOT Analysis พบปัญหาที่ตรงกันว่าปัญหาที่ควรที่จะแก้ไขอันดับแรก คือ เรื่อง สุขนิสัยส่วนบุคคลในเรื่องอาหารการกิน และการรักษาความสะอาดของมือ จึงได้จัดทำเป็นโครงการที่มีชื่อว่า กินอยู่อย่างปลอดภัย ร่วมใจกันล้างมือ ซึ่งเมื่อได้ชื่อโครงการแล้วในครั้งต่อไปก็จะเป็นขั้นตอนของการวางแผนการดำเนินการ ซึ่งจะทำกันในวันที่ 27 พ.ค.52 ค่ะ

รายงาน สะท้อนการเรียนรู้ ครั้งที่ 3 รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลชั้นสูง 1(610-572)

ระหว่าง วันที่ 27-29 เมษายน 2552

กิจกรรมที่ได้ดำเนินการ คือ

1. นำเสนอโครงการ “ ชุมชมถัดอุทิศ กินอยู่อย่างปลอดภัย ร่วมใจกันล้างมือ” ให้แก่อาจารย์พี่เลี้ยงพิจารณา ซึ่งได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ทางกลุ่มได้นำข้อเสนอแนะดังกล่าวมาปรับปรุงแก้ไขโครงการ และได้โครงการที่พร้อมสำหรับการดำเนินกิจกรรมโครงการต่อไป

2. เนื่องจากชุมชนที่จะลงไปจัดกิจกรรม เป็นชุมชนที่อยู่ในความรับผิดชอบของศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลโรงเรียนเทศบาล 1 (เอ็งเสียสามัคคี) จึงได้ไปประสานงานกับทางศูนย์ฯ เพื่อนำเสนอโครงการฯ ขอความร่วมมือในการประสาน อสม.และหัวหน้าชุมชนร่วมประชุม ร่วมแสดงความคิดเห็นการจัดดำเนินโครงการครั้งนี้ และขอสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ สำหรับจัดโครงการฯ

3. ประสานสำนักสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครหาดใหญ่ โดยทำหนังสือ ผ่านทางหัวหน้าศูนย์บริการสาธารณสุขโรงเรียนเทศบาล 1 ขอสนับสนุน โต๊ะ เต้นท์ เก้าอี้ บอร์ดและเอกสารความรู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น โปสเตอร์ แผ่นพับ เกี่ยวกับ อาหารปลอดภัย อาหาร ซึ่งได้รับความร่วมมือและให้การสนับสนุนด้วยดี

4. ประสานความร่วมมือ กลุ่มงานเวชกรรมสังคมโรงพยาบาลหาดใหญ่ ทำหนังสือ ขอสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการจัดดำเนินโครงการ เช่น อุปกรณ์ตรวจสอบความสะอาดของมือ (Dark light) น้ำยาล้างมือ (Alcohol hand rup) โปสเตอร์ 7 ขั้นตอนการล้างมือ แบบบันทึกสุขภาพวัยทำงาน และได้รับการสนับสนุนทุกอย่างที่ตามที่เสนอขอสนับสนุน

5. ร่วมกัน กำหนดตารางการดำเนินกิจกรรมโครงการฯ ผู้รับผิดชอบ และ เนื้อหาของกิจกรรม ซึ่งกิจกรรมประกอบด้วย คือ การให้ความรู้เรื่องการเลือกซื้ออาหารที่ปลอดสารพิษตกค้าง สารปนเปื้อนในอาหาร อาหารหลัก 5 หมู่ ธงโภชนาการ และสาธิตการล้างมือ ประกวดการล้างมือ เป็นต้น กำหนดจัดโครงการฯ ในวัน พุธ ที่ 6 พฤษภาคม 2552 เวลา 08.30-12.00 น. ณ ลานหน้าชุมชนถัดอุทิศ และสรุปผลการดำเนินงานภายในกลุ่ม รายงานผลให้กับอาจารย์พี่เลี้ยงทราบ เป็นระยะๆ

สิ่งที่ได้เรียนรู้

1. การจัดเตรียมเนื้อหา รายละเอียดการดำเนินโครงการ ซึ่งทางกลุ่มต้องร่วมกันคิด เกี่ยวกับกระบวนการ แนวทางในการจัดกิจกรรมโครงการ การกำหนดกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นกลุ่มแม่บ้าน เนื่องจากเป็นผู้มีบทบาทหลักในการ จัดหาอาหาร การกินอยู่ในบ้านให้แก่สมาชิกในครอบครัว การกำหนดระยะเวลาในการจัดกิจกรรม ใช้เวลา ช่วง เช้า เนื่องจากข้อจำกัดของคนในชุมชนที่ต้องไปรับจ้าง ค้าขายในตลาดสดใกล้บ้าน มีเวลาให้กับกลุ่มประมาณ ครึ่งวันเท่านั้น จึงจำเป็นต้องคิดกิจกรรมที่สอดคล้องกับระยะเวลาที่กลุ่มเป้าหมายสะดวก การคิดกิจกรรมในการประเมินผล ซึ่งในระยะเวลาจำกัดจะประเมินกิจกรรม โดย การใช้ภาพเป็นสื่อการประเมินความรู้ก่อนและหลัง และการสาธิตย้อนกลับการล้างมือ การประกวดการล้างมือ เป็นต้น โดยสรุปแล้ว ได้เรียนรู้ว่า การจัดทำโครงการใดโครงการหนึ่งจำเป็นที่จะต้องพิจารณารายละเอียดในทุกขั้นตอนหรือทุกหัวข้อของโครงการให้สอดคล้องกับปัญหาและบริบทของพื้นที่ กิจกรรมที่เหมาะสม กับระยะเวลาและกลุ่มเป้าหมาย การประเมินผลที่ชัดเจน ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากและท้าทาย หากประสบความสำเร็จจะได้เป็นบทเรียนสำหรับการทำงานในอีกรูปแบบหนึ่ง

2. ได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ ในการประสานงาน ทั้งในระดับบุคคลในชุมชน เช่น อสม. หัวหน้าชุมชน หรือในระดับหน่วยงานราชการ ทั้งในกระทรวงเดียวกัน คือ โรงพยาบาลหาดใหญ่ และต่างกระทรวง คือ สำนักสาธารณสุขเทศบาล ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาล เปิดโลกทัศน์การทำงานที่กว้างขึ้น ได้นำทักษะการพูด ทักษะการสื่อสาร การสร้างสัมพันธภาพทักษะของผู้นำ ซึ่งได้เรียนรู้ในวิชาระบบสุขภาพและภาวะผู้นำทางการพยาบาล ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 มาปรับใช้ในการประสานความร่วมมือ กับหน่วยงานดังกล่าว ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากทุกภาคส่วนที่ได้กล่าวมา

3. ได้เรียนรู้ ทักษะการบริหารงาน การมอบหมายงาน ซึ่งช่วยให้งานเสร็จในเวลาที่กำหนด มีการรายงานความก้าวหน้าในกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายของทุกคนในกลุ่ม การเปิดโอกาสให้ได้แสดงความคิดเห็น ในขณะเดียวกันก็มีการรายงานความก้าวหน้าการทำงานกลุ่มให้กับอาจารย์พี่เลี้ยงอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ได้ข้อคิดว่า หากเราทุกคนทำงานด้วยความรับผิดชอบ ให้เกียรติและให้โอกาสกับทุกคน จะทำให้ทุกคนเห็นคุณค่าของตนเอง ทำงานอย่างเต็มความรู้ความสามารถ จะช่วยให้งานประสบความสำเร็จได้

ธัญพร 4

กิจกรรมการเรียนรู้  (1-3 พฤษภาคม 2552)

1. เตรียมอุปกรณ์ ในการประชาสัมพันธ์ได้แก่ ใบปลิว โปสเตอร์ ออกประชาสัมพันธ์ และพบปะ อสม. ในพื้นที่ ช่วยออกประชาสัมพันธ์และแจ้งให้ ประชาชนในพื้นที่ทราบอีกครั้ง

2. จัดเตรียมเอกสารและอุปกรณ์ ที่ใช้ในการจัดโครงการเช่น บอร์ดที่ให้ความรู้ แผ่นพับ เนื้อหาที่จะนำมาใช้ ในเรื่องเกี่ยวกับ อาหารปลอดภัย การล้างมือ

3. ประชุมวางแผนในกลุ่มเกี่ยวกับลำดับขั้นตอนการดำเนินงาน มอบหมายหน้าที่ในกลุ่ม

สะท้อนการเรียนรู้

       จากการปฏิบัติกระบวนการกลุ่มในช่วงนี้จะเห็นว่าค่อนข้างเป็นรูปธรรมมากขึ้นค่ะ ช่วงที่พวกเราออกประชาสัมพันธ์ และแจกใบปลิวนั้นพบว่า ชาวบ้านบ้างส่วนทราบข่าวในการจัดโครงการของกลุ่มเราบ้างแล้วค่ะ จากอสม. ในพื้นที่ก็ทำให้ใจชื้นขึ้นบ้างค่ะว่าอย่างน้อยก็ยังมีคนทราบและแอบหวังว่าวันที่ 6 พฤษภาคม  2552  ที่จัดจริงจะมีคนมาร่วมตามที่เราคาดหวังไว้

การทำงานกลุ่มในช่วงนี้ก็ไม่หนักเท่าช่วงแรกๆค่ะเพราะทุกอย่างค่อนข้างเข้าที่เข้าทางบ้างแล้ว กิจกรรมครั้งนี้ต้องอาศัยความร่วมมือ และใช้เทคนิค รวมถึงทักษะการประสานงานค่อนข้างมาในการจัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ เนื่องจากต้องไปข้อ แผ่นพับจาก งานสุขศึกษา งาน IC งานส่งเสริมสุขภาพ ของโรงพยาบาลหาดใหญ่ โรงพยาบาลสงขลา โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ค่ะ แล้วก็มีการแบ่งงานกันตามปกติ เพื่อประหยัดเวลาว่าใครทำอะไร และระหว่างการดำเนินการก็มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในการจัดนวัตกรรมที่ต้องเตรียมนำเสนอด้วยค่ะในวันที่ 17 พฤษภาคม  2552  แต่ยังไม่มีการตกลงว่าจะเอาเรื่องของอะไร ที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดโครงการในครั้งนี้ค่ะ...

รายงาน สะท้อนการเรียนรู้ ครั้งที่ 3   วันที่ 27 - 29 เมษายน 2552

ชื่อ นักศึกษา นางสาว ภิญญารัตน์  สุวรรณขำ รหัส 5110421046

กิจกรรมการปฏิบัติ

1.       นำเสนอโครงการ  ชุมชนถัดอุทิศ  กินอยู่อย่างปลอดภัย  ร่วมใจกันล้างมือ

2.       ประสานงานกับหัวหน้าศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาล  โรงเรียนเทศบาล 1  เพื่อ

2.1                นำเสนอโครงการ

2.2                ร่วมกันวางแผนการดำเนินงาน

2.3                ขอความร่วมมือในการประสานงานกับ อสม.  และผู้นำชุมชน  ในการเข้าร่วมประชุม  เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  และเสนอแนวทางในการดำเนินงานในการจัดโครงการ  รวมทั้งขอความอนุเคราะห์วัสดุ  และอุปกรณ์  ในการจัดทำโครงการ

3.       ประสานงานกับสำนักงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม  เทศบาลหาดใหญ่ โดยทำเป็นหนังสือ  ผ่านทางหัวหน้าศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาล  โรงเรียนเทศบาล 1 เพื่อขอความอนุเคราะห์  โต๊ะ  เต็นท์  เก้าอี้  บอร์ด  โปสเตอร์  และแผ่นพับที่เกี่ยวข้องกับการจัดโครงการในครั้งนี้

4.       ประสานความร่วมมือกับกลุ่มงานเวชกรรมสังคม  โรงพยาบาลหาดใหญ่  เพื่อขอสนับสนุนอุปกรณ์ในการจัดโครงการ  ได้แก่  Dark  light  ,  Alcohol  hand  rup  และ โปสเตอร์ขั้นตอนการล้างมือที่ถูกต้อง

5.       ร่วมประชุมกับ  อสม.  และผู้นำชุมชน  ในวันที่ 29 เมษายน  2552

6.       ร่วมกันกำหนดวันเวลาในการจัดทำโครงการ  ซึ่งจะจัดในวันที่  6  พฤษภาคม  2552

7.       สมาชิกในกลุ่มร่วมกันจัดเตรียมอุปกรณ์  และเนื้อหาในการจัดทำโครงการ

สะท้อนการเรียนรู้

ในการดำเนินการจัดทำโครงการในครั้งนี้   อาศัยแนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลสุขภาพ  ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาความสามารถของประชาชนในการพึ่งพาตนเอง   นอกจากนี้ยังต้องอาศัยทักษะต่างๆ เข้ามาช่วยในการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอน  เพื่อให้การดำเนินงานนั้นสามารถสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี   โดยใช้ทักษะต่างๆ และบทบาทของพยาบาลดังต่อไปนี้   ได้แก่  ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น   ทักษะการทำงานเป็นทีม   ทักษะการติดต่อสื่อสาร  บทบาทในการประสานงานร่วมกับหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง  และกระบวนการกลุ่ม   ที่ขาดเสียไม่ได้   ก็คือ  ต้องอาศัยความร่วมมือกันของคนในชุมชนในการมีส่วนร่วมในการจัดดำเนินการโครงการ  เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามที่ได้คาดหวังไว้  เพราะถ้าขาดความร่วมมือจากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดแล้ว   การจัดทำโครงการก็ไม่อาจบรรลุผลสำเร็จได้

 

 

สะท้อนการเรียนรู้ ครั้งที่ 3

วันที่ 27-29 เมษายน 2552

นางปวลี คงประดิษฐ์ รหัส 5110421039

รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลชั้นสูง 1 (610-572)

สถานที่ฝึกปฏิบัติงาน โรงพยาบาลหาดใหญ่

สมาชิกในกลุ่มได้ระดมความคิดเห็นและได้เขียนโครงการนำเสนออาจารย์ที่ปรึกษา และได้รับคำแนะนำให้แก้ไขส่วนที่บกพร่อง เพิ่มเติมกิจกรรมที่มีประโยชน์ที่เป็นขั้นตอนในเรื่องการประเมินผล เมื่อได้แก้ไขเป็นที่เรียบร้อยแล้วนำส่งให้อาจารย์พี่เลี้ยงอีกครั้ง หลังจากนั้นได้กลับมาระดมความคิดเห็นในกลุ่มทบทวนถึงชุมชนที่ได้ศึกษา โดยถามความคิดเห็นของสมาชิกแต่ละคนทำให้ต้องดำเนินการในเรื่อง

1. ชุมชนถัดอุทิศ เป็นพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์บริการเทศบาล 1 ดังนั้นจึงควรแจ้งและขอความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ศูนย์ เพื่อเป็นการเคารพเจ้าของพื้นที่และเพื่อขอสนับสนุนอุปกรณ์ทำโครงการ จึงได้ไปประสาน งานกับหัวหน้าศูนย์ฯ เพื่อนำเสนอโครงการฯ และชี้แจงรายละเอียด ขอความร่วมมือในการประสาน อสม.และหัวหน้าชุมชน และขอสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ สำหรับจัดโครงการฯ ทางหัวหน้าศูนย์ชื่อคุณพีรดา ศรีจำเริญ ยินดีให้ความร่วมมือและเสนอเลื่อนโครงการไปจัดในวันที่ 6 พ.ค.52 เพื่อให้มีความพร้อมมากกว่านี้และให้ร่วมประชุม อสม.และประธานชุมชน เพื่อร่วมในการจัดกิจกรรมโครงการในชุมชน โดยให้ประธานชุมชนนัดประชุมในวันที่ 29 เมษายน 2552 เวลา 10.00-12.00 น. และได้ทำหนังสือขอความอนุเคราะห์อุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมจากกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครหาดใหญ่ ได้แก่ เต้นท์ โต๊ะ เก้าอี้ บอร์ด เครื่องชั่งน้ำหนัก เครื่องวัดความดัน โปสเตอร์ แผ่นพับ ซึ่งการปฏิบัติงานครั้งนี้ได้ใช้การติดต่อสื่อสารทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ

2. วันที่ 28 เมษายน 2552 ช่วงเช้าได้มีการจัดแบ่งงานให้รับผิดชอบตามความสามารถของแต่ละคนโดยกำหนดตารางการดำเนินกิจกรรมโครงการฯ ผู้รับผิดชอบ และ เนื้อหาของกิจกรรม ซึ่งกิจกรรมประกอบด้วย คือ การตรวจสุขภาพเบื้องต้น(วัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก ประเมิน BMI วัดรอบเอว)การให้ความรู้เรื่องการเลือกซื้ออาหารที่ปลอดสารพิษตกค้าง สารปนเปื้อนในอาหาร อาหารหลัก 5 หมู่ ธงโภชนาการ และการให้ความรู้ สาธิตการล้างมือ ประกวดการล้างมือ ซึ่งต้องเตรียมให้เรียบร้อยในวันที่ 29 เมษายน 52 โดยจัดแบ่งเป็น 3 ลักษณะคือ

2.1 การเตรียมของใช้ในวันจัดประชุม อสม. ได้แก่อาหารว่างและเครื่องดื่ม ให้ปวลีและโสเพ็ญดำเนินการการประชุม ประธานชุมชนและอสม.ในวันที่ 29 เมษายน 52 ให้คุณโสเพ็ญเป็นผู้ชี้แจง

2.2 การเตรียมของใช้ในวันจัดโครงการ พวกของชำร่วย ของรางวัล ทุกคนร่วมกันจัดหา

2.3 อุปกรณ์ร่วมให้ความรู้ Dark light Alcohol hand rup โปสเตอร์ 7 ขั้นตอนการล้างมือ แบบบันทึกสุขภาพวัยทำงาน ให้ธัญพร ดำเนินการโดยได้รับการสนับสนุนจากโรงพยาบาลหาดใหญ่ อุปกรณ์จัดเตรียมการจัดบอร์ดและตัวอย่างอาหารให้ปาริฉัตรและภิญญารัตน์ดำเนินการ การประสานงานเทศบาลให้ปวลีและโสเพ็ญดำเนินการ

3. จัดบอร์ดให้เสร็จในวันที่ 1 พ.ค.2552

สิ่งที่ได้เรียนรู้

1. การเตรียมการที่ดี มีการวางแผนอย่างเป็นขั้นตอนและมอบหมายงานตามความรู้ ความสามารถของแต่ละคนจะช่วยให้งานประสบผลสำเร็จได้และสามารถแก้ปัญหาได้ซึ่งต้องใช้ทักษะการเป็นผู้นำ การบริหารงานแบบมีส่วนร่วม การมอบหมายงาน และต้องมีความเชื่อมั่นในศักยภาพของสมาชิกแต่ละคน ให้อิสระในการทำงานภายใต้ระยะเวลาที่กำหนด พร้อมเป็นที่ปรึกษาเมื่อมีปัญหาซึ่งตรงกับภาวะผู้นำที่ได้เรียนมาแต่มีพฤติกรรมผู้นำแบบประชาธิปไตยที่ไว้วางใจและเชื่อในความสามารถของผู้ร่วมงาน

2. ได้เรียนรู้การประสานงาน ต้องนำการสื่อสารแบบสองทาง มาปรับใช้ในการประสานความร่วมมือ กับบุคคลและหน่วยงาน ซึ่งมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีทั้งบุคคลและหน่วยงาน

3. การเปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนได้แสดงความคิดเห็น ซึ่งแต่ละคนจะมีประสบการณ์ที่แตกต่างกัน แต่เมื่อนำมาผสมผสานเข้าด้วยกันเกิดเป็นความคิดเห็นที่ลงตัวได้ข้อสรุปที่เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินงาน จะทำให้ทุกคนทำงานอย่างเต็มความสามารถและทำงานอย่างมีความสุข

4. การรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานให้กับอาจารย์พี่เลี้ยงทุกขั้นตอน ทำให้ได้ข้อเสนอแนะปรับปรุงแก้ไขสิ่งบกพร่อง

จากการสังเกตการเตรียมงาน และการดำเนินกิจกรรมในชุมชนมีข้อคิดเห็นหลายประการทั้งส่วนที่ดีมาก และส่วนที่ยังมีโอกาสทำให้ดีขึ้นในโอกาสหน้าวันนี้ได้รวบรวมภาพกิจกรรมบางส่วนมาเพื่อให้เห็นบรรยากาศในการทำงานของทีมนักศึกษาคะ

กิจกรรมก็สำเร็จลุล่วงด้วยดีจากความร่วมมือของนักศึกษา เจ้าหน้าที่ และชาวชุมชนถัดอุทิศ

    อาจาร์ยได้ให้แนวคิดหัวข้อการสะท้อนการเรียนรู้ซึ่งครั้งนี้ได้ปรับปรุงแล้วคะ

      ได้เห็นภาพที่พี่นำเสนอและความคิดเห็นของพี่แล้ว รู้สึกประทับใจกับความรู้สึกดีๆนี่คือ กำลังใจที่พี่มีให้กับพวกเรา ขอขอบคุณคะ    

รายงาน สะท้อนการเรียนรู้ ครั้งที่ 4

ระหว่าง วันที่ 1-3 พฤษภาคม 2552

กิจกรรมที่ได้ดำเนินการ คือ

 1 ร่วมวางแผนจัดทำรูปแบบ แนวคิดในการจัดบอร์ดความรู้ 

 2. จัดหาและจัดเตรียมของขวัญ ของรางวัล สำหรับใช้ประกอบการจัดกิจกรรมโครงการฯ

3. ประชาสัมพันธ์โครงการ โดยการแจกแผ่นปลิวและประสาน อสม. ช่วยประชาสัมพันธ์

4. กำหนดหน้าที่ให้กับสมาชิกกลุ่มทุกคนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงาน

1. ได้เรียนรู้ว่า การจัดบอร์ดความรู้ที่ดี จำเป็นต้องมี การวางรูปแบบที่ชัดเจน ทั้งนี้ก็ต้องให้ สอดคล้องกับแนวคิดและวัตถุประสงค์โครงการฯที่ได้กำหนดด้วยและความคิดของแต่ละคนในกลุ่มมีคุณค่า สร้างสีสันในการทำงาน ทุกคนในกลุ่มได้ร่วมแสดงความคิดเห็นที่หลากหลาย ทำให้ได้รูปแบบ ที่ชัดเจน ทุกคนมีส่วนร่วมเติมเต็มให้กับบอร์ดความรู้

2. ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับเพื่อนร่วมงาน แต่ละคนนำประสบการณ์ของตนเองที่เคยใช้ และประสบความสำเร็จในการจัดกิจกรรมโครงการของมาใช้ เช่น การจะให้กลุ่มเป้าหมายมาเข้าร่วมกิจกรรม โดยเราไม่ต้องเชิญเป็นรายคนนั้น จำเป็นต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึง ให้รู้ว่า เราจะไปทำกิจกรรมอะไรให้กับเขา ที่สำคัญเขาจะได้ประโยชน์อะไรบ้างเมื่อเข้าร่วมโครงการ จะเป็นสิ่งดึงดูดใจ สร้างความสนใจ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือ การทำแผ่นปลิว แจกให้กับคนในชุมชนไว้เป็นหลักฐานกันลืม ในขณะเดียวกัน เราเองต้องลงชุมชนเชิงรุกด้วยตัวเอง เพื่อให้ชุมชนได้เห็นความตั้งใจของเรา และทุกคนก็ลงความเห็นร่วมกัน จัดทำแผ่นปลิวประชาสัมพันธ์ และลงชุมชนเพื่อแจกแผ่นปลิว ร่วมกับ อสม.

3. ได้เรียนรู้ว่า การคิดล่วงหน้า ว่าเราก้าวต่อไปเราจะทำอะไร ทำให้เราสามารถวางแผนว่า น่าจะเตรียมตัวอย่างไรบ้าง เตรียมวัสดุอุปกรณ์อะไร ถ้าเราไม่เตรียมแล้วปัญหาจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ซึ่งนำไปสู่การกำหนดหน้าที่และมอบหมายงาน ให้กับทุกคนได้มีส่วนร่วมรับผิดชอบ และติดตามความ ก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ทำให้งานดำเนินไปตามแผนที่กำหนด

สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกเหนือจากแผนงาน

      สำหรับแผนงานที่วางไว้ในวันจัดบอร์ดกิจกรรม ได้กำหนดว่า ช่วงเช้าเราทุกคนจะทำบอร์ด ของขวัญรางวัลให้เสร็จ ภาคบ่ายทุกคนจะลงชุมชนเพื่อประชาสัมพันธ์เชิญชวน คนในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมโครงการในวันที่ 6 พฤษภาคม 2552 แต่เราไม่สามารถทำตามแผนงานได้ บอร์ดความรู้ไม่เสร็จในช่วงเช้า ดังนั้นภาคบ่ายเพื่อการบริหารเวลาและได้งานตามที่วางแผนไว้ จึงต้องแบ่งงานให้กับทีม โดยให้ไปแจกแผ่นปลิว พบผู้นำ ชุมชน อสม. ประชาสัมพันธ์ในชุมชน จำนวน 2 คน ทำบอร์ดอีก 2 คน และอีก 1 คน ไปเตรียมถ่ายเอกสารประสานความร่วมมือรวบรวมสิ่งของที่จะใช้

      สำหรับวันจัดกิจกรรม จากการวางแผนและการปรับแผนในครั้งนี้ช่วยให้มองเห็นว่า การทำงานทุกอย่างถึงแม้จะกำหนดทุกอย่างไว้อย่างลงตัว แต่เมื่อไม่สามารถทำได้ก็จำเป็นต้องปรับกระบวนการคิด ปรับแผนการทำงาน ซึ่งงานก็เสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด

ความรู้สึกที่เกิดขึ้น

1. สำหรับตนเองคิดว่างานจัดบอร์ดความรู้เป็นงานที่ยาก คนที่ทำได้ต้องเป็นคนที่ชอบและมี ความเป็นศิลปิน มีประสบการณ์ ดังนั้นงานนี้จึงเป็นผู้คอยช่วยเหลือกลุ่ม แต่เมื่อได้ทำไประยะหนึ่งก็พอจะมีทักษะ ในการจัดรูปแบบบอร์ดความรู้ การตัดกระดาษจากแผ่นสี่เหลี่ยมเป็นดอกไม้ ใบไม้ หลากหลายสีสัน เป็นต้น ทำให้ได้ข้อคิดว่า หากเราเปิดโอกาสให้กับตัวเองเพื่อเรียนรู้สิ่งที่เราไม่สันทัด ไม่ชำนาญ ถ้าเราตั้งใจที่จะศึกษา ตั้งใจฝึก งานนั้นๆคงไม่ยากเกินความพยายาม

2. รู้สึกประทับใจกับการทำงานของเพื่อนร่วมงานในกลุ่มที่ไม่มีใครเกี่ยงงาน เมื่อรับปากไป ทำงานใดก็เต็มใจทำและมารายงานความก้าวหน้าในหน้าที่ที่ได้รับ

ธัญพร 5

กิจกรรมการเรียนรู้ ครั้งที่ 5 (6-7 พฤษภาคม 2552)

1. จัดโครงการชุมชนถัดอุทิศ “กินอยู่อย่างปลอดภัย ร่วมใจกันล้างมือ”

2. สรุปผลการจัดโครงการ

 3. ระดมสมองร่วมคิดนวัตกรรม ในชุมชนร่วมกับสมาชิกในกลุ่ม

สะท้อนการเรียนรู้ (ตามหัวข้อที่อาจารย์ อุษณีย์ กำหนดมาให้ใหม่ ค่ะ)

-สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงาน

    คือ เมื่อเริ่มดำเนินการตามโครงการที่เราคิดว่ามีการเตรียมการมาดีแล้วบางครั้งก็อาจมีสิ่งที่คาดไม่ถึงเกิดขึ้นได้เสมอ เราต้องฝึกเตรียมใจและรู้จักแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้ได้เช่น อุปกรณ์บางอย่างอาจต้องนำมาปรับใช้แทนบางอย่าง (adaptation) เมื่อจำเป็นค่ะ

-สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกเหนือจากแผนงาน คือ เมื่อเสร็จสิ้นโครงการต้องยอมรับว่าเหนื่อยและอากาศร้อนมากค่ะ ทำให้รักสมาชิกในกลุ่มและพี่ๆน้องๆ อสม.มากขึ้นทำให้เห็นด้วยกับ สำนวนไทยที่ว่า 2 หัวดีกว่าหัวเดียวค่ะ

-ความรู้สึกที่เกิด คือซาบซึ้งกับน้ำใจของพี่ อสม.บางท่านค่ะที่ช่วยพวกเราเต็มที่ ทำให้ความคิดช่วงแรกที่ว่าในชุมชนเมือง อสม.คงไม่ค่อยมีใครมาให้ความสำคัญกับกิจกรรมของพวกเราสักเท่าไหร่... นั้นเปลี่ยนไปค่ะ นอกจากนี้ก็ซึ้งน้ำใจคนในชุมชนค่ะ ที่มารวมกิจกรรมกับพวกเราหลายวัย และมีจำนวนมากกว่าที่พวกเราคาดหวังไว้

-ปัญหา อุปสรรค คือ

1. กิจกรรมบางอย่างยังมีความเข้าใจ ไม่ตรงกันในรายละเอียดปลีกย่อย เช่นการลงรายละเอียดการตรวจร่างกาย เนื่องจาก ตอนวางแผนครั้งแรกมีคนมาช่วยไม่มากเฉพาะ นักศึกษา อาจารย์พี่เลี้ยง อสม.แต่พอวันจัดโครงการที่เจ้าหน้าที่จากเทศบาลมาช่วยและมาสังเกตการณ์ด้วยหลายคนค่ะ ทำให้แบ่งงานกันใหม่ในระยะเวลาที่จำกัด ทำให้ข้อมูลเข้าใจไม่ตรงกัน ทำให้ข้อมูลบางอย่างที่ทำแต่ไม่ได้ลงไปในรายละเอียด

2. พอเป็นการฝึกนอกสถานที่ และอุปกรณ์บางอย่างต้องเตรียมในวันจัดโครงการเลย ทำให้ลืมของบางอย่าง และบางอย่างรอเอาของใช้ที่เป็นของต่างหน่วยงาน ทำให้ตอนเช้าขรุกขลักพอควรค่ะ  เเละตอนให้ความรู้ใช้โทงโข่ง  เสียงไม่ค่อยชัดค่ะอาจดึงดูดความสนใจของผู้ฟังได้น้อย  เเละมีเสียงดังจากสิ่งเเวดล้อมมารบกวนเป็นระยะๆค่ะ

-แนวทางแก้ไขปรับปรุง

คือต่อไปอาจต้องวางแผนกิจกรรมโดยกำหนดผู้ปฏิบัติที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้นละอาจตัดกิจกรรมบางอย่างออกไปเพื่อลดขั้นตอนและป้องกันการทำซ้ำซ้อนค่ะ เเละอาจปรับปรุงเรื่องเครื่องเสียงด้วยค่ะ..

นางปาริฉัตร์ ชูสังข์

รายงาน สะท้อนการเรียนรู้ ครั้งที่ 3รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลชั้นสูง 1 (610-572)

วันที่ 27-29 เมษายน 2552

ชื่อ นักศึกษา นางปาริฉัตร์ ชูสังข์ รหัส 5110421098

เมื่อทราบปัญหาของชุมชนและได้คิดโครงการมาเพื่อแก้ปัญหาให้กับชุมชน จากนั้นได้มีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการขอความร่วมมือในการที่จะจัดโครงการนี้ โดยได้ประสานงานกับศูนย์สาธารณสุขเทศบาล 1 เทศบาลหาดใหญ่ เวชกรรมสังคมโรงพยาบาลหาดใหญ่ เพื่อขอสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะใช้ในวันจัดโครงการ และประสานงานกับผู้นำชุมชน อสม. เพื่อชี้แจงโครงการและขอความร่วมมือในการทำโครงการ นอกจากนี้ยังได้มีการประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาสุขภาพของประชาชนและการพัฒนาด้านอื่น ๆ เมื่อได้ติดต่อประสานงานเรียบร้อยแล้วสมาชิกในกลุ่มได้ร่วมกันวางแผนและคิดอุปกรณ์ว่าควรจะจัดซื้ออุปกรณ์อะไรบ้าง ในการจัดทำโครงการเมื่อได้มีการตกลงกันแล้วว่าควรจะมีอุปกรณ์ใดบ้างในการจัดครั้งนี้ จึงไปจัดหา – ซื้ออุปกรณ์ ดังกล่าว

สิ่งที่ได้เรียนรู้

การติดต่อสื่อสาร ทำให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือเป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างบุคคล จึงเป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสารภายในกลุ่ม การประสานงานช่วยให้งานมีคุณภาพและสำเร็จตามเป้าหมาย ช่วยประหยัดเวลาและทรัพยากรในการปฏิบัติงาน การประสานงานโครงการมีการประสานงานทั้งบุคลากรภายในโครงการ และบุคลากรหรือหน่วยงานภายนอกโครงการ ซึ่งเทคนิคที่ใช้ในการประสานงาน คือ จัดให้มีการประชุม ในการประชุมอาศัยเทคนิคการจัดประชุมแบบมีส่วนร่วม ชี้แจงข้อมูลต่าง ๆ ได้ปรึกษาหารือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ทำให้เกิดความเข้าใจกัน ก่อให้เกิดความร่วมมือและประสานงานกันและเป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนมีปฏิสัมพันธ์กัน มีการเรียนรู้โดยอาศัยกระบวนการกลุ่ม การประสานงานซึ่งเป็นบทบาทหนึ่งของพยาบาลในการดูแลสุขภาพชุมชน

รายงาน สะท้อนการเรียนรู้ ครั้งที่ 4รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลชั้นสูง 1 (610-572)

วันที่ 1 -3 พฤษภาคม 2552

ชื่อ นักศึกษา นางปาริฉัตร์ ชูสังข์ รหัส 5110421098

มีการเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการจัดทำโครงการ และมีการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ ในการจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ พร้อมกับมีการประชาสัมพันธ์ในชุมชน เพื่อให้ประชาชนในชุมชนได้รับทราบในการจัดทำโครงการ เช่น วัน เวลา สถานที่ โครงการที่จัดทำ การจัดทำวัสดุต่าง ๆ เช่น บอร์ดเรื่องของการบริโภคอาหารและการล้างมือ ของขวัญสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม แผ่นพับ เป็นต้น

สิ่งที่ได้เรียนรู้

การทำงานเป็นทีม มีการแบ่งงานตามความเหมาะสม จะทำให้กลุ่มสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและประสบความสำเร็จได้ การทำงานเป็นทีม จะ มีการดำเนินงานต่าง ๆ จึงมีการจัดตั้งทีมงานในลักษณะต่าง ๆกัน เช่น ทีมบริการ ทีมประสาน ทีมปฏิบัติการ เป็นต้น ความร่วมมือของสมาชิกในทีมงาน จะทำให้กลุ่มดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จ ในการดำเนินงานโครงการหากกลุ่มหรือทีมโครงการสามารถทำงานเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะช่วยให้โครงการประสบความสำเร็จ ฉะนั้นการทำงานเป็นทีมย่อมมีความสำคัญกับการทำงานกับทุก ๆ หน่วยงานในปัจจุบัน

รายงาน สะท้อนการเรียนรู้ ครั้งที่ 4   วันที่ 1-3 พฤษภาคม 2552

ชื่อ นักศึกษา นางสาว ภิญญารัตน์  สุวรรณขำ รหัส 5110421046

กิจกรรมการปฏิบัติ

1.       ประชาสัมพันธ์โครงการโดยการแจกใบปลิว  และประสานงานร่วมกับ อสม. ในการช่วยประชาสัมพันธ์

2.       จัดเตรียมเอกสารที่ใช้ในวันจัดทำโครงการ  เช่น  แผ่นพับ  โปสเตอร์

3.       จัดเตรียมของขวัญ  และของรางวัลที่ใช้ในวันจัดทำโครงการ

4.       ประชุมวางแผนขั้นตอนการจัดดำเนินงาน  และมอบหมายหน้าที่ตามความเหมาะสม

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงาน

ในการทำงานในชุมชนนั้น   จะไม่สามารถสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี  หากขาดความร่วมมือ  ร่วมแรง  ร่วมใจ  จากคนในชุมชน  , เจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง   ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายๆ ฝ่ายโครงการถึงจะประสบความสำเร็จได้

สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกเหนือจากแผนงาน

ในการจัดทำโครงการครั้งนี้  ซึ่งมีระยะเวลาในการดำเนินงานในช่วงเวลาสั้นๆ   ดังนั้นจึงต้องมีการวางแผนและเตรียมการเป็นการอย่างดี    เพราะว่าในการทำงานเป็นทีมนั้น   มิใช่ว่าจะต้องทำงานแต่ละอย่างพร้อมๆกันทุกคน   จำเป็นจะต้องรู้จักจัดสรรเวลาและแบ่งงานกันทำ  เพื่อมิให้เป็นการเสียเวลา   โดยแบ่งความรับผิดชอบไปในแต่ละหน้าที่   เพื่อให้การทำงานดำเนินไปได้ด้วยความรวดเร็ว  และเสร็จตามเวลาที่กำหนด

ความรู้สึกที่เกิดขึ้น

เนื่องจากตนเองไม่เคยทำงานในชุมชนมาก่อน   จึงมีความรู้สึกว่าการทำงานในชุมชนเป็นสิ่งที่ยาก   เพราะต้องทำงานร่วมกับคนจำนวนมาก   อีกทั้งยังเป็นชุมชนที่ตนเองไม่คุ้นเคย   ทำให้ในบางครั้ง   นึกภาพไม่ออกว่ามีหน่วยงานอะไรบ้างในชุมชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำงาน หรือ ประสานงานร่วมกัน   แต่พอได้ฝึกปฏิบัติ   ทำให้รู้ว่าในการทำงานร่วมกับชุมชนต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ที่รับผิดชอบ  ซึ่งมีอยู่หลายฝ่ายด้วยกัน    นอกจากนี้เรียนรู้ถึงการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงาน    

รู้สึกประทับใจในความร่วมมือของสมาชิกในกลุ่ม  ที่ให้ความร่วมมือและตั้งใจทำงานเป็นอย่างดี   ทำให้งานสำเร็จตามที่ได้วางแผนไว้

 ปัญหาและอุปสรรค

                ในวันประชาสัมพันธ์แจกใบปลิวให้กับคนในชุมชนนั้น   ทางกลุ่มได้แจกใบปลิวในตอนกลางวัน   ซึ่งคนในชุมชนส่วนใหญ่จะต้องออกไปทำงานนอกบ้านไม่มีคนอยู่  ทำให้ไม่สามารถแจกใบปลิวได้  

แนวทางการแก้ไขปรับปรุง

                โดยการประสานความร่วมมือกับ อสม.  ในการร่วมแจกใบปลิวในส่วนที่ยังไม่ได้แจกหรือประชาสัมพันธ์ให้กับคนในชุมชน    เพื่อให้การประชาสัมพันธ์นั้นทั่วถึงทุกหลังคาเรือน

               

 

รายงานสะท้อนการเรียนรู้ ครั้งที่ 5 ระหว่าง วันที่ 6-7 พฤษภาคม 2552

กิจกรรมที่ได้ดำเนินการ

1. จัดดำเนินโครงการ ชุมชนถัดอุทิศ กินอยู่อย่างปลอดภัย ร่วมใจกันล้างมือ ในวันที่ 6 พฤษภาคม 2552

2. ร่วมกันสรุปผลการดำเนินโครงการ

3. ร่วมกันสรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ ในกิจกรรมที่แต่ละคนได้รับมอบหมาย

4. เตรียมข้อมูลต่างๆ เพื่อประกอบการจัดทำรูปเล่ม นำเสนอผลการดำเนินโครงการฯ

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงาน

1. การจัดสถานที่ในการดำเนินงานในชุมชนเมือง ซึ่งไม่สามารถจัดล่วงหน้าได้ เพราะเกรงจะ เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องจัดสถานที่ในช่วงเช้าวันจัดกิจกรรม ได้เรียนรู้ระบบการทำงานของหน่วยงานเทศบาล ซึ่งมีการแบ่งงานเป็นฝ่ายชัดเจน โดย สังเกตจาก การที่นักศึกษาได้ประสานขอสนับสนุน เต้นท์ โต๊ะ เก้าอี้ จากเทศบาล พบว่าทีมที่มากางเต้นท์ กับทีมจัดสนับสนุน โต๊ะ เก้าอี้ เป็นคนละทีมคนละหน่วยงานกัน ซึ่งแตกต่างจากการทำงานในหน่วยงานสาธารณสุขระดับอำเภอ ตำบล และการดำเนินกิจกรรมโครงการฯ ซึ่งส่วนใหญ่ต้องทำเอง รับผิดชอบเอง ประสานงานเอง สามารถจัดสถานที่ ล่วงหน้าได้ ทำให้ได้ข้อคิดว่า เมื่อหน่วยงานใหญ่ หรือ หน่วยงานต่างกัน ระบบการทำงานย่อมแบ่งต่างกัน อาจแบ่งเป็นหลายฝ่ายหลายงาน ข้อดี คือ มีผู้รับผิดชอบงานที่ชัดเจน อุปสรรค คือ การติดต่อผ่านแต่ละฝ่ายค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อน ต้องอาศัยระยะเวลาในการศึกษาข้อมูลระบบงานในหน่วยงานนั้นๆพอสมควร สำหรับแนวทางปรับปรุงแก้ไขเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาอุปสรรค คือ การขอความช่วยเหลือจากหัวหน้าศูนย์บริการสาธารณสุขโรงเรียนเทศบาล 1 (เอ็งเสียงสามัคคี) ซึ่งรับผิดชอบชุมชนถัดอุทิศและเข้าร่วมกิจกรรมการดำเนินโครงการฯในครั้งนี้ช่วยประสานงานกับแต่ละฝ่ายในสำนักงานเทศบาล เพื่อให้การจัดสถานที่ดำเนินลุล่วงด้วยดีในเวลาที่กำหนด

2. ได้เรียนรู้ การจัดกิจกรรมในชุมชนเมือง จำเป็นต้องศึกษาลักษณะความเป็นอยู่ วิถีชีวิต การ ประกอบอาชีพของคนในชุมชน ซึ่งแตกต่างจากประชาชนในเขตชนบทที่ส่วนใหญ่มีเวลาว่างในเวลาเดียวกัน ขณะที่ชุมชนเมือง คนในชุมชนทำงานไม่เป็นเวลา บางกลุ่มทำช่วงเช้า บางกลุ่มเริ่มทำช่วงบ่าย หรือเย็น ฉะนั้นการกำหนดระยะเวลาที่เหมาะสมในการจัดกิจกรรมโครงการฯ ค่อนข้างยาก ที่จะให้ทุกคนว่างและเข้าร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน แนวทางปรับปรุง คือ การประชุม ขอความคิดเห็นจากตัวแทนคนในชุมชน ลงมติว่าเวลาใดจึงเหมาะสม และใช้ระยะเวลาเท่าใดสำหรับการจัดกิจกรรม ซึ่งมีมติ ให้จัดกิจกรรมในช่วงเช้าระหว่างเวลา 09.00-12.00 น. ซึ่งคนในชุมชนส่วนใหญ่จะมีเวลาว่าง สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ และทีมนักศึกษาคิดว่าสามารถวางแผนกำหนดระยะเวลาได้เหมาะสม สังเกตจากที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกินเป้าหมายที่กำหนดไว้

3. เนื่องจากในช่วงที่จัดกิจกรรมเป็นช่วงปิดเทอม และกลุ่มเป้าหมายได้นำเด็กเข้ามาร่วม โครงการเนื่องจากไม่สามารถฝากใครให้ช่วยดูแลได้ ดังนั้น การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ จึงมีกลุ่มอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมที่หลากหลายทั้ง วัยเด็ก วัยเรียน วัยผู้ใหญ่ และวัยผู้สูงอายุ ทำให้การควบคุมสถานการณ์เป็นไปด้วยความยากลำบากพอควร เพราะแต่ละกลุ่มอายุมีข้อจำกัดในการรับรู้ข้อมูล และให้ความสนใจกับกิจกรรมที่แตกต่างกัน แนวทางปรับปรุงแก้ไข ในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป อาจแยกจัดโดยกลุ่มผู้ใหญ่และผู้สูงอายุจัดช่วงเช้า และเด็กนักเรียนไปจัดกิจกรรมในช่วงบ่าย ซึ่งคาดว่าโครงการฯ น่าจะมีประสิทธิภาพ คุ่มค่ากับที่นักศึกษาได้เตรียมการมา ตลอดถึงมีความสะดวกในการประเมินผลการเรียนรู้ และเป็นการเปิดโอกาสให้กับทุกกลุ่มวัยได้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการฯ

4. การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย ทั้ง การให้ความรู้ การสาธิต การประกวด การตอบปัญหา และ การมีสิ่งจูงใจเป็นรางวัลสำหรับผู้ที่อยู่ร่วมกิจกรรมตลอด เป็นกลยุทธ์ที่จูงใจให้กลุ่มเป้าหมายสนใจและเข้าร่วมกิจกรรม และคิดว่าสามารถนำไปใช้ประยุกต์ในการจัดกิจกรรมโครงการอบรมต่างๆได้

5. ได้เรียนรู้ว่า การเลือกพื้นที่จัดกิจกรรม ซึ่งคนในชุมชนสามารถเดินทางมาเข้าร่วมกิจกรรม ได้สะดวก แต่มีพื้นที่จำกัด คือ สามารถกางเต้นท์ได้เต้นท์เดียว แต่มีกิจกรรมทุกอย่างที่จัดอยู่ในพื้นที่นั้น ทำให้การจัดกิจกรรมต่างๆ ต้องทยอยทำ ต้องเร่งรีบทำกิจกรรมให้ทันในเวลาที่กำหนดไว้ ซึ่งบางกิจกรรมอาจต้องใช้เวลาสำหรับการฝึกทักษะ เช่น กิจกรรมการล้างมือ การเรียนรู้จากบอร์ดความรู้ต่างๆ เป็นต้น แนวทางปรับปรุงแก้ไข ในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป หากมีพื้นที่กว้างเป็นสัดส่วน ควรจัดในลักษณะทำเป็นฐานความรู้และฝึกทักษะ ซึ่งจะทำให้กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงความรู้ ได้ประสบการณ์ตรงในแต่ละฐานความรู้เหล่านั้น

สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกเหนือจากแผนงาน

1. ความสามารถ ศักยภาพ และความร่วมมือของกลุ่ม อสม. แกนนำชุมชน ซึ่งมีความตั้งใจและ รับผิดชอบ อาสาคอยช่วยเหลือ กิจกรรมต่างๆที่นักศึกษาจัดจนแล้วเสร็จ

2. การได้รับการสนับสนุนด้านบุคลากรและยานพาหนะ จากสำนักการสาธารณสุขและสิ่ง แวดล้อม คณะเจ้าหน้าที่จากศูนย์บริการสาธารณสุขโรงเรียนเทศบาล 1 ซึ่งสังกัดสำนักงานเทศบาลนครหาดใหญ่ ร่วมรับผิดชอบ คอยช่วยเหลือกิจกรรมต่างๆตลอดระยะเวลาการจัดดำเนินโครงการฯ ซึ่งเกินความคาดหวังของนักศึกษาว่าจะได้รับการดูแลและสนับสนุนด้านบุคคลกรและยานพาหนะดังกล่าว

3. การได้รับความช่วยเหลือ ให้คำปรึกษาและดูแลจากอาจารย์พี่เลี้ยง ตลอดระยะเวลาการจัด กิจกรรม ทำให้กิจกรรมสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

ความรู้สึกที่เกิดขึ้น

1. ตลอดระยะเวลาตั้งแต่เริ่มเข้าศึกษาชุมชน จนกระทั่งถึงวันจัดกิจกรรมในชุมชน ในความคิดของตนเอง ก่อนถึงวันจัดกิจกรรม มีความวิตกกังวล หลายเรื่อง เช่น เราต้องจัดทุกอย่างได้ในช่วงเช้า จะจัดทันไหม ไหนต้องประสานคนกางเต้นท์ โต๊ะ เก้าอี้ ซึ่งเราไม่เคยรู้จัก ไม่มีช่องทางในการติดต่อ เพียงแค่อาศัยเจ้าหน้าที่จากศูนย์ฯ คอยประสานให้เท่านั้นจะเป็นไปได้แค่ไหน เราประเมินตนเองว่าเราค่อนข้างพร้อมในระดับหนึ่ง แต่กลุ่มเป้าหมายจะเข้าร่วมกิจกรรมมากน้อยแค่ไหน ถ้ากลุ่มเป้าหมายมาช้าต้องเลื่อนเวลาออกไป แล้วจะสามารถควบคุมเวลาได้หรือไม่ กลุ่มนักศึกษามีเพียง 5 คน แต่กิจกรรมมีหลากหลายจะทำทันไหม แต่เมื่อถึงวันจัดกิจกรรมเรากลับพบว่า ทุกอย่างพร้อม คือ

- เต้นท์ โต๊ะ เก้าอี้ เทศบาลมาจัดการให้

- คนลงทะเบียน/ประเมินสภาพ ประเมินความรู้ก่อนทำกิจกรรม มีอสม. บุคลากรจากเทศบาลคอยช่วยเหลือ

 - การดูแล ความเรียบร้อยต่างๆตลอดการกิจกรรม มีอาจารย์พี่เลี้ยงคอยดูแลช่วยเหลือ

- การดำเนินกิจกรรมด้านความรู้ การสาธิต ประกวด คณะนักศึกษาได้ทำตามบทบาทหน้าที่ที่ตนเองได้รับมอบหมาย

     ผลที่ได้ คือ งานเสร็จ ครอบคลุมทุกกิจกรรมที่กำหนดไว้ กลุ่มเป้าหมาย เข้าร่วมกิจกรรมเกินเป้าหมายที่วางไว้ และส่วนใหญ่สามารถเข้าร่วมกิจรรมตลอดระยะเวลาที่จัด รู้สึกดีใจ ภาคภูมิใจ นี่ คือ รางวัลสำหรับทีมนักศึกษา สมกับที่ได้ทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจ เราทำกิจกรรมทุกอย่างไม่ใช่เพียงแค่ ฝึกปฏิบัติงานในฐานะนักศึกษา แต่เราได้นำสิ่งที่เราได้รับการถ่ายทอดความรู้ด้านทฤษฎีต่างๆที่ได้เรียนรู้รวมถึง ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานจริงที่ทุกคนคิดว่าดี มีคุณภาพ มาประยุกต์ใช้ในการทำกิจกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการ ของคนในชุมชน ช่วยให้เขาได้ความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองและคนในครอบครัว คิดว่า เราทุกคนทำกิจกรรมครั้งนี้ เกินกว่า คำว่า “นักศึกษาฝึกงาน”

ส่ง...นวตกรรม  

ชื่อโครงการ นวัตกรรม : คู่มือสำหรับครอบครัว ชุมชนถัดอุทิศ กินอยู่อย่างปลอดภัย

หลักการและเหตุผล

         จากสภาพของสังคมไทยในปัจจุบัน พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสาร มีความเจริญทางวัตถุเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีการดิ้นรนเพื่อการดำรงชีวิตเกิดการอพยพย้ายถิ่นเพื่อประกอบอาชีพมากขึ้น ทำให้พฤติกรรมและแบบแผนการดำเนินชีวิตเปลี่ยนไป ที่เห็นได้ชัด เกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่พึ่งพาอาหารสำเร็จรูปมากขึ้น การใช้ชีวิตที่เร่งด่วน การออกกำลังกายและการพักผ่อนที่น้อยลง เกิดความเครียดมากขึ้น ส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตและหากเกิดความเจ็บป่วยย่อมกระทบต่อรายได้และค่าใช้จ่ายที่ตามมา

         ถึงแม้ว่าพฤติกรรมการบริโภคจะเปลี่ยนไปแต่อาหารยังเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อสุขภาพของประชาชนทุกกลุ่มอายุ ซึ่งอาหารปลอดภัยที่ประชาชนควรบริโภคนั้น ต้องปราศจากเชื้อโรค หรือการปนเปื้อนจากเชื้อโรคและสารเคมี ซึ่งสิ่งปนเปื้อนในอาหารและมือนั้นเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่ว่าจะเป็นโรคทางเดินอาหาร โรคระบบทางเดินหายใจ โรคผิวหนัง และโรคระบาดอื่นๆซึ่งมักเกิดจากการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะและการสัมผัสเชื้อโรคจากบุคคลหนึ่งสู่อีกบุคคลหนึ่ง แต่ถ้าหากประชาชนมีความรู้ในเรื่องการบริโภคอาหารและการเลือกซื้ออาหารที่ถูกสุขลักษณะอีกทั้งมีการดูแลสุขนิสัยส่วนบุคคล ได้แก่ การล้างมือ การรักษาความสะอาดส่วนบุคคลจะช่วยลดปัญหาการเกิดโรคในระบบทางเดินอาหารและอื่นๆได้ การปลูกฝังทัศนคติและความตระหนักในเรื่องบริโภคอาหารปลอดภัยและการล้างมือนั้นควรเริ่มตั้งแต่ระดับ บุคคล ครอบครัว และทุกคนในชุมชนควรปฏิบัติเป็นพฤติกรรมประจำวัน 

        ผลการจัดดำเนินโครงชุมชนถัดอุทิศ “กินอยู่อย่างปลอดภัย ร่วมใจกันล้างมือ ” ที่ผ่านมาในวันที่ 6 พฤษภาคม 2552 คณะนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน(ภาคพิเศษ) ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้จัดทำขึ้น พบว่าได้รับความสนใจจากคนในชุมชนในการเข้าร่วมกิจกรรมบรรลุตามวัตถุประสงค์ มีจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการเกินเป้าหมายที่กำหนดไว้ และเพื่อให้การจัดโครงการดังกล่าวสามารถนำไปใช้ ได้อย่าง ยั่งยืน เกิดประโยชน์และเป็นรูปธรรม

         ดังนั้น คณะนักศึกษา จึงจัดทำ นวัตกรรม คู่มือสำหรับครอบครัวชุมชนถัดอุทิศ กินอยู่อย่างปลอดภัย โดยนำมาประยุกต์เข้ากับแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (HealtBelief Model) ซึ่งมีความเชื่อเกี่ยวกับ การรับรู้ของบุคคลและแรงจูงใจว่า การที่บุคคลจะมีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงจากการเป็นโรค จะต้องมีความเชื่อว่า เขามีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรค โรคนั้นมีความรุนแรงและมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต รวมทั้งการปฏิบัตินั้นจะเกิดผลดีในการลดโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหรือช่วยลดความรุนแรงของโรค โดยไม่ควรมีอุปสรรคด้านจิตวิทยามาเกี่ยวข้อ ง เช่น ค่าใช้จ่าย ความไม่สะดวกสบาย ความเจ็บป่วยและความอาย ดังนั้นสอดคล้องจัดทำ นวัตกรรม คู่มือ ดังกล่าวเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ ในการเลือกบริโภคอาหาร การดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล ในเรื่องที่เกี่ยวกับ การสัมผัสเชื้อทางมือ เนื่องจากหลักการดังกล่าว ประชาชนในพื้นที่ชุมชนถัดอุทิศ สามารถทำได้ด้วยตนเอง สะดวก ประหยัดและให้ผลในการป้องกันโรคที่คุ้มค่า สามารถนำไปใช้ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของตนเอง ครอบครัวและชุมชนต่อไป

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องในการเลือกบริโภค อาหารและการเสริมสร้างสุขวิทยาส่วนบุคคล

2. เพื่อสร้างเครื่องมือในการดูแลสุขภาพเรื่องการบริโภคอาหารและการเสริมสร้าง สุขวิทยาส่วนบุคคลให้แก่ประชาชนในชุมชน พื้นที่กลุ่ม/ กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนในชุมชนถัดอุทิศจำนวน 1,595 คน (จำนวน 1200 ครัวเรือน)

ขั้นตอนและวิธีการดำเนินการ

1. ศึกษาชุมชนถึงปัญหาในเรื่อง ความเป็นอยู่ สภาพแวดล้อมในชุมชน การดูแล สุขภาพของคนในครอบครัว เพื่อนบ้าน ความเสี่ยงของการเกิดโรค การปฏิบัติตัวในการเลือกรับประทานอาหาร การดูแลสุขนิสัยส่วนบุคคลโดยเฉพาะในเรื่องของการล้างมือ

2. จัดประชุมแกนนำในชุมชนได้แก่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงเรียนเทศบาล 1(เอ็งเสียง สามัคคี) กลุ่มอสม. ผู้นำชุมชน อาจารย์พี่เลี้ยง คณะนักศึกษาพยาบาล

 3. ประชุมชี้แจงแนวทาง ร่วมวางแผน จัดทำ นวัตกรรม แก่ผู้เกี่ยวข้อง

4. จัดเตรียมวัสดุและเอกสาร

4.1 เตรียมวัสดุและอุปกรณ์ ศึกษาหลักการจัดทำคู่มือการดูแลสุขภาพประจำ ครอบครัว จากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่นตำราเอกสาร แผ่นพับ เครือข่ายอินเตอร์เน็ต มาประกอบการจัดทำคู่มือ

4.2 นำกิจกรรมและเนื้อหา ความรู้ที่ได้จัดทำกิจกรรมโครงการ “ชุมชนถัดอุทิศ กินอยู่อย่างปลอดภัย ร่วมใจกันล้างมือ” มาประกอบการจัดทำคู่มือ

 4.3 เตรียมรายละเอียดเนื้อหาความรู้เพื่อจัดทำเป็นคู่มือ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

- แนะนำอาหารเพื่อสุขภาพ ตามแนวทางธงโภชนาการและพีระมิด - การเลือกบริโภคอาหาร

- แบบประเมินตนเองในการบริโภคอาหารในชีวิตประจำวัน

- สุขวิทยาส่วนบุคคล เรื่องหลักการและวิธีการล้างมือที่ถูกต้อง

5. จัดทำรูปเล่ม คู่มือสำหรับครอบครัว ชุมชนถัดอุทิศ กินอยู่อย่างปลอดภัย

6. นำ คู่มือสำหรับครอบครัว ชุมชนถัดอุทิศ กินอยู่อย่างปลอดภัยไปใช้ชุมชน

7. ประเมินผล การใช้สำหรับครอบครัว ชุมชนถัดอุทิศ กินอยู่อย่างปลอดภัย

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 1. คนในชุมชนมีการดูแลสุขภาพในเรื่องการบริโภคอาหารและมีสุขวิทยาส่วนบุคคลในเรื่องของการล้างมือได้ถูกต้อง

2. คนในชุมชนมีการเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกิดจากการรับประทานอาหารและ โรคติดเชื้อที่ ติดต่อจากการสัมผัส( contact precaution) ลดลงหรือไม่มีเลย

3. ส่งเสริมให้คนในชุมชน มีความรัก ความผูกพันในครอบครัวร่วมกันดูแลสุขภาพซึ่งกัน และกัน นำไปสู่การสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง ชุมชนมีศักยภาพในการดูแลตนเองต่อไป

 ผู้รับผิดชอบโครงการ

1. นางสาว ธัญพร สมันตรัฐ

 2. นาง ปวลี คงประดิษฐ์

3. นางสาว ภิญญารัตน์ สุวรรณขำ

4. นาง โสเพ็ญ โพธิพงศา

5. นาง ปาริฉัตร์ ชูสังข์

คณะนักศึกษาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ผู้ร่วมโครงการ

1. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในศูนย์บริการสาธารณสุขโรงเรียนเทศบาล    1 (เอ็งเสียงสามัคคี)

2. กลุ่มอสม.

ที่ปรึกษาโครงการ

1.รศ. อุษณีย์ เพรชรัชตะชาติ อาจารย์ผู้ประสานรายวิชา ปฏิบัติการพยาบาลชุมชน ขั้นสูง 1 (610- 572) คณะพยาบาลศาสตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

2. . คุณ อมรรัตน์ ลิ่มเฮง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลหาดใหญ่

สะท้อนการเรียนรู้ ครั้งที่ 4 วันที่ 1-3 พฤษภาคม 2552 นางปวลี คงประดิษฐ์ รหัส 5110421039 รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลชั้นสูง 1 (610-572) สถานที่ฝึกปฏิบัติงาน โรงพยาบาลหาดใหญ่ เป็นการเตรียมการในการจัดบอร์ด ซึ่งต้องมีการวางแผน ในขั้นตอนแรกเริ่มจากการเตรียมการ มีการกำหนดวัสดุที่ใช้ในการจัดบอร์ดในการให้ความรู้ จัดหาตามรายการ และมีการกำหนดเนื้อเรื่องที่จะนำเสนอให้กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้ ในตอนแรกสมาชิกกลุ่มมีมติจะนำเสนอเรื่องอาหารปลอดภัย แต่เมื่อได้มาปรึกษากัน มีมติให้เพิ่มอาหารหลัก 5 หมู่และธงโภชนาการเข้าไปด้วย โดยเริ่มต้นให้แนะนำถึงประโยชน์และสัดส่วนของอาหารที่ควรรับประทาน แล้วต่อด้วยหลักการเลือกซื้ออาหาร และอาจารย์พี่เลี้ยงได้ให้คำแนะนำถึงการประเมินผู้เข้าร่วมโครงการ ซึ่งควรใช้การประเมินแบบง่าย สื่อความหมายได้ชัดเจนโดยใช้ภาพให้เลือกตอบ ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งในการประเมินกิจกรรมด้วย เมื่อเตรียมเนื้อหาพร้อมแล้วถึงขั้นตอนในการลงมือจัดบอร์ด โดยเริ่มแรกได้วางแผนการดำเนินงานเพื่อให้เสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด ในช่วงเวลา 08.00-10.00 ให้ร่วมกันจัดทำของที่ระลึกผู้ร่วมงานจำนวน 60 ชิ้น งานเสร็จตามเวลากำหนด หลังจากนั้น ให้สมาชิกร่วมกันเรียนรู้การทำดอกไม้ตกแต่งบอร์ดอย่างง่ายโดยใช้กระดาษสี ซึ่งบางคนทำได้แต่บางคนบอกว่าเป็นงานที่ไม่ถนัด จึงขออาสาทำอย่างอื่นแทน เช่น ไปถ่ายเอกสารแผ่นปลิว ไปขอรับอุปกรณ์ที่ยืมไว้เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมวันที่ 6 การจัดทำบอร์ดกำหนดให้เสร็จในเวลา 12.00 น. เพราะมีการวางแผนนำแผ่นปลิวไปประชาสัมพันธ์เชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรมในวันที่ 6 พ.ค. 52 แต่การจัดบอร์ดไม่เสร็จในเวลาที่กำหนด จึงแบ่งทีมงานเป็น 2 ทีมโดย ปวลีกับโสเพ็ญจัดบอร์ดต่อ ธัญพร ปาริฉัตรและภิญญารัตน์ไปแจกแผ่นปลิวประชาสัมพันธ์ในชุมชน การทำงานทุกอย่างให้เสร็จในเวลา 15.30 น. ซึ่งการปฏิบัติงานครั้งนี้ได้ใช้ทักษะการมอบหมายงานตามความรู้ความสามารถ เพื่อให้งานสามารถดำเนินการไปได้และเสร็จในระยะเวลาที่กำหนด หลังจากนั้นให้สมาชิกทุกคนร่วมประชุมเพื่อหาส่วนที่ยังต้องดำเนินการต่อและจัดแบ่งงานดังนี้ 1. การประเมินผู้เข้าร่วมโครงการเรื่องอาหารปลอดภัย วิธีการพร้อมทั้งแบบประเมินให้ปวลีรับผิดชอบ 2. การประกวดการล้างมือ เกณฑ์การตัดสินพร้อมทั้งแบบประเมินให้ธัญพรรับผิดชอบ 3. แบบการลงทะเบียนและรูปแบบการเก็บข้อมูลเบื้องต้น เช่น อายุ น้ำหนัก ส่วนสูง BMI รอบเอวให้ปวลีรับผิดชอบออกแบบและจัดทำ สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงาน 1. การวางแผนโดยการกำหนดกิจกรรม และระยะเวลาในบางครั้งไม่สามารถทำได้ตามที่กำหนด ซึ่งมีสิ่งคุกคามหลายอย่างที่กระทบทำให้งานไม่เสร็จตามกำหนด เช่น สถานที่มีอากาศถ่ายเทไม่สะดวก อากาศร้อนเกินไป หรือมีภารกิจอื่นที่ต้องดำเนินการไปพร้อมๆกัน(ทำของที่ระลึก) ดังนั้นควรมีแผนสำรองที่1หรือ2 รองรับไว้ด้วยเพื่อให้การดำเนินงานไม่ติดขัดและสำเร็จตามกำหนด 2. การจัดบอร์ดต้องมีการวางรูปแบบเนื้อหาที่สอดคล้องวัตถุประสงค์ และเนื้อหาในการให้ความรู้ดังนั้นคนที่เตรียมเนื้อหาและคนที่รับผิดชอบในการจัดบอร์ดต้องปรับให้มองในเรื่องเดียวกัน เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์และเป็นแนวทางเดียวกัน 3. การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในชุมชนทราบ โดยใช้แผ่นปลิวแจกให้กับคนในชุมชนและตัวนักศึกษาเองได้ลงไปเชิญชวนด้วยตนเอง 4. การวางแผนล่วงหน้า โดยกำหนดกิจกรรม ผู้รับผิดชอบและมอบหมายงานให้กับสมาชิกทุกคนตามความรู้ ความสามารถและประสบการณ์เดิม ทำให้งานดำเนินไปตามแผนที่กำหนดและการติดตามความ ก้าวหน้าทำให้ทราบปัญหาและอุปสรรค สามารถหาทางแก้ไขได้ สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกเหนือจากแผนงาน ในการจัดบอร์ด สมาชิกบางคนอาจมีประสบการณ์ด้านนี้น้อยหรือไม่มีความถนัด แต่ให้มอบหมายให้ทำในส่วนที่เขาสามารถทำได้ เช่น การตัดกระดาษตามรูปที่กำหนด ช่วยติดกระดาษกาวและสอนหลักง่ายๆให้เพื่อให้เขาสามารถนำไปใช้ได้ ทำให้เกิดการเรียนรู้และการสอนงาน ที่สำคัญเกิดบรรยากาศความสนุกสนานในการทำงาน ช่วยลดความเครียดลงได้ ความรู้สึกที่เกิดขึ้น 1. ในตอนแรกรู้สึกกังวลเพราะในวันที่ 1 ได้วางแผนไว้ 3 กิจกรรม คือทำของที่ระลึก จัดบอร์ดและการประชาสัมพันธ์ในชุมชน ได้มีการเตรียมการล่วงหน้าในการทำริบบิ้นติดของที่ระลึกจำนวน 60 ชิ้น และรีบมาดำเนินการแต่เช้าโดยพับผ้าเช็ดมือรูปสวยงามง่ายๆเตรียมไว้ ซึ่งใช้เวลาพอสมควร และในเวลาต่อมาเมื่อสมาชิกกลุ่มมาพร้อมกันและลงมือช่วยกัน ทำให้งานเสร็จไปหนึ่งอย่าง ส่วนงานจัดบอร์ดเป็นงานที่พอทำได้ การวางเนื้อหาและรูปภาพต้องสอดคล้องกับเนื้อหาที่จะให้ความรู้ และการตกแต่งบอร์ดให้สวยงามดึงดูดความสนใจก็มีความสำคัญเช่นกัน การทำงานด้านนี้จึงเป็นภาระงานที่กังวลพอสมควรแต่เนื่องจาก มีสมาชิกกลุ่มคอยช่วยเหลือ ช่วยแสดงความคิดเห็นและให้กำลังใจ ถึงเหนื่อยแต่ยังสู้ ส่วนการออกไปประชาสัมพันธ์ตนเองไม่ได้ไปแต่สมาชิกได้กลับมาเล่าให้ฟังถึงผลการตอบรับของชาวบ้าน ทำให้รู้สึกคลายกังวลลงบ้าง 2. รู้สึกประทับใจกับความมีน้ำใจของสมาชิกในกลุ่ม งานในส่วนที่สมาชิกคนอื่นไม่ถนัดแต่จะอาสาทำในส่วนที่ตนเองทำได้ และมีการรายงานความก้าวหน้าในส่วนที่ตนเองรับผิดชอบให้สมาชิกกลุ่มรับทราบกันอยู่ตลอดเวลา ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไข การคิดหารูปภาพในการประเมินเป็นเรื่องค่อนข้างยากในการหาภาพที่สื่อให้เข้าใจ ใช้การเปรียบเทียบซึ่งต้องใช้ทั้งหมด 20 ภาพ จึงลองไปขอที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและค้นภาพตามนิตยสารต่างๆก็ยังได้ไม่ครบ จึงปรึกษาสมาชิกในกลุ่มให้ปรับเปลี่ยนไปใช้คำถามแทน 10 ข้อ เนื้อหาครอบคลุมการให้ความรู้ในการจัดกิจกรรม

สะท้อนการเรียนรู้ ครั้งที่ 5

วันที่ 6-7 พฤษภาคม 2552

นางปวลี คงประดิษฐ์ รหัส 5110421039

รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลชั้นสูง 1 (610-572)

สถานที่ฝึกปฏิบัติงาน โรงพยาบาลหาดใหญ่

กิจกรรมที่ได้ดำเนินการ

1. จัดสถานที่ จัดบอร์ด จัดเตรียมอุปกรณ์

2. จัดกิจกรรมต่างๆตามโครงการ ชุมชนถัดอุทิศ กินอยู่อย่างปลอดภัย ร่วมใจกันล้างมือ ในวันที่ 6 พ.ค.2552

2. ร่วมกันสรุปผลการจัดกิจกรรมแต่ละกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย

3. ร่วมกันสรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ

4. เตรียมข้อมูลต่างๆ เพื่อประกอบการจัดทำรูปเล่ม นำเสนอผลการดำเนินโครงการฯ

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงาน

1. การเตรียมสถานที่ในการจัดกิจกรรมโครงการแม้ว่าได้ขออนุญาตจากเจ้าของสถานที่แต่ไม่สามารถจัดเตรียมสถานที่ล่วงหน้าได้เพราะ วันที่ 5 เป็นวันหยุดราชการและไม่สามารถจะกางเต้นท์ วางโต๊ะ เก้าอี้หรือเตรียมจัดบอร์ด อุปกรณ์ทิ้งไว้โดยไม่มีคนเฝ้าได้ เกรงว่าจะเกิดการสูญหาย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องจัดสถานที่ในช่วงเช้าวันจัดกิจกรรม ซึ่งหัวหน้าศูนย์บริการสาธารณสุขโรงเรียนเทศบาล 1(เอ็งเสียงสามัคคี)ได้กรุณาย้ำเตือนทีมงานฝ่ายที่รับผิดชอบในวันก่อนจัดกิจกรรม ซึ่งต้องเข้าใจระบบการทำงานของหน่วยงานเทศบาล มีการแบ่งงานแต่ละฝ่ายชัดเจนตามบทบาทหน้าที่ และมีหัวหน้าของแต่ละหน่วย

การติดต่อประสานงานค่อนข้างยุ่งยากและมีหลายขั้นตอน ซึ่งการดำเนินการในส่วนนี้ตัวแทนนักศึกษาพร้อมกับหัวหน้าศูนย์บริการสาธารณสุขโรงเรียนเทศบาล 1 ได้เข้าไปประสานงานล่วงหน้าได้รับการอนุมัติในการสนับสนุนเต้นท์ 1 หลัง โต๊ะ 5 ตัว เก้าอี้ 50 ตัว มารู้ภายหลังว่ารับผิดชอบคนละหน่วยงาน นอกจากนั้นยังได้รับสนับสนุนตะแกรงที่ใช้ในการจัดบอร์ดจากฝ่ายเทคโนโลยีแต่ต้องไปรับเช้าวันที่ 6 และต้องขนมาเอง ซึ่งทางนักศึกษาไม่มียานพาหนะที่ใช้ขนของได้ หัวหน้าศูนย์ฯจึงให้พนักงานขับรถพาไปรับและน้องพนักงานขับรถผู้ใจดียังอาสานำไปคืนให้ แล้วยังช่วยเหลือในการยึดผูกติดกับเต้นท์ให้ด้วย

2. การแขวนบอร์ดให้ความรู้ ซึ่งมีการซักซ้อมทำความเข้าใจล่วงหน้าถึงลำดับการจัดเรียงเนื้อหา จึงไม่ทำให้เสียเวลามากในการดำเนินการแต่เพื่อป้องกันความผิดพลาด ควรมีหมายเลขกำกับไว้ด้วยจะเป็นการดี เพื่อให้ผู้ที่ช่วยเหลือเข้าใจได้ง่ายขึ้น

3. การกำหนดช่วงเวลาในการจัดกิจกรรมควรเป็นไปตามบริบทของแต่ละชุมชน และควรมีการควบคุมเวลาตามที่กำหนด แต่ละกิจกรรมไม่ควรใช้เวลานานเกินไป ซึ่งทางผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรมควบคุมเวลาได้ดีและต้องคำนึงถึงเวลาของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งบางคนสามารถร่วมได้ 1 ชั่วโมงแล้วต้องไปประกอบอาชีพ ซึ่งเป็นการเสียสละเวลาในการเข้าร่วมตามความเหมาะสมและความสมัครใจ

3. การกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการจัดโครงการมีกิจกรรมที่สามารถเข้าร่วมได้ทุกกลุ่มอายุได้ดังนั้นจึงมีกลุ่มที่เข้าร่วมกิจกรรมตั้งแต่ เด็กอายุ 5-13 ปี วัยทำงานและผู้สูงอายุทั้งหญิงและชาย

และเปิดโอกาสให้กับทุกกลุ่มวัยได้เข้าร่วมกิจกรรมทุกกิจกรรม ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีโดยเฉพาะกิจกรรมการประกวดการล้างมือมีทั้ง 3 วัยคือ เด็กหญิง วัยทำงานผู้ชาย ผู้สูงอายุหญิง

4. การมอบของที่ระลึกเป็นสินน้ำใจสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม ควรจัดให้เพียงพอและให้ในเวลาที่เหมาะสม ทางกลุ่มได้จัดเป็นชุดเล็กๆ ได้รับครบทุกคน และให้หลังจากดำเนินกิจกรรมการให้ความรู้เรื่องอาหารปลอดภัย ซึ่งมีการกระตุ้นให้ทุกคนร่วมตอบคำถาม นอกจากนั้นยังมีสิ่งจูงใจตอบแทนสำหรับผู้อยู่ร่วมกิจกรรมตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้น โดยการจับรางวัล 2 ชิ้น ซึ่งในการจัดหาของขวัญต้องพิจารณาถึงการนำไปใช้ประโยชน์ได้ทุกคน

สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกเหนือจากแผนงาน

1. ในเรื่องเล็กๆที่มองข้ามแต่สำคัญ เช่น การที่ไม่ได้เตรียมผ้าปูโต๊ะหรือกระดาษปูโต๊ะเพื่อให้เกิดความสวยงามหรือปิดบังส่วนที่เลอะหรือเปื้อน ในครั้งนี้ได้รับความช่วยเหลือจากอาจารย์พี่เลี้ยงที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหา ดังนั้นในการดำเนินการที่ต้องใช้โต๊ะ เก้าอี้ควรเตรียมอุปกรณ์ที่ต้องทำความสะอาดหรือสิ่งที่ทำให้ดูสวยงามขึ้น

2. ความร่วมมือของอาสามัครสาธารณสุขในชุมชน ที่มีความตั้งใจและมีความสามารถ และทำด้วยความเต็มใจ ช่วยเหลืออย่างเต็มที่ จากการได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ประเมินภาวะสุขภาพผู้เข้าร่วมโครงการ ซึ่งตามการประชุมร่วมกับทางศูนย์บริการฯ จะให้เจ้าหน้าที่มาช่วยเรื่องการลงทะเบียน ชั่งน้ำหนัก วัดความดัน จำนวน 2 คน แต่ในวันจัดกิจกรรมมีการเปลี่ยนแผน หัวหน้าศูนย์ฯได้ปรึกษาขอให้

อสม.รับหน้าที่ลงทะเบียน ชั่งน้ำหนักและวัดความดัน ส่วนนักศึกษาให้แปลผลให้ทราบ นอกจากนั้นยังมีการแจกสมุดบันทึกสุขภาพให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนซึ่งต้องมีการลงบันทึกผลการตรวจด้วยทำให้ต้องใช้เวลา และผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้มาในเวลาใกล้กับเวลาทำกิจกรรมที่กำหนดไว้ตามเวลา จึงได้รับการชั่งน้ำหนัก วัดความดัน วัดรอบเอวทุกคน แต่ไม่สามารถประเมินสุขภาพได้ครบทุกคน

ความรู้สึกที่เกิดขึ้น

1. ได้นัดหมายให้สมาชิกกลุ่มมาพบกันในเวลา 07.30 น.เพื่อประเมินสถานการณ์เนื่องจากวิตกกังวลว่ากลุ่มเป้าหมายจะมาเข้าร่วมกิจกรรมกันกี่คน ถ้ากลุ่มเป้าหมายมาน้อย จะใช้แผน 2 คือไปตามเด็กวัยเรียนที่วิ่งเล่นอยู่ในชุมชนประมาณ 10-15 คนให้ช่วยตามกลุ่มเป้าหมายและชวนให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรม แต่พอถึงเวลาเมื่อทุกอย่างพร้อม ชาวบ้านค่อยๆทยอยมาเรื่อยๆ จนที่นั่งเต็มทำให้รู้สบายใจเนื่องจากมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกินเป้าหมายที่กำหนดไว้

2. การได้รับความดูแลจากอาจารย์พี่เลี้ยงตลอดระยะเวลาการจัดกิจกรรม ทำให้รู้สึกอุ่นใจ

3. การดำเนินกิจกรรมด้านการให้ความรู้ การสาธิต ประกวด คณะนักศึกษาได้มีการเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี แต่น่าจะมีสิ่งที่เร้าใจทำให้จดจำได้ง่ายเช่น ใช้เพลงประกอบการล้างมือ พูดให้คล้องจอง

เกิดความสนุกสนาน จำได้ง่าย

4. การจัดทำโครงการครั้งนี้ ไม่ใช่เพื่อให้นักศึกษามีกิจกรรมครบตามรายวิชา แต่เป็นส่วนหนึ่งในการเริ่มต้นการดูแลสุขภาพชุมชน ที่เป็นการเปิดตัวอาสาสมัครสาธารณสุขประจำชุมชนให้ชาวบ้านในชุมชนได้รู้จัก ซึ่งอสม.บางคนชาวบ้านรู้จักแต่ไม่รู้ว่าเป็น อสม. และชุมชนนี้กำลังจะมีการจัดทำแฟ้มอนามัยครอบครัว ซึ่งสำรวจโดยอสม. จะทำให้ทำงานได้ง่ายขึ้นและเป็นการนำร่องในการทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอื่นๆครั้งต่อไป

ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไข

1. ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้มีเสียงรบกวนเป็นระยะๆ จากหลายส่วนทั้งผู้เข้าร่วมงาน เสียงรถที่วิ่งผ่าน เนื่องจากไม่สามารถหาเครื่องเสียงมาใช้ได้และการเตรียมโทรโข่งไม่ได้มีการทดสอบก่อนวันใช้จริงทำให้บางเวลาการให้ความรู้เสียงได้ยินไม่ชัด ดังนั้นถ้าจัดกิจกรรมในเต้นท์และริมถนนจำเป็นต้องใช้เครื่องขยายเสียง

2.การจัดกิจกรรมในรูปแบบการให้ความรู้ ร่วมตอบคำถาม การสาธิต การจัดประกวด

เป็นรูปแบบเดิมที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมอาจเกิดความเบื่อได้ ประกอบกับอากาศร้อน เสียงดังทำให้ลดความน่าสนใจลง ดังนั้นน่าจะหารูปแบบอื่นในการจัดกิจกรรม เช่น วัยผู้สูงอายุชมละครหุ่นทำมือ ถ้าในกลุ่มเด็กอาจจัดแรลลี่มหาสนุกในชุมชน เป็นต้น

สะท้อนปารปฏิบัติกลุ่ม4 ครั้งที่ 6

รายงาน สะท้อนการปฏิบัติงาน กลุ่ม ครั้งที่ 6

 

กิจกรรมที่กลุ่มได้ดำเนินการ

1.นัดหมายกลุ่มเตรียมข้อมูล ที่ได้มอบหมายให้แต่ละคนไปจัดเก็บ สรุป มารวบรวม เป็น ภาพรวมผลการดำเนินงานฝึกปฏิบัติงานชุมชนตามรูปแบบที่ ได้กำหนดในคู่มือการศึกษา รายวิชาการพยาบาลชุมชนขั้นสูง 1 (610-572)

2.ร่วมกันศึกษาเอกสาร รายละเอียด แนวทาง การจัดทำรายงาน การให้การพยาบาลเพื่อสร้าง เสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน ที่ทางกลุ่มได้ดำเนินการไปแล้ว เพื่อระดมความคิด วิเคราะห์และจัดเตรียม ข้อมูลรายละเอียดของแต่ละส่วนประกอบของของงานให้มีความ สมบูรณ์ ครอบคลุมในทุกหัวข้อ

 3.เตรียม ตำรา เอกสารประกอบการฝึกปฏิบัติงาน ภาพถ่ายกิจกรรม ตั้งแต่ เริ่มศึกษาชุมชน จัด กิจกรรมและสรุปการดำเนินงาน เพื่อนำมาประกอบการเขียนรายงานและใช้อ้างอิงในบรรณานุกรมต่อไป

4.กลุ่มร่วมแสดงความคิดเห็น ช่วยกันเก็บประเด็นรายละเอียดประสบการณ์ ที่ได้รับปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการฝึกปฏิบัติในครั้งนี้ ในลักษณะการสะท้อนคิด ในส่วนที่เหมือนหรือส่วนที่แตกต่างออกไป ของแต่ละคนนำมารวบรวมเพื่อนำไปเป็นส่วนประกอบในรูปเล่ม

5. ร่วมกันศึกษารายละเอียด การฝึกปฏิบัติงานตามกิจกรรมที่ 2 ซึ่งเกี่ยวกับจัดทำ โครงการ นวัตกรรม ซึ่งได้ให้แต่ละคน ไปคิด นวัตกรรม การคิด เขียน ระดมความคิดเห็น และมีมติ ทำนวัตกรรม เรื่อง “คู่มือสำหรับครอบครัวชุมชนถัดอุทิศ กินอยู่อย่างปลอกภัย”

6.แบ่งงานเป็น 2 กลุ่ม โดย กลุ่มรวบรวมจัดทำเล่มรูปแบบรายงานโครงการฯ อีกกลุ่ม จัดทำ เนื้อหา นวัตกรรมที่ได้คิดร่วมกัน และจะรายงานความก้าวหน้าหรือขอความคิดเห็นระหว่างกลุ่มเพื่อให้เป็นความคิดของทุกคนในกลุ่มอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมศึกษา เข้าใจในทั้งสองกิจกรรม

7.สำหรับความก้าวหน้า ของแต่ละกลุ่ม รวมทั้ง เสนอแนะเพิ่มเติมในส่วนที่ยังไม่สมบูรณ์ พร้อมทั้ง นัดหมาย เตรียมความพร้อมอีกครั้ง ในวันที่ 15 มีนาคม 2552 ณ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลหาดใหญ่ เพื่อรายงานความก้าวหน้าให้กับอาจารย์พี่เลี้ยงทราบ นำเสนอรูปเล่ม แนวโครงการนวัตกรรม ขอความคิดเห็นเพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาในส่วนที่ยังไม่สมบูรณ์ใครอบคลุมต่อไป

การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นและบทเรียน ที่ได้รับของกลุ่ม

1.จากการที่กลุ่มได้ศึกษา เรียนรู้การแนวทางการจัดทำรายงานร่วมกัน ตีความในประเด็น รายละเอียดหัวข้อรายงานทั้ง 2 กิจกรรมที่อาจารย์ได้กำหนด ซึ่งแต่ละคนมีมุมมองที่ทั้งเหมือนและต่าง ซึ่งเราจะสามารถพบเห็นได้เสมอเมื่อต้องทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชา ทั้งในหน่วยงานเดียวกันหรือต่างหน่วยงาน ทำให้ทุกคนมีประสบการณ์ร่วมกัน เข้าใจ และมีแนวทางการทำงานในแนวเดียวกัน นำผลของความขัดแย้งมาสู่การเปลี่ยนแปลงในทางสร้างสรรค์ ใช้แนวคิด WIN- WIN ช่วยให้กลุ่มทำงานครั้งนี้ด้วยความเข้าใจ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตลอดระยะเวลาที่ได้ฝึกปฏิบัติงานร่วมกัน 2. การได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนต่างกลุ่มที่ได้แยกกันไปฝึกปฏิบัติงาน มีอาจารย์พี่เลี้ยงที่มีแนวคิด มุมมอง แนวทางการปฏิบัติงานที่ต่างกัน รวมถึงพื้นที่ต่างกัน ทำให้ได้รู้ความก้าวหน้า แนวคิดที่หลากหลาย และการกระตุ้นเตือนจากเพื่อนต่างกลุ่ม ในการจัดทำรายงาน การจัดทำนวัตกรรม ซึ่งบางครั้งสมาชิกในกลุ่มเดียวกันมองยังไม่ครอบคลุม เช่น ทางกลุ่มคิดได้นวัตกรรม เตรียมเขียน แต่ไม่ได้นำแนวคิด ทฤษฎีทางการพยาบาลที่เกี่ยวข้อง มาประยุกต์ใช้ เพื่อนต่างกลุ่มช่วยกระตุ้น และร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองซึ่งกันและกัน เราจึงต้องถอยกลับมาร่วมคิดวิเคราะห์กันใหม่ นี่คือ สิ่งดีๆที่ทางกลุ่มได้เรียนรู้จากเพื่อนต่างกลุ่ม คิดว่าเราใช้หลัก การจัดการเรียนรู้ (Knowledge management: KM) มาประยุกต์ใช้ได้บ้าง 3. สืบเนื่องจาก ข้อ 2 เมื่อ นวัตกรรม ที่จะจัดทำต้องใช้แนวคิดทฤษฎี ทางการพยาบาล มาประยุกต์ใช้ ทำให้ ทางกลุ่มร่วมกันศึกษา แนวคิด ทฤษฎีทางการพยาบาลที่ได้เรียนรู้ในเทอม 1 ตลอดจน ค้นหาเพิ่มเติมจาก หนังสือ ตำรา เอกสาร ตลอดจนเครือข่าย อินเตอร์เน็ต ผลที่ได้ คือ ทุกคนได้ร่วมกันคิด วิเคราะห์ทฤษฎีเหล่านั้นร่วมกัน ได้ประโยชน์ คือ ทำให้เข้าใจวัตถุประสงค์ของแนวคิด ทฤษฎีต่างๆขึ้นมาบ้างแม้จะไม่แตกฉานมากนัก ได้ทบทวน ทฤษฎีที่ได้เรียนมา และที่สำคัญเป็นแนวทางสำหรับใช้ทักษะในการคิด ในการปฏิบัติการพยาบาล ว่า หากพยาบาลทุกคน ปฏิบัติการพยาบาลทุกอย่างอยู่บนพื้นฐานแนวคิดทฤษฎี จะช่วยให้มีแนวทางในการดำเนินงานและสามารถประเมินผลได้ รวมถึงเกิดประโยชน์ต่อผู้รับบริการอย่างแท้จริง 4. ทางกลุ่มเรียนรู้การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลในกลุ่ม ซึ่งแต่ละคนมีทักษะความชำนาญ และประสบการณ์ ที่แตกต่างกัน เช่น บางคนชำนาญการพิมพ์ บางคนมีความชำนาญด้านการค้นหาข้อมูลเอกสารอ้างอิง บางคนชำนาญด้านการวิเคราะห์ข้อมูล หรือความชำนาญด้านศิลปะ เป็นต้น เมื่อทุกคนได้ทำในสิ่งที่ตนเองชำนาญ ก็ช่วยให้เกิดเป็นรูปแบบการทำงานเป็นกลุ่ม ซึ่งได้บทเรียนว่าโอกาสต่อไปเมื่อทุกคนได้เป็นผู้บริหารหรือร่วมงานกับคนอื่น ทั้งในหน่วยงานด้วยกัน รวมถึงการทำงานในชุมชนที่เราต้องเป็นผู้นำทางการพยาบาล ซึ่งเป็นสมรรถนะของพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนที่สภาการพยาบาลได้กำหนด ก็สามารถนำแนวคิดการบริหารบุคคลให้เหมาะสมกับงาน (Put the right man in the right job) ไปประยุกต์ใช้ได้

รายงาน สะท้อนการเรียนรู้ ครั้งที่ 6 (โสเพ็ญ 6)

ระหว่าง วันที่ 9-10 พฤษภาคม 2552

กิจกรรมที่ได้ดำเนินการ

1.นำข้อมูลที่ได้มอบหมายให้สมาชิกกลุ่มไป สรุปในส่วนที่ตนเองรับผิดชอบ มาเก็บรวบรวมเป็นของกลุ่ม เพื่อจัดทำเป็นรายงานผลการฝึกปฏิบัติงาน

2.ศึกษารายละเอียดแนวทางการเขียนรายงาน ทั้งรายงานสรุปโครงการและ การจัดทำนวัตกรรม

3.เตรียม ข้อมูล เอกสารต่างๆที่ใช้ประกอบการเขียนรายงาน ระดมความคิดเห็นในการจัดทำรายงาน

4.แบ่งกลุ่มทำงาน แยกเป็นกลุ่มที่ทำสรุปโครงการฯและกลุ่มจัดทำนวัตกรรม โดยทำงานอยู่

ใกล้ๆกัน และปรึกษาหารือกันอย่างต่อเนื่อง

5.สรุปความก้าวหน้าการดำเนินงานของแต่ละกลุ่ม เสนอแนะสิ่งที่ยังต้องปรับปรุงให้รูปแบบรายงานสมบูรณ์และครอบคลุมประเด็นที่กำหนดในรายงาน

6.นัดหมาย เพื่อเตรียมความพร้อมของกลุ่ม นำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินงาน รวมถึงขอความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากอาจารย์พี่เลี้ยง เพื่อนำมาปรับปรุแก้ไข รายงาน เตรียมจัดทำรูปเล่มที่สมบูรณ์ รวมทั้งการนำเสนอผลการดำเนินงานต่อไป

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงาน

1.ได้เห็นความรับผิดชอบและการเตรียมตัวของสมาชิกในกลุ่ม จากการที่ทุกคนได้ทำการบ้านในส่วนที่ตนเองได้รับ การหาข้อมูลล่วงหน้าเพื่อนำมาประกอบการเก็บรวบรวมรายงานที่เกี่ยวข้อง

2.ได้เรียนรู้ ทักษะการค้นหา ข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำรานงานทางเครือข่าย อินเตอร์เน็ต ซึ่งที่ผ่านมาพอจะหาข้อมูลบ้างได้แต่ต้องใช้เวลามาก เพื่อนร่วมงานในกลุ่มแนะนำเทคนิคการค้นหาข้อมูลที่รวดเร็ว โดยการใช้ Key word สำคัญช่วยให้ค้นหาได้รวดเร็วขึ้น

3.ได้เรียนรู้การทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานที่ต่างวัย ต่างประสบการณ์ ต่างความคิด บางครั้งมีความขัดแย้งกันบ้าง แต่เมื่อทุกคนได้อธิบายเหตุผล ก็ยอมรับได้ ไม่เกิดความเครียดในการทำงานร่วมกัน

4.ได้เรียนรู้ว่า หากทุกคนมีความพร้อม ความตั้งใจในการทำงาน แม้จะมีปัญหาอุปสรรค ทำให้งานสะดุดบ้างในบางครั้ง แต่ในที่สุดก็สามารถดำเนินต่อไปได้ด้วยดี เช่น การคิดนวัตกรรม เมื่อต้องนำแนวคิด ทฤษฎีทางการพยาบาลมาประยุกต์ใช้ ก็ทำให้ทุกคนต้องมาร่วมระดมสมอง วิเคราะห์ว่า กิจกรรมหรือนวัตกรรม ที่คิดจะสามารถตอบโจทย์เหล่านั้นได้หรือไม่ คิดและเตรียมตั้งคำถาม พร้อมหาคำตอบให้กับกลุ่ม จนในที่สุดได้ข้อสรุป และดำเนินขั้นตอนต่อไปได้

5.ได้เรียนรู้ว่าการทำงานกลุ่มกับการทำงานเดี่ยว มีความแตกต่างกัน โดยงานเดี่ยวเราสามารถคิดตัดสินใจด้วยตัวเอง ผิดหรือถูกอยู่ที่ตัวเราว่าจะมีหลักการ ประสบการณ์ สามรถวิเคราะห์ ได้แค่ไหน เรากำหนดด้วยตัวเราเองได้ ต่างจากการทำงานเป็นกลุ่ม เป็นทีม จำเป็นต้องเปิดใจให้กว้าง รับฟังความคิดเห็น หลักการคิดของคนอื่น ซึ่งบ่อยครั้งที่เราจะได้แนวคิดจากเพื่อนร่วมงานในสิ่งที่ดี สิ่งที่สร้างสรรค์ ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้กับการปฏิบัติงานหรือการดำรงชีวิตประจำวัน ที่ต้องสัมผัสกับบรรยากาศการทำงานร่วมกับคนอื่นหน่วยงานอื่นอยู่ตลอดเวลาได้

สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกเหนือจากแผนงาน

1.ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการจัดทำรายงานกับเพื่อนต่างกลุ่ม เห็นความแตกต่าง จุดเด่นของแต่ละกลุ่ม นำมาสะท้อนคิดและประยุกต์ใช้กับกลุ่มตนเองได้ในบางข้อ เช่น การใช้แนวคิดทฤษฎีทางการการพยาบาลมาใช้กับนวัตกรรมที่จะจัดทำขึ้น ลักษณะของกิจกรรมของนวัตกรรมเป็นผลให้เห็นแนวทางสำหรับการจัดทำนวัตกรรมที่ชัดเจน และเกิดความมั่นใจในการคิดละจัดทำนวัตกรรมของกลุ่ม

2.การแบ่งงานทำ มีการติดตาม และรายงานผล ในช่วงการสรุปข้อมูล การจัดทำรายงานให้ทุก

คนได้แสดงความคิดเห็นตลอดระยะเวลาที่ทางกลุ่มรวบรวมข้อมูล ทำให้ลดระยะเวลาการทำงานลง โดยทุกคนยังมีส่วนร่วมในการคิดในทุกขั้นตอน

ความรู้สึกที่เกิดขึ้น

1.ในฐานะที่เป็นตัวแทนของกลุ่ม อาจจะเป็นเพราะประสบการณ์มาก (ด้านอายุ) บางครั้งก็ต้องคอยประสานความสัมพันธ์ ประสานความร่วมมือ เมื่อมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันบ้าง ซึ่งเป็นธรรมดาของการทำงาน ก็จะใช้วิธีประนีประนอม พูดคุยให้เหตุผล ใช้ทักษะการฟัง และการให้คำปรึกษาบ้าง โดยทุกคนในทีมก็เข้าใจ ยอมรับในเหตุผลและร่วมมือกันทำงานด้วยดี

2.รู้สึกว่าการจัดทำเอกสารรายงานมีความยุ่งยากมากกว่า การลงมือปฏิบัติกิจกรรม เพราะต้องใช้ความคิด ประสบการณ์ตลอดจนความรู้ความสามารถที่มีมาใช้ ต้องทำความเข้าใจเนื้อหา กระบวนการต่างๆ ตั้งแต่เริ่มฝึกปฏิบัติงาน จนกระทั่งเสร็จสิ้นโครงการฯ คิดเสมอว่า จะทำอย่างไรถึงจะถ่ายทอดความคิด สื่อให้คนอื่นที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรมได้รู้ว่า กลุ่มได้ทำอะไร มีขั้นตอนอย่างไร ผลงานเป็นอย่างไรเพื่อบันทึกลงไปในรายงานสรุปผลการดำเนินงานยากจริงๆ... แต่พยายามคิดว่า ปัญหาทุกอย่างย่อมมีทางออกมีทางแก้ไขได้เสมอ ขอเพียงเรา อย่าท้อ และอีกอย่างเราไม่ได้ทำอยู่คนเดียวทีมงานเรามี ร่วมปรึกษา หาทางแก้ กำลังใจสำคัญที่สุด

ปัญหาอุปสรรค

คิดว่า การจัดทำรายงาน ต้องใช้เวลามาก มีรายละเอียดในการจัดเก็บข้อมูลมากในขณะที่เวลาในการฝึกน้อย ดังนั้น จึงค่อนข้างกังวลใจ ที่ไม่สามารถค้นหาข้อมูลบางอย่าง นำมาประกอบในการประเมินสุขภาพชุมชนได้สมบูรณ์ เนื่องจากข้อจำกัดด้านเวลา การเคลื่อนย้ายของประชากร ความเป็นชุมชนเมืองประกอบกับการทำงานของหน่วยบริการสาธารณสุขโรงเรียนเทศบาล 1 ซึ่งรับผิดชอบดูแลชุมชนโดยตรง แต่โดยส่วนใหญ่จะมีเฉพาะข้อมูลการให้บริการกลุ่มเป้าหมายหลักคือนักเรียน ทำให้ขาดข้อมูลสนับสนุนด้านภาวะสุขภาพ เช่น สถิติโรค ข้อมูลกลุ่มอายุ เป็นต้น ซึ่งต้องใช้เวลาจัดเก็บวิเคราะห์ ทำให้การรายงานผลปัญหาสุขภาพชุมชนได้มาในภาพรวม เท่าที่ค้นหาได้ในเวลาจำกัด

แนวทางการแก้ไข

ร่วมประชุมปรึกษาหารือในกลุ่มและอาจารย์พี่เลี้ยง ใช้เวลาในการลงพื้นที่สอบถาม สังเกตและสัมภาษณ์คนในชุมชนเป็นหลัก รวมทั้งใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลมาประยุกต์ใช้ เช่น การทำ SWOT analysis ร่วมกับการใช้แนวคิดองค์ประกอบชุมชน แบบแผนสุขภาพ มาใช้ควบคู่กัน ทำให้สามารถประเมินสภาพปัญหานำไปสู่การจัดทำโครงการจนเสร็จสิ้นกระบวนการ และนำแนวทางนี้มาใช้ในการ วิเคราะห์รวบรวมและจัดทำรายงานในครั้งนี้

ธัญพร 6

กิจกรรมการเรียนรู้ ครั้งที่ 6 (9-10 พฤษภาคม 2552)

1.สรุปรายงานโครงการ “กินอยู่อย่างปลอดถัย ร่วมใจกันล้างมือ”

 2. สรุปการทำนวัตกรรม และค้นคว้าหาข้อมูลรายละเอียด ขั้นตอน เนื้อหา แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการทำนวัตกรรม

3. ระดมสมองร่วมคิดนวัตกรรม และมอบหมายงานแก่สมาชิกในกลุ่มเกี่ยวกับการทำรายงาน และการนำเสนอในวันที่ 17 พฤษภาคม 2552

 สะท้อนการเรียนรู้

-สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงาน คือ การคิดค้นนวัตกรรมต่างๆต้องมีแนวคิด ทฤาฎีมาเกี่ยวข้องเสมอ ตัวผู้ปฏิบัติควรมีความเข้าใจในทฤษฎีหรือมีการศึกษาแนวคิด ทฤษฎีทางการพยาบาลมาอย่างถ่องแท้(เนิ่องจากทฤษฎีหรือโมเดลบ้างอย่างมีรูปแบบที่ใกล้เคียงกันมากค่ะ) และควรเข้าใจเพื่อนำมาใช้ให้ถูกต้อง เหมาะสมกับเป้าหมาย ในการคิดนวัตกรรมต่างๆค่ะ

-สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกเหนือจากแผนงาน   คือ การทำงานเป็นทีมต้องรู้จักมอบหมายงาน หรือแบ่งงานกันทำ ต้องให้เกรียติและเชื่อมั่นในความมีศักยภาพของแต่ละบุคคลค่ะ เพื่อจะให้งานสำเร็จเพราะถ้าไม่มีการแบ่งงานกันทำงานจะสำเร็จยากเนื่องจากเนื้อหาและการทำรายงานมีรายละเอียดปลีกย่อยค่อนข้างมาก และเมื่อไม่แบ่งงานกันทำเรื่องเดียวไปพร้อมๆกันอาจต้องเถียงกันเอง จะทำให้งานเสร็จช้า อาจจะช่วยกันคิดก่อนแล้วค่อย vote จากเสียงสมาชิกคนอื่นๆค่ะ

-ความรู้สึกที่เกิด   คือ ค่อนข้างเหนื่อยนิดหน่อยค่ะเนื่องจากรายงาน ทั้ง 2 คือรายงานโครงการและรายงานนวัตกรรม ต้องใช้ข้อมูล และเนื้อหาที่เกี่ยวข้องมากพอสมควรค่ะ

-ปัญหา อุปสรรค คือ

1. น่าจะเป็นเรื่องของเวลาในการทำรายงานเนื่องจากเวลากระชั้นชิดเข้ามาและตัวนักศึกษา ก็ต้องทำงานประจำด้วยค่ะ เมื่อกลับไปที่ๆทำงานอาจขาดแหล่งเรียนรู้

2. ในกลุ่มเองมีความเข้าใจเนื้อหาบ้างส่วนไม่ตรงกัน คิดคนละแนวอาจทำให้ล่าช้าในการตัดสินใจ เช่นในเรื่องของการคิดค้นเกี่ยวกับ นวัตกรรม การใช้แนวคิดทฤษฎีต่างๆ

 -แนวทางแก้ไขปรับปรุง คือต่อไปคิดว่าสมาชิกในกลุ่มต้องไปทบทวนและหาข้อมูลเรื่องของ แนวคิด ทฤษฎี โมเดล การปฏิบัติทางการพยาบาลมาก่อน ประชุมกลุ่มเพื่อประหยัดเวลาและง่ายต่อการตัดสินใจ และอาจขอขยายเวลาอาจารย์ในการส่งรายงานถ้ายังไม่เรียบร้อย อาจขอส่งหลังการนำเสนอค่ะ...

นางปาริฉัตร์ ชูสังข์

รายงาน สะท้อนการเรียนรู้ ครั้งที่ 5 รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลชั้นสูง 1 (610-572)

วันที่ 6- 7 พฤษภาคม 2552

ชื่อ นักศึกษา นางปาริฉัตร์ ชูสังข์ รหัส 5110421098

กิจกรรม

ก่อนการดำเนินโครงการ มีการวางแผนโครงการ

- ทบทวนการวินิจฉัยชุมชน ถัดอุทิศ

- ทบทวนเนื้อหารายละเอียดเกี่ยวกับการบริโภคเพื่อสุขภาพ การกินอย่างปลอดภัย และการล้างมือ เพื่อวางแผนวิธีการให้ความรู้ที่ถูกต้องและเหมาะสมกับผู้เข้าร่วมโครงการ

- กำหนดวัตถุประสงค์ขึ้นเป็นแนวทางในการดำเนินโครงการที่มีประสิทธิภาพตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

- กาหนดกรอบแนวคิดเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาให้บรรลุวัตถุประสงค์

- กำหนดขั้นตอนการดำเนินโครงการเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ภายใต้ทรัพยากรอันจำกัด

- กำหนดรูปแบบการประเมินผล

ในการจัดโครงการ ผู้จัดโดยสมาชิกลุ่มได้มีการแบ่งงานกันรับผิดชอบตามจุดต่าง ๆในการจัดและเตรียมสถานที่ที่จะจัดโครงการให้พร้อมก่อนที่จะเริ่มโครงการ ในการดำเนินโครงการมีกิจกรรมดังนี้

- เตรียมจัดสถานที่ เช่น นำบอร์ดที่จัดไว้มาติดตามจุดที่จะให้ความรู้กับผู้เข้าร่วมโครงการ และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่นำมาจัดโครงการ ตามความเหมาะสม กับสถานที่

- ลงทะเบียนและตรวจสุขภาพ

- ให้ความรู้เรื่องการบริโภคอาหาร และการเลือกซื้อหรือเลือกรับประทานอาหาร

- ประเมินความรู้ก่อนและหลังให้ความรู้

- ให้ความรู้เรื่องของการล้างมือที่ถูกต้อง วิธีการล้างมือพร้อมทั้งมีการสาธิตการล้างมือ 7 ขั้นตอน

- ประเมินความรู้วิธีการล้างมือและประโยชน์การล้างมือก่อนและหลัง

- จัดให้มีการประกวดการล้างมือ

- มีการมอบรางวัล พร้อมกล่าวปิด

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงาน

การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน และผู้นำชุมชน อสม. และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเทศบาล 1 ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการที่มีการทำกิจกรรมร่วมกันเป็นการเรียนรู้ซึ่งกันและกันและเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน ทำให้งานที่ยากบางอย่างสำเร็จขึ้นมาได้ เพราะว่างานบางอย่างจะทำเพียงคนเดียวอาจจะไม่สำเร็จ ต้องอาศัยความร่วมมือและการทำงานร่วมกันหลาย ๆ คน การดำเนินงานโครงการให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ ในการดำเนินโครงการผู้ดำเนินโครงการต้องอาศัยเทคนิคหลายอย่าง เช่น เทคนิคการควบคุมโครงการ การประสานงาน การติดต่อสื่อสาร การทำงานเป็นทีม การจูงใจ และการจัดการความขัดแย้ง ในการดำเนินโครงการจึงจำเป็นต้องนำเอาเทคนิคเหล่านี้มาใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะโครงการ

สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกเหนือจากแผนงาน

ทำให้มีการเรียนรู้การจัดทำโครงการในชุมชนเมือง การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ที่มีเวลาอันจำกัดเนื่องจากต้องทำงานเลี้ยงชีพและได้ สละเวลามาร่วมกิจกรรม และมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของเทศบาล 1 อสม. มาร่วมกิจกรรมในโครงการนี้ด้วย

ความรู้สึกที่เกิด

รู้สึกดีมากที่ได้มาศึกษาชุมชนเมืองเพราะตนเองไม่มีประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชนเมืองทำให้เห็นวิถีชีวิตระหว่างคนในชุมชนเมืองและคนที่อาศัยอยู่ในชุมชนชนบท ซึ่งอาจมี ความแตกต่างกันในสิ่งแวดล้อม การดำเนินชีวิต การดูแลสุขภาพตนเองที่มีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะชุมชนเมืองในชุมชนแออัดยังเป็นชุมชนที่มีปัญหาทางด้านการดูแลสุขภาพ ในเรื่องของการบริโภคและสุขอนามัยส่วนบุคคล จึงจำเป็นที่เจ้าหน้าที่ต้องเล็งเห็นความสำคัญและต้องเข้าไปดูแลสุขภาพของประชาชาที่อยู่ในชุมชนแออัดให้มากกว่านี้เพื่อเป็นการส่งเสริมและการป้องกันโรค เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพเบื้องต้นของตนเองและครอบครัวได้พร้อมทั้งการ ป้องกันให้เกิดโรคเรื้อรังและโรคต่าง ๆที่เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคและสุขวิทยาส่วนบุคคล จะเป็นการทำให้คนในชุมชนมีสุขภาพที่ดี นอกจากนี้ควรจะมีการส่งเสริมให้มีการจัดตั้งชมรมต่าง ๆ เช่น ชมรมหรือกิจกรรมที่ส่งเสริมให้มีการออกกำลังกาย กายบริหาร ขึ้นเพื่อเป็นการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน จะทำให้ เกิดชุมชนที่เข้มแข็งได้ในอนาคต สำหรับในการจัดโครงการในครั้งนี้รู้สึกดีใจมากที่คนในชุมชนเมืองได้ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมโครงการมากเกินกว่า ที่สมาชิกกลุ่มได้ตั้งเป้าหมายไว้ ซึ่งแสดงว่าคนในชุมชนเห็นถึงความสำคัญถึงในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว

ปัญหาอุปสรรค

การสื่อสารได้ยินไม่ทั่วถึง เนื่องจากมีข้อจำกัดในเรื่องของสถานที่ คือ สถานที่ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมเป็นแบบเปิด ทำให้ไม่สามารถเก็บกักเสียงได้ นอกจากนี้อุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสาร ใช้โทรโข่ง ทำให้ได้ยินเสียงได้ยินเฉพาะตำแหน่งที่ใช้โทรโข่งเท่านั้น ในตำแหน่งที่ไกลออกจะได้ยินเสียงไม่ชัดเจน

แนวทางแก้ไขปรับปรุง

1. สถานที่ที่ใช้ในการจัดกิจกรรม ควรเป็นแบบปิด เพื่อลดปัญหาการได้ยินเสียงไม่ทั่วถึง

2. อุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสารควรใช้เป็นไมโครโฟน เนื่องจากระดับความดังและการกระจายของเสียงดีกว่าการใช้โทรโข่ง

ชื่อโครงการ นวัตกรรม : ครอบครัวร่วมด้วย ช่วยกันใส่ใจสุขภาพกับคู่มือประจำครอบครัว

หลักการและเหตุผล

กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายเน้นให้บริการสาธารณสุข ให้คนไทยมีสุขภาพดีทั้งกายและใจ โดยมีการดำเนินการภายใต้นโยบายเมืองไทยแข็งแรง (Healthty Thailand) คนไทยแข็งแรงที่มีการส่งเสริมให้ประชาชนออกกำลังกายอย่างเหมาะสม รับประทานอาหารที่ปลอดภัย มีอารมณ์ดี ไม่เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี เน้นให้มีการพัฒนาศักยภาพคนและพัฒนาสิ่งแวดล้อม กระตุ้นให้ประชาชนตื่นตัวในการดูแลสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดปัจจัยเสี่ยงที่คุกคามต่อสุขภาพ

จากสภาพของสังคมไทยในปัจจุบัน พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสาร มีความเจริญทางวัตถุเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีการดิ้นรนเพื่อการดำรงชีวิตเกิดการอพยพย้ายถิ่นเพื่อประกอบอาชีพมากขึ้น ชุมชนถัดอุทิศซอยริมทางรถไฟเป็นชุมชนหนึ่ง ที่คนในชุมชนต้องทำงานแข่งกับเวลา ทำให้พฤติกรรมและแบบแผนการดำเนินชีวิตเปลี่ยนไป การเอาใจใส่เรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่ลดลง จากการประเมินภาวะสุขภาพชุมชนถัดอุทิศ ซอยริมทางรถไฟ พบว่าการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพคนในชุมชนยังมีน้อย มีสิ่งแวดล้อมที่ไม่ถูกหลักสุขาภิบาล คือ มีการจัดบ้านเรือนไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย มีขยะมูลฝอยหลังชุมชนบริเวณทางรถไฟทิ้งเกลื่อนกลาด คูระบายน้ำมีน้ำขัง และมีการย้ายถิ่นเพื่อเข้ามาประกอบอาชีพมาเช่าที่อยู่อาศัย พฤติกรรมการรับประทานอาหารส่วนใหญ่ซื้ออาหารถุงปรุงสำเร็จมารับประทาน มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง ออกกำลังกายน้อย ขาดโอกาสในการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น เช่น การตรวจคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง การตรวจเต้านมด้วยตนเอง การตรวจมะเร็งปากมดลูก

ผลการจัดดำเนินโครงชุมชนถัดอุทิศ “กินอยู่อย่างปลอดภัย ร่วมใจกันล้างมือ ” ที่ผ่านมาในวันที่ 6 พฤษภาคม 2552 จัดโดยคณะนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน(ภาคพิเศษ) ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พบว่าได้รับความสนใจจากคนในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมบรรลุตามวัตถุประสงค์ มีจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการเกินเป้าหมายที่กำหนดไว้ และมีความรู้หลังร่วมโครงการอยู่ในระดับดี ร้อยละ

การสนับสนุนให้ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ หลักการที่สำคัญประการหนึ่งคือ การที่ประชาชนสามารถรู้ถึงภาวะสุขภาพตนเองและ คนในครอบครัว สามารถดูแลสุขภาพเบื้องต้นด้วยตนเอง ไม่พึ่งพาระบบบริการเกินจำเป็น การพึ่งตนเองด้วยกระบวนการเรียนรู้ และการรับรู้ด้านการดูแลสุขภาพในเรื่องการป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ การสร้างสุขภาพ การรักษาพยาบาลเบื้องต้น นำมาเป็นเป้าหมายหลักในการดำเนินงานด้านบริการสุขภาพชุมชนในครั้งนี้ ได้นำแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health Belief Model) ของเบคเกอร์ ซึ่งมีความเชื่อเกี่ยวกับ การรับรู้ของบุคคลและแรงจูงใจว่า การที่บุคคลจะมีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงจากการเป็นโรค จะต้องมีความเชื่อว่า เขามีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรค โรคนั้นมีความรุนแรงและมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต รวมทั้งการปฏิบัตินั้นจะเกิดผลดีในการลดโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหรือช่วยลดความรุนแรงของโรค โดยไม่ควรมีอุปสรรคด้านจิตวิทยามาเกี่ยวข้อง เช่น ค่าใช้จ่าย ความไม่สะดวกสบาย ความเจ็บป่วยและความอาย

ดังนั้นเพื่อเป็นการพัฒนาสุขภาพภาคประชาชน โดยใช้การมีส่วนร่วมของคนในครอบครัว ชุมชนมาบูรณาการ การแก้ไขปัญหาด้วยกระบวนการเรียนรู้และการได้รับความรู้ด้านการดูแลสุขภาพ เป็นปัจจัยนำให้สามารถพัฒนาสุขภาพโดยชุมชนเองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน และเกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม คณะนักศึกษา จึงจัดทำ “นวัตกรรม ครอบครัวร่วมด้วย ช่วยกันใส่ใจสุขภาพกับคู่มือประจำครอบครัว” เพื่อให้ประชาชนมีรูปแบบการดูแลสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต วัฒนธรรมของคนในชุมชน และเป็นจุดเชื่อมโยงที่จะพัฒนาด้านอื่นๆต่อไป

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้สมาชิกในครัวเรือนสามารถประเมินภาวะสุขภาพและรับรู้ภาวะสุขภาพของตนเอง

2. เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพตนเองและสามารถช่วยเหลือตนเอง ครอบครัว ชุมชนในการแก้ไขปัญหาสุขภาพเบื้องต้น

4. เพื่อสร้างแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว ในการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพแก่สมาชิกครัวเรือนในชุมชนได้

5. เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชนโดยคนในชุมชน

พื้นที่กลุ่ม/ กลุ่มเป้าหมาย

ประชาชนในชุมชนถัดอุทิศ ซอยริมทางรถไฟ จำนวน 362 คน

(จำนวน 122 ครัวเรือน)

แกนนำสุขภาพชุมชน ซึ่งเป็นผู้นำชุมชนหรืออาสามัครสาธารณสุขจำนวน 14 คน

ขั้นตอนและวิธีการดำเนินการ

ขั้นเตรียมการ

1. จัดประชุมชี้แจงโครงการให้แก่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงเรียนเทศบาล 1(เอ็งเสียง

สามัคคี) อสม. ผู้นำชุมชน อาจารย์พี่เลี้ยง คณะนักศึกษาพยาบาล

2. ประชุมร่วมวางแผนในการจัดทำ คู่มือประจำครอบครัวกับผู้เกี่ยวข้อง

3. จัดเตรียมวัสดุและเอกสาร ศึกษาหลักการจัดทำคู่มือการดูแลสุขภาพประจำครอบครัว จากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่นตำราเอกสาร แผ่นพับ เครือข่ายอินเตอร์เน็ต และเตรียมรายละเอียดเนื้อหาความรู้เพื่อจัดทำเป็นคู่มือ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

3.1 ข้อมูลทั่วไปด้านประชากร เช่น ชื่อ-สกุล, อายุ, อาชีพ, น้ำหนัก, ส่วนสูง, BMI,

รอบเอว, ความดันโลหิต, โรคประจำตัว,สรุปภาวะสุขภาพ, วันที่ลงบันทึก

3.2 การควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อในชุมชน

- โรคเบาหวาน

- โรคความดันโลหิตสูง

- โรคหลอดเลือดและหัวใจ

- โรคอ้วน

- สารเสพติด

3.3 การควบคุมป้องกันโรคติดต่อในชุมชน

- โรคไข้เลือดอก

- โรคชิคุนกุนยา

- โรคฉี่หนู

- โรคอุจจาระร่วง

3.4 การส่งเสริมการสร้างสุขภาพ

- การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ได้แก่ หลักพื้นฐานการออกกำลังกาย ออกกำลัง

สะสมป้องกันโรค แอโรบิคเพื่อสุขภาพ การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ การฝึกท่า

บริหารแบบใช้ไม้

- อาหารดี มีคุณค่าและปลอดภัย ได้แก่ อาหารหลัก 5 หมู่ สัดส่วนการบริโภค

อาหาร อาหารปลอดภัย สารเจือปนในอาหาร หลักการปฏิบัติเพื่อความ

ปลอดภัยในการบริโภค

3.5 สุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ

3.6 การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

- การดูแลบาดแผล

- สัตว์กัดต่อย

- สารพิษ

3.7 การดูแลสุขภาพตนเองและสมาชิกในครอบครัว

- การดูแลเมื่อมีไข้ เป็นหวัด ไอ จาม

- เบื่ออาหาร อาเจียน

- ชัก

3.8 การใช้สมุนไพรในครัวเรือน

3.9 ข้อปฏิบัติของหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด เด็กแรกเกิด ผู้สูงอายุ

ขั้นดำเนินงาน

1. ประชุมเชิงปฏิบัติการอาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อเป็นแกนนำในการเป็นที่ปรึกษาประจำ

ครอบครัว

2. จัดทำรูปเล่ม คู่มือประจำครอบครัว ชุมชนถัดอุทิศซอยริมทางรถไฟ

3. ประชุมตัวแทนครัวเรือนในชุมชนและออกเยี่ยมครัวเรือนเพื่อบอกวัตถุประสงค์

โครงการและแจกสมุดประจำครอบครัว

4. ดำเนินการตรวจประเมินภาวะสุขภาพเบื้องต้นประจำปีพร้อมประเมินผลโดยกลุ่มแกน

นำและเจ้าหน้าที่พร้อมทั้งแนะนำการใช้คู่มือและสอนประเมินสุขภาพตนเองเพื่อ

ติดตามการเปลี่ยนแปลงของภาวะสุขภาพ

4. ดำเนินการเก็บข้อมูลกลุ่มเสี่ยงและแจ้งกลับรายบุคคล

5. จัดทำผังสุขภาพชุมชนในกลุ่มเสี่ยงเพื่อเฝ้าทำนายและระวังการเกิดโรคและวางแผนการดูแลสุขภาพร่วมกัน

ขั้นประเมินผล

1. ประเมินผลการใช้คู่มือประจำครอบครัวของสมาชิกในครอบครัว

2. ประเมินผลจากแบบสอบถามการดูแลสุขภาพครอบคลุมตามเนื้อหาในคู่มือ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. คนในชุมชนรู้ภาวะสุขภาพของตนเองและครอบครัว สามารถช่วยเหลือดูแลตามสภาพ

ปัญหาอย่างเหมาะสม

2. ประชาชนในชุมชนมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพตนเองและสามารถช่วยเหลือตนเอง ครอบครัว ชุมชนในการแก้ไขปัญหาสุขภาพเบื้องต้น

4. แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว เป็นปรึกษาด้านสุขภาพแก่สมาชิกครัวเรือนในชุมชน

5. เกิดการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชนโดยคนในชุมชน

6. คนในชุมชน มีความรัก ความผูกพันในครอบครัวร่วมกันดูแลสุขภาพซึ่งกันและกัน นำไปสู่การสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง ชุมชนมีศักยภาพในการดูแลตนเองต่อไป

ผู้รับผิดชอบโครงการ

1. นางสาว ธัญพร สมันตรัฐ

2. นาง ปวลี คงประดิษฐ์

3. นางสาว ภิญญารัตน์ สุวรรณขำ

4. นาง โสเพ็ญ โพธิพงศา

5. นาง ปาริฉัตร์ ชูสังข์

คณะนักศึกษาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ผู้ร่วมโครงการ

1. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในศูนย์บริการสาธารณสุขโรงเรียนเทศบาล 1(เอ็งเสียงสามัคคี)

2. อาสามัครสาธารณสุขชุมชนถัดอุทิศ

ที่ปรึกษาโครงการ

1. รศ. อุษณีย์ เพรชรัชตะชาติ อาจารย์ผู้ประสานรายวิชา ปฏิบัติการพยาบาลชุมชน

ขั้นสูง 1 (610- 572) คณะพยาบาลศาสตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

2. นางอมรรัตน์ ลิ่มเฮง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม

โรงพยาบาลหาดใหญ่

3. นางสาวพีรดา ศรีจำเริญ หัวหน้าศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาล 1 (เอ็งเสียงสามั

พี่อ่านโครงการนวัตกรรมแล้วรู้สึกมันยังแปลกๆ นักศึกษาลองอ่านทบทวนดูอีกที่ว่าตัวนวัตกรรมที่นักศึกษาต้องการจะให้เกิดคืออะไร ถ้าดูจากชื่อและเข้าใจไม่ผิด คือจะได้คู่มือใหม่ 1 เล่ม แล้วถามว่าคู่มือนี้มันเป็นนวัตกรรมตรงไหนมันใหม่ไม่เหมือนใครอย่างไร.หาคำตอบให้ชัดก่อนวันนำเสนอ และถ้ามันไม่ไช่แล้วมีอะไรบ้างที่เป็นนวัตกรรมได้

ภิญญารัตน์ ครั้งที่ 5

ภิญญารัตน์    ครั้งที่ 5   

รายงาน สะท้อนการเรียนรู้ ครั้งที่ 5   วันที่ 6 - 7 พฤษภาคม 2552

ชื่อ นักศึกษา นางสาว ภิญญารัตน์  สุวรรณขำ  รหัส 5110421046

กิจกรรมการปฏิบัติ

1.       จัดเตรียมสถานที่  จัดบอร์ด และจัดเตรียมอุปกรณ์

2.       จัดกิจกรรมต่างๆ  ตามโครงการที่ได้กำหนดและวางแผนไว้

3.       ร่วมกันสรุปผลของการจัดกิจกรรมและสรุปผลการดำเนินงานของโครงการ

4.       เตรียมข้อมูลและเนื้อหา    เพื่อจัดทำรายงานและนำเสนอผลการดำเนินโครงการ

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงาน

1. การเตรียมสถานที่ในการจัดกิจกรรมโครงการในชุมชนเมืองนั้น  ไม่สามารถที่จะจัดเตรียมสถานที่ไว้ล่วงหน้าได้  เช่น  โต๊ะ   เก้าอี้   บอร์ด  เต็นท์  เนื่องจากชุมชนเมืองเป็นชุมชนที่มีผู้คนพลุกพล่าน  และคนส่วนใหญ่ที่อาศัยในชุมชนเป็นคนต่างถิ่นกัน  ดังนั้นการจัดเตรียมสถานที่จึงจำเป็นจะต้องจัดในวันจัดกิจกรรมโครงการ   เพื่อป้องกันการสูญหายของวัสดุและอุปกรณ์  นับว่าเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งในการดำเนินงานที่ต้องแข่งกับเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัด   สิ่งที่ได้เรียนรู้ในการทำงานนั้นคือ  การได้รู้จักบริหารจัดการเวลา โดยจะต้องอาศัยความร่วมมือและความสามัคคีกัน   ของอสม.และคณะผู้จัดโครงการ    เพื่อให้การดำเนินงานโครงการเป็นไปตามเวลาที่ได้กำหนดไว้

2. ในการจัดโครงการในชุมชนเมืองนับว่ายากพอสมควร   เนื่องจากคนส่วนใหญ่ต้องออกไปทำงานนอกบ้านและทำเป็นช่วงเวลา (กะ)   ดังนั้นในการเลือกช่วงเวลาและระยะเวลาในการจัดกิจกรรมโครงการนั้นจำเป็นจะต้องศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับช่วงเวลาที่เหมาะสม  เพื่อให้คนส่วนใหญ่นั้นสามารถที่จะเข้าร่วมกิจกรรมโครงการได้

 

สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกเหนือจากแผนงาน

                ได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม   การทำงานร่วมกันกับคนในชุมชน   ผู้นำในชุมชน   อสม. และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้ถึงการแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า  การปรับเปลี่ยนการทำงานตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตามความเหมาะสม เพื่อที่จะให้การดำเนินงานโครงการนั้นสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

 

 ความรู้สึกที่เกิดขึ้น

                รู้สึกประทับใจและดีใจที่  อสม. ผู้นำชุมชน  เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาล  โรงเรียนเทศบาล 1   และคนในชุมชนนั้นได้ให้ความร่วมมือ   มีน้ำใจ   มีความเสียสละและเล็งเห็นความสำคัญในการจัดกิจกรรมโครงการในครั้งนี้   เพราะในการจัดกิจกรรมโครงการจะไม่สามารถสำเร็จลุล่วงไปได้หากขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไป    และที่ขาดเสียไม่ได้นั้นคือ   ความประทับใจในสมาชิกกลุ่มที่มีความรับผิดชอบและตั้งใจทำงานกันอย่างเต็มที่   เพื่อให้การจัดกิจกรรมโครงการสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

 

ปัญหาและอุปสรรค

                อุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสาร คือโทรโข่ง  ทำให้เสียงที่ได้ยินจะได้ยินเฉพาะตำแหน่งที่ใช้โทรโข่งเท่านั้น   ส่วนในตำแหน่งที่ไกลออกไปจะได้ยินเสียงไม่ชัดเจนประกอบกับสถานที่ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมเป็นแบบเปิดทำให้มีการกระจายของเสียง  ส่งผลให้การสื่อสารนั้นได้ยินไม่ทั่วถึงกัน

แนวทางการแก้ไขปรับปรุง

                ในการที่จะแก้ไขในเรื่องของสถานที่นั้นทำได้ยาก   เนื่องจากชุมชนที่จัดกิจกรรมโครงการเป็นชุมชนเมือง  ซึ่งมีข้อจำกัดของพื้นที่อยู่แล้ว   การที่จะเปลี่ยนไปจัดในสถานที่ที่เหมาะสมกว่าแต่อยู่ห่างจากชุมชนออกไปก็จะทำให้เกิดความไม่สะดวกในการเดินทางไปเข้าร่วมกิจกรรมของคนในชุมชน    ดังนั้นสิ่งที่จะแก้ไขปรับปรุงในการทำงานครั้งต่อไป  คือ  การเลือกใช้อุปกรณ์ในการสื่อสารที่เหมาะสมกับสถานที่ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมโครงการ  นั่นคือเปลี่ยนเป็นใช้ไมโครโฟนแทนเพราะระดับความดังและการกระจายของเสียงดีกว่าการใช้โทรโข่ง

                               

 

 

โครงการ นวัตกรรม “ ออมสิน สบู่เหลือใช้ สู่ผลิตใหม่ใช้ล้างมือ”

หลักการและเหตุผล

      กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายเน้นให้บริการสาธารณสุข ให้คนไทยมีสุขภาพดีทั้งกายและใจ โดยมีการดำเนินการภายใต้นโยบายเมืองไทยแข็งแรง (Healthty Thailand) คนไทยแข็งแรงที่มีการส่งเสริมให้ประชาชนออกกำลังกายอย่างเหมาะสม รับประทานอาหารที่ปลอดภัย มีอารมณ์ดี ไม่เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี เน้นให้มีการพัฒนาศักยภาพคนและพัฒนาสิ่งแวดล้อม กระตุ้นให้ประชาชนตื่นตัวในการดูแลสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดปัจจัยเสี่ยงที่คุกคามต่อสุขภาพ จากสภาพของสังคมไทยในปัจจุบัน พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสาร มีความเจริญทางวัตถุเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีการดิ้นรนเพื่อการดำรงชีวิตเกิดการอพยพย้ายถิ่นเพื่อประกอบอาชีพมากขึ้น ชุมชนถัดอุทิศซอยริมทางรถไฟเป็นชุมชนหนึ่ง ที่คนในชุมชนต้องทำงานแข่งกับเวลา ทำให้พฤติกรรมและแบบแผนการดำเนินชีวิตเปลี่ยนไป การเอาใจใส่เรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่ลดลง จากการสำรวจพื้นที่ชุมชนถัดอุทิศ พบว่าเป็นชุมชนมีพื้นที่ค่อนข้างกว้าง แบ่งเป็น 2 ลักษณะตามสภาพทางเศรษฐกิจ ชุมชนที่อยู่ติดถนนถัดอุทิศและถนนรัถการส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขายภายในอาคารพาณิชย์รวมทั้งใช้เป็นที่อยู่อาศัยด้วย ส่วนชุมชนถัดอุทิศซอยริมทางรถไฟ ประชาชนในชุมชนมีเศรษฐานะไม่ค่อยดีมีลักษณะเป็นชุมชนแออัดและชุมชนที่ศึกษาไม่มีข้อมูลพื้นฐานด้านประชากรและด้านสุขภาพ พบว่ามีปัจจัยส่งเสริมให้เกิดการเจ็บป่วยได้ง่ายไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย ที่เป็นห้องแถวที่อยู่กันอย่างแออัด สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อภาวะสุขภาพ ได้แก่ มีแหล่งน้ำเสียที่ส่งกลิ่นรบกวน เป็นแหล่งพาหะนำโรค เช่น ยุง หนู แมลงสาบ แมลงวัน ขยะ เสียงรบกวนจากรถไฟ คนในชุมชนส่วนใหญ่ซื้ออาหารปรุงเสร็จและอาหารสำเร็จรูปมารับประทาน ออกกำลังกายน้อย ประชาชนดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลไม่เหมาะสม

        ดังนั้น คณะนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน(ภาคพิเศษ)ชั้นปีที่ 1มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงจัดทำโครงการ ชุมชนถัดอุทิศ “กินอยู่อย่างปลอดภัย ร่วมใจกันล้างมือ” เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์และบริโภคอย่างปลอดภัยและป้องกันโรคที่อาจเกิดจากการ ปนเปื้อนอาหาร และจากการสัมผัสเชื้อทางมือขึ้น

        ผลการจัดดำเนินโครงชุมชนถัดอุทิศ “กินอยู่อย่างปลอดภัย ร่วมใจกันล้างมือ ” ที่ผ่านมาในวันที่ 6 พฤษภาคม 2552 จัดโดยคณะนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน(ภาคพิเศษ) ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พบว่าได้รับความสนใจจากคนในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมบรรลุตามวัตถุประสงค์ มีจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการเกินเป้าหมายที่กำหนดไว้ และมีความรู้หลังร่วมโครงการอยู่ในระดับดี ร้อยละ 96.66 การสนับสนุนให้ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ หลักการที่สำคัญประการหนึ่งคือ การที่ประชาชนมีพฤติกรรมอนามัยที่ถูกต้อง ซึ่งการล้างมือเป็นการป้องกันโรคเบื้องต้น ที่ง่าย และสะดวก สามารถปฏิบัติได้ทุกเพศทุกวัย การพัฒนานวัตกรรมครั้งนี้ ได้นำแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health Belief Model) ของเบคเกอร์ ซึ่งมีความเชื่อเกี่ยวกับ การรับรู้ของบุคคลและแรงจูงใจว่า การที่บุคคลจะมีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงจากการเป็นโรค จะต้องมีความเชื่อว่า เขามีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรค โรคนั้นมีความรุนแรงและมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต รวมทั้งการปฏิบัตินั้นจะเกิดผลดีในการลดโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหรือช่วยลดความรุนแรงของโรค โดยไม่ควรมีอุปสรรคด้านจิตวิทยามาเกี่ยวข้อง เช่น ค่าใช้จ่าย ความไม่สะดวกสบาย ความเจ็บป่วยและความอาย นอกจากนั้นได้ผสมผสานแนวคิดการกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งบทบาทของประชาชน มีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อการส่งเสริมสุขภาพของตนเอง และชุมชน โดยประชาชนจะต้องเห็นคุณค่า และผลของสิ่งแวดล้อม ต่อภาวะสุขภาพ ช่วยกันรักษา และสร้างสิ่งแวดล้อมที่เกื้อกูล ต่อการมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ดี มีการพัฒนาโครงสร้าง และกลไกการจัดการ ที่มีประสิทธิภาพ มีความคิดสร้างสรรค์ และตระหนักในสุขภาพของชุมชน และมีเจ้าหน้าที่สุขภาพ ทำหน้าที่ให้ความรู้ และสนับสนุนให้เกิดทักษะ ลงมือทำด้วยตนเอง อย่างต่อเนื่อง เป็นการสะสมความรู้ และประสบการณ์ จากการปฏิบัติจริง (learning by doing) และเป็นกระบวนการเรียนรู้ แบบปฏิสัมพันธ์ (interactive learning process) ทั้งในส่วนของประชาชน และเจ้าหน้าที่สุขภาพ จึงต้องมีการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ ในชุมชนอย่างต่อเนื่อง (Community Learning) เพราะเมื่อเกิดการเรียนรู้ แลกเปลี่ยน และเรียนรู้ จนเป็นวงจรต่อเนื่องไม่รู้จบ ทำให้เกิดพลัง ในการดำเนินกิจกรรมร่วมกันในสังคม ผลที่ได้จะทำให้บุคคลสามารถ นำความรู้ไปสู่การตัดสินใจ เลือกแนวทางการแก้ปัญหา ที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม และวิถีการดำเนินชีวิตจะเป็นหนทาง นำไปสู่การพัฒนาชุมชน ให้เข้มแข็ง และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจชุมชนถัดอุทิศที่ พบว่าเกือบทุกครัวเรือนนิยมใช้สบู่ก้อนในการชำระล้างร่างกาย รวมถึงการล้างมือและยังพบว่ายังมีสบู่ก้อนที่เหลือใช้ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์

        จากแนวคิดดังกล่าว จึงเกิดการพัฒนานวัตกรรม “ออมสินสบู่เหลือใช้ สู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ใช้ล้างมือ” โดยประชาชนในพื้นที่ สามารถทำได้ด้วยตนเอง สะดวก ประหยัด และให้ผลในการป้องกันโรคที่คุ้มค่า สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของตนเอง ครอบครัวและชุมชนได้ มีพฤติกรรมการล้างมืออย่างสม่ำเสมอ

วัตถุประสงค์

1. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน ในการสะสมสบู่เหลือใช้มาประยุกต์ใช้ในเกิดประโยชน์

 2. เพื่อแปรรูปสบู่ที่เหลือใช้ในครัวเรือนนำมาประยุกต์ใช้ในการล้างมือ

3. เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้กับประชาชนในชุมชนรู้จักใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า

4. เพื่อให้ประชาชนในชุมชน เห็นความสำคัญและประโยชน์ของการล้างมือ

5. เพื่อส่งเสริมให้การดำเนินกิจกรรม โครงการชุมชนถัดอุทิศกินอยู่อย่างปลอดภัย ร่วมใจกันล้างมือ คงอยู่ในชุมชนอย่างยั่งยืน

กลุ่มเป้าหมาย

       ประชาชนในชุมชนถัดอุทิศ จำนวน 362 คน พื้นที่เป้าหมาย พื้นที่ ชุมชนถัดอุทิศ ซอยริมทางรถไฟ เขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน

ขั้นเตรียมการ

1. ประชุมชี้แจง วางแผนแนวทางปฏิบัติในการนำสบู่เหลือใช้มาแปรรูปเป็นสบู่เหลวใช้สำหรับ ล้างมือในชุมชน

2. จัดทำโครงการ นวัตกรรม เพื่อขออนุมัติ

3. ประชุมชี้แจงแก่ประชาชนทุกครัวเรือนและผู้เกี่ยวข้องทราบถึงแนวทาง ในการจัดตั้งกลุ่ม ออมสิน สบู่เหลือใช้ในการรวบรวมสบู่ การนำกลับมาปรับมาใช้ใหม่ การจัดการแจกจ่ายสบู่เหลวที่แปรรูปแล้วแก่ครัวเรือน

ขั้นดำเนินการ

1. ในชุมชนถัดอุทิศ (ซอยริมทางรถไฟ)

     1.1 ประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนทราบถึงวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมและผลที่จะ ได้รับหลังการจัดกิจกรรม โดยการประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนทราบ รถประชาสัมพันธ์ เคลื่อนที่ จัดทำเอกสารแผ่นพับและใบปลิว รวมทั้งให้ อสม. ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการประชาสัมพันธ์   

    1.2 จัดตั้งกลุ่มแกนนำในชุมชนและชี้แจงแนวทางการปฏิบัติให้ทราบถึงหลักของการ จัดเก็บสบู่ก้อน ที่เหลือใช้ และการนำกลับมาใช้ประโยชน์ที่ถูกต้อง เหมาะสม

    1.3 อธิบายขั้นตอนการทำสบู่แปรรูป แก่แกนนำและประชาชนในชุมชน ดังนี้

      - นำสบู่ก้อนแข็งไปหั่นให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ 1 ถ้วยตวง

      - ใส่ น้ำในหม้อสแตนเลส 3 ถ้วยตวง ตั้งไฟและใส่สบู่ที่หั่นแล้วลงไป คนให้ละลาย

       - เติมกลีเซอรีน 4 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากัน

      - ใส่น้ำหอมตามชอบ

      - หรือใส่สมุนไพรสกัด น้ำมะขามเข้มข้นหรืออาจใช้น้ำวุ้นว่านหางจระเข้ แทนน้ำ ก็ได้ หรือ สมุนไพรผง เช่นขมิ้นชันผง ใส่บำรุงผิว แก้ผื่นแพ้

       - เมื่อตั้งไว้นานๆสบู่เหลวที่ทำจากสบู่ก้อน อาจจะแห้งแข็งกลับไปเป็นสบู่ก้อนใหม่ ก็นำ กลับมาทำตามวิธีข้างต้นใหม่ได้

    1.4 จัดเก็บสบู่เหลือใช้ตามจุดต่างๆ ในชุมชน โดยแกนนำชุมช  

    1.5 จัดสรรสบู่ ที่แปรรูปแล้วแก่ทุกครัวเรือนในชุมชน โดยแต่ละครัวเรือนนำภาชนะที่เหลือ ใช้มาบรรจุสบู่ เช่น ขวดแชมพู ขวดโลชั่น ขวดน้ำยาล้างจาน ฯลฯ

2. ศูนย์บริการสาธารณสุขโรงเรียนเทศบาล1 ( เอ็งเสียงสามัคคี)

    2.1 ประสานงานกับแกนนำชุมชนและเทศบาลนครหาดใหญ่ ติดตามช่วยเหลือและให้คำแนะนำสบู่เหลวแปรรูป

   2.2 จัดหาขวดน้ำพลาสติกใส ขนาด 5- 6 ลิตร ที่มีฝาปิดมิดชิด และมีการติดป้ายฉลากเพื่อให้ทราบว่าเป็นภาชนะสบู่ที่เหลือใช้ มาวางในชุมชนจำนวน 5 จุดๆละ 1 ถัง

    2.3 สนับสนุนงบประมาณและสถานที่ในการแปรรูปสบู่ให้แก่ชุมชน ขั้นประเมินผล 1. ประเมินผลจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนในกิจกรรมการออมสบู่เหลือใช้ ร่วม ทำและร่วมใช้ สบู่ล้างมือ 2. ประเมินผลจากแบบสอบถามการใช้สบู่เหลว

 ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการนำสบู่ที่เหลือใช้มาใช้ให้เกิดประโยชน์

2. ชุมชนมีผลิตภัณฑ์ สบู่เหลวสำหรับไว้ใช้ล้างมือในครัวเรือน และช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการซื้อสบู่ล้างมือ

3. ประชาชนในชุมชนมีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการใช้ทรัพยากร อย่างประหยัดและคุ้มค่า

4. ประชาชนในชุมชน มีพฤติกรรมการล้างมือที่ถูกต้อง สม่ำเสมอ และปฏิบัติกันอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้สามารถลดการปนเปื้อนเชื้อโรคที่เกิดจากการสัมผัสด้วยมือ

ผู้รับผิดชอบโครงการ

1. นางสาว ธัญพร สมันตรัฐ

2. นาง ปวลี คงประดิษฐ์

3. นางสาว ภิญญารัตน์ สุวรรณขำ

4. นาง โสเพ็ญ โพธิพงศา

5. นาง ปาริฉัตร์ ชูสังข์

คณะนักศึกษาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ผู้ร่วมโครงการ

1. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในศูนย์บริการสาธารณสุขโรงเรียนเทศบาล 1(เอ็งเสียงสามัคคี)

2. อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนถัดอุทิศ

3. แกนนำชุมชนและประชาชนในชุมชนถัดอุทิศ

ที่ปรึกษาโครงการ

1. รศ. อุษณีย์ เพรชรัชตะชาติ อาจารย์ผู้ประสานรายวิชา ปฏิบัติการพยาบาลชุมชน ขั้นสูง 1 (610- 572) คณะพยาบาลศาสตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

2. นางอมรรัตน์ ลิ่มเฮง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลหาดใหญ่

3. นางสาวพีรดา ศรีจำเริญ หัวหน้าศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาล 1 (เอ็งเสียงสามัคคี)

ยังรอไฟล์ที่จะนำเสนออยู่คะ

รายงาน สะท้อนการเรียนรู้ ครั้งที่ 7 ( โสเพ็ญ 7)

ระหว่าง วันที่ 15-16 พฤษภาคม 2552

กิจกรรมที่ได้ดำเนินการ

1. นำ นวัตกรรมที่กลุ่มคิด เสนอแก่อาจารย์พี่เลี้ยง ได้รับคำแนะนำ แนวทางการจัดทำ นวัตกรรม ที่ถูกต้อง นำไปสู่การคิดปรับปรุง โครงการน วัตกรรมใหม่

2. กลุ่มช่วยกันคิด นวัตกรรมใหม่ ด้วยแนวคิด งานไม่ใหญ่ ชุมชนมีส่วนร่วม ได้ประโยชน์ และต่อยอดโครงการเดิม ที่ได้จัดในชุมชน นำเสนออาจารย์พี่เลี้ยง ปรับปรุงในส่วนที่ยังไม่สมบูรณ์

3. นำเอกสารสรุปผลการดำเนินโครงการ เสนออาจารย์พี่เลี้ยง และปรับปรุงในส่วนขาด ให้ถูกต้องครบถ้วน

4. จัดเตรียมเอกสาร สรุปผลการดำเนินงานโครงการ และ โครงการ นวัตกรรม ฉบับสมบูรณ์

5. ร่วมกันคิด สรุปข้อมูล และ จัดทำข้อมูล ผลของการฝึกปฏิบัติงาน สำหรับนำเสนอในชั้นเรียน ในวันที่ 17 พฤษภาคม 2552

6. ศึกษาข้อมูล เตรียมความพร้อมสำหรับการนำเสนอตามที่ได้รับมอบหมายหน้าที่

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงาน

1. การคิดนวัตกรรม เป็นเรื่องใหม่ เรื่องยาก ต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษาและทำความเข้าใจ บางครั้ง การศึกษาจาก เอกสาร ประสบการณ์ ไม่สามารถให้คำตอบที่ถูกต้องหรือให้แนวทางการจัดทำ นวัตกรรมที่ชัดเจนได้ อาจต้องอาศัยการคิดที่นอกกรอบไปบ้าง การคิดที่แตกต่างของสมาชิก และที่สำคัญ คำแนะนำจากท่านผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์ และ เมื่อคิดแล้ว ก็ไม่ควรหยุดเพียงแค่นึกว่าน่าจะมีอุปสรรค เพราะถ้าคิดถึงอุปสรรคก็จะทำให้ทุกอย่างติดขัด ไม่สามารถดำเนินการได้ ซึ่งในที่สุด กลุ่มก็สามารถผ่านวิกฤตนี้ไปได้ด้วยดี มีประสบการณ์ในการคิด นวัตกรรรม อย่างเต็มรูปแบบ ถึง 2 ครั้ง นี่ คือโอกาสของเราซึ่งถ้าไม่ผิดพลาดอาจไม่ได้ประสบการณ์อย่างนี้ การคิดในงาบวกจะทำให้เราไม่เครียด มองโลก มองปัญหาอย่างมีสติ พร้อมที่จะเผชิญปัญหาอย่างรู้เท่าทันได้

2. การยอมรับความคิดเห็นจากสมาชิกในกลุ่มทุกคน ล้วนเป็นประโยชน์ ทำให้เกิดการเรียนรู้ ได้เสมอ อย่างน้อยก็ได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน เกิดความเข้าใจ หรือหากคิดเห็นไม่ตรงประเด็นก็สามารถปรับความคิดเห็น ปรับความเข้าใจกันได้ เป็นผลให้บรรยากาศการทำงานกลุ่มเป็นไปได้ด้วยดีตลอดระยะเวลาที่ได้ทำงานร่วมกัน

3. การทำงานในระยะเวลาที่จำกัด (คิด นวัตกรรมใหม่) หากทุกคนมีความตั้งใจและทำความเข้าใจกับงานที่ได้รับมอบหมาย การให้ความไว้วางใจ และเชื่อในศักยภาพ ความสามารถของทุกคน แบ่งงานกันทำให้เหมาะสม ทุกคนได้เข้ามามีส่วนร่วมเป็น เจ้าของ

สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกเหนือจากแผนงาน

1. ได้เรียนรู้ว่า ความคิดและข้อสรุปของกลุ่ม บางครั้งก็ไม่ได้ถูกต้องและสมบูรณ์ เสมอไป อาจ

ต้องมาร่วมกันคิดแก้ไข ปรับปรุงใหม่ เหมือนการ คิดและทำ นวัตกรรมใหม่ในครั้งนี้

แนวทางแก้ไข ร่วมกัน คิด ปรับแนวคิดและเริ่มทำนวัตกรรมใหม่ โดยช่วยกันเพื่อให้แล้สเสร็จทันในเวลาที่กำหนด

2. การวางแผน บางครั้งอาจไม่เป็นไปตามแผน จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยน ในบางกิจกรรม

ไม่สามารถทำได้ตามที่กำหนดไว้ เช่น ครั้งนี้ วางแผนว่า แค่ปรับปรุงข้อมูลอีกเล็กน้อย จากนั้นจะมอบหมายงานให้ทุกคนได้ศึกษา และจัดทำ ข้อมูลสำหรับนำเสนอให้เสร็จภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2552 แต่ต้องปรับแผนใหม่ เพราะงานไม่ได้เป็นไปตามที่กำหนด ต้องนัดมาอีกวัน เพื่อเตรียมข้อมูลสำหรับนำเสนอ ซึ่งทุกคนเข้าใจและร่วมงานทุกครั้ง

แนวทางแก้ไข ควรร่วมกันคิดไว้ล่วงหน้า ว่า หากงานไม่เสร็จ จะวางแผนสำหรับการดำเนินงานอย่างไรต่อ เพื่อให้เสร็จทันในเวลาที่กำหนด จะได้ดำเนินการตามแผน 2 ที่ได้วางไว้

ความรู้สึกที่เกิดขึ้น

1. บางครั้งรู้สึกล้ากับงานที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์สักที ทั้งที่เราวางแผนว่าน่าจะเสร็จ เพราะช่วยกัน

ทำตั้ง 5 คน นั่นอาจเป็นเพราะเราคาดหวังไว้สูงเกินไป วิธีแก้ไข คิดว่า บางครั้งต้องทำใจ เผื่อใจไว้สำหรับความผิดหวังบ้าง จะได้ไม่เครียด เพราะความเครียดทำให้เราคิดอะไรไม่ออกมันจะมืดไปหมด ไม่มีทางออกให้กับเรา คิดไว้เสมอว่า ปัญหามีไว้ให้คิดและหาทางแก้ ปัญหาทุกอย่างมีทางแก้ได้เสมอ แม้ต้องใช้เวลาและความสามารถบ้าง

2. หากเปรียบตอนนี้ ระยะเวลาเกือบสิ้นสุดการฝึกงาน มีเพียงแค่เก็บสิ่งที่ได้เรียนรู้ ฝึกปฏิบัติ

ไปสู่กระบวนการถ่ายทอดให้อาจารย์ รวมทั้งเพื่อนกลุ่มอื่นๆได้รับรู้ว่าเราได้ทำอะไรบ้างกับชุมชนที่เราได้เข้าไปศึกษา ซึ่งเป็น เรื่องค่อนข้างเครียดพอสมควร เพราะไม่ทราบว่าจะทำได้ดีแค่ไหน ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ที่ ได้วางไว้หรือไม่

ถ้าจะเปรียบเทียบความรู้สึกตลอดระยะเวลาการฝึกปฏิบัติงาน เหมือนเราเข้าถ้ำมืด เรา 5 คน มีเทียนคนละเล่ม ซึ่งนั่นหมายถึงความรู้และประสบการณ์ที่มี เดินไปในถ้ำ ยังพอมีกำลังใจที่มีแสงสว่างจากไฟฉาย ของอาจารย์และอาจารย์พี่เลี้ยง คอยนำทาง เมื่อเราเดินไปออกนอกเส้นทาง เราล้มลุกคลุกคลาน ชนผนังถ้ำบ้าง ถึงทางตันบ้าง ต้องถอยกลับมาตั้งหลักใหม่ และในที่สุดเราก็เดินมาเกือบถึงปากถ้ำแล้ว แสงสว่างจากปากถ้ำ รอเราอยู่ข้างหน้า แต่ ณ ปากถ้ำ เราไม่รู้ว่า จะมีอะไรอยู่ข้างหน้า ก็หวังว่า น่าจะมีอากาศ บริสุทธิ์ สิ่งดีๆรอเราอยู่ อย่างไรก็ตามเราต้องเดินให้ถึงปากถ้ำให้ได้ ซึ่งจะบอกได้เมื่อ ถึงวันนำเสนอผลงาน วันที่ 17 พฤษภาคม 2552

ธัญพร 7

 กิจกรรมการเรียนรู้ ครั้งที่ 6 (15-16 พฤษภาคม 2552)

1.สรุปการเขียนรายงานโครงการ “กินอยู่อย่างปลอดถัย ร่วมใจกันล้างมือ” เป็นรูปเล่ม และส่งอาจารย์พี่เลี้ยง และอาจารย์ที่ปรึกษา

 2. สรุปการทำนวัตกรรม และค้นคว้าหาข้อมูลรายละเอียด ขั้นตอน เนื้อหา แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการทำนวัตกรรม ในเรื่อง “ออมสินสบู่เหลือใช้ สู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ใช้ล้างมือ” เป็นรูปเล่ม และส่งอาจารย์พี่เลี้ยง และอาจารย์ที่ปรึกษา

3. มอบหมายงาน และทำ powerpoint ร่วมกัน เพื่อการนำเสนอในวันที่ 17 พฤษภาคม 2552

สะท้อนการเรียนรู้

-สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงาน คือ นวัตกรรมต่างๆต้องมีแนวคิด ทฤษฎีมาเกี่ยวข้องเสมอ สำหรับนวัตกรรมของกลุ่ม การพัฒนานวัตกรรมครั้งนี้ ได้นำแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health Belief Model) ของเบคเกอร์ ซึ่งมีความเชื่อเกี่ยวกับ การรับรู้ของบุคคลและแรงจูงใจว่า การที่บุคคลจะมีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงจากการเป็นโรค จะต้องมีความเชื่อว่า เขามีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรค โรคนั้นมีความรุนแรงและมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต รวมทั้งการปฏิบัตินั้นจะเกิดผลดีในการลดโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหรือช่วยลดความรุนแรงของโรค โดยไม่ควรมีอุปสรรคด้านจิตวิทยามาเกี่ยวข้อง เช่น ค่าใช้จ่าย ความไม่สะดวกสบาย ความเจ็บป่วยและความอาย นอกจากนั้นได้ผสมผสานแนวคิดการกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งบทบาทของประชาชน มีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อการส่งเสริมสุขภาพของตนเอง และชุมชน โดยประชาชนจะต้องเห็นคุณค่า และผลของสิ่งแวดล้อม ต่อภาวะสุขภาพ ช่วยกันรักษา และสร้างสิ่งแวดล้อมที่เกื้อกูล ต่อการมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ดี

-สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกเหนือจากแผนงาน

คือ การประยุกต์ทฤษฎีมาใช้บางครั้งอาจต้องมีการผสมผสานหลายแนวคิดไม่จำเป็นต้องใช้อย่างใดอย่างหนึ่งค่ะ

-ความรู้สึกที่เกิด

คือ ดีใจค่ะเพราะรู้สึกว่าการฝึกงานที่ผ่านมาใกล้เสร็จสิ้นแล้ว ทำให้มีความรู้หลักการทำงานในชุมชนเพิ่มขึ้น เพราะตัวเองนั้นไม่เคยทำงานแบบนี้มาก่อนค่ะ

-ปัญหา อุปสรรค คือ

 1. น่าจะเป็นเรื่องของเวลาในการทำรายงานเนื่องจากเวลากระชั้นชิดเข้ามาและตัวนักศึกษา ก็ต้องทำงานประจำด้วยค่ะ เมื่อกลับไปที่ๆทำงานอาจขาดแหล่งเรียนรู้ -แนวทางแก้ไขปรับปรุง คือต่อไปคิดว่าน่ามีการขยายเวลาในการฝึกงานมากขึ้นเนื่องจากเวลในการฝึกวิชานี้น้อยกินไปค่ะ อย่างน้อยก็น่าจะประมาณ 2 เดือน และอยากให้มีการนำหลักที่ใช้กับชุมชนเช่น AIC การทำเวทีประชาคม ในการฝึกโอกาสต่อไปค่ะ

ถ้านักศึกษามีโอกาสควรหาทางพัฒนาเรื่องการเชื่อมโยงความคิด  ทั้งวิธีการคิดแผนการทำงานการเขียนโครงการหรือรายงานต่างๆ งานที่ออกมาขณะนี้อ่านแล้วยังเป็นส่วนๆ งานจะดียิ่งขึ้นถ้าเพิ่มความเชื่อมโยง พี่เคยได้รับคำแนะจากอ.ดร.สมจิต ตอนที่อ.ช่วยอ่านวิทยานิพนธ์ (อ.อ่านให้ทั้งๆที่ไม่ไช่Adviser)และบอกพี่ประโยคหนึ่งคือ"ให้อมรรัตน์ กลับไปดูเรื่องความเชื่อมโยงของเนื้อหาตอนก่อนหน้าและที่กำลังจะขึ้นใหม่ของแต่ละตอน อีกทีให้เชื่อมโยงกันงานจะดีขึ้น" พี่ก็ลองกลับไปอ่านดูหนังสือเล่มที่เราชอบอ่าน บทความที่มีชื่อเสียงแล้วก็เรียนรู้วิธีเขียนการเชื่อมโยงความคิดจากงานเขียนอื่นๆ นี่เป็นวิธีที่พี่ใช้เรียนรู้ด้วยตัวเองแต่ถ้ามีใครที่มีวิธีเรียนรู้ทางอื่นก็ใช้ได้ มีหนังสือ และวิทยากรหลายท่านที่เขียนถึงเรื่องนี้ที่พี่พบช่วงปีหลังๆ ขอให้ทุกคนโชคดีในการเรียนรู้และปฏิบัติงานในชุมชนคะ

สะท้อนการเรียนรู้ ครั้งที่ 6

วันที่ 9-10 พฤษภาคม 2552

นางปวลี คงประดิษฐ์ รหัส 5110421039

รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลชั้นสูง 1 (610-572)

สถานที่ฝึกปฏิบัติงาน โรงพยาบาลหาดใหญ่

กิจกรรมที่ได้ดำเนินการ

1. สรุปผลการประเมินชุมชน

2. สรุปผลการจัดกิจกรรมแต่ละกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย

3. ปรึกษาหารือการจัดทำนวัตกรรม

4. ร่วมร่างโครงการนวัตกรรม

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงาน

1. การสรุปผลการประเมินชุมชน ซึ่งมีแนวทางตามคู่มือการปฏิบัติการพยาบาลชุมชน ตั้งแต่เริ่มลงสำรวจชุมชน ตามแบบการสัมภาษณ์ที่ได้ตกลงกันไว้ ที่ใช้แนวคิดองค์ประกอบชุมชนและแบบแผนสุขภาพชุมชน 11 แบบแผน หลังการสำรวจทางสมาชิกกลุ่มได้ระดมความคิดเห็นออกมาในแต่ละหัวข้อ ซึ่งพอเป็นแนวทางได้ แต่เมื่อลงรายละเอียดในรายงานต้องมีการขัดเกลาด้านภาษา และสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจและเห็นภาพในเรื่องที่ถ่ายทอด ในรายละเอียดของเนื้อหาแต่ละข้อเป็นสิ่งที่ได้จากการเก็บข้อมูล การสัมภาษณ์ การสังเกตซึ่งให้ตรงกับสภาพความเป็นจริงมากที่สุด เริ่มตั้งแต่บทนำซึ่งเป็นการบรรยายที่ค่อนข้างยาก ต้องการสื่อให้ทราบว่ากำลังทำอะไร กับใคร อย่างไร เนื้อหาต้องคล้อยตามเป็นเรื่องเดียวกันและมีความต่อเนื่องกันถึงการประเมินสุขภาพชุมชนที่ต้องใช้กระบวนการต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้อง บอกถึงความเป็นมาของเครื่องมือและวิธีการ ไปจนถึงการจัดทำโครงการและการสรุปผลการดำเนินการ ซึ่งต้องใช้ทั้งศาสตร์ ศิลป์ ประสบการณ์เดิม และสิ่งที่สำคัญคือเอกสาร ตำราต่างๆที่ใช้ในการอ้างอิง ไม่ใช่คิดขึ้นมาเอง และต้องมีการอ่านทบทวนทำความเข้าใจซ้ำหลายครั้ง ต้องใช้เวลาและสมาธิค่อนข้างมาก ในสิ่งที่รับผิดชอบในส่วนนี้ค่อนข้างหนักในขั้นตอนนี้ใช้ทักษะการบรรยายและการติดต่อสื่อสาร

2. สมาชิกกลุ่มทุกคนควรศึกษาและทำความเข้าใจถึงลำดับการจัดเรียงเนื้อหา จะไม่ทำให้เสียเวลามากในการทำเอกสารและเพื่อป้องกันความผิดพลาด สามารถวางแผนได้ว่าจะต้องหาเนื้อหาส่วนไหนมาเพิ่มเติม จะต้องใช้แนวคิดอะไรมาอธิบายซึ่งถ้าเป็นเนื้อหาด้านวิชาการสามารถเตรียมพิมพ์ไว้ล่วงหน้าได้ ซึ่งถ้าคิดไปพิมพ์ไปนอกจากจะเกิดความล่าช้าแล้ว ต้องเสียเวลาในการทบทวนหลายรอบ ในขั้นตอนนี้ต้องใช้การมอบหมายงานให้ตรงกับความรู้ความสามารถและความถนัดงานจึงดำเนินไปด้วยดี

3. มีการวางแผนในการค้นหานวัตกรรมล่วงหน้าหลังจากทำโครงการเรียบร้อยแล้ว เมื่อแต่ละคนได้นวัตกรรมมามีการแสดงความคิดเห็นถึงความต่อเนื่อง ส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงการ สิ่งที่ชุมชนจะได้ประโยชน์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้ประโยชน์ และความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ ซึ่งมติกลุ่มได้ลงความเห็นในการจัดทำคู่มือประจำครอบครัว และได้แบ่งงานกันรับผิดชอบในส่วนของการเขียนโครงการและการค้นหาเนื้อหาในคู่มือ ซึ่งในครั้งแรกเนื้อหาในโครงการและเนื้อหาในคู่มือเน้นเรื่องการบริโภคอาหารที่มีคุณค่า อาหารปลอดภัยและสุขวิทยาส่วนบุคคลเรื่องการล้างมือ เหมือนเป็นการสรุปเนื้อหาในการทำโครงการ ได้มีการปรับเปลี่ยนให้เพิ่มเรื่องการประเมินภาวะสุขภาพเข้ามาด้วย ซึ่งจะนำเสนอ ปรึกษาอาจารย์พี่เลี้ยงอีกครั้งหนึ่ง

สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกเหนือจากแผนงาน

1. ได้เรียนรู้การทำนวัตกรรมของหน่วยงานอื่นๆที่ทีการจัดทำในรูปแบบที่แตกต่างกัน หรือในกลุ่มเป้าหมายเดียวกันแต่ใช้วิธีการที่แตกต่างกัน เช่นกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน

2. วิธีการค้นหาข้อมูลที่อยากรู้จากอินเตอร์เน็ตให้รวดเร็วและหาง่าย ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของสมาชิกในกลุ่ม

ความรู้สึกที่เกิดขึ้น

1. ได้นัดหมายให้สมาชิกกลุ่มมาพบกันเพื่อร่วมกันสรุปรายงานและจัดทำนวัตกรรม โดยแบ่งเป็น 2 ทีมแต่นั่งโต๊ะเดียวกัน เพื่อให้สามารถซักถามหรือขอความคิดเห็นกันได้ตลอดเวลาเป็นสิ่งที่ดี เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

2. รู้สึกเครียดและเหนื่อยเพราะต้องใช้ทั้งความคิดและเวลาในการจัดทำเอกสารค่อนข้างมากเนื่องจากในเวลาที่จำกัด แต่เนื้อหามีรายละเอียดค่อนข้างมากที่ต้องสื่อให้ผู้อ่านเห็นตั้งแต่เริ่มต้น จนกระทั่งเสร็จสิ้นโครงการ และต่อเนื่องถึงการทำนวัตกรรม ซึ่งพอดูเกณฑ์ประเมินพบว่าหน่วยน้ำหนักพบว่ามากกว่าการประเมินสุขภาพชุมชน จึงไม่แน่ใจว่าต้องทำนวัตกรรมอะไรถึงจะเหมาะสม และต้องทำขนาดไหน

ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไข

1. มีเวลาในการทำรายงานน้อย ดังนั้นในการวางแผนการฝึกงาน ควรคิดและวางแผนการจัดทำรายงานควบคู่ไปด้วยเพื่อให้ไม่ต้องรีบเร่งในภายหลัง เช่น เนื้อหาด้านวิชาการในการประเมินสุขภาพชุมชนซึ่งมีในหนังสือ ตำราต่างๆอยู่แล้ว

สะท้อนการเรียนรู้ ครั้งที่ 7

วันที่ 15-16 พฤษภาคม 2552

นางปวลี คงประดิษฐ์ รหัส 5110421039

รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลชั้นสูง 1 (610-572)

สถานที่ฝึกปฏิบัติงาน โรงพยาบาลหาดใหญ่

กิจกรรมที่ได้ดำเนินการ

1. นำโครงการนวัตกรรมเสนอและปรึกษาอาจารย์พี่เลี้ยง

2. จัดแบ่งงานในการนำเสนอ วันที่ 17 พฤษภาคม 2552

3. จัดทำโครงการนวัตกรรมใหม่ที่ไฉไลกว่าเดิม

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงาน

1. โครงการนวัตกรรมที่ทางกลุ่มนำไปเสนอแก่อาจารย์พี่เลี้ยง ซึ่งคิดว่าน่าจะเกิดประโยชน์ต่อคนในชุมชน แต่เมื่ออาจารย์พี่เลี้ยงได้ตั้งคำถามให้คิด และให้ข้อคิดเห็นว่า ทำไมไม่ทำเรื่องต่อยอดจากโครงการ ทำอะไรที่เกี่ยวกับการล้างมือที่อุตส่าห์ไปสอนคนในชุมชนไว้ ทำให้เห็นแนวทางต่อยอดจากโครงการ ชุมชนถัดอุทิศกินอยู่อย่างปลอดภัย ร่วมใจกันล้างมือ ซึ่งสบู่ล้างมือเป็นเรื่องใกล้ที่ทำให้ไปไกลได้ และจะเป็นสิ่งที่คนในชุมชนได้เตือนตัวเองให้ล้างมือ จึงได้ข้อคิดว่าการคิดทำนวัตกรรม คนส่วนใหญ่มักคิดทำเรื่องที่มีหลายกิจกรรม ดูยิ่งใหญ่แต่ไม่ค่อยมองความยั่งยืนที่ต้องเกิดขึ้น เป็นบทเรียนรู้ที่สำคัญสำหรับตัวเองในการทำงาน ที่ต้องฝึกคิดและลองฝึกเขียนกิจกรรมที่มีลักษณะคล้ายการทำออมสินสบู่ ที่มีความร่วมมือของคนในชุมชนจะเกิดประโยชน์กับการทำงานและประหยัดงบประมาณได้มาก และที่สำคัญการนำแนวคิดทฤษฎีทางการพยาบาลมาเป็นแนวทางนำไปสู่การปฏิบัติหรือการประเมินทำให้มองเห็นกิจกรรมที่จะทำชัดขึ้น ในบางสถานการณ์อาจผสมผสานหลายทฤษฎี ทำให้โครงการสมบูรณ์ยิ่งขึ้นแต่ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มและแต่ละกิจกรรม

2. การนำเสนอโครงการนวัตกรรม ต้องจัดลำดับการนำเสนออย่างเป็นขั้นตอนและสามารถเชื่อมโยงไปถึงนวัตกรรมให้ได้ จะสามารถบอกได้ถึงที่มาของนวัตกรรม ซึ่งในเวลาที่จำกัดหากเล่าตั้งแต่ต้นจะใช้เวลามาก ทางกลุ่มมีมติใช้ภาพกิจกรรมเป็นสื่อเล่าถึงโครงการแล้วต่อด้วยนวัตกรรมตามขั้นตอน

3. การนำเสนอเนื้อหาไม่ควรมากเกินไปจะลดความน่าสนใจ ให้เสนอเฉพาะหัวข้อสำคัญ

สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกเหนือจากแผนงาน

1. การกำหนดลักษณะการนำเสนอในPower Point (ลูกสอน)ช่วยเพิ่มความสนใจแต่ไม่ควรมากเกินทำให้น่ารำคาญแทน

ความรู้สึกที่เกิดขึ้น

1. ภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จของการฝึกครั้งนี้ ได้ประสบการณ์หลายอย่าง ได้ข้อคิดจากอาจารย์พี่เลี้ยงในหลายเรื่องที่สามารถนำไปปรับใช้ได้

ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไข

1. การทำโครงการนวัตกรรมใหม่ในเวลาที่จำกัด ในตอนแรกคิดว่าไม่น่าจะเสร็จแต่พอระดมสมองก็สามารถทำเสร็จในเวลาที่กำหนดได้

นางปาริฉัตร์ ชูสังข์

รายงาน สะท้อนการเรียนรู้ ครั้งที่ 6 รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลชั้นสูง 1 (610-572)

วันที่ 9- 10 พฤษภาคม 2552

ชื่อ นักศึกษา นางปาริฉัตร์ ชูสังข์ รหัส 5110421098

กิจกรรม

- รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผล โดยสมาชิกกลุ่มได้ร่วมกันสรุปโครงการที่ได้ร่วมกันจัดทำในวันที่ 6 พฤษภาคม 2552 ในชุมชนถัดอุทิศ

- ร่วมกันประเมินผลโครงการ

- เขียนรายงานโครงการ ศึกษารูปแบบรายงาน โดยที่สมาชิกกลุ่มได้มีการแบ่งงานกันรับผิดชอบ

- สมาชิกกลุ่มได้ระดมสมองร่วมกันคิดนวัตกรรมและร่วมกัน เขียนโครงการนวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการพยาบาลในชุมชนต่อไป

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงาน

สิ่งที่ได้เรียนรู้ การทำงานของกลุ่ม มีทักษะและเข้าใจในการจัดทำโครงการ โดยการนำ ทฤษฎีทางการพยาบาลมาประยุกต์ในการทำกิจกรรม ให้สอดคล้องกับปัญหาและบริบทของชุมชน การมีส่วนร่วมในโครงการของคนในชุมชน แกนนำชุมชนและเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบและร่วมวิเคราะห์ปัญหาแก้ไขอุปสรรคที่เกิดขึ้น และการประเมินผลโครงการโดยการประเมิน ดังนี้

1. ประเมินความสอดคล้องของวิธีการดำเนินงานสามารถแก้ไขปัญหาได้จริงหรือไม่

2. ประเมินความก้าวหน้า กิจกรรมการดำเนินงานเป็นไปตามผังกำกับเวลาที่กำหนดไว้หรือไม่ มีอะไรเป็นอุปสรรค

3. ประเมินประสิทธิผล การดำเนินงานได้ตามเป้าหมายเพียงไร

4. ประเมินประสิทธิภาพ ของการดำเนินงานสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายโดยประหยัดเวลา ค่าใช้จ่ายกำลังคนและทรัพยากรอื่น ๆ เพียงใด ความคุ้มค่า

5. และประเมินผลกระทบของโครงการ ทำให้เกิดผลกระทบตามที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่หรือมีผลดีผลเสียอะไรเกิดขึ้น

นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้ถึงการนำทฤษฎีทางการพยาบาลมาประยุกต์ใช้และการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมในการดูแลสุขภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน

สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกเหนือจากแผนงาน

ได้มีการแสดงความคิดเห็นพร้อมทั้งมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของสมาชิกกลุ่ม และทำให้เกิดการเรียนรู้เพิ่มขึ้น และได้มีการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมในการนำมาประกอบการเขียนรายงานในครั้งนี้

ความรู้สึกที่เกิด

ในการเขียนรายงานนั้นค่อนข้างมีรายละเอียดเยอะมาก จึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือ และความสามัคคี ความรับผิดชอบของสมาชิกในกลุ่มทุก ๆคน ในการที่ร่วมกันทำงานเป็นทีมทำให้เรียนรู้ประสบการณ์ และความคิดที่หลากหลายที่แตกต่างกันของแต่ละคน ทำให้เกิดความรู้และเรียนรู้ประสบการณ์ที่ใหม่ ๆได้

ปัญหาอุปสรรค

ในการเขียนรายงานและสรุปผลโครงการในครั้งนี้มีเวลาในการสรุปโครงการและเขียนรายงานค่อนข้างน้อยและเร่งรีบ อีกทั้งข้อมูลด้านสุขภาพ ข้อมูลพื้นฐาน และ Community Foldder ยังไม่ได้เก็บรวบรวมข้อมูลไว้ของศูนย์สาธารณสุขเทศบาล 1 จึงทำให้การเขียนรายงานค่อนข้างช้า

แนวทางแก้ไขปรับปรุง

สมาชิกกลุ่มได้ร่วมกันประชุมปรึกษาหารือกันในกลุ่มเพื่อหาแนวทางแก้ไข ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมในชุมชนและได้ไปพบอาจารย์พี่เลี้ยงเพื่อขอคำปรึกษา และรายละเอียดเพิ่มเติม

รายงาน สะท้อนการเรียนรู้ ครั้งที่ 7 รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลชั้นสูง 1 (610-572)

วันที่ 15 - 16 พฤษภาคม 2552

ชื่อ นักศึกษา นางปาริฉัตร์ ชูสังข์ รหัส 5110421098

กิจกรรม

- เก็บรวบรวมรายงาน ทั้งข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ

- รวบรวมโครงการนวัตกรรมเพื่อให้ได้ข้อมูลครบถ้วน

- มีการจัดทำ Power poite ในการที่จะนำเสนอโครงการในวันที่ 17 พฤษภาคม พ. ศ. 2552

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงาน

สิ่งที่ได้เรียนรู้ การทำงานของกลุ่ม มีทักษะและเข้าใจในการจัดทำรายงาน การศึกษารายละเอียดการเขียนรายงาน การจัดทำ Power poite และนอกจากนี้ได้มีการนำเอา ทฤษฎีทางการพยาบาลมาประยุกต์ในการทำกิจกรรม และโครงการนวัตกรรม ให้สอดคล้องกับปัญหาและบริบทของชุมชน และสามารถที่จะนำไปใช้ในอนาคตพร้อมทั้งเกิดประโยชน์กับประชาชนในชุมชนให้ได้มากที่สุดและคุ้มค่า

สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกเหนือจากแผนงาน

จากการที่ที่ได้มาฝึกปฏิบัติงานต่างพื้นที่ทำให้ทราบวิถีชีวิต และสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างของชุมชน และการดำเนินชีวิตของคนในชุมชนทำให้มีประสบการณ์ที่ดีและเพิ่มขึ้น เกิดการมองชุมชนที่กว้างขึ้นและความแตกต่าง ในหลาย ๆ ด้านของการดูแลสุขภาพของ บุคคล ครอบครัว และชุมชนได้มากขึ้น มาปรับใช้ในการปฏิบัติงานในชุมชนได้ดีขึ้นในอนาคต และเรียนรู้เรื่องโครงการนวัตกรรมมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น

ความรู้สึกที่เกิด

รู้สึกว่าสมาชิกกลุ่มมีความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ กันมากขึ้น จากการที่ได้ศึกษานวัตกรรมทำให้เกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ในการที่จะนำมาพัฒนาทางด้านสุขภาพให้กับคนในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับชุมชนมากขึ้นในอนาคต ซึ่งคิดว่าจากการที่ได้ศึกษาในครั้งนี้จะนำนวัตกรรมต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้มาปรับใช้ในการทำงานได้อย่างเหมาะสม ทำให้เกิดการส่งเสริมความร่วมมือหรือการมีส่วนร่วมของชุมชนให้มากกว่านี้จะทำให้คนในชุมชนเกิดความรู้สึกของการเป็นเจ้าของโครงการและนวัตกรรมจะทำให้การส่งเสริมสุขภาพ ยั่งยืนและชุมชนเข้มแข็งได้ ในการที่จะทำให้มีการมีส่วนร่วมมากขึ้น โดยใช้เทคนิคการจัดทำแผนที่ความคิดและสร้างอนาคตร่วมกัน และใช้เทคนิค AIC โดยการนำเทคนิคต่าง ๆเหล่านี้มา ใช้เพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วม ซึ่งการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจ เพื่อให้รับทราบ เข้าใจ แยกแยะหรือวิเคราะห์ได้ ให้เกิดแรงจูงใจ และให้เกิดความสามารถในการลงมือปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ปัญหาอุปสรรค

เรื่องของเวลาในการทำรายงานเนื่องจากเวลากระชั้นชิดเข้ามาและตัวนักศึกษา ก็ต้องทำงานประจำด้วยค่ะ เมื่อกลับไปที่ๆทำงานอาจขาดแหล่งเรียนรู้ และการค้นคว้ารายละเอียดของรายงานและนวัตกรรมต่าง ๆ ที่หลากหลายในการมาใช้ประกอบการศึกษาในครั้งนี้

แนวทางแก้ไขปรับปรุง

สมาชิกในกลุ่มต้องไปทบทวนและหาข้อมูลเรื่องของ แนวคิด ทฤษฎี โมเดล การปฏิบัติทางการพยาบาลมาก่อนและเพิ่มการค้นคว้าข้อมูลให้มากกว่านี้ในการทำรายงานและในการ ประชุมกลุ่มเพื่อประหยัดเวลาและง่ายต่อการตัดสินใจเลือก แนวคิด ทฤษฎี โมเดล มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น

ขอขอบคุณพี่แมวที่ช่วยดูแลพวกเรา ให้เวลาให้โอกาส ให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในเรื่องการเชื่อมโยงความคิด ซึ่งก็จะพยายามนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ อาจต้องใช้เวลาบ้างทั้งนี้ เพราะพวกเราเคยชินกับความคิดที่คิดแล้วคิดเลย ไม่ได้กลับมาวิเคราะห์สักเท่าไหร่ หรือพวกเราทำไปเพราะต้องการให้งานเสร็จ อาจมองข้ามความมีเหตุผลและขาดการเชื่อมโยงอย่างที่พี่สังเกตจริงๆ อย่างไรก็ตามพวกเราเห้นความตั้งใจของพี่ พี่ได้ทำบทบาทหน้าที่ของอาจารย์พี่เลี้ยงให้กับพวกเราได้อย่างสมบูรณ์ หวังว่าพี่คงไม่ปฏิเสธที่จะเป็นอาจารย์พี่เลี้ยงให้กับพวกเราในการฝึกภาคปฏิบัติชุมชน 2ในโอกาสต่อไปนะคะ

ภิญญารัตน์ ครั้งที่ 6

ภิญญารัตน์ ครั้งที่ 6

รายงาน สะท้อนการเรียนรู้ ครั้งที่ 6 วันที่ 9-10 พฤษภาคม 2552

ชื่อ นักศึกษา นางสาว ภิญญารัตน์ สุวรรณขำ รหัส 5110421046

กิจกรรมการปฏิบัติ

1. รวบรวมข้อมูล  วิเคราะห์ข้อมูล  และสรุปผลโครงการ

2. ร่วมกันคิดโครงการนวัตกรรม

3. เขียนโครงการนวัตกรรม

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงาน

       การเขียนโครงการนวัตกรรม  จำเป็นจะต้องนำแนวคิดหรือทฤษฎีมาใช้  ซึ่งในการนำแนวคิดหรือทฤษฎีมาใช้นั้น  จะต้องมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้และถูกต้อง  แล้วนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับโครงการนวัตกรรมที่จะทำ

สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกเหนือจากแผนงาน

      ในการทำงานกลุ่ม  สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การทำงานดำเนินไปด้วยความราบรื่น  นั่นคือการรับฟังความคิดเห็นของผู้ร่วมงานและให้เกียรติในความคิดหรือศักยภาพซึ่งกันและกัน  เพราะความคิดในแต่ละคนนั้นย่อมแตกต่างกันออกไป  การที่จะไปบล็อคความคิดของคนใดคนหนึ่งนั้นจำเป็นที่จะต้องพูดคุยกันด้วยเหตุผล  เพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน  นอกจากนี้ยังต้องใช้ทักษะการประนีประนอมเพื่อลดความขัดแย้งและให้การทำงานนั้นดำเนินต่อไป  มิฉะนั้นแล้วปัญหาย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ

ความรู้สึกที่เกิดขึ้น

      รู้สึกว่าในการทำงานกลุ่ม  หากเกิดความไม่เข้าใจกันหรือมีข้อขัดแย้งกัน  ไม่ว่าจะด้วยเรื่องของมุมมอง  ความคิด  และเหตุผลที่แตกต่างกันออกไป  แต่สิ่งที่ทุกคนนั้นจะต้องยอมรับคือ  การรับฟังความคิดเห็นของผู้ร่วมงาน  แต่สำหรับกลุ่มค่อนข้างโชคดีตรงที่มีความประนีประนอม  โดยแต่ละคนก็มีวิธีการที่แตกต่างกันทำให้การทำงานกลุ่มสามารถสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

ปัญหาและอุปสรรค 

      คงเป็นเรื่องของระยะเวลาในการจัดทำรายงานโครงการที่มีอยู่จำกัด  ทำให้ต้องรีบเร่งในการจัดทำรายงานอาจทำได้ไม่ดีเท่าทีควรจะเป็น

แนวทางการแก้ไข

     จากปัญหาและอุปสรรคข้างต้น  ควรที่จะมีการขยายเวลาในการส่งรายงานหลังวันนำเสนอ  เพื่อลดความตึงเครียดและการเร่งรีบในการจัดทำรายงานส่งให้ทันเวลาค่ะ 

      

 

ภิญญารัตน์ ครั้งที่ 7

ภิญญารัตน์ ครั้งที่ 7

รายงาน สะท้อนการเรียนรู้ ครั้งที่ 7 วันที่ 15-16 พฤษภาคม 2552 ชื่อ นักศึกษา นางสาว ภิญญารัตน์ สุวรรณขำ รหัส 5110421046

กิจกรรมการปฏิบัติ

1.  ร่วมกันคิดนวัตกรรม  แล้วนำเสนอแก่อาจารย์พี่เลี้ยง

2.  นำคำแนะนำและข้อเสนอแนะจากอาจารย์พี่เลี้ยงมาแก้ไข  ปรับปรุง  และร่วมกันคิดนวัตกรรมใหม่

3.  รวบรวมข้อมูล  วิเคราะห์ข้อมูล  และเขียนรายงานโครงการ

นวัตกรรม เรื่อง “ออมสินสบู่เหลือใช้ สู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ใช้ล้างมือ”

4. มอบหมายงาน และทำ Power  point  เพื่อนำเสนอใน

วันที่ 17 พ.ค.52

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงาน

       การเขียนโครงการนวัตกรรม  จำเป็นต้องนำแนวคิดหรือทฤษฎีมาใช้แล้วนำมาปรับให้เหมาะสมกับโครงการนวัตกรรมที่จะทำ  ซึ่งในการจัดทำนวัตกรรมนั้นไม่จำเป็นจะต้องเป็นโครงการที่ใหญ่  อาจเป็นโครงการเล็กๆที่ต่อยอดจากโครงการเดิมที่ทำอยู่แล้วก็ได้แต่ให้เห็นเป็นรูปธรรมแล้วสามารถนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมในชุมชน

สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกเหนือจากแผนงาน

      คือ  การทำงานเป็นทีมนั้นจะต้องอาศัยความร่วมมือ  ความสามัคคีและความรับผิดชอบร่วมกันของสมาชิกในกลุ่ม  เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้  นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้การทำ  Power  point   ที่มีรูปภาพประกอบซึ่งเป็นประสบการณ์ใหม่ของตนเองเพราะไม่เคยได้นำไปใช้เลย

ความรู้สึกที่เกิดขึ้น

     รู้สึกดีใจที่งานสำเร็จไปได้ด้วยดี  ถึงแม้ว่าในการทำงานมีอุปสรรคบ้างแต่ทุกอย่างก็ผ่านไปได้ด้วยดี  เพราะความร่วมมือ  ร่วมใจกันของสมาชิกในกลุ่มทุกคน  และที่ขาดเสียไม่ได้นั้น  คือ  อาจารย์พี่เลี้ยงที่คอยชี้แนะแนวทางและคำปรึกษาเป็นอย่างดีเสมอมา  ทำให้มองเห็นภาพและแนวทางในการจัดทำนวัตกรรม  จนสำเร็จเป็นโครงการนวัตกรรม  “ออมสินสบู่เหลือใช้ สู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ใช้ล้างมือ”

ปัญหาและอุปสรรค 

      คงเป็นเรื่องของระยะเวลาในการจัดทำรายงานโครงการที่มีอยู่จำกัด  ทำให้ต้องรีบเร่งในการจัดทำรายงานอาจทำได้ไม่ดีเท่าทีควรจะเป็น

แนวทางการแก้ไข

     จากปัญหาและอุปสรรคข้างต้น  ควรที่จะมีการขยายเวลาในการส่งรายงานหลังวันนำเสนอ  เพื่อลดความตึงเครียดและการเร่งรีบในการจัดทำรายงานส่งให้ทันเวลาค่ะ 

ยังไม่มีใครสะท้อนความรู้สึกตอนนำเสนอเมื่อโดนเพื่อนซักเยอะมาก ว่ารู้สึกอย่างไรบ้าง เช็คงานแล้วรู้สึกว่าส่งกัน6-7ครั้งแล้วทุกคน ถ้ายังมีใครแวะเข้ามาก็ช่วยสะท้อนไว้ จะเป็นวิทยาทานกับผู้ที่ทำหน้าที่พี่เลี้ยง ผู้วิพากษ์ และเพื่อนนักศึกษาด้วยกันคะ

ความรู้สึกในวันนำเสนอ การจัดทำ นวัตกรรม (เป็นความรู้สึกส่วนตัว)

เมื่อฟังกลุ่มที่ 1-3 นำเสนอ แล้ว อาจารย์ ให้ข้อคิดว่า นวัตกรรมที่เราทำต้องคำนึงถึง Product ของ Nurse ต้องได้ Nursing Framwork สิ่งที่ให้หรือเกิดต้องเป็นการพยาบาลเท่านั้น และอาจารย์ ยังย้ำ อีกว่า เราทำ Nursig terapeutic Nursig product สู่ Nursig Innovation ทำให้ รู้สึกว่า นวัตกรรมที่กลุ่ม ได้คิด น่าจะไม่ค่อยถูกทางนัก ดังนั้นเมื่อเพื่อนในกลุ่มถามเราก้พยายามตอบ โดยยึดหลักว่า นวัตกรรมที่คิดนั้นต่อยอดจากโครงการที่ได้ทำเท่านั้น ให้เพื่อนพยายามมองเห้นเหมือนที่เราบอก รู้สึกเพื่อนยังคลางแคลงใจพอควร แต่เราก็ผ่านวิกฤตนั้นมาได้ ต่อไปคิดว่า จะพยายามคิดให้สอดคล้องกับบทบาทของพยาบาล APN ทำอะไรก็ต้องพยายามให้เป็นเอกลักษณ์ของพยาบาล ไม่ใช่ไปทำงานแทนนักวิทยาศาสตร์การกีฬา นักการตลาด เหมือนที่อาจารย์เปรียบเทียบให้เห็น

อย่างไรก็ตามขอขอบคุณพี่อีกครั้งที่พยายามให้กำลังใจเรา ให้ข้อมูลสนับสนุนพวกเราในโอกาสนี้ขอเป็นตัวแทนของกลุ่ม ขอบคุณพี่อีกครั้งที่ได้เสียสละเวลา มาฟังพวกเรานำเสนอ พี่อยู่กับพวกเราตลอดระยะเวลาของการฝึกงาน พวกเราต้องการเห้นอาจารย์พี่เลี้ยงที่ได้ทำบทบาทได้ดีอย่างพี่ ขอเป็นกำลังใจให้พี่ได้ทำหน้าที่อาจารย์พี่เลี้ยงให้กับรุ่นน้องของพวกเราต่อไป นะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท