ชีวิตที่พอเพียง : ๗๓๖. ชีวิตกับระบบ


 

          ยามแก่ ผมเป็นคนคลั่งใคล้กับการคิดเชิงระบบ และคลั่งใคล้การมีบทบาทพัฒนาระบบ    วันนี้ (๓ เม.ย. ๕๒) ได้ดื่มด่ำกับการพูดคุยเรื่องเชิงระบบกับคนระดับมันสมองของประเทศอีก ๔ ท่าน    มีความสุขเหลือล้น

          ท่านเลขาธิการ สกอ. ดร. สุเมธ แย้มนุ่น, รศ. ดร. พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์, ดร. นิพนธ์, ศ. ดร. ปิยะวัติ บุญ-หลง, และผม    นัดประชุมกันเช้ามืดวันที่ ๓ เม.ย. ๕๒ ที่โรงแรมสยามซิตี เวลา ๗.๐๐ น.   เพื่อคุยกันเรื่องวิธีทำงานของสถาบันคลังสมองของชาติ 

         ดร. พิเชฐ เล่าว่า จุดกำเนิดของสถาบันคลังสมองฯ เริ่มสมัยรัฐบาลทักษิณ   มีปัญหาประท้วงเรื่องสิ่งแวดล้อม ที่หินกรูด บ่อนอก    ได้คุยกันว่าบ้านเมืองต้องการ think tank   ที่จะมีความรู้ช่วยการตัดสินใจเรื่องสำคัญของบ้านเมือง   จึงเกิดสถาบันสถาบันคลังสมองฯ ภายใต้มูลนิธิทบวงมหาวิทยาลัย  เป็นองค์กรด้านความคิด
 
        เป็นหน่วยงานเล็กๆ ที่ทำงานเชื่อมโยงเครือข่ายแบบเปิดกว้าง  หลากหลาย   โยง stakeholder   มี success ด้าน FTA telecom, e-commerce, แผนอุดมศึกษาระยะยาวเน้นทำหน้าที่เป็นเวทีกลาง เชื่อมให้หน่วยที่ไม่เคยคุยกัน มาคุยกัน
        งานที่กำลังจะเริ่ม คือการพัฒนา Governance ของมหาวิทยาลัย    และงานวิจัยระบบอุดมศึกษา

        ศ. ดร. ปิยะวัติ เสนอให้สถาบันคลังสมองฯ เป็น network of think tank    มี follow through หน่วยงานทางขวาง   เชื่อม content ที่มีตามมหาวิทยาลัย และแหล่งต่างๆ   ทำ distributed knowledge systems    ท่านสนใจมากกว่าวิจัยระบบ   เป็น Knowledge Translation
   K from transaction
   K in Context

        การทำงานวิจัยระบบในประเทศไทย จะต้องเอาชนะข้อจำกัดด้าน 2ry data

        ผมได้เล่าให้ฟังเรื่อง ที่ สกว. กำลังมีการก่อตัวที่จะมี เมธีวิจัยอาวุโสสาขาสหวิทยาการ    แผนงานนโยบายสาธารณะ ที่ สสส. มี ศ. ดร. มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด เป็นผู้จัดการแผนงาน    กิจกรรมนโยบายสาธารณะ ที่กำลังก่อตัวที่มหาวิทยาลัยมหิดล     กิจกรรมวิจัยระบบสุขภาพ ที่ สช. และ สวรส. ร่วมกันเป็นเจ้าภาพ ตั้งคณะกรรมการวิจัยนดยบายสุขภาพฯ   
   
       ดร. พิเชฐ กล่าวถึงแนวความคิดให้มีระบบ fellow หมุนเวียนนักวิชาการเข้ามาทำงานเป็นเวลา ๓ – ๖ เดือน   ทำให้ KNIT ไม่ต้องมี staff มาก รักษาความเล็กไว้ได้

       เป็น ชั่วโมงครึ่งของการเรียนรู้วิธีคิดเชิงระบบ   และแนวคิดในการทำงานเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนสังคมด้วยความรู้

วิจารณ์ พานิช
๔ เม.ย. ๕๒

หมายเลขบันทึก: 256600เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2009 16:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 10:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบพระคุณครับ

  • พอพูดถึง การพัฒนา Governance ของมหาวิทยาลัย   ทำให้รู้สึกมีความหวังกับสิ่งที่เคยผิดหวังมายาวนานครับ
  • ระบบอะไรหนอจะช่วยนำพาอุดมศึกษาให้อุดมด้วยปัญญา ทั้งในตัวผู้บริหาร คณาจารย์ และบรรดาผลผลิตทั้งหลาย
  • ขอบพระคุณมากคะ
  • ได้เรียนรู้วิธีคิดเชิงระบบจากตัวจริงเสียงจริงของคลังสมองแห่งชาติ รู้สึกดีใจมากคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท