ปกิณกะ: รังกานาธานและปรัชญาวิชาชีพบรรณารักษ์


แนวคิดของแรงกานาธานยังคงอยู่แม้ว่าห้องสมุดทุกวันนี้จะเป็นห้องสมุดดิจิทัลกันแล้ว

โลกทุกวันนี้ก้าวสู่ความเป็นดิจิทัลแล้ว ซึ่งรวมถึงการดำเนินงานห้องสมุดซึ่งก้าวเป็นห้องสมุดดิจิทัลกันมากขึ้น แม้เทคโนโลยีจะก้าวหน้าไปเพียงใดแต่วิชาชีพบรรณารักษศาสตร์ยังคงอยู่ วันนี้ขอกล่าวถึง แรงกานาธาน หรือ Dr. Shiyali Ramamitra Ranganathan ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทในวิชาชีพบรรณารักษศาตร์ของประเทศอินเดีย และมีอิทธิพลทางแนวคิดแพร่หลายในลำดับต่อมา แนวคิดที่สำคัญประการหนึ่งของรังกานาธาน คือ ปรัชญาวิชาชีพบรรณารักษ์ 5 ประการ ดังนี้

 

1. หนังสือมีไว้ใช้ประโยชน์ (Books are for use) หนังสือทุกเล่มในห้องสมุดจะให้ประโยชน์แก่ผู้อ่านไม่ว่าจะเป็นการให้ความรู้ ความคิด ความจรรโลงใจ หรือความบันเทิง

2. ผู้อ่านแต่ละคนมีหนังสือที่ตนจะอ่าน (Every reader his book) ห้องสมุดจะต้องพยายามจัดหาหนังสือ ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการ

3.  หนังสือทุกเล่มมีผู้อ่าน (Every books its reader) ห้องสมุดจะต้องพยายามช่วยให้หนังสือทุกเล่มในห้องสมุดได้มีผู้อ่านเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

4. ประหยัดเวลาของผู้อ่าน (Save the time of the reader) พยายามหาวิธีการต่าง ๆที่จะช่วยให้ผู้ใช้พบกับหนังสือเล่มที่ต้องการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

5. ห้องสมุดเป็นสิ่งเจริญเติบโตได้ (Library is growing organism) หรือห้องสมุดเป็นสิ่งมีชีวิต ห้องสมุดจะต้องพยายามจัดหาหนังสือและวัสดุเพิ่มขึ้นอยู่เสมอ

 

                ห้องสมุดในยุคโลกดิจิทัล อาจไม่ใช่มีเฉพาะบรรณารักษ์เท่านั้น แต่แนวคิดนี้ยังสามารถปรับใช้ในการดำเนินการจัดบริการของห้องสมุดให้ตอบสนองความต้องการในยุคของสารสนเทศที่แพร่หลายได้ โดยคำนึงถึงการใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุด ตรงกับความต้องการ เข้าถึงได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และมีสารสนเทศใหม่ที่ทันสมัยอยู่เสมอ

หมายเลขบันทึก: 256597เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2009 15:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 09:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท