สอนลูกให้ทำงาน


“สอนทักษะชีวิต เพื่อความใกล้ชิดและป้องกันปัญหา “
  • การถ่ายทอดวัฒนธรรมของสังคมโลกยุคปัจจุบัน ทำให้เกิดค่านิยมและพฤติกรรมของวัยรุ่นซึ่งขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของไทย ยิ่งโครงสร้างครอบครัวไทยยุคปัจจุบันเปลี่ยนจากครอบครัวขยายไปเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น พ่อแม่ต้องออกไปทำงานนอกบ้านมากขึ้น ไม่มีเวลาอบรมสั่งสอนลูก เด็กจึงได้รับการเอาใจใส่น้อยลง บางรายถูกทอดทิ้ง ขาดความอบอุ่นทางใจ ขาดการปลูกฝังแนวคิดและแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง ทำให้ด้อยในทักษะชีวิตในปรับตัวกับสังคมและสภาพแวดล้อม
  • ความจำเป็นในการให้ความความใกล้ชิด จึงเป็นเรื่องที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องคำนึงถึงเป็นอย่างมาก นอกจากจะจัดกิจกรรมในครอบครัวให้สมาชิกได้ใกล้ชิดกันแล้ว การฝึกลูกให้มีส่วนร่วมในกิจการของครอบครัวจะทำให้ลูกได้เรียนรู้ทักษะชีวิตขั้นพื้นฐาน ทั้งการวางแผน การแก้ปัญหา และการคิดสร้างสรรค์
  • การจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีได้จัดกิจกรรมตามหลักสูตรให้เกิดทักษะชีวิตในการทำงาน เช่นสาระที่ 1 ได้มุ่ง
  • ฝึกฝนให้เด็กเข้าใจการทำงาน มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น สาระที่ 4 ได้มุ่งฝึกฝนให้เด็กเข้าใจ มีทักษะจำเป็น มีประสบการณ์ เห็นแนวทางในการพัฒนาอาชีพ มีคุณธรรมและเจตคติที่ดีต่ออาชีพ
  • ทั้ง 2 สาระการเรียนรู้ เป็นการสอนทักษะชีวิต ที่ครอบครัวและโรงเรียนสามารถทำร่วมกันได้ เพราะการถ่ายทอดกลไกการเรียนรู้ จากอาชีพที่เป็นกิจการของครอบครัว กับการสอนตามหลักสูตร กลวิธีการสอนย่อมต่างกัน เช่น การสอนให้เด็กเลี้ยงปลาสวยงาม ที่โรงเรียนอาจสอนให้เกิดการเรียนรู้ได้เพียงการสังเกตการณ์ และเรียนรู้ได้เพียงประสบการณ์น้อยนิด การเรียนรู้จากการทำธุรกิจขายปลาสวยงามที่บ้าน พ่อแม่จะสามารถสอนลูกได้ครอบคลุม เกิดทักษะหลากหลาย จนสามารถสืบทอดกิจการของพ่อแม่ได้ การถ่ายทอดความรู้เพื่อสอนทักษะชีวิตของพ่อแม่จึงเป็นการจัดจัดการที่พ่อแม่จะได้ใกล้ชิดกัน ทำให้เด็กๆรู้สึกถึงความมีคุณค่าในตนเอง เกิดความสำนึกในความรับผิดชอบและรู้ที่มาของเงินว่าได้มาด้วยความยากลำบากเพียงใด
  • เคยเห็นครอบครัวของนักเรียนที่ครอบครัวไม่สอนและไม่ปลูกฝังการทำงานเล็กๆน้อยๆให้ พ่อแม่ลงมือทำให้เองทั้งหมดแม้เรื่องส่วนตัวของลูก ทำให้ลูกขาดทักษะชีวิต ไม่กล้าที่จะลงมือทำอะไรด้วยตัวเอง เพราะกลัวทำได้ไม่ดี กลัวทำผิด กลัวความเสียหายที่ยังมาไม่ถึง กลัวสารพัดกลัวไปก่อน แบบคิดแทนลูกล่วงหน้าไปก่อน ลูกเลยกลายเป็นคนหยิบหย่ง ทำอะไรไม่เป็น ไม่กล้าตัดสินใจ เคยพูดคุยกับเจ้าของร้านซ่อมเครื่องปรับอากาศรถยนต์ครอบครัวหนึ่งมีฐานะปานกลาง ที่มีลูกสาวและลูกชายวัยรุ่น ลูกชาย วัย 17 ปี มีหน้าที่เรียนและดูหนังฟังเพลง ส่วนลูกสาววัย 15 ปี ก็ไม่ฝึกทำหน้าที่แม้การดูแลต้อนรับลูกค้า ต้องจ้างคนอื่นมาทำงานบ้านทั้งที่คนในบ้านพอทำได้ ลองเสี่ยงถามดูว่า…ทำไมช่างถึงไม่ให้ลูกช่วยทำงานเลย เขาตอบว่าไม่อยากให้ลูกลำบากเหมือนเขา เขาอยากให้ลูกมีความสุขจึงทุ่มเทเงินทองให้ลูกเรียนอย่างเดียว โดยไม่ต้องให้ลูกมาสนใจงานที่พ่อทำ การจ้างแม่บ้านมาทำงานบ้านทุกชนิดให้ ก็เพื่อเป็นการชดเชยที่ลูกขาดแม่ ลูกคนอื่นเขามีแม่ทำให้ การเป็นลูกกำพร้าแม่ ลูกก็มีปมด้อยอยู่แล้ว ถ้าต้องให้ลูกมาทำอะไรด้วยตัวเองทุกอย่างกลัวลูกจะไม่มีเวลาและอาจทำให้เกิดปัญหากับเวลาเรียน เดี๋ยวจะเรียนสู้เพื่อนๆ ไม่ได้ ฟังเหตุผลของช่างแล้ว รู้สึกสูญเสียโอกาสแทนลูกๆของเขา
  • ที่ยกตัวอย่างมานี้ เป็นเพียงหนึ่งในอีกหลายสิบครอบครัว ที่สูญเสียโอกาสในการฝึกทักษะชีวิตให้แก่ลูก และสูญเสียทรัพย์สินทางปัญญาในวิชาชีพที่ได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์มาเป็นเวลานาน น่าเสียดายที่ลูกไม่เคยได้รับการถ่ายทอดความรู้ให้ แม้เพียงการบอกเล่าพูดคุย การสูญเสียอาชีพอันเป็นมรดกของครอบครัวจึงเป็นการสูญเสียที่น่าเสียดายยิ่งนัก หากลูกที่เรียนหนังสือเพียงอย่างเดียวไม่สามารถใช้วิชาความรู้ที่ได้จากการศึกษาในระบบมาหางานทำให้มีรายได้เท่าเทียมกับพ่อแม่
  • มีบางครอบครัวที่มีปริญญาไว้เป็นเพียงเครื่องประดับในชีวิต ถึงจะเรียนจบมาหลายปริญญาก็เป็นการเรียนเพื่อเอาความรู้บางเรื่องมาพัฒนากิจการของครอบครัวให้ดียิ่งขึ้น โดยไม่ต้องไปนับหนึ่งกับงานใหม่
  • การสอนให้ลูกเห็นคุณค่าของการทำงาน เป็นสิ่งที่พ่อแม่ควรให้ความสำคัญและสอนกันภายในบ้านตั้งแต่วัยเด็ก เพราะจะทำให้เด็กใกล้ชิดกับพ่อแม่รับรู้ถึงความทุกข์สุขในบ้านร่วมกัน ลดความเสี่ยงจากการที่ลูกใช้เวลาซึมซับวัฒนธรรมที่เน้นความบันเทิงและความสะดวกสบายจากกระแสนิยมในสังคมที่แวดล้อมอยู่ นอกจากนั้น
  • เด็กยังได้เห็นแนวทางในการพัฒนาอาชีพ มีคุณธรรมและเจตคติที่ดีต่ออาชีพทุกอาชีพ การมีทักษะพื้นฐานในการทำงาน จะทำให้สามารถประกอบอาชีพอื่นได้เป็นอย่างดี
  • บรรทัดสุดท้ายจึงขอเชิญชวนให้พ่อแม่และผู้ปกครองร่วมมือกับโรงเรียนด้วยการช่วยกัน
  • “สอนทักษะชีวิต เพื่อความใกล้ชิดและป้องกันปัญหา " 
คำสำคัญ (Tags): #สอนลูก
หมายเลขบันทึก: 256275เขียนเมื่อ 19 เมษายน 2009 18:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2012 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

ไม่สอนและไม่ปลูกฝังการทำงานเล็กๆน้อยๆให้ พ่อแม่ลงมือทำให้เองทั้งหมดแม้เรื่องส่วนตัวของลูก ทำให้ลูกขาดทักษะชีวิต ไม่กล้าที่จะลงมือทำอะไรด้วยตัวเอง เพราะกลัวทำได้ไม่ดี กลัวทำผิด กลัวความเสียหายที่ยังมาไม่ถึง กลัวสารพัดกลัวไปก่อน แบบคิดแทนลูกล่วงหน้าไปก่อน ลูกเลยกลายเป็นคนหยิบหย่ง ทำอะไรไม่เป็น ไม่กล้าตัดสินใจ

ชอบบันทึกข้างบนนี้มากคะ ดิฉันเอง ทำเป็นทั้งนั้นค่ะ แม้ว่าเราจะมีแม่ครัว คนช่วยงานบ้าน แต่พอเขาลากลับบ้านกัน ลูกๆจะต้องทำงานบ้านเองทั้งหมดค่ะ เป็นความภูมิใจ ที่ทำเป็นค่ะ มีดอกชงโคฮอลแลนด์มาฝากค่ะ

  • บทความดีๆค่ะ
  • กรมอนามัยเห็นความสำคัญ
  • จึงเริ่มตั้งแต่เด็กอยูในท้องเลยค่ะ
  • เรียกว่า  โรงเรียนพ่อแม่ ค่ะ

 

การสอนให้ลูก และ ลูกศิษย์ รักการทำงาน ไม่ใช่ง่ายเลยนะครับ

ต้องใช้เวลา ต้องอดทน ต้องใจเย็น และ ค่อยเป็นค่อยไป

ขอบคุณมากครับ สำหรับสาระดีๆ

ตามมาดูทักษะชีวิต เคยทำงานวิจัยเรื่องนี้ครับอาจารย์ อิอิๆๆๆ

สวัสดีค่ะ Sasinand

*** ขอบคุณค่ะสำหรับดอกชงโคฮอลแลนด์ สีสวยสดใส

*** ตามไปชมสวนสวรรค์ที่บันทึกอยู่นะคะ

  • สวัสดียามเย็น
  • แดดร้อน ๆ  ค่ะ
  • ตอนนี้ไม่มีลูกค่ะ
  • เพราะยังไม่มีพ่อของลูก... 
  • ก็เลยฝึกได้แต่...ลูก ...ศิษย์
  • ตัวน้อย... ชั้นอนุบาลค่ะ
  • ให้ทำงานบ้าน  ช่วยเหลือตนเองและครอบครัว
  • ซักผ้า  ล้างจาน กวาดบ้าน ถูบ้าน  ได้ค่ะ
  • เด็ก  แต่เล็กพริกขี้หนูค่ะ

แวะไปเยี่ยมอีกนะคะ  

สวัสดีค่ะ small man~natadee

*** ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นนะคะ

*** ดิฉันพยามรวบรวมตัวอย่างใกล้ตัว บันทึกไว้เป็นข้อมูลเพื่อเป็นข้อมูลใช้สื่อสารกับผู้ปกครองค่ะ คงพัฒนาได้บ้าง ต้องใช้เวลา และทุ่มเทจริงๆ่ค่ะ

สวัสดีค่ะ อ.ขจิต

***ตอนนี้ที่โรงเรียนก็กำลังทำวิจัยเพื่อใช้เป็นต้นแบบให้โรงเรียนอื่น อยากได้ข้อมูลและข้อเสนอแนะจากผู้มีประสบการณ์ช่วยแบ่งปันด้วยนะคะ

สวัสดีค่ะปลายฟ้า

***น้องมนัญญาบอกว่าต้องเริ่มตั้งแต่อยู่ในท้อง

*** น้องปลายฟ้าฝึกตั้งแต่อนุบาล ประสบการณ์ทั้งหลายตกที่ทายาทของเราแน่นอน

ช่วงที่ลูกเรียนอยู่อนุบาล เคยฝึกทักษะการใช้มือให้ลูก ได้ตำรามาจากญี่ปุ่น ใช้แล้วได้ผลดีสมกับที่เขาทำวิจัยกันเป็นทีมเลยค่ะ

*** การมีลูกศิษย์อนุบาลเป็นภาระหนักยิ่ง

*** แต่ถ้าเรามีลูกของเราเองไม่เหนื่อยเท่าเพราะภาระในการเลี้ยงลูกของเราเป็นภาระที่อ่อนหวานค่ะ ขอให้น้องโชคดี

สวัสดีค่ะ

อ่านและคิดตามค่ะ

(^___^)

มาชม

เห็นคมมุมคิดดีจังนะนี่

บอกลูกช่วยเก็บหญ้าที่ตัดไปทิ้ง..ลูกตอบว่ามันจะระคายเคืองผิวนะแม่ อยากให้แม่สงสาร.. แต่แม่ก็ตอบว่าจะได้รู้ว่ามันจะเป็นอย่างไรจ๊ะ..เด็กจะคิดตามก็ไม่รู้นะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ umi

***ขอบคุณค่ะ อากาศทางใต้คงไม่ร้อนมากเหมือนภาคเหนือตอนล่างนะคะ

สวัสดีค่ะ rinda

*** ผู้ปกครองนักเรียนบางคนพูดคุยกับดิฉันว่า ได้สอนให้ลูกทำงานในบ้านให้ได้ทุกอย่าง โดยไม่เลือกเพศ เพราะเกรงว่า เขย - สะใภ้ ในอนาคตจะว่าเอา น่ารักดีนะคะ

*** ชื่นชมที่สอนลูกเรียนรู้ทักษะชีวิต ปัจจุบันนี้เด็กๆหลายคนโชคดีที่พ่อแม่ใส่ใจการจัดการเรียนรู้ที่บ้านให้อย่างหลากหลาย

*** ขอบคุณค่ะ

พาเพื่อนร่วมรุ่นของคุณพี่กิติยา เตชะวรรณวุฒิ มาฝากให้ช่วยเชียร์ค่ะ

เลี้ยงลูกเลี้ยงยากนะคะ จะคอยห่วงไม่อยากให้ลูกลำบากทำอะไรๆ  ที่ไหนได้กลายเป็นพ่อแม่รังแกลูกเสียนี่ ตอนนี้กำลังฝึกให้ลูกทำงานบางอย่างที่เคยสอนแต่ไม่ได้บังคับให้ทำ ให้รู้ไว้ว่าทำอย่างไร ค่ะ ไม่รู้ว่าจะช้าไปไหม แต่ไม่ว่าจะเรียนรู้ ปฏิบัติเรื่องอะไร ๆ เมื่อได้เริ่มต้นต่อไปก็จะชำนาญทำได้นะคะ

สวัสดีค่ะดาวลูกไก่

***เป็นเรื่องธรรมดาของเด็กรุ่นใหม่ค่ะ ภาระงานของเขามีมากขึ้น จะให้เขาทำงานแบบรุ่นพ่อแม่ทำได้ทุกอย่างคงยาก ดูแค่ภาระงานที่ลูกต้องก้าวให้ทันโลกยุคไซเบอร์เขาก็แทบไม่มีเวลาแล้ว ถามคุณพ่อวสุดู คงจำว่ารุ่นรหัส 22 ทั้งมหาวิทยาลัยมีคอมพิวเตอร์กี่่เครื่อง หากลูกต้องไปอยู่กับญาติ ๆ ก็ต้องพูดคุยให้เข้าใจถึงภาระของสาวน้อยรุ่นใหม่ด้วย

บันทึกนี้เขียนได้ดีมากครับ
ให้แง่คิดทุกมุมมอง อ่านแล้วได้ประโยชน์สามารถนำไปใช้ได้เลยครับ
ขอบคุณมากๆครับ

สวัสดีค่ะ พี่สุวัฒน์

*** ต้องขออนุญาตคัดลอกมาด้วยความชื่นชม และยินดีที่ท่านแวะมา

***เดินทางมายาวไกลในโลกกว้าง

เธอนำทางพามาในที่นี้

พานพบแหล่งน้ำใจให้ยินดี

สานไมตรีประคองกันให้นานเนา

*** ขอขอบคุณมากค่ะ

ขอบคุณครับคุณกิตติยาที่แวะไปทักทาย

กระแสจิตทำให้แคล้วคลาดจากอันตราย

การให้กำลังใจ ทำให้รู้ว่าไม่ถูกโดดเดี่ยว

การใช้อาวุธไม่ทำให้อะไรดีขึ้น

การอยู่ร่วมกันอย่างสันติและช่วยกันพัฒนาประเทศจะยั่งยืนกว่า

รักประเทศไทย ตำรวจเป็นมิตรใกล้ชิดประชาชน

สวีสเีค่ะ ท่าน พ.ต.อ.ชาญเดช

*** การได้เป็นตำรวจนั้นยาก แต่การเป็นตำรวจที่ดีนั้นยากยิ่งกว่า

*** ฝากเป็นกำลังใจให้ตำรวจทุกนายในหน่วยงานของท่าน นะคะ...."เราอยู่ไหนประชาอุ่นใจทั่วกัน"

สิ่งนี้เป็นเรื่องละเอียดที่พ่อแม่มักมองข้ามด้วยความรักลูก รักหลานจริงๆค่ะ ดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กแต่ที่จริงเป็นเรื่องใหญ่ เป็นพื้นฐานชีวิตนะคะ

ตัวเองไม่มีลูกแต่สอนหลานๆให้ทำงาน ให้ช่วยเหลือตนเองได้ ไม่เน้นให้เรียนเก่ง แต่ต้องการให้เขามีทักษะชีวิตค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท