หลักเกณฑ์และวิธีการเลื่อนวิทยฐานะใหม่


คุณสมบัติ องค์ประกอบ การปรับปรุงผลงาน เกณฑ์การตัดสิน วิธีการ

หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ
 
โดยให้มีผลยื่นคำขอหลักเกณฑ์ประเมินวิทยฐานะใหม่นี้ได้ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป

 

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการประเมิน

·         ครูชำนาญการ  ดำรงตำแหน่งครูมาแล้วไม่น้อยกว่า ๖ ปี ๔ ปี ๒ ปี สำหรับวุฒิปริญญาตรี โท และเอกตามลำดับ  และมีผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ย้อนหลัง ๒ ปีติดต่อกัน นับถึงวันที่ยื่นคำขอ

·         ครูชำนาญการพิเศษ  ดำรงตำแหน่งครูชำนาญการมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี และได้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบจากการเรียนการสอนและพัฒนาผู้เรียน และมีผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ย้อนหลัง ๒ ปีติดต่อกัน นับถึงวันที่ยื่นคำขอ

·         ครูเชี่ยวชาญ  ดำรงตำแหน่งครูชำนาญการพิเศษมาแล้วไม่น้อยกว่า ๓ ปี หรือครูชำนาญการมาแล้วไม่น้อยกว่า ๕ ปี และได้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบจากการเรียนการสอนและพัฒนาผู้เรียน และมีผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ย้อนหลัง ๒ ปีติดต่อกัน นับถึงวันที่ยื่นคำขอ

·         ครูเชี่ยวชาญพิเศษ  ดำรงตำแหน่งครูเชี่ยวชาญมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒ ปี และได้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบจากการเรียนการสอนและพัฒนาผู้เรียน และมีผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ย้อนหลัง ๒ ปีติดต่อกัน นับถึงวันที่ยื่นคำขอ

องค์ประกอบในการประเมิน

·         ด้านที่ ๑ ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ  พิจารณาจากข้อมูลของบุคคลและหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเอกสารหลักฐาน คือ ก.พ.๗, คำรับรองของผู้บังคับบัญชาและกรรมการสถานศึกษา และเอกสารหลักฐานที่แสดงการมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ

·         ด้านที่ ๒  ด้านความรู้ความสามารถ    พิจารณาจากเอกสารหลักฐานในการพัฒนาตนเองและงานในหน้าที่ ๒ ส่วน คือ  ๑) เอกสารหลักฐานที่แสดงถึงการพัฒนาตนเองเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะในสาขาหรือกลุ่มสาระที่รับผิดชอบหรือในงานที่รับผิดชอบ เช่น วุฒิบัตร เกียรติบัตร หรือใบรับรองการผ่านทดสอบความรู้จากสถาบันวิชาการที่ ก.ค.ศ.รับรอง เป็นต้น  ๒) เอกสารหลักฐานที่แสดงถึงการเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอน เช่น แผนการสอน สื่อการสอน แฟ้มสะสมผลงาน เป็นต้น

·         ด้านที่ ๓ ด้านผลการปฏิบัติงาน  
- ชำนาญการ  พิจารณาผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และหรือผลการทดสอบจากหน่วยงานที่แสดงให้เห็นว่าผู้เรียนมีการพัฒนาด้านการเรียนรู้และพัฒนาการด้านอื่นๆ โดยคำนึงถึงปริมาณ คุณภาพ และสภาพของงานด้วย และอาจพิจารณาจากการปฏิบัติจริงด้วยก็ได้
- ชำนาญการพิเศษ  มี ๒ ส่วน คือ
     ส่วนที่ ๑ ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พิจารณาจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และหรือผลการทดสอบจากหน่วยงานที่แสดงให้เห็นว่าผู้เรียนมีการพัฒนาด้านการเรียนรู้และพัฒนาการด้านอื่นๆ โดยคำนึงถึงปริมาณ คุณภาพ และสภาพของงานด้วย และอาจพิจารณาจากการปฏิบัติจริงด้วยก็ได้
     ส่วนที่ ๒ ผลงานทางวิชาการ ซึ่งเป็นรายงานการศึกษาค้นคว้าหรือผลการวิจัยในชั้นเรียนที่มีจุดหมายในการแก้ปัญหาด้านการเรียนของผู้เรียน มีการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และองค์ความรู้ต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาและนำไปสู่การสรุปองค์ความรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนไม่น้อยกว่า ๑ รายการ
- เชี่ยวชาญ  มี ๒ ส่วน คือ
     ส่วนที่ ๑ ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พิจารณาจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และหรือผลการทดสอบจากหน่วยงานที่แสดงให้เห็นว่าผู้เรียนมีการพัฒนาด้านการเรียนรู้และพัฒนาการด้านอื่นๆ โดยคำนึงถึงปริมาณ คุณภาพ และสภาพของงานด้วย และอาจพิจารณาจากการปฏิบัติจริงด้วยก็ได้
     ส่วนที่ ๒ ผลงานทางวิชาการ ซึ่งเป็นรายงานการศึกษาค้นคว้าหรือผลการวิจัยในชั้นเรียนที่มีจุดหมายในการแก้ปัญหาด้านการเรียนของผู้เรียน มีการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และองค์ความรู้ต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาและนำไปสู่การสรุปองค์ความรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนไม่น้อยกว่า ๒ รายการ ซึ่งต้องเป็นงานวิจัยอย่างน้อย ๑ รายการ
- เชี่ยวชาญพิเศษ  มี ๒ ส่วน คือ
     ส่วนที่ ๑ ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พิจารณาจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และหรือผลการทดสอบจากหน่วยงานที่แสดงให้เห็นว่าผู้เรียนมีการพัฒนาด้านการเรียนรู้และพัฒนาการด้านอื่นๆ โดยคำนึงถึงปริมาณ คุณภาพ และสภาพของงานด้วย และอาจพิจารณาจากการปฏิบัติจริงด้วยก็ได้
     ส่วนที่ ๒ ผลงานทางวิชาการ ซึ่งเป็นรายงานการศึกษาค้นคว้าหรือผลการวิจัยในชั้นเรียนที่มีจุดหมายในการแก้ปัญหาด้านการเรียนของผู้เรียน มีการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และองค์ความรู้ต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาและนำไปสู่การสรุปองค์ความรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนไม่น้อยกว่า ๒ รายการ ซึ่งต้องเป็นงานวิจัยและพัฒนาอย่างน้อย ๑ รายการ

การปรับปรุงผลงาน

กรณีที่ ก.ค.ศ. เห็นสมควรให้ปรับปรุงผลงานทางวิชาการ ให้ปรับปรุงได้ไม่เกิน ๒ ครั้ง ครั้งที่ ๑ ไม่เกิน ๖ เดือน ครั้งที่ ๒ ไม่เกิน ๓ เดือน นับตั้งแต่วันที่ สพท.ได้รับหนังสือแจ้งมติจากสำนักงาน ก.ค.ศ. โดยส่งให้คณะกรรมการชุดเดิมพิจารณา หากไม่ส่งภายในกำหนดถือว่าสละสิทธิ์

เกณฑ์การตัดสิน

ผู้ที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ต้องได้คะแนนแต่ละด้าน ดังนี้

 

 

ชำนาญการ

ชำนาญการพิเศษ

เชี่ยวชาญ

เชี่ยวชาญพิเศษ

 

 

 

ด้าน ๑

ต้องได้คะแนน
แต่ละด้านจากกรรมการ
ทั้งสามคน
เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า ๖๕%

๗๐%

๗๕%

๘๐%

 

 

 

ด้าน ๒

๗๐%

๗๕%

๘๐%

 

 

 

ด้าน ๓

ส่วนที่ ๑ ไม่ต่ำกว่า ๖๕%

ส่วนที่ ๑ ไม่ต่ำกว่า ๗๐%

ส่วนที่ ๑ ไม่ต่ำกว่า ๗๕%

 

 

 

ส่วนที่ ๒ ไม่ต่ำกว่า ๖๕%

ส่วนที่ ๒ ไม่ต่ำกว่า ๗๐%

ส่วนที่ ๒ ไม่ต่ำกว่า ๗๕%

 

 

 

คะแนนรวมทั้งสองส่วน
ไม่ต่ำกว่า ๗๐%

คะแนนรวมทั้งสองส่วน
ไม่ต่ำกว่า ๗๕%

คะแนนรวมทั้งสองส่วน
ไม่ต่ำกว่า ๘๐%

 

 

 

 

 

ต้องผ่านเกณฑ์เป็นเอกฉันท์ทั้ง ๓ ส่วน

 

 

วิธีการ

·         ให้ยื่นคำขอได้ปีละ ๑ ครั้ง ช่วงเวลาใดก็ได้ เพราะความพร้อมของครูต่างกัน กรณี อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาไม่อนุมัติ มีสิทธิ์ส่งคำขอใหม่ในปีถัดไป กรณีเกษียณอายุราชการให้ยื่นคำขอก่อนเกษียณฯ ไม่น้อยกว่า ๖ เดือน

·         คณะกรรมการประเมิน
- ชำนาญการ
  ให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ตั้งคณะกรรมการประเมินจำนวน ๓ คน ประกอบด้วย ผอ. สถานศึกษาของผู้ขอรับการประเมิน ผู้ทรงคุณวุฒินอกสถานศึกษา และข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าชำนาญการ ประเมินทั้ง ๓ ด้าน
- ชำนาญการพิเศษ  ให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ตั้งคณะกรรมการประเมินจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ.เห็นชอบจำนวน ๓ คน ตามสัดส่วนที่ ก.ค.ศ.กำหนด ประเมินทั้ง ๓ ด้าน
- เชี่ยวชาญและเชี่ยวชาญพิเศษ   ให้ ก.ค.ศ. ตั้งคณะกรรมการประเมิน จำนวน ๓ คน ประเมินทั้ง ๓ ด้าน

·         ขอข้ามวิทยฐานะ (Fast Track) จากชำนาญการ เป็นเชี่ยวชาญได้

 

หมายเลขบันทึก: 255410เขียนเมื่อ 14 เมษายน 2009 01:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท