R2R กับ บล็อก


จากทั้งหมดจึงเห็นว่า บล็อกนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการทำ R2R ได้ในทุกขั้นตอนค่ะ สิ่งนี้แหละค่ะที่สี่สงสัยว่า สี่กำลังเข้าข้างบล็อกมาไปใช่หรือไม่ หรือว่าจริงๆ แล้วบล็อกสามารถนำมารองรับทุกขั้นตอนของการทำ R2R ได้จริงๆ

คุยกันก่อนเริ่มงาน

ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณสมาชิกทุกท่านที่มาร่วมวงสุนทรียสนทนาในบันทึกเมื่อวานนี้ค่ะ

รู้สึกเกินความคาดหมายมากๆ ค่ะ สี่ได้เปิดสมอง รับรู้เรื่องดีๆ แนวคิดดีๆ มากมายที่ทุกท่านนำมาแบ่งปัน

วันนี้จึงรวบรวมสติ กลับมาเขียนเรื่องของการนำบล็อกมาใช้เป็นเครื่องมือของการทำงานวิจัยกันดีกว่าค่ะ

จริงๆ แล้วเรื่องนี้สี่ศึกษาไว้เป็นเรื่องแรกๆ เลยค่ะ แต่กลับนำมาเขียนเป็นเรื่องท้ายๆ เหตุผลเพราะความสงสัยในใจว่า

ทำไมเรื่องนี้ถึงเป็นเรื่องที่ชัดเจนมาก ว่าบล็อกเป็นเครื่องมือที่นำมาอำนวยความสะดวกในการทำงานวิจัยที่มาจากงานประจำ

สี่กำลังจะเขียนเรื่อง R2R กับบล็อก ค่ะ

มาดูกันนะค่ะ ว่าสิ่งที่สี่คิดนั้นผิด ถูกประการใด (เจ้าหนูจำไมเริ่มทำงาน อิคิวซังทั้งหลายเตรียมพร้อมนะค่ะ ^__^ )

R2R หรือ Routine to Research

R2R หรือ Routine to Research หากแปลง่ายๆ ก็คือ  "งานประจำสู่งานวิจัย"

เป็นกระบวนการเดียวที่สี่ไม่มีหนังสือให้อ่าน ต้องค้นหา อ่าน ตีความ วิเคราะห์ ออกมาจากข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตทั้งสิ้น เมื่ออ่านแล้วสรุปได้ว่า

R2R เป็นกระบวนการที่จะช่วยเปลี่ยนชีวิตการทำงานอันน่าเบื่อหน่าย ซ้ำซาก จำเจ และทำไปแบบวันต่อวัน  ให้กลายเป็นงานวิจัยอันน่าทึ่ง ต่อยอดกลายเป็นเครื่องมือในการพัฒนางาน พัฒนาองค์กร ที่สำคัญคือได้ พัฒนาตนเอง

ขั้นตอนการทำ R2R

  1. มองงานประจำที่ทำ มองหาความแตกต่าง มองหาปัญหา มองหาโอกาสพัฒนา เพื่อนำมาเป็นตัวตั้งต้นในการทำวิจัย
  2. ต้องมีใจอยากปรับเปลี่ยน ไม่ว่าจะมองอะไรได้จากข้อหนึ่ง เมื่อถึงข้อสองต้องถามใจตัวเองให้ได้ว่าพร้อมหรือไม่ อยากทำหรือไม่ เพราะอะไร เพราะคำตอบเหล่านี้คือแรงจูงใจอันสำคัญที่จะพาคุณเดินต่อไปจนจบงานวิจัย
  3. ศึกษาและทำตามขั้นตอนกระบวนการวิจัยอย่างเป็นระบบ 
  4. ทบทวนอีกครั้งเพื่อนำเสนอตีพิมพ์

ขั้นตอนเท่านี้หรือ ??

เมื่ออ่านถึงตรงนี้หลายคน คงตั้งคำถามว่ามีเพียงเท่านี้หรือ

คำตอบคือ ไม่ใช่ค่ะ ทั้งหมดนี้เป็นเพียงขั้นตอนอย่างกว้างเท่านั้นค่ะ ส่วนขั้นตอนอย่างละเอียดสี่ต้องรออาจารย์ทั้งหลายช่วยเหลือค่ะ  ^__^

แล้วงานวิจัยจากงานประจำ (R2R) จะเกี่ยวกับบล็อกได้อย่างไรกัน??

คำตอบ คือ เกี่ยวทั้งหมดเลยค่ะ ดังนี้

  • ถามตัวเองว่าปัจจุบันรู้สึกอย่างไรกับงานประจำ เบื่อ สนุก อยากพัฒนางานมากกว่านี้ หรืออื่นๆ อีกมากมาย เมื่อตอบตนเองได้ สี่แนะนำให้ไปที่บันทึกต่างๆ ที่ใช้คำสำคัญว่า R2R ค่ะ ลองค่อยๆ อ่านดูนะค่ะ จริงๆ แล้วคำถามกับคำแนะนำไม่เกี่ยวกันค่ะ แค่อยากแนะนำให้อ่าน R2R เท่านั้นเอง (สี่อ่านแล้ว สนุกดีค่ะ)
  • ตอบคำถามตนเองว่าสนใจ R2R หรือไม่ หากคำตอบคือไม่ ก็ไม่เป็นไรค่ะ แต่ Bookmarks หน้า R2R ไว้หน่อยก็ดีนะค่ะ เผื่อวันใดวันหนึ่งคุณอาจจะสนใจก็ได้ จะได้หาอ่านง่ายขึ้นค่ะ  แต่ถ้าคำตอบคือใช่ ให้เดินหน้าไปข้อ 3 เลยค่ะ
  • คิด พิจารณางาน มองหาความแตกต่าง มองหาปัญหาความไม่พึงพอใจที่น่าจะสามารถแก้ไขพัฒนาได้ หรือมองหาโอกาสที่จะพัฒนางานให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป  รวมทั้งหาสาเหตุของปัญหา แนวทางแก้ไขแบบกว้างๆ และที่สำคัญถามใจตนเองสักนิดว่ามีจุดประสงค์ วัตถุประสงค์ เป้าหมายในการทำ R2R ครั้งนี้เพื่ออะไร เมื่อได้แล้วบันทึกในบล็อก เพื่อ กันลืม กันหาย และที่สำคัญประกาศให้ทุกคนทราบว่าคุณกำลังจะทำ R2R จะเป็นแรงกระตุ้นอีกทางหนึ่งว่าคุณจะต้องดำเนินการทำ R2R ให้สำเร็จให้ได้
  • ศึกษาและดำเนินตามขั้นตอนการทำวิจัย เมื่อมาถึงขั้นตอนนี้คงต้องอาศัยผู้มีประสบการณ์ชี้แนะแล้วค่ะ หากคุณเป็นหนึ่งในหน่วยงานที่ทำ R2R เรื่องนี้คงไม่ยากนัก เพราะน่าจะมีพี่เลี้ยงดูแล แต่หากคุณไม่มีพี่เลี้ยงดูแล แนะนำให้ค้นหาผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีประสบการณ์การทำ R2R ได้จากบล็อกเช่นกันค่ะ และทำการขอคำแนะนำ ความช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน โดยอาจจะติดต่อกันทาง
  1. ช่องแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านช่องทางนั้นเลย
  2. ติดต่อที่อีเมลติดต่อ
  3. เขียนคำถามไว้ในส่วนของถามตอบ
  4. หรือประกาศเลยค่ะขอความช่วยเหลือ ขอคำแนะนำ ผ่านบล็อกหรืออนุทินของคุณ โดยควรใส่คำสำคัญเกี่ยวกับ R2R หรืองานวิจัยด้วยคะ
  • ค้นหาข้อมูลต่างๆ จากบล็อก หรือบันทึกต่างๆ โดยใช้คำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องการค้นหา หรือใช้ในส่วนค้นหาก็ได้ เพื่อศึกษาเพิ่มเติมว่าเคยมีใครหรือองค์กรใดบ้างที่เคยเกิดปัญหา หรือ พัฒนางานในลักษณะเดียวกับที่คุณกำลังทำ เพื่อที่คุณจะได้ใช้เป็นแหล่งข้อมูลในการศึกษา ต่อยอดความรู้ และปรับใช้กับ R2R ของคุณต่อไป

นี่เป็นเพียงเริ่มต้นเท่านั้นค่ะ ขั้นตอนต่อจากนี้คือสิ่งสำคัญค่ะ นั่นคือ

  • การบันทึกทุกอย่างลงบล็อกค่ะ ใช้ทุกบันทึกให้เหมือนทุกหน้ากระดาษ เหตุผลเพราะ
  1.  
    1. ทบทวนสิ่งสิ่งที่คิด เขียน และดำเนินงาน
    2. เพื่อป้องกันข้อมูลหาย
    3. เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น

วิธีบันทึกจะเอาแต่สาระสำคัญมาบันทึก หรือบันทึกแบบดิบๆ ก็ได้ค่ะ

แต่ทั้งหมดนั้นอย่าลืมที่จะแสดงลิขสิทธิ์ของคุณเอง โดยการเลือกในช่องสัญญาอนุญาตนะค่ะ เลือกให้เหมาะกับที่คุณต้องการค่ะ

  • เมื่อวันหนึ่งที่ R2R สำเร็จ บล็อกยังเป็นเครื่องมือให้คุณบันทึก เรียบเรียง งานวิจัยฉบับสมบูรณ์อีกด้วย และยังเป็นช่องทางของการเผยแพร่ผลงานอีกช่องทางหนึ่งค่ะ

ท้ายที่สุด

R2R เมื่อทำสำเร็จแล้ว ควรตีพิมพ์เผยแพร่นะค่ะ เหตุผลไม่ใช่เพราะอยากดัง  แต่เป็นการเผยแพร่ความรู้ดีๆ ออกไป ไม่แน่ว่าอาจจะมีใครที่กำลังประสบปัญหาเช่นเดียวกันแต่ยังหาทางแก้ไขไม่เจอ งานวิจัยของคุณอาจจะเป็นสิ่งจุดประกายและต่อยอดความรู้ก็ได้ค่ะ

จากทั้งหมดจึงเห็นว่า บล็อกนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการทำ R2R ได้ในทุกขั้นตอนค่ะ สิ่งนี้แหละค่ะที่สี่สงสัยว่า สี่กำลังเข้าข้างบล็อกมากไปใช่หรือไม่ หรือว่าจริงๆ แล้วบล็อกสามารถนำมารองรับทุกขั้นตอนของการทำ R2R ได้จริงๆ

มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะค่ะ ว่าเรื่องจริงเป็นเช่นไร

ปล.ก่อนจบบันทึก

งานประจำที่ทำบางครั้งเกิดปัญหา ต้องหาทางแก้ไข บางครั้งต้องการการพัฒนาที่มากขึ้นกว่าเดิม สี่เชื่อว่าทุกท่านเคยแก้ไขปัญหา หรือพัฒนางานให้ดีขึ้น แต่อาจจะไม่เคยจดบันทึกไว้ หรือทำเป็นกระบวนการที่ชัดเจน

R2R มิใช่ภาระงานที่มากขึ้น แต่เป็นกระบวนการหนึ่งของการสกัดและถ่ายทอดความรู้ฝั่งลึกเหล่านี้ ให้กลายเป็นทฤษฎีแห่งความรู้ชัดแจ้ง ถ่ายทอดจากสิ่งที่ท่านได้ทำอยู่แล้วเป็นประจำนั่นเอง

ความรู้นั้นไม่จำเป็นต้องมาจากคนเก่ง หรืออัจฉริยะเสมอไป เพราะในโลกใบนี้ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ ต่างคนก็มีความรู้ความสามารถที่แตกต่าง หากสามารถนำความรู้เหล่านั้นออกมาได้ โลกใบนี้ก็จะน่าอยู่และลดปัญหาต่างๆ ได้มากขึ้น

ขอบคุณค่ะ

อ้างอิง

ขอขอบคุณทุกบันทึกที่เกี่ยวข้องกับ R2R อ่านเพิ่มเติมได้ที่คำสำคัญ R2R

 

หมายเลขบันทึก: 255130เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2009 00:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ไม่แลกเปลี่ยนครับ ... เพราะเพิ่งทราบเหมือนกันว่า

R2R คือ Routine to Research

แต่เป็นประเด็นที่น่าสนใจมากครับ :)

อิ อิ

สวัสดีค่ะอาจารย์Wasawat Deemarn

นอนดีกเหมือนกันนะค่ะ รักษาสุขภาพด้วยค่ะ

ถ้าประเด็นนี้น่าสนใจ สี่เชื่อว่าอาจารย์จะต้องช่วยลูกศิษย์คนนี้แน่ค่ะ

จะรอค่ะ :)

สวัสดีครับ สี่ซี่มาหัด R2Rครับ ได้ความรู้ครับ วิจัยในงานประจำสนใจการเข้าถึงสิทธิ์ทางด้านสุขภาพของคนพิการทุกประเภทอยู่ครับ

สวัสดีค่ะ วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--

ขอบคุณมากค่ะ เป็นงานวิจัยที่น่าสนใจมากเลยค่ะ

สี่จะติดตามอ่านนะค่ะ

ขอให้มีความสุขและสนุกกับงานวิจัยค่ะ

  • มาทักทายคุณสี่
  • ทำไว้บางส่วนแล้วที่
  • http://gotoknow.org/blog/yahoo/209742
  • แต่ยังไม่สมบูรณ์
  • เคยนำเสนองานวิจัยชุดนี้กับงานวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครับ
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์ขจิต

สี่แวะไปมาแล้วค่ะ ทุกบันทึกที่มี R2R เลยค่ะ ^_^ ก่อนคลอดบันทึกนี้ออกมาค่ะ

เยี่ยมยอดทุกๆ บันทึกเลยค่ะ

อ่านแล้วน่าทึ่งมากค่ะ

ขอให้ผลให้เสร็จสมบูรณ์โดยเร็วนะค่ะ เป็นกำลังใจให้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะน้องสี่

  • ได้ความรู้ความเข้าใจกับ R2R  จริง ๆแล้วค่ะ
  • สรุปแล้วว่า...ความรู้นั้นไม่จำเป็นต้องมาจากคนเก่ง หรืออัจฉริยะเสมอไป เพราะในโลกใบนี้ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ ต่างคนก็มีความรู้ความสามารถที่แตกต่าง หากสามารถนำความรู้เหล่านั้นออกมาได้ โลกใบนี้ก็จะน่าอยู่และลดปัญหาต่างๆ ได้มากขึ้น
  • ขอขอขอบคุณและเป็นกำลังใจให้ค่ะ

สวัสดีค่ะ...น้องสี่

พี่กะปุ๋มน่ะชอบกระบวนการคิด ...ที่เป็นระบบ คิดวิเคราะห์ของน้องสี่ และมักเข้ามาอ่านอยู่บ่อยๆ ในหลายๆ บันทึก และที่สำคัญในทัศนะของพี่กะปุ๋มชอบว่าในบันทึกและการแลกเปลี่ยนความรู้ที่ผ่านความคิดเห็นมากมายในบันทึกของน้องสี่นั้น เป็นสุนทรียะ...แห่งอารมณ์ที่ไม่มากไม่น้อย หากตั้งอยู่ในความรู้สึกที่พอดีพอดี...

แวะมาบอกค่ะว่า "ชอบ"

สำหรับการถอดบทเรียนทัศนะต่อ R2R นี้ชัดเจนดีจังเลยค่ะ เรียนรู้ร่วมกันไปเรื่อยๆ สำหรับพี่กะปุ๋มก็ยังคงต้องเดินทางต่อเส้นทางการเรียนรู้นี้ไปเช่นกัน...

(^___^)

พี่กะปุ๋ม

สวัสดีค่ะคุณครูคิม

ขอบคุณมากค่ะสำหรับทุกๆ กำลังใจที่ส่งมาค่ะ

รักและคิดถึงค่ะ

สวัสดีค่ะพี่กะปุ๋ม

ขอบคุณค่ะพี่กะปุ๋ม สี่เป็นเด็กหัดเรียนรู้ค่ะ จึงต้องขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสมาชิกทุกๆ ท่าน จะพยายามศึกษาต่อไปค่ะ และขออนุญาตเข้าไปเรียนรู้กับพี่กะปุ๋มด้วยค่ะ ^__^

ขอบคุณค่ะ

กำลังค้นหา สะสมความรู้ จะนำไปใช้ในองค์กรบ้างครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท