สรุปวิจัยเรื่องที่ 3


ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่องานของหัวหน้างาน

 

สรุปสาระสำคัญของการวิจัย  เรื่องที่ 3

 

1.       ชื่อเรื่อง    ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่องานของหัวหน้างาน

2.       ผู้วิจัย     ประทุม ฤกษ์กลาง

3.       ปีที่วิจัย  2544

4.      วัตถุประสงค์

1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่องานของหัวหน้างาน
2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่องานของหัวหน้างาน
3. เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาความผูกพันต่องานของหัวหน้างาน

5.      วิธีวิจัย

            วิธีการ

            การวิจัยและพัฒนา

            กลุ่มตัวอย่าง

            1. การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่องานของหัวหน้างาน
        ประชากร คือ หัวหน้างานในโรงงานอุตสาหกรรม Semiconductors ในเครือกลุ่มประเทศ ตะวันตกหรือร่วมทุนกับกลุ่มประเทศตะวันตกที่อยู่ในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2544 ซึ่งประกอบด้วยโรงงานทั้งหมด 2 โรงงานคือ บริษัท Philips Semiconductors (Thailand) จำกัด และบริษัท AMD (Thailand) จำกัดซึ่งมีจำนวนตัวอย่าง 78 คน
       2. การศึกษารูปแบบการพัฒนาความผูกพันต่องานของหัวหน้างาน
ประชากร คือ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลและการจัดการองค์การ จำแนก ออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
1) ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา  จำนวน  5 คน
2) ผู้บริหารในสถานประกอบการฝ่ายทรัพยากรบุคคล   จำนวน  5 คน

            เครื่องมือ

            แบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 5 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 ถามสภาพปัจจัยส่วนบุคคล
ตอนที่ 2 ถามคุณลักษณะของงาน
ตอนที่ 3 ถามความพึงพอใจในการทำงาน
ตอนที่ 4 ถามสภาพแวดล้อมทางภารกิจ
ตอนที่ 5 ถามความผูกพันต่องานของหัวหน้างาน

            วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล

            จัดส่งแบบสอบถาม แล้วรับแบบสอบถามคืน

            วิธีเคราะห์ผล

            สถิตพื้นฐาน

ค่าเฉลี่ย , ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ค่าร้อยละ

            สถิตอ้างอิง

การวิเคราะห์ สหสัมพันธ์พหุคุณ
ด้วยการวิเคราะห์การถด ถอยพหุคุณ

6.      ผลการวิจัย พบว่า

1.       ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่องานอย่างมีนัยสำคัญ และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ ปัจจัยด้านความพึงพอใจในการทำงาน สำหรับปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านคุณลักษณะของงานและ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของภารกิจ ไม่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่องานของหัวหน้างานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

2.        ตัวพยากรณ์ที่ดีที่สุดในการพยากรณ์ความผูกพันต่องานของหัวหน้างาน ทั้ง 18 ตัวแปรพบว่า ตัว พยากรณ์ที่ดีที่สุดคือ ผู้บังคับบัญชา รายได้ อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ และความมีอิสระในการตัดสินใจในงาน

3.       ขั้นตอนของรูปแบบการพัฒนาความผูกพันต่องานของหัวหน้างานที่ได้เสนอแนะไว้เป็นแนวทางใน การพัฒนาความผูกพันต่องานของหัวหน้างาน มีด้วยกัน 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การกำหนดโอกาสในการพัฒนา 2) การวิเคราะห์และระบุสาเหตุ 3) การกำหนดแผนในการพัฒนา 4) การนำไปปฏิบัติ 5) การยืนยันผล และ 6) การกำหนดมาตรฐาน

หมายเลขบันทึก: 253816เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2009 13:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 09:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ไม่มีความรูเลย ขออ่านอย่างเดียวนะคะ ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท