เครือข่ายเรียนรู้การเลี้ยงสัตว์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง


วันนี้๒๔มีนาคม๒๕๕๒เราติดตามการเข้าเยี่ยมเกษตรกรของลุงบุญชวน มะลัยโย เกษตรกรวิทยากร ตามโครงการศูนย์เรียนรู้การเลี้ยงสัตว์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงปี๒๕๕๒ไปนิเทศเกษตรกรเครือข่าย
รายแรกลุงสำรอง ถูนาแก้ว ซึ่งก็มีความชำนาญด้านการเลี้ยงสัตว์อยู่บ้างแล้วเพราะเคยเลี้ยงมาทุกอย่าง เพียงแต่หยุดพักการเลี้ยงไปบางอย่าง มาวันนี้ก็มีแนวความหวังจะมีการเลี้ยงสัตว์ให้มากชนิดขึ้นทั้งเป็ดไก่ วัว
การเลี้ยงวัวได้ปรับมาเลี้ยงโคพื้นเมืองลูกผสมทำให้ลดต้นทุนและประหยัดค่าพันธุ์และราคาไม่ตก หลังจากที่เคยล้มเหลวมากับโคฮินดูบราซินตามกระแสเมื่อหลายปีก่อน การเลี้ยงไก่มีปัญหาศัตรูธรรมชาติคือเหยี่ยว แก้ไขโดยการทำตาข่ายล้อมไว้
การเลี้ยงหมูเลิกไปเพราะว่าราคาและสิ่งแวดล้อมกลิ่นรบกวนเพื่อนบ้าน
การเลี้ยงเป็ดเลิกไปนานสามสี่ปีมาคราวนี้จะกลับมาเลี้ยงอีกครั้ง ลุงสำรองมีความพร้อมอยู่แล้วรอการพัฒนาส่งเสริมให้กลับมาสู่ความสำเร็จอีกครั้ง
ลุงสำรอง มีวัวจำนวน ๓๐ กว่าตัว
รายที่สองตอนบ่ายไปเยี่ยมฟาร์มของนายทองแดง นนทภา บ้านปงเคียน ลุงทองแดงมีที่ดินมากเกือบ๗๐ไร่รวมทั้งที่นาและสวนที่อยู่ติกกันภาษาอีสานว่านากอด กำลังทำนาปรัง เลี้ยงวัวไว้ประมาณ ๒๐ ตัวมีมูลโคมากมายไว้ใส่นา ไม่เคยใช้เคมี กำลังจะหันมาเลี้ยงเป็ดกับควายเพราะว่ามีหนองน้ำอยู่แล้ว เพราะว่าวัวดื้อต้อนยากเห็นเพื่อนเครือข่ายแลกเปลี่ยนกันว่าควายราคาดีเลี้ยงก็ง่ายไม่ดื้อ สำหรับเป็ดเคยเลี้ยงแต่กลัวว่าจะไปกินหอยขมที่เคยเก็บขายได้หลายบาทอยู่ ลุงชวนก็แนะนำแบ่งให้เป็นสัดส่วนจะได้ไม่ทำลายกัน

หมายเลขบันทึก: 253812เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2009 13:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มิถุนายน 2013 19:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

มาชม

ผมชอบเกี่ยวกับเรื่องเล่าเหล่านี้ละครับ

ดีใจที่คูณยูมิมาเยี่ยมครับ เป็นงานที่ทำประจำของผมก็เลยนำมาเล่าเผื่ออาจจะมีปปะโยชน์ครับ ขอบคุณที่แวะมา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท