บทที่ 3 ประเมินโครงการ


ประเมินโครงการ

บทที่ 3

วิธีดำเนินการประเมิน

 

          การประเมินการดำเนินงานโครงการสร้างเสริมกิจกรรมวิชาการที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนวังม่วงวิทยาคม จังหวัดสระบุรี  ปีการศึกษา 2550  ในครั้งนี้  เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ของกระบวนการดำเนินงานโครงการ
ผู้ประเมินได้เสนอรายละเอียดของวิธีดำเนินงานประเมิน
โครงการตามลำดับ  ดังต่อไปนี้

                     1.  ลำดับขั้นตอนในการดำเนินงานโครงการ

  2.  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

                     3.  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

                     4.  วิธีการสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล

                     5.  วิธีเก็บและรวบรวมข้อมูล

                     6.  การวิเคราะห์ข้อมูล

                     7.  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์

             

1.  ลำดับขั้นตอนในการดำเนินงานโครงการ

          1.1 ศึกษาหลักการแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการจัดกิจกรรมประกอบการเรียนการสอน

          1.2 ศึกษาข้อมูลจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของโรงเรียนวังม่วงวิทยาคม (SWOT)  และสภาพปัจจุบันปัญหาการพัฒนาการจัดกิจกรรมประกอบการเรียนการสอนในโรงเรียนวังม่วงวิทยาคม

          1.3 แต่งตั้งคณะกรรมการทำงาน

          1.4 กำหนดแนวทางในการจัดกิจกรรม

          1.5 กำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

          1.6 สร้างเครื่องมือโดยยึดถือวัตถุประสงค์ของโครงการ

          1.7 ประชาสัมพันธ์

 1.8  การดำเนินตามโครงการ

          1.9  เก็บรวบรวมข้อมูล

          1.10 สรุปโครงการ  อภิปราย  และข้อเสนอแนะ

          1.11 รายงานผลโครงการ

2.  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

         2.1 ประชากร

                 ประชากร ประกอบด้วยบุคคลที่มีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามโครงการสร้างเสริมกิจกรรมวิชาการที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนวังม่วงวิทยาคม ปีการศึกษา 2550 จำนวน 705 คน ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 2 คน ครูผู้สอน จำนวน 22 คน นักเรียน จำนวน 333 คน ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนวังม่วงวิทยาคม จำนวน 333 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน

         2.2 กลุ่มตัวอย่าง

 2.2.1 ผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling) ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 2 คน ครู จำนวน 22 คนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน  รวมทั้งสิ้น 39 คน

              2.2.2  นักเรียนและผู้ปกครอง ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling)
(บุญชม ศรีสะอาด.2545
: 42) ตามสัดส่วนร้อยละของแต่ละระดับชั้น ได้กลุ่มตัวอย่างนักเรียน จำนวน 100 คน และผู้ปกครองของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 คน

 

3. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ มี 2 ประเภท คือ

  1. แบบสอบถาม มีทั้งหมดจำนวน 5 ฉบับ ดังนี้

  1.1 แบบสอบถามเกี่ยวกับบริบทของโครงการ  (Context  evaluation : C) สอบถาม ผู้บริหาร ครูรับผิดชอบโครงการ และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีลักษณะเป็นข้อคำถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating  scale) 5 ระดับ จำนวน 7 รายการ

  1.2 แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยนำเข้าของโครงการ (Input  evaluation : I) สอบถาม ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีลักษณะเป็นข้อคำถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ จำนวน 7 รายการ

 1.3 แบบสอบถามเกี่ยวกับกระบวนการของโครงการ(Process  evaluation : P)  สอบถามผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและนักเรียน มีลักษณะเป็นข้อคำถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ จำนวน 8 รายการ
แบ่งออกเป็น 8 ฉบับย่อย ดังนี้

                        1.3.1 แบบสอบถามเกี่ยวกับกระบวนการของกิจกรรมพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้สู่ศักยภาพนักเรียน

                        1.3.2 แบบสอบถามเกี่ยวกับกระบวนการของกิจกรรมพัฒนาแหล่งเรียนรู้  สื่อ   นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา

                        1.3.3 แบบสอบถามเกี่ยวกับกระบวนการของกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ โครงงานวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์

                        1.3.4  แบบสอบถามเกี่ยวกับกระบวนการของกิจกรรมมุมรักการอ่านสานฝันนักประดิษฐ์

                        1.3.5 แบบสอบถามเกี่ยวกับกระบวนการของกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์

                        1.3.6 แบบสอบถามเกี่ยวกับกระบวนการของกิจกรรมค่ายคิดวิเคราะห์ เขียน สื่อความ

                        1.3.7 แบบสอบถามเกี่ยวกับกระบวนการของกิจกรรมโรงเรียนสวยด้วย 5 ส

                        1.3.8 แบบสอบถามเกี่ยวกับกระบวนการของกิจกรรมบ้าน วัด โรงเรียน

 1.4 แบบสอบถามเกี่ยวกับผลผลิตของโครงการ (Product  evaluation : P) สอบถามผู้บริหาร  ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และนักเรียน มีลักษณะเป็นข้อคำถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ แบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ

       1.4.1 ศึกษาด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่เกิดขึ้นโดยใช้แบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 8 ฉบับย่อย ดังนี้

                                  1) แบบสอบถามเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนของกิจกรรมพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้สู่ศักยภาพนักเรียน

                                 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนของกิจกรรม

พัฒนาแหล่งเรียนรู้ สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา

                                 3) แบบสอบถามเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนของกิจกรรม

พัฒนาการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์

                                4) แบบสอบถามเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนของกิจกรรมมุมรักการอ่านสานฝันนักประดิษฐ์

                                5) แบบสอบถามเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนของกิจกรรม

ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์

                                6) แบบสอบถามเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนของกิจกรรม
ค่ายคิดวิเคราะห์ เขียน สื่อความ

                               7) แบบสอบถามเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนของกิจกรรม

โรงเรียนสวยด้วย 5 ส

 

                                 8) แบบสอบถามเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนของกิจกรรม

บ้าน วัด โรงเรียน

                    1.4.2 ด้านความพึงพอใจต่อผลผลิตของโครงการสร้างเสริมกิจกรรมวิชาการที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนวังม่วงวิทยาคม จังหวัดสระบุรี ปีการศึกษา  2550  มีลักษณะเป็นข้อคำถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ จำนวน  10  รายการ จำนวน  1  ฉบับ

  1.5  แบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบ ของโครงการสร้างเสริมกิจกรรมวิชาการที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนวังม่วงวิทยาคม จังหวัดสระบุรี  ปีการศึกษา 2550 ซึ่งสอบถามผู้บริหารครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และนักเรียน  มีลักษณะเป็นข้อคำถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ จำนวน 10 รายการ

 

4.  วิธีการสร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือในการเก็บข้อมูล

         ในการสร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือ ผู้รายงานขอเสนอตามขั้นตอน ดังนี้

          1. แบบสอบถามเกี่ยวกับบริบทของโครงการ

แบบสอบถามเกี่ยวกับบริบทของโครงการเพื่อสอบถามผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหาร ครูรับผิดชอบโครงการ และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีลักษณะเป็นข้อคำถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ จำนวน 7 รายการ มีวิธีดำเนินการสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือ ดังนี้

1.1 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการประเมินโครงการด้านบริบท เพื่อนำมากำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน เพื่อประเมินความสอดคล้องของโครงการกับนโยบายของแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนโยบายการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ

1.2 กำหนดรูปแบบของแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale)
 5 ระดับ โดยวิธีการของลิเคิร์ท (Likert) (บุญชม ศรีสะอาด.2545:45) จำนวน 7 รายการ คะแนนที่กำหนดให้กับข้อคำถามที่เป็นมาตราส่วนประมาณค่า มีดังนี้

          มากที่สุด เท่ากับ 5 คะแนน หมายถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด

          มาก           เท่ากับ 4 คะแนน หมายถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก

          ปานกลาง                เท่ากับ 3 คะแนน หมายถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง

          น้อย          เท่ากับ 2 คะแนน หมายถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อย

          น้อยที่สุด                 เท่ากับ 1 คะแนน หมายถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อยที่สุด

โดยใช้เกณฑ์ในการแปลค่าดังนี้

 

 

ค่าเฉลี่ย                                  ระดับความคิดเห็น

4.51 - 5.00                           เหมาะสมมากที่สุด

3.51 - 4.50                           เหมาะสมมาก

2.51 - 3.50                           เหมาะสมปานกลาง

1.51 - 2.50                           เหมาะสมน้อย

1.00 - 1.50                           เหมาะสมน้อยที่สุด

              1.3 นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นไปใช้กับครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 5 คน เพื่อตรวจสอบความเข้าใจทางภาษา และเสนอผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารการศึกษา ด้านการประเมินผลและด้านการวิจัย จำนวน 5 คน เพื่อหา
ความตรงเชิงเนื้อหา
(Content validity) ว่าสิ่งที่ประเมินแต่ละข้อมีความสอดคล้องหรือไม่ โดยใช้เกณฑ์การประเมิน ดังนี้

+1           หมายถึง   แน่ใจว่าสิ่งที่ประเมินมีความสอดคล้องกับเนื้อหา

  0           หมายถึง   ไม่แน่ใจว่าสิ่งที่ประเมินมีความสอดคล้องกับเนื้อหา

 -1          หมายถึง   แน่ใจว่า

คำสำคัญ (Tags): #ประเมินโครงการ
หมายเลขบันทึก: 253663เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2009 20:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 17:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท