เทียนขาว
นาง เพ็ญทิวา เพ็ญทิวา สารบุตร

ขวดคลายเครียด


ขวดคลายเครียด

ขวดคลายเครียด
เพ็ญทิวา สารบุตร
นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

 แนวคิด

เมื่อเกิดความเจ็บป่วยขึ้นมาในร่างกาย อวัยวะทุกสัดส่วนมีความเมื่อยล้าและตึงเครียดไปตามๆกัน การนวดร่างกายมีส่วนสำคัญมากที่ทำให้ผู้ป่วย ผู้สูงอายุได้มีการผ่อนคลายความเครียดความวิตกกังวลกับอาการป่วยและสภาพของร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป แต่การนวดโดยให้ผู้อื่นนวดก็เป็นที่ชื่นชอบของผู้ป่วยและผู้สูงอายุเช่นเดียวกัน แต่หากไม่มีผู้อื่นคอยช่วยในการนวด ผู้ป่วยและผู้สูงอายุสามารถช่วยเหลือตนเองในการนวด เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อได้ น่าจะเป็นสิ่งที่ดีมากกว่า เพราะนั่นแสดงว่า ผู้ป่วยสนใจในการดูแลสุขภาพของตนเองและได้มีการฟื้นฟูสมรรถภาพของตนเองด้วย เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ไม่เป็นโทษต่อร่างกาย นวดได้ทุกเวลา ตอนเช้า ตอนกลางวัน ตอนเย็น ในขณะดูทีวีก็สามารถทำได้
จากข้อมูลของผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการชาตามปลายมือ ปลายเท้า เราพบว่า หากเราใช้กระบวนการใช้ขวดนวดอวัยวะต่างตามร่างกายและโดยเฉพาะบริเวณเท้าและแขน จะสามารถกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดได้เป็นอย่างดี และมีผลต่อการรักษาโรคเบาหวานได้ด้วย ตำบลโคกเพชรมีผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 65 คน มีผู้ที่สูญเสียอวัยวะเนื่องจากอาการเจ็บป่วยจำนวน 1 คน ได้แก่ นางจันชม ใจโชติ ปัจจุบัน อายุ 57 ปี บ้านเลขที่ 24 หมู่ที่ 3 บ้านตาปาง ตำบลโคกเพชร อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ถูกตัดนิ้วเท้าออกข้างละ 2 นิ้ว นิ้วที่เหลือของเท้าทั้ง 2 ข้าง ได้แก่ นิ้วชี้ นิ้วกลางและนิ้วก้อย
จากเหตุการณ์นี้เป็นแรงบันดาลใจอันสำคัญที่ทำให้คนทำงานด้านสาธารณสุข มีความเชื่อว่าต้องเข้าถึงประชาชนให้ได้ ปรับเปลี่ยนความรู้แบบดั้งเดิมของคนไข้ ที่มองว่าเมื่อรักษาไม่หายก็ปล่อยไปตามธรรมชาติ ซึ่ง ในสถานการณ์ปัจจุบันเรื่องของมนุษยธรรมและการเข้าถึงบริการ ใกล้บ้านใกล้ใจ ต้องทำให้ได้จริงๆ ดิฉันไปที่บ้านตาปาง 2 ครั้ง สามารถเปลี่ยนความคิดของยายจันชม ให้เข้าไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลขุขันธ์อีกครั้ง ก่อนการส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลศรีสะเกษ จนมารับการดูแลรักษาแผลต่อที่สถานีอนามัยบ้านโคกเพชรมาโดยตลอด "ร้อยคนพูดไม่เท่าหนึ่งคนที่จริงใจ" ทำอย่างไรให้เขารู้ว่าเราหวังดีกับคนไข้อย่างจริงใจ ต้องการให้เขาหายป่วยหรือไม่ก็เพียงอยู่ในสังคมได้ไม่เป็นภาระของผู้อื่น
เพียงเท่านี้ คนที่เป็นหมออนามัยบ้านนอก ติดชายแดนกัมพูชา ก็มีความสุขแล้ว

 

เรื่องราว

การแนะนำและสาธิตการนวดร่างกายด้วยขวด มีผู้สาธิตได้แก่ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของสถานีอนามัย ชื่อ คุณสุภาวดี ดวงใจ อายุ 36 ปี เธอเป็นผู้ที่มีพรสวรรค์ด้านการนวดมาก ถึงแม้ว่าจะไม่ชอบการนวด แต่ก็ต้องยอมรับว่าได้ดิบได้ดีเพราะการนวด เพราะก่อนที่จะได้มาทำงานที่สถานีอนามัยบ้านโคกเพชรแห่งนี้ เธอทำหน้าที่เป็น อสม. จนมาปี 2548 สถานบริการจะเปิดการนวดแผนไทยในสถานบริการ หัวหน้าลมเย็น ศรีผุย เจ้าพนักงานสาธารณสุขอาวุโส ในปัจจุบันแสวงหาคนเป็น 10 ในตำบลโคกเพชร ก็ไม่มีใครอยากเป็น หมอนวด เพราะมองว่าไม่ดีไม่เหมาะ ไปคุยกับคุณสุภาวดี หลายครั้งเธอก็ไม่ยอมไป สุดท้ายดิฉันต้องไปดำเนินการด้วยตนเอง "ร้อยคนพูดไม่เท่าหนึ่งคนที่จริงใจ" ดิฉันทำสำเร็จทั้งพูดกับคุณสุภาวดี
คุยกับสามีของเธอ คุณพ่อและคุณแม่ จนในที่สุดเธอยอมเข้าร่วมกับการอบรม จาก อสม.ที่ จบ ม.6 กศ.น. ไปอบรม หลักสูตรนวดไทย 372 ชม.ที่โรงพยาบาลขุนหาญ เธอกลับมาเป็นพนักงานนวดไทย ที่ สอ.โคกเพชร ทำให้ สอ.ของเราเป็นที่รู้จักและมีผู้มารับบริการด้านแพทย์แผนไทยเป็นจำนวนมาก รายได้ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 4,500 บาท/เดือน ในปีนั้น

 

 


ในปี 2550 ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้ย้ายไปทำงานในตำแหน่งใหม่ คุณสุภาวดี ดวงใจ ได้ก้าวขึ้นมาแทนในตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ สอ.โคกเพชร ได้ส่ง คุณมลิวรรณ จันสมุด ไปอบรมด้านแพทย์แผนไทย หลักสูตร 372 ชม. ที่ โรงพยาบาลขุนหาญ เธอเป็นผู้ที่มีพรแสวงมากในด้านแพทย์แผนไทย มีความตั้งใจการทำงานเป็นอย่างมาก และพัฒนาฝีมือตนเองอย่างสม่ำเสมอ

คุณมลิวรรณ จันสมุด เป็นอดีตของหมอพื้นบ้านที่ทำหน้าที่ในการ "รำมะม๊วด" ซึ่งเป็นหนึ่งในพิธีกรรมการรักษาผู้ป่วยแบบดั้งเดิมของคนไทยเชื้อสายเขมร ดังนั้น ป้าลิ หรือ คุณมลิวรรณ หญิงวัย 40 ปี ผู้นี้ จึงมีความพิเศษในด้านภูมิปัญญาไทยด้านแพทย์แผนไทยไม่แพ้ใคร
ด้วยภารกิจโครงการศูนย์สมาธิบำบัดสำหรับผู้ป่วยและญาติ ชมรมจริยธรรมตำบลโคกเพชร คนทำงานด้านสาธารณสุข จึงมีสติในการทำงานมากขึ้น มีสมาธิ ซึ่งก่อให้เกิดปัญญา จากกิจกรรม ทาน ศีล และภาวนา เมื่อวันหนึ่งทีมงานพัฒนาด้านสาธารณสุขของสถานีอนามัยบ้านโคกเพชร ได้มีโอกาสประชุมและปรึกษาหารือกัน จึงหาแนวทางในการดูแลผู้ป่วยแบบมีส่วนร่วม ดูแลแบบองค์รวมทั้ง กาย ใจ จิตวิญญาณ และสังคมสิ่งแวดล้อม กิจกรรมขวดคลายเครียด จึงมาจากแรงบันดาลใจของการทำงานด้านสาธารณสุขที่สะสมมาเป็นเวลานาน การดูแลแบบอ่อนโยน การดูแลแบบผ่อนคลาย การให้กำลังใจซึ่งกันและกันในกลุ่มเพื่อนผู้ป่วยด้วยกัน และวัยเดียวกัน


ประโยชน์
กิจกรรมขวดนวดคลายเครียด ทำให้ระบบไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลือง ซึ่งเป็นตัวสำคัญในการนำอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆดีขึ้น
1. การนวดทำให้ผ่อนคลายและเพิ่มการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. การนวดคลายความเมื่อยล้า อ่อนเพลีย หลังจากการใช้แรงงาน
3. การนวดหลังจากการออกกำลัง เช่น เล่นกีฬา จะช่วยขจัดของเสียที่ตกค้าง ช่วยป้องกันการปวดเมื่อย
4. การนวดช่วยป้องกันการปวดเมื่อยที่มักเกิดขึ้นหลังการออกกำลังกาย
5. การนวดช่วยให้กล้ามเนื้อคงรูปได้สัดส่วน ผิวหนังเต่งตึงไม่ห่อเหี่ยว
6. การนวดโดยเฉพาะกล้ามเนื้อที่ไม่ได้ใช้งานของผู้ป่วยที่ต้องนอนอยู่บนเตียงเวลานานๆ การนวดทดแทนการออกกำลังกายบางส่วนได้
7. การทำงานของอวัยวะภายในทุกอย่างจะได้รับการกระตุ้นจากการนวดให้ทำงานได้ดีขึ้น เช่น การย่อยอาหาร
8. การนวดช่วยขัยถ่ายของเสียออกจากร่างกาย
9. การนวดช่วยทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย อารมณ์ปลอดโปร่ง
10. การนวดทำให้เกิดความกระฉับกระเฉง แจ่มใส ลดความเครียดและความวิตกกังวล
การนวดเพื่อสุขภาพ หรือการนวดเพื่อผ่อนคลาย ผู้ที่มารับบริการนวดนั้นส่วนหนึ่งเป็นคนปกติที่ไม่มีโรคใดๆ ชัดเจน เพียงแต่มีอาการเมื่อยล้าเป็นธรรมดา เนื่องจากการเดินทางไกล การทำงานหนัก หรืออยู่ในอิริยาบถใดอิริยาบถหนึ่งเป็นเวลานานๆ หลังจากการนวดแล้วผู้มารับบริการจะรู้สึกสบาย ผ่อนคลาย แจ่มใสและกระฉับกระเฉงขึ้น การนวดบางประเภท เพื่อเป็นการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ ผลการนวดที่ใช้ในการบรรเทาอาหาร หรือรักษาโรคได้นั้นเกิดจากปฏิกิริยาของร่างกายที่ตอบสนองต่อการนวด


การดูแลผู้ป่วยผสมผสานกับการกายบริหารแบบฤาษีดัดตน สร้างความคุ้นเคยให้กับตนเองและเจ้าหน้าที่ ได้มีการสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย

 

 

             การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม  ร่างกาย  จิตใจ  จิตวิญญาณ  สังคมและสิ่งแวดล้อม หน้าที่ของเจ้าหน้าที่สาธารณและบุคลากรทางสาธารณสุขที่ยิ่งทำมากเท่าไหร่ยิ่งมีความสุขมากเท่านั้น  พออยู่พอกินดูแลกันตามอัตภาพ  ใช้ภูมิปัญญาของคนทำงานอย่างแท้จริง  ร่วมด้วยช่วยกันผู้ป่วยจะหายป่วยได้  ด้วยกำลังใจที่ได้รับจากเพื่อนๆ  และการดูแลจากใจของเจ้าหน้าที่นั่นเอง

หมายเลขบันทึก: 253660เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2009 19:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ฉันได้อ่านงานวิจัยในหนังสือ วารสารการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก ได้อ่ายเกี่ยวกับมการนวดด้วยการใช้ขวด

จึงอยากทราบวิธีการประดิษฐ์ขวดและวิธีการนวดที่ถูกวิธี เพื่อที่ฉันจะได้ให้พ่อของฉันที่เป็นโรคเบาหวานได้มาใช้

จึงขอรบกวนให้ช่วยส่งรายละเอียดมาทาง mail

ขอขอบคุณล่วงหน้าด้วยนะคะ

จาก สุปวีณ์กร ตันติประภากุล

การใช้ขวดคลายเครียด สำหรับในกรณีของผู้ป่วยเบาหวานอยู่ที่ในพื้นที่ตำบลโคกเพชร จะใช้ขวดขนาดเล็กที่มีผิวขวดลักษณะเรียบไม่ขรุขระ เพราะผิวหนังของผู้ป่วยจะมีลักษณะบอบบางจะเจ็บได้ง่าย ใช้ผ้าด้ายดิบเย็บหุ้มไว้ เพื่อจับแล้วจะได้ไม่ลื่นมือ ลักษณะเวลาที่ใช้นวด คือ เริ่มต้นขาด้านในข้างซ้าย จับคอขวดไว้ที่มือข้างซ้ายให้มั่นแล้วใช้มือขวาวางสัมผัสที่บนตัวขวด แบบกลิ้งขวด น้ำหนักพอประมาณ ไม่หนักหรือเบาเกินไป นับประมาณ 10 รอบ ไป-กลับ นับ 1 ถัดไปเป็นต้นขาด้านนอกข้างซ้าย ใช้มือขวาจับคอขวดไว้ให้มั่นแล้วใช้มือซ้ายสัมผัสท่ตัวขวด แบบกลิ้ง ลงน้ำหนักพอประมาณ นับ 10 รอบ ไป-กลับ นับ 1 เหมือนกัน

ทำไมไม่เห็น อีเมลล์เลยค่ะ รบกวนส่งอีเมลล์บอกด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท