บทที่ 2 การประเมินโครงการ


ประเมินโครงการ

บทที่ 2

รายละเอียดโครงการ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

 

การประเมินโครงการสร้างเสริมกิจกรรมวิชาการที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียน

วังม่วงวิทยาคม ปีการศึกษา 2550 ครั้งนี้ ผู้ประเมินได้ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

          รายละเอียดโครงการ

โครงการสร้างเสริมกิจกรรมวิชาการที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนวังม่วงวิทยาคม ปีการศึกษา 2550

         เอกสารที่เกี่ยวข้อง

          1. แนวคิดและหลักการบริหารการศึกษา

          2. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (..2550 – 2554)

          3. แผนการศึกษาแห่งชาติ (..2545 – 2559)

4. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ..2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) ..2545

5. นโยบายการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (..2550)

          6. แนวคิดและหลักการบริหารงาน/โครงการ

          7. การประเมินโครงการ

 

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

 

        โครงการสร้างเสริมกิจกรรมวิชาการที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน
โรงเรียนวังม่วงวิทยาคม ปีการศึกษา 2550

(โครงการสร้างเสริมกิจกรรมวิชาการที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนวังม่วงวิทยาคม.2550: 13 -28 )

          1. ความเป็นมาของโครงการ

   สถานศึกษาเป็นสถาบันการศึกษาที่มีภารกิจที่สำคัญ คือ การจัดการเรียนการสอน  การจัด
การเรียนการสอนที่จะทำให้นักเรียนเป็นผู้ที่มีความรู้ทางวิชาการแล้ว สถานศึกษาจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนานักเรียนให้เป็นบุคคลที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านสติปัญญา ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ คือ มีคุณธรรม คุณภาพ และคุณค่า

การเรียนการสอนในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว ไม่อาจพัฒนาให้เกิดลักษณะดังกล่าวได้ ดังนั้นหน้าที่ของสถานศึกษาจึงไม่ใช่เพียงแต่จัดการเรียนการสอนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการพัฒนานักเรียนซึ่งเป็นเยาวชนของชาติให้เป็นบุคคลที่มีความสมบูรณ์ในทุกๆด้านอันจะเป็นการพัฒนาประเทศอย่างมากอีกด้วย การพัฒนานักเรียนซึ่งเป็นเยาวชนในสถานศึกษานั้น มีปัจจัยหลายประการด้วยกัน เช่น การจัดหลักสูตร การเรียนการสอน การบริหารงานของสถานศึกษา สภาพแวดล้อมของสถานศึกษาและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เป็นปัจจัยที่สำคัญในการพัฒนานักเรียน ให้เป็นคนที่สมบูรณ์แบบ จะช่วยสร้างบุคลิกภาพและคุณสมบัติที่ดีของนักเรียน

กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544  ให้เป็นหลักสูตรแกนกลางของประเทศ โดยกำหนดจุดหมาย และมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายและกรอบทิศทางในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมี
ขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีระดับโลก (กระทรวงศึกษาธิการ
.2550: 4 ) พร้อมกันนี้ได้ปรับกระบวนการพัฒนาหลักสูตรให้มีความสอดคล้องกับเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 ที่มุ่งเน้นการกระจายอำนาจทางการศึกษาให้ท้องถิ่นและสถานศึกษาได้มีบทบาทและมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพ และ ความต้องการของท้องถิ่น

นอกจากนั้นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ( พ.ศ. 25502554)  ได้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนจุดเน้นในการพัฒนาคุณภาพคนในสังคมไทยให้ มีคุณธรรม และมีความรอบรู้อย่างเท่าทัน  ให้มีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา  อารมณ์ และศีลธรรม สามารถก้าวทันการเปลี่ยนแปลงเพื่อนำไปสู่สังคมฐานความรู้ได้อย่างมั่นคง แนวการพัฒนาคนดังกล่าว มุ่งเตรียมเด็กและเยาวชนให้มีพื้นฐานจิตใจที่ดีงาม มีจิตสาธารณะ  พร้อมทั้งมีสมรรถนะ ทักษะและความรู้พื้นฐานที่จำเป็นในการดำรงชีวิต อันจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน (สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2549: 12)  ซึ่งแนวทางดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในการพัฒนาเยาวชนของชาติเข้าสู่โลกยุคศตวรรษที่ 21 โดยมุ่งส่งเสริมผู้เรียนมีคุณธรรม รักความเป็นไทย ให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์  สร้างสรรค์ มีทักษะด้านเทคโนโลยี  สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมโลกได้อย่างสันติ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2551: 5) 

จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 และ จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ   ฉบับที่  10 เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคนในสังคมไทย และจุดเน้น
ของกระทรวงศึกษาธิการใน การพัฒนาเยาวชนสู่ศตวรรษที่ 21 โรงเรียนวังม่วงวิทยาคม
จึงเห็นควรให้มีโครงการสร้างเสริมกิจกรรมทางวิชาการที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และจัดกิจกรรมตามโครงการเพื่อเป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน
ตลอดจนผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ซึ่งก่อให้เกิดความร่วมมือในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตลอดจนการบริหารจัดการของสถานศึกษาต่อไป

2. วัตถุประสงค์ของโครงการ

 2.1 เพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการสร้างเสริมกิจกรรมวิชาการที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ให้แก่นักเรียน ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

 2.2 เพื่อให้นักเรียน ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานได้มีส่วนร่วมในโครงการสร้างเสริมกิจกรรมวิชาการที่เอื้อต่อ
การเรียนรู้
และร่วมกิจกรรมหรือโครงการต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนในโรงเรียน

 2.3 เพื่อให้นักเรียนเป็นผู้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่สถานศึกษากำหนด ได้แก่

 ด้านใฝ่รู้  ด้านมีความรับผิดชอบ ด้านระเบียบวินัย และด้านมีมารยาทแบบไทย

3. เป้าหมายของโครงการ

3.1 เชิงปริมาณ

      3.1.1 นักเรียนโรงเรียนวังม่วงวิทยาคม จำนวน 333 คน

      3.1.2 ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียน จำนวน 17 คน

                    3.1.3 ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนวังม่วงวิทยาคม จำนวน 333 คน

3.1.4 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน

3.2 เชิงคุณภาพ

3.2.1 นักเรียน ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมสร้างเสริมกิจกรรมวิชาการที่เอื้อต่อการเรียนรู้

3.2.2  มีกิจกรรมหรือโครงการต่าง ๆ ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนตามแนวทางการสร้างเสริมกิจกรรมวิชาการที่เอื้อต่อการเรียนรู้

3.3.3 นักเรียนได้รับการพัฒนาให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามแนวทางที่สถานศึกษากำหนด กล่าวคือ ด้านใฝ่รู้ ด้านมีความรับผิดชอบ ด้านระเบียบวินัย และด้านมีมารยาทแบบไทย

4. แนวทางในการจัดกิจกรรม

   ในการดำเนินโครงการสร้างเสริมกิจกรรมวิชาการที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์นั้น มีรายละเอียดของกิจกรรม จำนวน 8 กิจกรรม ดังนี้

 

            1. กิจกรรมพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้สู่ศักยภาพนักเรียน

หลักการและเหตุผล

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนั้น โรงเรียนจะต้องจัดกิจกรรมต่างๆให้เหมาะสมกับหลักสูตรและความสอดคล้องต้องการของผู้เรียน  เพื่อให้เกิดการเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้สู่การพัฒนาการด้านร่างกาย  จิตใจ  และสติปัญญา

                วัตถุประสงค์

                เพื่อให้ครูผู้สอนดำเนินการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ สู่การจัดกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน โดยผ่านแผนการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

            วิธีการ/กิจกรรม

                1. ประชุมหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และหัวหน้าระดับเพื่อดำเนินการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ สู่การจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน โดยผ่านแผนการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

            2. ศึกษาทบทวนเอกสารที่เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ สู่การจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน และวิเคราะห์หลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้โดยผ่านแผนการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้  

            3. ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ สู่การจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน โดยผ่านแผนการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ดำเนินการเรียนการสอนจริง

             4. ประเมินผลการเรียนการสอน และนำผลที่ได้มาปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรให้เหมาะสม

             5. เสนอผลการดำเนินการ

          2. กิจกรรมพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา

                หลักการและเหตุผล

            ด้วยโรงเรียนมุ่งให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญโดยให้นักเรียนรู้จัก
การเรียนรู้ด้วยตนเองและใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน และเป็นการส่งเสริมบรรยากาศที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน และองค์ประกอบส่วนหนึ่งที่จะทำให้โรงเรียนและนักเรียนมีคุณภาพ คือ การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน โดยเฉพาะแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นที่โรงเรียนตั้งอยู่ นักเรียนจะต้องเรียนรู้และเข้าใจสภาพต่าง ๆ ของท้องถิ่นอย่างถูกต้องและสามารถบอกกล่าวไปยังประชาชนทั่วไปได้

 

วัตถุประสงค์

 เพื่อให้ครูผู้สอนดำเนินการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา และนำไปส่งเสริมและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สู่การพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน โดยผ่านแหล่งเรียนรู้แผนการเรียนรู้ สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา

วิธีการ/กิจกรรม

 1. ประชุมคณะกรรมการบริหารโรงเรียน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และวิธีการเกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา เพื่อนำไปส่งเสริมและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สู่การพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน โดยผ่านแหล่งเรียนรู้แผนการเรียนรู้ สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาผ่านกระบวนการอบรม

2. จัดทำเอกสารประกอบการอบรม

3.อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สร้างสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา แก่ผู้บริหาร คณะครูและบุคลากรในโรงเรียน

4. สรุปและประเมินผลกิจกรรม

          3. กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ โครงงานวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์

หลักการและเหตุผล

            เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ ดำเนินไปด้วยดี นักเรียนมีความรักและตัดสินใจที่เรียน และนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์- คณิตศาสตร์ ดีขึ้น จึงจัดทำกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ โครงงานวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ นี้ขึ้นมาให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์  คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์

วัตถุประสงค์

เพื่อจัดกิจกรรมให้แก่นักเรียนทุกระดับ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ รู้จักการใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและเป็นไปตามทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

วิธีการ/กิจกรรม

 1. ศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์

 2. ประชุมครูวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ เพื่อชี้แจงบทบาทและหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์

 

 3. จัดทำเอกสารประกอบการเรียนกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ เพื่อ

ให้นักเรียนใช้ประกอบการเรียน

 4.นักเรียนเรียนรู้เอกสารประกอบการเรียนกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์

 5. ประเมินผลการเรียนการสอน และนำผลที่ได้มาปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสม

         4. กิจกรรมรักการอ่านสานฝันนักประดิษฐ์

หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบัน นโยบายทางสังคม

หมายเลขบันทึก: 253662เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2009 20:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท