กลุ่มทฤษฎีการจูงใจ


Theory ตามหลักการบริหารจัดการแบ่งเป็น 3 กลุ่ม

  กลุ่มทฤษฎีในการจูงใจ ในหลักของการบริหารจัดการนั้น แบ่งเป็น 3 กลุ่มทฤษฎี คือ

                1.  กลุ่มทฤษฎียุคดั้งเดิม  เรียกกันว่า  Classical Theory มีนักวิชาการในกลุ่มนี้ ที่ได้รับฉายาว่าเป็น บิดาของการจัดการแบบมีหลักเกณฑ์ คือ เฟรเดอริก วิสโล เทย์เลอร์ วิศวกรชาวอเมริกา ต้นกำเนิดของทฤษฎีด้านการจูงใจคนให้ทำงานตามแบบของ เฟรเดอริก เทย์เลอร์ เพราะเขาเป็นวิศวกรควบการขนถ่ายในเหมืองถ่านหิน จึงมักมีปัญหาในการใช้คน เช่น ในการใช้คน 10 คนในการขนถ่านหินควรจะได้ถ่านหิน 10 กระบะต่อวัน แต่เมื่อนานไปในการใช้คน 10 คนกลับได้จำนวนถ่านหินลดลง เขาจึงบอกว่า น่าจะมีการคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ที่ทำให้คนสามารถขนถ่ายถ่านหินได้มากขึ้น จึงได้คิดค้นเครื่องมือที่เหมาะสมกับงาน เช่น คิดค้นว่าพลั่วและกระบะควรมีน้ำหนักอย่างไร ในการเข็นล้อเลื่อนควรเข็นอย่างไร ผลคือ การคิดค้นเหล่านี้ได้ผล  คือ ในการใช้คน 10 คนในการขนถ่านหินก็ได้ถ่านหิน 10 กระบะต่อวันเท่าเดิม ซึ่งการศึกษาแบบนี้ เรียกว่า การศึกษาเวลาและการเคลื่อนไหว Time motion studies ซึ่งการศึกษาแบบนี้เป็นเพียงการศึกษาทางด้านกายภาพ เป็นการศึกษาว่าเครื่องมืออย่างไรจึงจะเหมาะสมกับงาน โดยเมื่อเขาได้ทดลองเสร็จจึงนำไปตีพิมพ์  แต่ต่อมาเมื่อคนงานของคนไม่สามารถขนถ่านหินออกมาตามจำนวนเดิม เขาจึงเริ่มศึกษาวิธีการจูงใจลูกน้องใหม่ ซึ่งการจูงใจลูกน้องโดยวิธีใหม่นั้น เป็นวิธีที่แพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน คือ การจูงใจโดยการใช้เงิน โดยบอกว่า ต่อไปนี้ไม่มีการจ่ายค่าตอบแทนเป็นเหมาจ่าย แต่จ่ายเป็นรายชิ้น เรียกว่า Piece Rate pay system คือ การจ่ายค่าจ้างเป็นรายชิ้น เขาได้ศึกษาการใช้เงินเป็นการจูงใจ โดยเขาเชื่อว่า คนเรานั้นจะทำงานได้ด้วยแรงจูงใจเพียงอย่างเดียว โดยจากการใช้เงินของคน ทำให้คนงานขนถ่านหินได้วันละ 20 กระบะได้ เพราะมีการจูงใจว่า ถ้าใครขนถ่านหินได้มากก็จะได้เงินมาก ซึ่งเป็นคุณูปการของการบริหารจัดการโรงงานในปัจจุบัน ...จนเขาได้รับฉายาว่า เป็นบิดาแห่งการบริหารจัดการแบบวิทยาศาสตร์ 

                2.  กลุ่มทฤษฎียุคพฤติกรรม ซึ่งเป็นกลุ่มทฤษฎีกลุ่มที่สองเป็นวิวัฒนาการของนักวิชาการกลุ่มที่มองเห็นว่า เฟรเดอริก เทย์เลอร์ มีการจูงใจคนให้ทำงานโดยมองว่าคนเป็นเครื่องจักร ดังนั้น กลุ่มนี้จึงได้ศึกษาทดลองนำโดย ศาสตราจารย์ จอช เคลตัน มาโย ได้ทำการศึกษาทดลองพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม โดยแบ่งคนงานออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 นั้นเป็นกลุ่มที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง คือ เคยทำงานในสภาพใดก็ทำงานในสภาพนั้น กลุ่มที่ 2 นั้นเป็นกลุ่มที่มีการเปลี่ยนแปลง คือ จะเพิ่มในเรื่องค่าจ้าง อุณหภูมิ สวัสดิการต่างๆ และมีการเก็บข้อมูลว่าคนในกลุ่มต่างๆ มีการทำงานในลักษณะอย่างไร ผลจากการเปรียบเทียบการทำงานของคนทั้งสองกลุ่ม ซ้ำแล้วซ้ำอีก ผลปรากฏว่า กลุ่มที่ 1 มีผลงานไม่ด้อยไปกว่ากลุ่มที่ 2 หลังจากนั้นเขาจึงได้ทำการศึกษาจนทราบว่า บุคคลเรานั้น จะมีประสิทธิภาพในการทำงานขึ้นอยู่กับสัมพันธ์ภาพระหว่างบุคคล การจูงใจในแต่ละบุคคลนั้นสามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งสามารถแยกออกเป็นกลุ่มในกลุ่มนี้ เรียกว่า กลุ่มทฤษฎียุคพฤติกรรม  มีอยู่ 5 ทฤษฎีใหญ่ ๆ คือ

                  1.  ทฤษฎีว่าด้วยความต้องการ ของอับบราฮัม มัสโลว์ ซึ่งกล่าวไว้ว่า การจูงใจบุคคลนั้นต้องสามารถตอบสนองความต้องการของคน ซึ่งมีไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อมีความต้องการในระดับหนึ่งแล้ว ก็จะมีความต้องการในระดับที่สูงขึ้นไปอีก เรียกว่า Hierarchy of Need คือ ลำดับแห่งความต้องการของมนุษย์ เพราะฉะนั้นการที่จะจูงใจมนุษย์ คือ ผู้บริหารต้องมีวิธีการจูงใจที่สามารถตอบสนองความต้องการของบุคคลได้ โดยเขาสำรวจความต้องการของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ แล้วนำมาเขียนเป็นทฤษฎีลำดับความต้องการของมนุษย์ที่ยังคงได้รับความนิยมจนถึงปัจจุบันนี้ โดยเขาได้แบ่งลำดับความต้องการของมนุษย์ไว้ 5 ขั้น คือ

                                1)  ความต้องการขั้นพื้นฐาน  หรือที่เรียกว่า ความต้องการทางด้านชีววิทยา ความต้องการทางด้าน Physical Needs หรือความต้องการทางด้านกายภาพ  มนุษย์มีความต้องการทางด้านกายภาพทั้งหมด 4 ด้าน (Basic Needs) ประกอบด้วยความต้องการด้านอาหาร ด้านอาคาร  อาภรณ์ โอสถ ที่เรียกว่า 4. มีความต้องการเป็นลำดับ

                                2)  ความต้องการด้านความมั่นคงปลอดภัย หรือที่เรียกว่า Safety Needs or Security Needs ซึ่งมีทั้งความต้องการด้านความมั่นคงปลอดภัยในทรัพย์สิน ความมั่นคงในการทำงาน ความปลอดภัยในการทำงาน ความมั่นคงในการใช้ชีวิต ดังนั้น มนุษย์จึงแสวงหาความมั่นคงปลอดภัยในการปัจจุบันและในอนาคต เช่น การซื้อประกันชีวิต

                                3)  ความต้องการด้านสังคม หรือที่เรียกว่า Social Needs  หมายถึง ความต้องการในความรัก หรือการที่เป็นที่รัก หรือรักคนอื่น ที่เรียกว่า Love Needs  เช่น ความต้องการเป็นที่ยอมรับในสังคม

                                4)  ความต้องการด้านเกียรติยศ ชื่อเสียง หรือที่เรียกว่า Seft-Esteem Needs หมายถึง ความต้องการที่จะได้รับการยอมรับนับถือ มีเกียรติในสังคม ได้รับการยกย่องจากสังคมและเพื่อนร่วมงาน

                                5)  ความต้องการประสบความสำเร็จสูงสุดในชีวิต หรือที่เรียกว่า Seft-Actualization Needs เช่น บางคนใฝ่ฝันอยากเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ หรือเป็นศิลปินที่ยิ่งใหญ่

                  อับบราฮัม มัสโลว์บอกว่า ถ้าคนเรานั้นยังมีความต้องการระดับต้นอยู่ ก็จะยังไม่มีความต้องการในระดับสูงขึ้นไป ต่อมาก็มีนักจิตวิทยาเพิ่มเติมว่า มนุษย์ยังมีความต้องการมากกว่า 5 ลำดับนี้อีก เรียกว่า ความต้องการลำดับที่ 6 คือ ความต้องการด้านสุนทรียภาพ คือ ความต้องการด้านความรื่นรมย์ ความสบายกายสบายใจ ผู้บริหารต้องคำนึงถึงความต้องการของบุคคลในหน่วยงานเป็นสำคัญ และจะต้องสนองว่า เขาน่าจะมีความต้องการในระดับใด นั่นเป็นการประยุกต์ใช้ทฤษฎีตัวนี้ และต้องมีการส่งเสริมให้ได้รับการตอบสนองความต้องการในลำดับที่สูงขึ้นไปตามความสามารถของแต่ละบุคคล 

                        2.  ทฤษฎีว่าด้วย 2  ปัจจัย ที่เรียกว่า Two Factor Theory  ของเฟรเดอริก เฮสเบิร์ก ซึ่งเขามีข้อสมมุติฐานว่า มนุษย์เรานั้นมีลักษณะที่เรียกว่า สามารถจูงใจได้ เฉพาะปัจจัยที่จะจูงใจ ซึ่งจะแบ่งปัจจัยออกเป็น 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยที่ 1 เรียกว่า ปัจจัยค้ำจุน ซึ่งแปลมาจากภาษาอังกฤษว่า Hygene Factor หมายความถึง ปัจจัยอนามัย ซึ่งช่วยให้ร่างการอยู่ได้ เป็น Maintenance Factor ซึ่งเราเปรียบองค์การ เปรียบเสมือน ร่างกาย ไม่ทำให้ร่างกายนั้น มีความล้มเหลว หรือ ปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ สิ่งที่เรียกว่าเป็นปัจจัยค้ำจุน หรือ ปัจจัยอนามัย คือ ระเบียบ แบบแผน กฎ กติกาขององค์การ รวมถึง ค่าจ้าง และค่าแรงของพนักงาน ถือเป็นปัจจัยค้ำจุนขององค์การ เฟรเดอริก เฮสเบิร์ก กล่าวว่า ปัจจัยค้ำจุนนั้น มิใช่แรงจูงใจ แต่ปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจก็คือ ความเจริญเติบโตของการทำงาน การได้รับความยอมรับนับถือ และความท้าทายในการทำงาน ดังนั้น ในทฤษฎีสองปัจจัยนี้ จึงมีสมมุติฐานว่า มนุษย์เรานั้น จะจูงใจให้สามารถทำงานได้ ต้องใช้ Motivation Factor หรือปัจจัยจูงใจ ประกอบไปด้วย ความสำเร็จในงาน การได้รับความยกย่องนับถือ และที่สำคัญที่สุด คือ การได้มีส่วนร่วมในการบริหารงาน และความก้าวหน้าในการประกอบการณ์

                        3.  ทฤษฎีว่าด้วยความคาดหวัง ของวิกเตอร์ รูม โดยเขาได้สรุปว่า มนุษย์มีความคาดหวังอยู่ 3 ด้าน คือ

                                ประการที่ 1 คาดหวังว่าจะใช้ความพยายามให้สำเร็จ คือ มนุษย์คาดหวังว่าจะสามารถทำงานโดยใช้ความรู้ความสามารถให้ประสบความสำเร็จ

                                ประการที่ 2  คาดหวังว่า ความสำเร็จจะต้องเป็นผลลัพธ์ที่ดี

                                ประการที่ 3 คือ ผลลัพธ์นั้น ก่อให้เกิดความพึงพอใจ

                        4.  ทฤษฎีว่าด้วยความต้องการ ของเดวิด เมกเคลแลนท์ ซึ่งเขากล่าวว่า มนุษย์มีความต้องการอยู่ 3 ประการ คือ

                        ประการที่ 1   มนุษย์ต้องการทำงานให้ประสบความสำเร็จ และต้องการได้รับการยกย่องจากผู้บริหารและเพื่อนร่วมงาน ที่เรียกว่า Needs for Echievment

                        ประการที่ 2   ความต้องการในเรื่องอำนาจ อิทธิพล หรือ Needs for Power คือ ต้องการเรื่องตำแหน่งหน้าที่ที่สูงขึ้น

                        ประการที่ 3   ความต้องการด้านสังคม หรือ Needs for Affiliation ความต้องการที่จะได้รับการยกย่องนับถือ และมีส่วนร่วมในสังคม

                        5.  ทฤษฎี X และ  Y  ของดักกลาส แมกเกรเกอร์ โดยเขาให้สมมุติฐานว่า มนุษย์เราแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

                        ประเภท X ซึ่งมักเป็นมนุษย์ที่มีความเกียจคร้าน ไม่ชอบทำงาน หลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ

                        ประเภท

หมายเลขบันทึก: 253016เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2009 12:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท