ปราสาทเปือยน้อย กู่ที่น่าไปเที่ยวชม


กู่เปือยน้อย ขอนแก่น

มีภาพกู่เปือยน้อยที่ขอนแก่น มาฝากพี่น้องทุกท่าน วันที่ 5-9 เมษายน 2552 จะมีงานแสดงแสง สี เสียง... หากมีเวลาอยากให้เพื่อนๆ ได้แวะไปเที่ยวชม

คำสำคัญ (Tags): #เปือยน้อย
หมายเลขบันทึก: 252673เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2009 07:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ไม่ไกลจากเมืองขอนแก่น... เลย อ.บ้านไผ่ ไปทาง อ.บรบือ มหาสารคาม จากนั้นเลี้ยวขวา ไปประมาณ 26 กม...

 

แล้ว พบกันใหม่นะคะ... นำภาพมาให้ชมเบื้องต้นสองภาพก่อน....

โอ้ย..ภาพสวยมาก เลนส์สุดยอดเลยครับ

การแสดงแสง สี เสียง คงยิ่งใหญ่น่าดูนะครับ :)

สวัสดีค่ะ

  • อยากจะขอร้องให้ลงประวัติเกี่ยวกับกู่เปือยน้อยค่ะ
  • จะรออ่านนะคะ
  • ขอขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

 

กู่เปือยน้อย หรือ พระธาตุกู่ทอง เป็นปราสาทหินศิลปะขอมหรือลพบุรีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบในจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดใกล้เคียงในแถบภาคอีสาน ตอนบน ตั้งอยู่ที่อำเภอเปือยน้อย ระยะทาง 79 กิโลเมตร จากจังหวัดขอนแก่น ชาวบ้านเรียกว่า "ธาตุกู่ทอง" องค์ปรางค์ ปราสาทหันหน้าสู่ทิศตะวันออก สร้างด้วยหินทรายจำหลักลวดลายสวยงาม กำแพงขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบเป็นเขตปราสาท สร้างด้วยศิลาแลง ส่วนหนึ่งขององค์ปรางค์พังทลายลงมาบ้างและอยุ่ะรหว่างการบูรณะ การเดินทางจากขอนแก่นจะใช้ เส้นทางหลวงหมายเลข 2 ขอนแก่น-บ้านไผ่ ระยะทาง 44 กิโลเมตร เข้าเส้นทางสายบ้านไผ่-บรบือ (ทางหลวงหมายเลข 23) ไปอีกประมาณ 11 กิโลเมตร แล้วแยกขวาเข้าสู่อำเอเปือยน้อยอีก 24 กิโลเมตรครับ

กู่เปือยน้อย ถึงแม้จะเป็นปราสาทหินที่มีขนาดไม่ใหญ่เท่ากับปราสาทหินพิมายหรืออีกหลายแห่งที่พบทางอีสานตอนใต้แต่ก็นับเป็นปราสาทเขมรที่สมบูรณ์มากแห่งหนึ่ง ปราสาทเปือยน้อย หรือ ที่ชาวบ้านเรียกว่า พระธาตุกู่ทอง สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 เป็นศิลปะผสมระหว่างศิลปะเขมรแบบบาปวนและแบบนครวัด สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู แผนผังการก่อสร้างมีความหมายเป็นเขาพระสุเมรุซึ่งถือเป็นแกนจักรวาล

อันเป็นที่สถิตย์ของเทพเจ้าที่เรียกว่า “ศาสนบรรพต” สิ่งก่อสร้างภายในบริเวณปราสาทเป็นไปตามแบบแผนของศาสนสถานขอมโบราณ หน้าบันขององค์ปรางค์ประธานสลักเป็นพระยานาคราชมีลวดลายสวยงามมาก ทับหลังสลักเป็นรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ที่นับว่ายังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ "โคปุระ" (ซุ้มประตู) อยู่ทางทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ด้านข้างโคปุระเจาะเป็นช่องหน้าต่าง "กำแพงแก้ว" มีฐานเป็นบัวคว่ำบัวหงาย มีการสลักศิลาแลงเป็นร่องแบบลาดบัว

ใครจะไป หรือใครไปมาแล้ว นำภาพมาแสดงให้เพื่อนๆ ชมด้วยกันนะคะ...

สวัสดีค่ะ

  • ขอขอบพระคุณ๕
  • เคยได้ยินเเร่องเล่า..แบบความเชื่อ
  • ที่เป็นจริง..ยังเล่าต่อกันอีกหรือเปล่าคะ

เล่าว่ายังไงบ้างคะ นิชา เป็นคนรุ่นเด็ก ไม่ทันเรื่องเล่า เลยค่ะ ทันแต่เรื่อง เหล้า อิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท