Area – based research : ข่าวดีจาก สกว.


ผมยังไม่ทราบรายละเอียดมากนักแต่ก็ดีใจมากเพราะจะมีคนที่เก่งและมีประสบการณ์เกี่ยวกับการบริหารจัดการงานวิจัยจาก สกว. มาช่วยถึงที่ จะเป็นโอกาสดีของผมและนักวิจัยในภาคเหนือตอนล่างที่จะได้เรียนรู้อะไรต่ออะไรได้อย่างวิเศษสุด

         ผมดีใจอย่างบอกไม่ถูกที่ทราบข่าวจาก e – mail ของท่านอาจารย์พีรเดช (รศ.ดร.พีรเดช ทองอำไพ – รอง ผอ. สกว.) เมื่อต้นเดือนเมษายน 2549 ว่าท่านอาสาจะมาช่วยนักวิจัยในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างให้สามารถทำวิจัยเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนที่เรียกว่า Area – based research

         นอกจากนี้ยังทราบอีกด้วยว่า ท่าน ผอ.สกว. (ศ.ดร.ปิยะวัติ บุญ-หลง) จะไปช่วยที่ 3 จังหวัดภาคใต้ ภาคใต้ส่วนที่เหลือจะมีท่านอาจารย์ ดร.สุธีระ ไปช่วยและภาคอีสานจะมีท่านอาจารย์ ดร.สีลาภรณ์ไปช่วย

         ผมยังไม่ทราบรายละเอียดมากนักแต่ก็ดีใจมากเพราะจะมีคนที่เก่งและมีประสบการณ์เกี่ยวกับการบริหารจัดการงานวิจัยจาก สกว. มาช่วยถึงที่ จะเป็นโอกาสดีของผมและนักวิจัยในภาคเหนือตอนล่างที่จะได้เรียนรู้อะไรต่ออะไรได้อย่างวิเศษสุด

         คือแทนที่จะต้องเรียนรู้โดยการลองผิด – ลองถูกด้วยตนเองอย่างเดิมก็จะมีคนมาช่วยเป็น coach ให้

         จาก e – mail และจากการพูดคุยระหว่างที่ท่านอาจารย์พีรเดชมาช่วยเป็นวิทยากรให้กับกิจกรรมของเครือข่ายวิจัยภาคเหนือตอนล่างเมื่อวันที่ 20 – 21 เม.ย. 49 ที่ทรัพย์ไพรวัลย์ฯ ผมพอจะจับประเด็นได้ว่า สิ่งสำคัญคือแต่ละพื้นที่จะต้องมีความร่วมมือกันอย่างดีเยี่ยมระหว่างภาคราชการ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาควิชาการ (รวม 4 ภาคี)

         เรา (ท่านอาจารย์พีรเดช และผู้บริหารงานวิจัยจากสถาบันอุดมศึกษาในเขตภาคเหนือตอนล่าง) นัดกันว่าในช่วงเช้าของวันพุธที่ 10 พ.ค. 49 จะมาร่วมปรึกษาหารือกันถึงแนวทางในการดำเนินงานต่อไปกันที่ มน. (ชั้น 2 ตึกมิ่งขวัญ) ส่วนภาคบ่ายนั้นสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ รวมทั้งท่านอาจารย์พีรเดชต้องการให้ มน. นำเสนอระบบการบริหารงานวิจัยของ มน. ในปัจจุบันให้ฟังเพื่อเป็นการ ลปรร.

         นอกจากนี้ เห็นว่าจะมีการปรึกษาหารือกันเพื่อหาทางจัดทำ “วารสารวิชาการ” สำหรับงานวิจัยที่ทำร่วมกับชุมชนซึ่งเป็นเรื่องที่ผมสนใจมากเป็นพิเศษอีกด้วย

         ได้ผลอย่างไรแล้วผมจะนำมาเล่าให้ฟังต่อไปภายหลังครับ

         วิบูลย์ วัฒนาธร

 

หมายเลขบันทึก: 25267เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2006 15:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น
  • เป็นยุทธศาสตร์เชิงรุกที่ดีมากครับ สำหรับสกว. และประจวบเหมาะมากๆ สำหรับมหาวิทยาลัยแม่ข่ายแห่งการวิจัยอย่างมน.ครับ
  • น่าสนใจมากครับ
  • นับว่าเป็นโอกาสดีของนักวิจัยในภาคเหนือครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท