วารสารวิชาการ : ปัญหาที่ยังค้างคาใจ


เรื่องที่รู้สึกเป็นปัญหาค้างคาใจมากกว่าเรื่องอื่น ๆ คือ เรื่องยังไม่มีเวทีที่ดีพอสำหรับนักวิจัยที่เข้าไปทำวิจัยร่วมกับชุมชนที่จะได้มีโอกาสแสดงผลงานวิจัย (ซึ่งต่างจากนักวิจัยที่ทำวิจัยเกี่ยวกับ Academic research ที่มีเวทีมากมาย)

         สืบเนื่องจากบันทึกก่อนหน้านี้ครับ

         1. กิจกรรมประจำปีของเครือข่ายวิจัยภาคเหนือตอนล่าง < Link >

         2. กิจกรรมประจำปีของนเรศวรวิจัย < Link >

         จาก 2 บันทึกก่อนหน้านี้ถ้าดูเผิน ๆ ก็น่าจะพอใจที่ทั้งเครือข่ายฯ และ มน. มีการบริหารจัดการงานวิจัยทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ

         แต่จริง ๆ แล้วยังมีอะไรต่ออะไรที่ยังต้องแก้ไขปรับปรุงอีกจำนวนมาก เรื่องที่เป็นการบ้านค้างคาใจผม เช่น

         - อัตราการขับเคลื่อนทั้ง 6 ยุทธศาสตร์วิจัยของ มน. น่าจะเร็วกว่านี้ การมีส่วนร่วมและปัจจัยเกื้อหนุนน่าจะดีกว่านี้ แต่ก็น่าดีใจที่แนวโน้มจะเร็วและดีขึ้นกว่าที่ผ่าน ๆ มา เป็นอย่างมากในปีถัด ๆ ไป

         - ผมยังรู้จักนักวิจัยของ มน. และของเครือข่ายฯ ไม่มากพอ (ภาควิชาการ)

         - ผมยังรู้จัก Key man ในชุมชนภาคเหนือตอนล่างไม่มากพอ (ภาคราชการ เอกชน ประชาชน)

         - ผมยังรู้จักผู้บริหารงานวิจัยและแหล่งทุนในระดับประเทศและต่างประเทศไม่มากพอ

         - ยิ่งได้อ่านหนังสือที่เขียนโดยท่านอาจารย์สุธีระ ประเสริฐทรัพย์ (ผอ. ฝ่ายอุตสาหกรรม สกว.) แล้วยิ่งมีความรู้สึกว่ายังไม่รู้อะไรอีกเยอะจริง ๆ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการบริหารงานวิจัย

         - ฯลฯ

         เรื่องที่รู้สึกเป็นปัญหาค้างคาใจมากกว่าเรื่องอื่น ๆ คือ เรื่องยังไม่มีเวทีที่ดีพอสำหรับนักวิจัยที่เข้าไปทำวิจัยร่วมกับชุมชนที่จะได้มีโอกาสแสดงผลงานวิจัย (ซึ่งต่างจากนักวิจัยที่ทำวิจัยเกี่ยวกับ Academic research ที่มีเวทีมากมาย)

         ที่เป็นการนำเสนอด้วยวาจาและ poster presentation ก็อาจจะมี “นเรศวรวิจัย” ซึ่งมีการจัดทำ Proceedings ที่ดีพอสมควร

         แต่เวทีที่เป็น “วารสารวิชาการ” ที่ได้มาตรฐานนั้น ผมยังมองไม่เห็นว่าจะแก้ไขได้อย่างไร ทั้ง ๆ ที่เป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อการพัฒนางานวิจัยและต่อการพัฒนาประเทศในภาพรวมด้วย

         ถ้าปล่อยทิ้งไว้เช่นนี้นาน ๆ จะมีคนสนใจทำวิจัยประเภทนี้น้อยลงเรื่อย ๆ เนื่องจากไม่มีเวทีที่ดีพอที่จะนำเสนอผลงานและไม่สามารถนำผลงานไปขอตำแหน่งทางวิชาการหรือรับการประเมินจากใครต่อใครได้ หรือกรณีเป็นนิสิตปริญญาเอก (โดยเฉพาะนิสิตทุน คปก.) ก็จะมีปัญหามากเช่นกันเนื่องจากให้ผลงานดีอย่างไรก็จบไม่ได้เพราะไม่มีวารสารระดับนานาชาติที่ไหนรับตีพิมพ์ผลงานวิจัยประเภทนี้

         ผมจะลงมือทำเองก็เกรงว่าจะทำได้ไม่ดีพอ และยังเห็นว่าไม่ควรทำวิจัยกันเอง ตีพิมพ์กันเอง

         น่าเป็นห่วงมากครับเรื่องนี้

         วิบูลย์ วัฒนาธร

หมายเลขบันทึก: 25263เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2006 15:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น
  • น่าเป็นห่วงจริงๆ ครับ
  • แต่ยังคิดอะไรไม่ออกตอนนี้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท