กิจกรรมประจำปีของนเรศวรวิจัย


ผมจะดีใจและมีกำลังใจมากขึ้นเยอะเลยครับ ถ้าจะมีผู้บริหารงานวิจัยและนักวิจัยของ มน. สนใจและเข้าร่วมกิจกรรมทั้งต้นทาง ระหว่างทาง และปลายทาง นี้มากขึ้นและมากขึ้นในทุก ๆ ปี

         จะคล้ายกันกับของเครือข่ายวิจัยภาคเหนือตอนล่างครับ < Link > คือแบ่งเป็นกิจกรรมต้นทาง ระหว่างทาง และปลายทาง

         จะต่างกันอยู่ตรงที่ กิจกรรมต้นทางและระหว่างทางนั้น มน. จะมีกิจกรรมของตัวเองเพิ่มขึ้นมา เป็นเรื่องภายใน มน. เอง (สถาบันอื่น ๆ ในเครือข่ายฯ ก็คงจะมีเช่นกัน)

         ตัวอย่างเช่นในปี 2549 นี้ มน.ได้จัด “Prelude นเรศวรวิจัย” ที่เป็นส่วนของชาว มน. เองเพิ่มขึ้นมาอีก 2 ครั้ง (ของเครือข่ายฯ ก็มีอยู่แล้ว 2 ครั้ง)

         ครั้งแรก (จัดเมื่อ 10-11 มี.ค. 49 ที่ทรัพย์ไพรวัลย์ < Link >) เป็นกิจกรรมต้นทาง ได้เรียนเชิญ รศ.ดร.พีรเดช ทองอำไพ (รอง ผอ. สกว.) มาช่วยเป็นวิทยากรด้วยเช่นกัน แต่เนื้อหาจะต่างกับของเครือข่ายฯ ตรงที่ของ มน. เองเน้นที่ “การพัฒนาชุดโครงการวิจัยสู่ความเป็นเลิศ” เป็น Academic Research ที่จะนำไปสู่การเป็น Excellence Centers (Selected Fields) ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งในที่สุด ส่วนเนื้อหาหลักของเครือข่ายฯ จะเน้นที่การนำไปใช้แก้ปัญหาของชุมชนในเขตภาคเหนือตอนล่าง

         ครั้งที่สอง (จัดเมื่อ 28 มี.ค. 49 ที่ มน.) เป็นกิจกรรมระหว่างทาง ในครั้งนี้ มน. ได้จัดให้มีการนำเสนอความก้าวหน้าของการดำเนินโครงการวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดินของ มน. (ที่ผ่าน วช.) มีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกและจาก วช. มาช่วยให้ข้อเสนอแนะด้วย

         ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นกิจกรรมของ มน. เองที่เพิ่มขึ้นมาจากกิจกรรมของเครือข่ายฯ แต่ก็เรียกเป็น “Prelude นเรศวรวิจัย” เช่นเดียวกัน จึงอยากจะชี้แจงให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ณ ที่นี้อีกครั้ง จะได้ไม่เกิดการสับสนในการเข้าร่วมโครงการ

         อีกเรื่องหนึ่งที่อยากจะเน้นชี้แจงก็คือ อย่าสับสนในการส่งข้อเสนอโครงการวิจัยมาขอทุน กรุณาช่วยกันดูให้ดีก่อนว่า ว่าเป็นทุนของ มน. เอง (งบประมาณแผ่นดินที่ผ่าน วช.) หรือว่าเป็นทุนของเครือข่ายฯ (สกอ.) หรือว่าเป็นทุนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ (คลินิกเทคโนโลยี) หรือว่าเป็นทุนอื่น ๆ เนื่องจากแต่ละแหล่งทุนจะมีเกณฑ์ในการพิจารณาให้ทุนสนับสนุนต่างกัน

         ส่วนกิจกรรมปลายทาง (“นเรศวรวิจัย” และ “Following นเรศวรวิจัย”) จะใช้เวทีร่วมกัน (ระหว่าง มน. เอง กับทุกสถาบันในเครือข่ายวิจัยภาคเหนือตอนล่าง) เพื่อจะได้มีการ ลปรร. เกี่ยวกับผลงานวิจัยและการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในวงกว้าง เป็นเวทีในระดับประเทศ เปิดโอกาสให้ทั้งนักวิจัยภายในเครือข่ายฯ และที่อยู่นอกเครือข่ายได้เข้าร่วม บางส่วนของงาน “นเรศวรวิจัย” อาจจะเป็นระดับนานาชาติด้วย เช่นในปีนี้ที่ห้องเอกาทศรถ 1 จะมี “International Conference on Forensic Science and Medical Science” เป็นส่วนหนึ่งของงานด้วย

         ผมจะดีใจและมีกำลังใจมากขึ้นเยอะเลยครับ ถ้าจะมีผู้บริหารงานวิจัยและนักวิจัยของ มน. สนใจและเข้าร่วมกิจกรรมทั้งต้นทาง ระหว่างทาง และปลายทาง นี้มากขึ้นและมากขึ้นในทุก ๆ ปี

         วิบูลย์ วัฒนาธร

หมายเลขบันทึก: 25258เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2006 15:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท