เรื่องเล่าเร้าพลัง 3 , 6 และ 9


เรื่องเล่าเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งที่ทรงพลังจริง ๆ

        การจัดกระบวนการเรียนรู้  ดำเนินการมากเท่าไหร่เราได้เรียนรู้เพิ่มมากขึ้นทุกครั้ง  จากประสบการณ์ที่ผ่านมาพบว่า  "เรื่องเล่า" เป็นเทคนิคอย่างหนึ่งที่ทรงพลังจริง ๆ  ผมตั้งชื่อบันทึกเป็นตัวเลขต่อท้าย  เห็นแล้วถ้าไม่เป็นผมซึ่งเป็นผู้บันทึกก็งงอยู่แล้ว  ขอเฉลยเลยดีกว่า  เมื่อวันที่ 17 18 และ19 มีนาคม 2552 ที่ผ่านมานี้  เป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการเกษตรตามปฏิทินระบบส่งเสริมการเกษตร  3 กลุ่มอำเภอของจังหวัดนครศรีธรรมราช(ซึ่งแบ่งตามสภาพพื้นที่) เรา ๆ ชาวนักส่งเสริม เรียกสั้น ๆ ว่า DW ก่อนวัน เวลา ที่ว่าก็ได้ประชุมคณะทำงานการจัดการความรู้(KM Team) เพื่อร่วมกันพิจารณาแผนการจัดกระบวนการ  โดยนำผลจากการประชุมครั้งที่ผ่านมาประกอบ โดยพิจารณาจากผล AAR  เป็นสำคัญ  ส่วนรองลงมาก็คืองานที่รออยู่ จึงได้ผลสรุปเพื่อออกแบบกระบวนการ

         เป้าหมายที่ต้องการคือ  การทำงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  โดยเฉพาะ อบต. เป็นหน่วยงานที่เราชาวนักส่งเสริมการเกษตร   ประสานการทำงานร่วมกันอยู่เสมอในพื้นที่ตำบลหมู่บ้าน การประสานความร่วมมือเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์  แต่ยังไงชาวส่งเสริม ฯ ก็ร่วมปฏิบัติงานได้อยู่แล้ว  จึงลองมาแลกเปลี่ยนกันดูสักหน่อยว่าใครได้ทำอย่างไรกันบ้างผลเป็นอย่างไรในกระบวนการความร่วมมือนี้

        ครั้งนี้ในแต่ละกลุ่มอำเภอ  คุณนิพนธ์ สุขสะอาด ผู้รับผิดชอบงานระบบส่งเสริมการเกษตร  ทำหน้าที่เป็นแมวมองหาคนเด่น  ในผลงานการประสานการทำงานกับ อบต.ที่ประสบความสำเร็จสูงในหลาย ๆ เรื่อง  มาเป็น "คุณเล่า" ช่วยเล่าประสบการณ์ที่ตัวเองทำงานร่วมกันกับ อปท.ให้เพื่อน ๆ ฟัง 3 กลุ่ม อำเภอ จึงมีผู้เล่าทั้งหมด 9 คน แต่อยู่คนละวัน ผมเลยนับแบบสะสมในชื่อบันทึก เป็น 3 , 6 และ 9(เฉลยครับ)  เรื่องเล่าเป็นเนื้อหาที่น่าประทับใจอย่างยิ่งกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น  เพราะเราผู้จัด(KM Team)ไม่ได้บอกเขาล่วงหน้า  แต่ใช้วิธีการเชิญเล่าในเวทีขึ้นมาเฉย ๆ ยิงคำถามเพื่อกระตุ้นให้เล่าให้ได้  เมื่อกระตุ้นจนติดแล้วเราก็นั่งฟังและจับประเด็นบันทึกไปเรื่อย ๆ หากเขาหยุดเล่าเราก็ถาม   "คุณผู้ฟัง" ทั้งหลายก็อย่าเผลอเพราะฟังจบ KM Team ให้นำประเด็นที่จับมาได้ของแต่ละคน  แบ่งกลุ่มเสวนาว่าเขาเล่าอะไรออกมาบ้าง  สรุปให้เรียบร้อยเพื่อนำเสนอ ในการนำเสนอนั้นแต่ละกลุ่มต้องบอกด้วยว่า  ในกลุ่มทำงานกันอย่างไร  และไม่ลืมที่จะนำเสนอ "วิธีการจับประเด็น" ของแต่ละคนจับมาได้อย่างไรด้วยวิธีไหน รวมประเด็นเข้าด้วยกันได้แล้วนำเสนอในนามกลุ่มด้วย และตนเองก็มีประสบการณ์เหมือนกันเติมเต็มเข้าไปด้วยเพื่อให้ได้ประเด็นที่หลากหลาย  

         การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้  มี 3 วัน 3 สถานที่ 3 กลุ่มอำเภอลุ่มน้ำ

        วันที่ 17 มีนาคม 2552  กลุ่มอำเภอลุ่มน้ำปากพนัง  ณ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคใต้  อำเภอพระพรหม

           

 

           

                                                                                             "คุณเล่า"

           

        วันที่ 18 มีนาคม 2552 กลุ่มอำเภอลุ่มน้ำตาปี  ณ  อุทยานน้ำตกโยง  อำเภอทุ่งสง

           

            

            

            

 

        วันที่ 19 มีนาคม 2552 กลุ่มอำเภอลุ่มน้ำกลาย ณ องค์การบริหารส่วนตำบลขนอม  อำเภอขนอม

           

              ท่านนายอำเภอขนอมกล่าวต้อนรับ                นายก อบต.ขนอม กล่าวต้อนรับ

           

           

           

            

             =================================================

                           

                                                   อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ            

หมายเลขบันทึก: 252602เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2009 21:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

มาชม

ภาพกิจกรรมทำดีมีสาระนะครับ

เรียน umi ขอบคุณครับที่มาเยี่ยมทักทาย

ความรู้คือ พลัง

เข้ามาทักทาย  คนบ้านเดียวกัน  ระลึกนึกถึง  คะนึงหา

สวัสดีครับ คุณ ภัทรานิษฐ์ เจริญธรรม

  • ยินดีมาก ๆ ครับ
  • ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท