5 วิธีป้องกันการช็อปหนักหลังตกไข่


...

 > [ Wikipedia ]

ภาพแสดงวงรอบประจำเดือน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นไปตามอิทธิพลของดวงจันทร์ (28 วัน) วันที่ 1 คือ วันแรกที่ประจำเดือนมา, วันที่ 14 คือวันตกไข่ (แสดงด้วยแถบสีเทาแนวดิ่ง)

แถวที่ 1-4 แสดงการเปลี่ยนแปลงในรอบเดือนดังต่อไปนี้

  • (1). > พัฒนาการของไข่ ซึ่งจะตก (แตกออกจากรังไข่) และเข้าไปในท่อรังไข่ในวันที่ 14
  • (2). > อุณหภูมิร่างกายขณะพัก (นิยมวัดตอนตื่นนอนใหม่ๆ) จะพบว่า ครึ่งหลังของรอบเดือนอุณหภูมิสูงขึ้น (ตัวร้อน) ขึ้นเล็กน้อย
  • (3). > ระดับฮอร์โมนหลายชนิด ซึ่งจริงๆ แล้วแบ่งเป็น 2 ช่วง (phase) คือ ก่อนตกไข่ (follicular phase) กับช่วงหลังตกไข่ (luteal phase)
  • (4). > ความหนาของเยื่อบุมดลูก > วันที่ 1-5 มีแถบสีน้ำตาลเข้ม คือ ช่วงที่ประจำเดือนมา เยื่อบุมดลูกจะหลุดออกพร้อมกับตกเลือด หลังจากนั้นจะหนามากขึ้นเรื่อยๆ

...

ศาสตราจารย์คาเรน พายน์ และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยเฮิร์ทฟอร์ดเชอร์ อังกฤษ ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างผู้หญิงอายุ 18-50 ปี 443 คน

ผลการศึกษาพบว่า 2 ใน 3 ของกลุ่มตัวอย่างช็อปกันมันมือที่สุดในช่วง 10 วันก่อนมีประจำเดือน หรือครึ่งหลังของรอบเดือน (luteal phase)

...

กลไกที่เป็นไปได้คือ อิทธิพลของฮอร์โมนช่วงนั้นทำให้เกิดความรู้สึกเครียด (stressed) หรือหดหู่ (depressed)

การไปช็อปปิ้ง ซึ่งเปรียบคล้ายกับการออกไปล่าสัตว์ และมักจะล่าสำเร็จ คือ ได้ของกลับไปเพียบเลย ทำให้ความรู้สึกหดหู่ลดลง

...

ผู้หญิงที่มีความเครียดสูงในช่วงก่อนมีประจำเดือน (pre-menstrual tension) เช่น อารมณ์เปลี่ยนแปลง เครียดหรือหงุดหงิดง่าย ซึมเศร้าเหงาเซง ปวดหัว ปวดท้องน้อย ปวดหลัง รู้สึกแน่นหรือปวดเต้านม ฯลฯ มีแนวโน้มจะช็อปหนักกว่าผู้หญิงทั่วไป [ bupa.co.uk ]

กลไกที่เป็นไปได้อีกอย่างหนึ่งคือ ความต้องการการเอาใจใส่ (feel more attractive) ในช่วงที่มีโอกาสตั้งครรภ์สูงสุด (most fertile) ซึ่งมักจะตรงกับช่วงตกไข่ หรือ 14 วันก่อนมีประจำเดือน

...

กลุ่มตัวอย่างให้ข้อมูลว่า เรื่องที่ชอบช็อปมากขึ้นในช่วงดังกล่าวได้แก่ เพชรพลอย (jewellery), เครื่องสำอาง (make-up), และรองเท้าส้นสูง (high heels)

คณะวิจัยพบว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มจะแต่งตัว "มากเป็นพิเศษ" ในช่วงที่ไข่ "พร้อมจะรับการผสม" หรือหลังวันตกไข่ (วันที่ 14) ใหม่ๆ

...

วิธีที่ดีคือ ให้พยายามหลีกเลี่ยงไม่ไปช็อปปิ้งในช่วงหลังตกไข่ เพื่อไม่ให้เปลืองเงินมากเกินไป ซึ่งทำได้ดังต่อไปนี้

  • (1). จดบันทึกรอบเดือนทุกเดือน เช่น หลีกเลี่ยงการช็อปปิ้งในวันที่ 14-28 หรือ 14 วันก่อนประจำเดือนมาวันแรก ฯลฯ
  • (2). วัดอุณหภูมิตอนตื่นนอนเช้า > ถ้าวันไหนตัวอุ่นขึ้น หรือธาตุไฟเริ่มแรงขึ้น 0.5 องศาเซลเซียส ฯลฯ แสดงว่า วันนั้นตกไข่ ให้ระวังไม่ไปช็อป 7-14 วัน

... 

  • (3). จดบันทึกว่า ช่วงไหนของรอบเดือนที่แต่งกาย "สวยเป็นพิเศษ" ให้ระวังอย่าไปช็อปปิ้งในช่วงนั้น
  • (4). ให้ลดการกินอาหารรสจัด โดยเฉพาะอาหารสำเร็จรูปที่มีเกลือสูง ลดกาแฟหรืออาหารที่มีกาเฟอีน เช่น ชา โกโก้ ชอคโกแล็ต ฯลฯ และงดแอลกอฮอล์ (เหล้า เบียร์ ไวน์ ฯลฯ) ในช่วงนี้ [ bupa.co.uk ]
  • (5). ให้ออกกำลังให้มากในช่วงนี้ เพื่อลดความรู้สึกซึมเศร้า เหงา เซง หรือต้องการความเอาใจใส่ ซึ่งมักจะทำให้ช็อปหนักเกินจำเป็น

...

ตรงกันข้ามทางร้านค้าอาจใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น เครื่องสแกนตรวจอุณหภูมิสาวๆ ที่เข้ามาช็อป... ถ้ารายไหนธาตุไฟแรง หรืออุณหภูมิร่างกายสูงหลังพัก 5-10 นาที ฯลฯ ลูกค้าคนนั้นคงจะมีโอกาสซื้อของสูงกว่าสาวๆ ทั่วไป ซึ่งทางร้านอาจหาคนมาเอาอกเอาใจมากหน่อย

หรือในอนาคตอาจมีเครื่องสแกนตรวจกลิ่นที่ดักจับฮอร์โมนลูกค้าได้... และแล้วสาวๆ ก็หนีเรื่องช็อปหนักไปได้ยากอีกเช่นเคย

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ที่มา >                          

  • Thank BBC > Shopping sprees linked to periods > [ Click ] > March 30, 2009. / Source > Br Psychological Meeting. 
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้ท่านนำไปเผยแพร่ความรู้ได้โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า >  > 31 มีนาคม 2552.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้

หมายเลขบันทึก: 252316เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2009 20:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2012 11:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท