กีฬาพาเพลิน (ตอนว่ายน้ำ)


กีฬาว่ายน้ำถือว่าเป็นการออกกำลังกายเกือบทุกส่วนของร่างกายทีดี อันดับ 2 รองจากการวิ่ง

กติกาว่ายน้ำ

ปี พ.ศ. (2545 – 2548)

************************

ข้อ 1 การจัดการแข่งขัน (MANAGEMENT OF COMPETITIONS)

1.1 คณะกรรมการจัดการแข่งขัน ที่ได้รับการแต่งตั้งจากสหพันธ์ว่ายน้ำนานาชาติ มีอำนาจในการพิจารณาการตัดสินข้อขัดแย้งต่าง ๆ ที่ไม่เป็นไปตามกติกาเหนือว่าผู้ชี้ขาด กรรมการตัดสินหรือเจ้าหน้าอื่น ๆ และยังมีอำนาจในการสั่งให้เลื่อนรายการแข่งขันและให้คำแนะนำที่สอดคล้องตามกติกาทุกกรณี

1.2 ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก (Olympic Games) การแข่งขันชิงแชมป์โลก (World Championships) และการแข่งขันชิงถ้วยเกียรติยศระดับโลก (World Cups) คณะกรรมการสหพันธ์ว่ายน้ำนานาชาติ จะเป็นผู้แต่งตั้งจำนวนเจ้าหน้าที่ในการควบคุมการแข่งขันอย่างน้อย ดังต่อไปนี้

ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก (Olympic Games) การแข่งขันชิงแชมป์โลก (World Championships) และการแข่งขันชิงถ้วยเกียรติยศระดับโลก (World Cups) คณะกรรมการสหพันธ์ว่ายน้ำนานาชาติ จะเป็นผู้แต่งตั้งจำนวนเจ้าหน้าที่ในการควบคุมการแข่งขันอย่างน้อย ดังต่อไปนี้

ผู้ชี้ขาด 1 คน

กรรมการตัดสินท่าว่าย 4 คน

ผู้ปล่อยตัว 2 คน

หัวหน้ากรรมการดูการกลับตัว 2 คน (อยู่ปลายสระด้านละ 1 คน)

กรรมการดูการกลับตัว (อยู่ปลายสระแต่ลู่ ด้านละ 1 คน

หัวหน้าผู้บันทึกเวลา 1 คน

ผู้บันทึกเวลา 1 คน

ผู้รับรายงานตัว 1 คน

กรรมการเชือกฟาวล์ 1 คน

ผู้ประกาศ 1 คน

1.2.1 สำหรับการแข่งขันระดับนานาชาติ คณะกรรมการจัดการแข่งขัน จะแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตำแหน่งต่าง ๆ จำนวนเท่ากันหรือน้อยกว่าตามที่กำหนดก็ได้ โดยจะต้องได้รับการรับรองหรือเห็นชอบจากผู้แทนของสหพันธ์ว่ายน้ำของภูมิภาค ที่มีอำนาจตามความเหมาะสม

1.2.2 เมื่ออุปกรณ์จับเวลาอัตโนมัติไม่สามารถใช้งานได้ต้องมีการแต่งตั้งหัวหน้าผู้จับเวลา ผู้จับเวลาช่องว่ายละ 3 คนและสำรองผู้จับเวลาไว้ 2 คน

1.2.3 ต้องแต่งตั้ง หัวหน้ากรรมการเส้นชัย และกรรมการเส้นชัย ในกรณีที่อุปกรณ์จับเวลาอัตโนมัติ และ/หรือนาฬิกาจับเวลาระบบตัวเลข 3 เรือนต่อหนึ่งช่องว่ายไม่สามารถใช้งานได้

1.3 สระว่ายน้ำและอุปกรณ์ทางเทคนิค สำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและการแข่งขันแชมป์โลก จะต้องได้รับการตรวจสอบและรับรองตามขั้นตอนที่ถูกต้องก่อนจะทำการแข่งขันว่ายน้ำ จากผู้แทนของสหพันธ์ว่ายน้ำนานาชาติร่วมกับคณะกรรมการฝ่ายเทคนิคกีฬาว่ายน้ำ

สระว่ายน้ำและอุปกรณ์ทางเทคนิค สำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและการแข่งขันแชมป์โลก จะต้องได้รับการตรวจสอบและรับรองตามขั้นตอนที่ถูกต้องก่อนจะทำการแข่งขันว่ายน้ำ จากผู้แทนของสหพันธ์ว่ายน้ำนานาชาติร่วมกับคณะกรรมการฝ่ายเทคนิคกีฬาว่ายน้ำ

1.4 อุปกรณ์กล้องวิดีโอใต้น้ำที่ใช้เกี่ยวข้องกับโทรทัศน์ อุปกรณ์เหล่านี้จะต้องมีระบบควบคุมการทำงานและจะต้องไม่กีดขวางการมองเห็น หรือกีดขวางทางนักว่ายน้ำ และต้องไม่เปลี่ยนองค์ประกอบของสระหรือบดบังเครื่องหมายตามที่สหพันธ์ว่ายนานาชาติกำหนดไว้

อุปกรณ์กล้องวิดีโอใต้น้ำที่ใช้เกี่ยวข้องกับโทรทัศน์ อุปกรณ์เหล่านี้จะต้องมีระบบควบคุมการทำงานและจะต้องไม่กีดขวางการมองเห็น หรือกีดขวางทางนักว่ายน้ำ และต้องไม่เปลี่ยนองค์ประกอบของสระหรือบดบังเครื่องหมายตามที่สหพันธ์ว่ายนานาชาติกำหนดไว้

ข้อ 2 กรรมการ เจ้าหน้าที่ (OFFICIALS)

)

2.1 ผู้ชี้ขาด (Refeaee)

ผู้ชี้ขาด (Refeaee)

2.1.1 ผู้ชี้ขาดจะเป็นผู้ควบคุมและมีอำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ทุกคน โดยเป็นผู้พิจารณามอบหมายหน้าที่และให้คำแนะนำกับเจ้าหน้าที่ เกี่ยวกับงานที่มีลักษณะพิเศษหรือระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวกับแข่งขัน เพื่อให้การตัดสินปัญหาทั้งหมดที่มีความเกี่ยวข้อง ตามสภาพความเป็นจริงที่พบเห็นจากการแข่งขันหรือจากผู้ทำการแข่งขัน การตัดสินขั้นสุดท้ายจะถือว่าสิ้นสุด จะเปลี่ยนแปลงการตัดสินเป็นอย่างอื่นไม่ได้

2.1.2 ผู้ชี้ขาดต้องมองดูทุดช่วงขณะทำการแข่งขัน เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นไปตามกติกาการแข่งขัน และจะสามารถวินิจฉัย ในกรณีที่มีการประท้วง ที่อาจจะเกิดขึ้นเกี่ยวกับการแข่งขันได้

2.1.3 กรณีที่ใช้กรรมการเส้นชัย โดยไม่มีนาฬิกาจับเวลาระบบตัวเลข 3 เรือน ผู้ชี้ขาดจำเป็นผู้พิจารณากำหนดตำแหน่งที่ให้ หากอุปกรณ์แบบอัตโนมัติสามารถทำงานได้ก็ให้พิจารณาผลการตัดสิน ตามกติกาข้อ 13

2.1.4 ผู้ชี้ขาดต้องมั่นใจว่า เจ้าหน้าที่ทุกคนปฏิบัติหน้าที่ตรงตามตำแหน่งในขณะแข่งขัน และเป็นผู้พิจารณาแต่งตั้งเจ้าหน้าที่สำรองปฏิบัติหน้าที่แทน เมื่อเจ้าหน้าที่ไม่อยู่ ไร้ความสามารถหรือไม่มีประสิทธิภาพ ผู้ชี้ขาดสามารถแต่งตั้งเจ้าหน้าที่เพิ่มได้ ตามแต่พิจารณาเห็นว่าสมควร

2.1.5 การเริ่มต้นการแข่งขันแต่ละรายการ ผู้ชี้ขาดจะเป็นผู้ให้สัญญาณแก่นักว่ายน้ำ โดยการเป่านกหวีดเสียงสั้น ๆ เพื่อเตือนให้นักว่ายน้ำถอดชุดคลุม จากนั้นจะเป่านกหวีดเสียงยาว นักว่ายน้ำเข้าประจำบนแท่นกระโดด (หรือถ้าเป็นการแข่งขันว่ายแบบการเชียงและการแข่งขันว่ายแบบผลัดผสม นักว่ายน้ำจะต้องลงไปในน้ำโดยมิชักช้า) การเป่านกหวีดยาวเป็นครั้งที่สอง เพื่อเรียกนักว่ายน้ำแบบกรรเชียง และนักว่ายน้ำแบบผลัดผสม รีบเข้าประจำที่เริ่มต้น เมื่อนักว่ายน้ำ และเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ พร้อม ผู้ชี้ขาดจะให้สัญญาณให้ผู้ปล่อยตัวทราบ โดยเหยียดแขน เพื่อแสดงให้นักว่ายน้ำทราบว่าขณะนี้จะอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ปล่อยตัวแล้ว การเหยียดแขนจะคงอยู่ในลักษณะอย่างนั้นจนกระทั่งได้มีการปล่อยตัวออกไป

2.1.6 ผู้ชี้ขาดจะตัดสิทธิ์นักว่ายน้ำ ไม่ว่าคนไหนก็ตามถ้าพบว่ามีการกระทำผิดกติกาการแข่งขัน หรือได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ การตัดสิทธิ์ทุก ๆ กรณีขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ชี้ขาด

2.2 ผู้ปล่อยตัว(Starter)

ผู้ปล่อยตัว(Starter

2.2.1 ผู้ปล่อยตัวจะมีอำนาจควบคุมนักว่ายน้ำอย่างเต็มที่หลักจากผู้ชี้ขาดได้ให้สัญญาณกลับมายังผู้ปล่อยตัว (กติกาข้อ 2.1.5) จนกระทั่งการแข่งขันได้เริ่มขั้น การเริ่มต้นจะต้องดำเนินไปตามกติกาข้อ 4

2.2.2 ผู้ปล่อยตัวจะต้องรายงานต่อผู้ชี้ขาด เมื่อมีนักว่ายน้ำถ่วงเวลาในการเริ่มต้น มีเจตนาไม่เชื่อฟังคำสั่ง หรือกระทำผิดมารยาทในการเข้าประจำที่ ผู้ชี้ขาดสามารถตัดสิทธิ์นักว่ายน้ำที่มีเจตนาถ่วงเวลา หรือกระทำผิดมารยาทได้ การตัดสิทธิ์ดังกล่าวจะไม่นับรวมกับจำนวนครั้งของการฟาวล์ในการเริ่มต้น

2.2.3 ผู้ปล่อยตัวมีอำนาจเต็มในการตัดสิน เพื่อให้การเริ่มต้นมีความถูกต้องยุติธรรม แต่การตัดสินขึ้นอยู่กับผู้ชี้ขาดเท่านั้น

2.2.4 การเริ่มต้นแต่ละรายการ ผู้ปล่อยตัวจะยืนด้านข้างของสระ ห่างประมาณ 5 เมตรจากขอบสระด้านที่ใช้ปล่อยตัว อยู่ในตำแหน่งที่ผู้จับเวลาสามารถมองเห็นหรือได้ยินเสียงสัญญาณปล่อยตัวได้ชัดเจน และนักว่ายน้ำทุกคนก็ต้องสามารถได้ยินเสียงสัญญาณปล่อยตัวอย่างชัดเจนด้วย

2.3 ผู้รับรายงานตัว (Clerk of Course)

ผู้รับรายงานตัว (Clerk of Course)

2.3.1 ผู้รับรายงานตัวจะต้องรวบรวมรายชื่อนักว่ายน้ำจัดเรียงลำดับก่อนหลังของแต่ละรายการ

2.3.2 ผู้รับรายงานตัวต้องรายงานต่อผู้ชี้ขาด ในกรณีที่มีการละเมิดเครื่องหมายการค้าเกินกว่าที่กำหนด (GR 7) และกรณีที่นักว่ายน้ำไม่มารายงานตัว

2.4 หัวหน้ากรรมการดูการกลับตัว (Chief Inspector of Turns)

หัวหน้ากรรมการดูการกลับตัว (Chief Inspector of Turns)

2.4.1 หัวหน้ากรรมการดูการกลับตัว ต้องมั่นใจว่ากรรมการดูการกลับตัวทุกคนสามารถปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับการรายงานจากกรรมการดูการกลับตัว ว่ามีการกระทำผิดกติกาเกิดขึ้นจะต้องรายงานให้ผู้ชี้ขาดทราบทันที

2.4.2 หัวหน้ากรรมการดูการกลับตัว เมื่อได้รับการรายงานจากการกรรมการดูการกลับตัว เมื่อได้รับการรายงานจากกรรมการดูการกลับตัว ว่ามีการกระทำผิดกติกาเกิดขึ้นจะต้องรายงานให้ผู้ชี้ขาดทราบทันที

2.5 กรรมการดูการกลับตัว (Inspector of Turns)

กรรมการดูการกลับตัว (Inspector of Turns)

2.5.1 กรรมการดูการกลับตัวจะถูกกำหนดให้ประจำอยู่ด้านสระและท้ายสระของทุกช่องว่าย

2.5.2 กรรมการดูการกลับตัวแต่ละคนจะต้องมั่นใจว่านักว่ายน้ำไม่ได้ฝ่าฝืนกติกาเกี่ยวกับการกลับตัว โดยเริ่มดูจากการใช้แขนในช่วงสุดท้ายก่อนที่จะแตะขอบสระและจบลงอย่างสมบูรณ์ของการใช้แขนช่วงแรกหลังจากได้กลับตัวแล้ว กรรมการดูการกลับตัวที่ประจำด้านหัวสระและท้ายสระจะต้องมั่นใจว่านักว่ายน้ำปฏิบัติการกลับตัวเป็นไปตามกติกา โดยจากจุดเริ่มต้นและจุดสุดท้ายของการใช้แขนช่วงแรกได้อย่างสมบูรณ์ กรรมการดูการกลับตัวที่ประจำด้านเส้นชัยจะต้องมั่นใจว่านักว่ายน้ำได้เข้าเส้นชัยโดยแตะขอบสระเป็นไปอย่างถูกต้องตามกติกา

2.5.3 ในรายการแข่งขันประเภทบุคคล ระยะทาง 800 เมตร และ 1,500 เมตร กรรมการดูการกลับตัวแต่ละคนที่ประจำอยู่ท้ายสระ จะต้องบันทึกจำนวนรอบที่ว่ายไปแล้วของนักว่ายน้ำในช่องว่ายของตนเอง และต้องแจ้งจำนวนรอบที่เหลือให้นักว่ายน้ำทราบด้วยป้ายแสดงบอกจำนวนรอบ หรืออาจใช้อุปกรณ์กึ่งอัตโนมัติรวมทั้งป้ายแสดงบอกจำนวนรอบใต้น้ำก็ได้

2.5.4 กรรมการดูการกลับตัวแต่ละคนที่ประจำด้านหัวสระจะต้องเป็นให้สัญญาณเตือน เมื่อนักว่ายน้ำในช่องว่ายของตนเหลือระยะทาง 5 เมตรก่อน 2 เที่ยวสุดท้ายที่จะสิ้นสุดการว่ายประเภทบุคคลระยะทาง 800 เมตร และ 1,500 เมตร และต้องให้สัญญาณเตือนหลังจากนักว่ายน้ำกลับตัว จนกระทั่งตรงแนวเชือกธงบอกระยะทาง 5 เมตรเหนือช่องว่าย สัญญาณที่เตือนจะใช้เสียงนกหวีดหรือเสียงระฆังก็ได้

2.5.5 กรรมการดูการกลับตัวแต่ละคนที่ประจำด้านหัวสระจะต้องดูแลในรายการว่ายผลัด ว่าในช่วงรอยต่อ นักว่ายน้ำออกตัวจากแท่นกระโดดก่อนที่นักว่ายน้ำคนก่อนได้แตะขอบสระแล้วหรือยังเมื่อมีการใช้อุปกรณ์จับเวลาอัตโนมัติ สามารถนำมาเป็นเครื่องช่วยตัดสินในการออกตัวในการว่ายผลัด โดยจะให้เป็นไปตามกติกาข้อ 13.1

2.5.6 กรรมการดูการกลับตัว จะต้องรายงานการทำผิดกติกาต่าง ๆ โดยการเขียนรายละเอียดลงในแบบฟอร์ม เช่น รายการแข่งขัน หมายเลขช่องว่าย และสาเหตุของการทำผิดกติกา ให้กับหัวหน้าผู้ดูการกลับตัว เพื่อที่จะรายงานผลดังกล่าวกับผู้ชี้ขาด โดยทันที

2.6 กรรมการตัดสินท่าว่าย (Judges fo Stroke)

กรรมการตัดสินท่าว่าย (Judges fo Stroke)

2.6.1 กรรมการตัดสินท่าว่ายจะอยู่จะอยู่บริเวณด้านข้างของสระแต่ละด้าน

2.6.2 กรรมการตัดสินท่าว่ายแต่ละคน จะต้องเข้าใจกติกาการว่ายแต่ละแบบเป็นอย่างดี โดยต้องสังเกตการว่ายแต่ละรายการต้องเป็นไปตามกติกาการแข่งขันและจะต้องดูการกลับตัวร่วมกับกรรมการดูการกลับตัว

2.6.3 กรรมการตัดสินท่าว่าย จะต้องรายงานการทำผิดกติกาต่าง ๆ ต่อผู้ชี้ขาดโดยการเขียนรายละเอียดลงในแบบฟอร์ม เช่น รายการแข่งขัน หมายเลขช่องว่าย และสาเหตุของการทำผิดกติกา

2.7 หัวหน้าผู้จับเวลา (Chief Timekeeper)

หัวหน้าผู้จับเวลา (Chief Timekeeper)

2.7.1 หัวหน้าผู้จับเวลา จะเป็นผู้กำหนดตำแหน่งสำหรับผู้จับเวลาทุกคน และให้มีหน้าที่รับผิดชอบประจำช่องว่าย โดยแต่ละช่องว่ายจะต้องมีผู้เวลา 3 คน ถ้าเกิดกรณีที่อุปกรณ์จับเวลาอัตโนมัติไม่สามารถใช้งานได้ ในสภาวะดังกล่าวนี้จะต้องใช้ผู้จับเวลาสำรอง 2 คนที่แต่งตั้งไว้แล้ว โดยให้คนใดคนหนึ่งจะต้องทำหน้าที่แทนในกรณีที่นาฬิกาของผู้จับเวลาคนใดไม่ทำงานหรือไม่หยุดในระหว่างการแข่งขัน หรือด้วยเหตุผลอื่นใด ที่ผู้จับเวลาไม่สามารถจับเวลาได้ เมื่อมีการใช้นาฬิกาจับเวลาแบบตัวเลข 3 เรือนต่อหนึ่งช่องว่าย ให้สรุปผลโดยเอาเวลาและลำดับที่มาพิจารณา โดยยึดเอาเวลาที่ได้เป็นหลัก

2.7.2 หัวหน้าผู้จับเวลา จะเป็นผู้รวบรวมใบบันทึกเวลาจากผู้จับเวลาทุกช่องว่าย ใบบันทึกเวลาที่แสดงผลเวลา ถ้าหากมีความจำเป็นก็ขอตรวจสอบกับนาฬิกาเรือนนั้นได้

2.7.3 หัวหน้าผู้จับเวลา จะต้องบันทึกหรือตรวจสอบเวลาอย่างเป็นทางการตามใบบันทึกเวลาของแต่ละช่องว่าย

2.8 ผู้จับเวลา (Timekeepers)

ผู้จับเวลา (Timekeepers)

2.8.1 ผู้จับเวลาแต่ละคน จะต้องของนักว่ายน้ำในช่องว่ายของตนเองที่รับผิดชอบให้เป็นไปตามกติกาข้อ 11.3 ส่วนนาฬิกาจับเวลานั้นจะต้องได้รับการตรวจสอบและรับรอง จากคณะกรรมการจัดการแข่งขัน

2.8.2 ผู้จับเวลาแต่ละคน จะกดเวลาเริ่มต้น เมื่อสัญญาณปล่อยตัวเริ่มขึ้นและกดเวลาให้หยุด เมื่อนักว่ายน้ำในช่องว่ายน้ำของตนเองว่ายเสร็จสิ้นสมบูรณ์หัวหน้าผู้จับเวลาอาจจะแนะนำให้ผู้จับเวลาบันทึกเวลาแต่ละเที่ยวไปด้วย หากการแข่งขันรายการนั้นระยะทางเกินกว่า 100 เมตร

2.8.3 ทันทีที่การแข่งขันสิ้นสุด ผู้จับเวลาในแต่ช่องว่างจะต้องบันทึกเวลาที่จับได้จากนาฬิกาของตน ลงในใบบันทึกเวลาแล้วส่งให้กับหัวหน้าผู้จับเวลา และจะต้องไม่ลบเวลาจนกว่าจะได้รับคำสั่งให้ “ลบเวลา” จากหัวหน้าผู้จับเวลาหรือผู้ชี้ขาด

2.8.4 นอกจากจะมีการใช้ระบบกล้องบันทึกภาพโทรทัศน์สำรองไว้ ผู้จับเวลาก็ยังมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้การจับเวลาเกิดความสมบูรณ์ ถึงแม้ว่าจะมีการใช้อุปกรณ์จับเวลาแบบอัตโนมัติอยู่แล้วก็ตาม

2.9 หัวหน้ากรรมการเส้นชัย (Chief Finish Judge)

หัวหน้ากรรมการเส้นชัย (Chief Finish Judge)

2.9.1 หัวหน้ากรรมการเส้นชัยจะเป็นผู้มอบหมายให้กรรมการเส้นชัยที่ประจำเส้นชัยแต่ละคน รับผิดชอบการพิจารณาลำดับที่การเข้าเส้นชัย

2.9.2 หลังจากเสร็จสิ้นการแข่งขันแต่ละรายการ หัวหน้ากรรมการเส้นชัยจะต้องรวบรวมผลในใบบันทึกจากกรรมการเส้นชัยทุกคน และให้จัดผลตามลำดับที่เข้าเส้นชัย พร้อมลงชื่อรับรองผลเพื่อที่จะนำส่งโดยตรงต่อผู้ชี้ขาด

2.9.3 เมื่อมีการใช้อุปกรณ์จับเวลาแบบอัตโนมัติเป็นเครื่องตัดสินการเข้าเส้นชัยในการแข่งขัน หัวหน้ากรรมการเส้นชัยจะต้องบันทึกลำดับที่ที่ได้จากอุปกรณ์อัตโนมัติหลังจากการแข่งขันแต่ละรายการเสร็จสิ้นลง

2.10 กรรมการเส้นชัย (Finish Judges)

กรรมการเส้นชัย (Finish Judges)

2.10.1 กรรมการเส้นชัย จะต้องนั่งประจำตำแหน่งบนแท่นอัฒจันทร์เส้นชัย ซึ่งอยู่แนวเดียวกับเส้นชัยและสามารถมองเห็นแนวเส้นชัยได้อย่างชัดเจนตลอดเวลา นอกจากนี้หากมีการใช้อุปกรณ์แบบอัตโนมัติ กรรมการเส้นชัยแต่ละคนจะได้รับมอบหมายความรับผิดชอบโดยการ “กดปุ่ม” ในช่องว่ายของตน เพื่อให้มีความสมบูรณ์ที่สุดในการแข่งขัน

2.10.2 หลังจากการแข่งขันแต่ละรายการ กรรมการเส้นชัยจะต้องตัดสินและรายงานลำดับที่ของนักว่ายน้ำ ตามที่ได้รับมอบหมาย กรรมการเส้นชัยจะทำหน้าที่ในการกดปุ่มเท่านั้นจะไม่มีการกระทำหน้าที่เหมือนผู้จับเวลาในรายการนั้น ๆ

2.11 เจ้าหน้าที่ควบคุมผลกาแข่งขัน (Desk Control)

เจ้าหน้าที่ควบคุมผลกาแข่งขัน (Desk Control)

2.11.1 หัวหน้าผู้บันทึกมีหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจสอบผลการแข่งขันที่พิมพ์มาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือผลของเวลาและลำดับที่ ในแต่ละรายการที่ได้รับมาจากผู้ชี้ขาด หัวหน้าผู้บันทึกจะต้องลงลายมือชื่อในผลการแข่งขันร่วมกับลายมือชื่อของผู้ชี้ขาด

2.11.2 ผู้บันทึกจะต้องควบคุมตรวจสอบการขอสละสิทธิ์ หลังจากแข่งขันรอบคัดเลือกหรือรอบชิงชนะเลิศ เก็บเอกสารผลการแข่งขันอย่างเป็นทางการ การรับรองผลที่มีการทำสถิติขึ้นใหม่ทุกรายการและเก็บคะแนนสะสมในการแข่งขัน

2.12 การตัดสินใจในการทำงานของเจ้าหน้าที่ (Officials’Decision Making)

การตัดสินใจในการทำงานของเจ้าหน้าที่ (Officials’Decision Making)

2.12.1 เจ้าหน้าที่ทุกคนจะต้องมีการตัดสินใจอย่างอิสระเป็นของตนเอง และไม่ขึ้นอยู่กับผู้ใด เป็นของแต่ละคนนอกจากนี้ต้องไม่แตกต่างไปจากกติกาของว่ายน้ำ

ข้อ 3 การจัดช่องว่ายในรอบคัดเลือก รอบรองชนะเลิศและรอบชิงชนะเลิศ (SEEDING OF HEATS,SEMI-FINALS AND FINALS)

การจัดช่องว่ายทุกรายการ ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก การแข่งขันชิงแชมป์โลก การแข่งขันระดับทวีป และรายการอื่น ๆ ของสหพันธ์ว่ายน้ำนานาชาติ จะต้องดำเนินการจัดช่องว่ายให้เป็นไปดังนี้

3.1 รอบคัดเลือก (Heats)

รอบคัดเลือก (Heats)

3.1.1 จัดเวลาที่ดีที่สุดของผู้เข้าร่วมแข่งขันทุกคนที่ส่งมาในใบสมัคร ที่เคยทำภายในกำหนดเวลาไม่เกิน 12 เดือนก่อนวันแข่งขัน โดยจะต้องส่งใบสมัคร และรายการแข่งขัน พร้อมกับเวลาต่อคณะกรรมการจัดการแข่งขัน ส่วนนักว่ายน้ำที่ไม่ได้ส่งเวลาจะถูกพิจารณาให้เป็นผู้ที่มีเวลาช้าที่สุดและจะถูกจัดให้อยู่ในลำดับท้ายสุดในบัญชีรายชื่อ นักว่ายน้ำที่ส่งเวลามาเท่ากันหรือนักว่ายน้ำที่ไม่ได้ส่งเวลามา ถ้ามีมากกว่า 1 คน จะพิจารณาการจัดลำดับโดยการจับฉลากนักว่ายน้ำจะถูกจัดให้อยู่ในช่องว่ายตามขั้นตอนของกติกาข้อ 3.1.2 ในกติกาข้อ 3.1.2 นักว่ายน้ำจะถูกจัดให้ว่ายในรอบคัดเลือก โดยขึ้นอยู่กับการพิจารณาเวลาตามวิธีการดังต่อไปนี้

3.1.1.1 ถ้ามีเพียงชุดเดียว จะจัดช่องว่ายแข่งขันเช่นเดียวกับรอบชิงชนะเลิศ และต้องว่ายในช่วงของการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศด้วย

3.1.1.2 ถ้ามี 2 ชุด นักว่ายน้ำที่ว่ายเร็วที่สุดจะอยู่ในชุดที่ 2 นักว่ายน้ำที่ว่ายเร็วที่สุดจะอยู่ในชุดที่ 2 นักว่ายน้ำที่ว่ายเร็วลำดับที่ 2 จะอยู่ในชุดที่ 1 นักว่ายน้ำที่ว่ายเร็วลำดับที่ 3 จะอยู่ในชุดที่ 2 นักว่ายน้ำเร็วลำดับที่ 4 จะอยู่ในชุดที่ 1 โดยจัดสลับชุดอย่างนี้จนครบ

3.1.1.3 ถ้ามี 3 ชุด นักว่ายน้ำที่ว่ายเร็วที่สุดจะอยู่ในชุดที่ 3 นักว่ายน้ำที่ว่ายเร็วลำดับที่ 2 จะอยู่ในชุดที่ 2 นักว่ายน้ำจะอยู่ในชุดที่ 3 นักว่ายน้ำที่ว่ายเร็วลำดับที่ 5 จะอยู่ในชุดที่ 2 และนักว่ายน้ำที่ว่ายเร็วลำดับที่ 6 จะอยู่ในชุดที่ 1 นักว่ายน้ำเร็วลำดับที่ 7 จะอยู่ในชุดที่ 3 โดยจัดสลับชุดอย่างนี้จนครบ

3.1.1.4 ถ้ามี 4 ชุดหรือมากกว่า ใน 3 ชุดสุดท้ายการแข่งขันจะจัดช่องว่ายตามกติกาข้อ 3.1.1.3 ส่วนชุดที่ 4 จะประกอบไปด้วยนักว่ายน้ำเร็วถัดไป สำหรับในชุดที่ 5 จะประกอบไปด้วยนักว่ายน้ำที่ว่ายเร็วถัดต่อไปอีก ในชุดต่อ ๆ ไปก็เช่นกัน ในการจัดช่องว่ายจะพิจารณาตามลำดับเวลาภายในแต่ละชุดโดยรูปแบบการจัดต้องสอดคล้องตามกติกาข้อ 3.1.2

3.1.1.5 ข้อยกเว้น เมื่อรอบคัดเลือกมี 2 ชุดหรือมากกว่า ในแต่ละรายการ จะต้องมีนักว่ายน้ำไม่น้อยกว่า 3 คน ในแต่ละชุด แต่ภายหลังมีการสละสิทธิ์ ดังนั้น จะเหลือนักว่ายน้ำในชุดน้อยกว่า 3 คนก็ได้

3.1.2 ยกเว้น ในรายการแข่งขัน 50 เมตร ในสระ 50 เมตร การพิจารณาช่องว่ายจะจัด (ช่องว่ายที่ 1 จะต้องอยู่ทางขวามือของสระ เมื่อยืนหันหน้าจากจุดสระไปยังปลายสระ) ลำดับนักว่ายน้ำหรือทีมที่ว่ายเร็วที่สุดในช่องว่ายกลางของสระว่ายน้ำตามจำนวนช่องว่ายหรืออยู่ในช่องว่ายที่ 3 หรือ 4 ในสระว่ายน้ำที่มีช่องว่าย 6 หรือ 8 ช่องว่าย ตามลำดับ ส่วนนักว่ายน้ำที่มีเวลาเร็วลำดับถัดไปอยู่ทางซ้ายมือของนักว่ายน้ำคนแรก ต่อจากนั้นคนอื่น ๆ ก็จัดสลับขวาและซ้ายมือของนักว่ายน้ำคนแรก ต่อจากนั้นคนอื่น ๆ ก็จัดสลับขวาและซ้ายให้เป็นไปตามลำดับเวลา ส่วนนักว่ายน้ำที่มีเวลาเท่ากัน จะทำการจับฉลากเพื่อจัดช่องว่าย ตามวิธีที่กล่าวมาแล้ว

3.1.3 เมื่อมีรายการแข่งขัน 50 เมตร ในสระ 50 เมตรการแข่งขันจะอยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการจัดการแข่งขัน โดยให้แต่ละคนเริ่มต้นว่ายจากจุดเริ่มตามปกติไปยังจุดเริ่มต้นหัวสระขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น มีอุปกรณ์อัตโนมัติเพียงพอหรือไม่ตำแหน่งผู้ปล่อยตัวเหมาะสมหรือไม่ และอื่น ๆ คณะกรรมการแน่นอน และชี้แจงให้นักว่ายน้ำทราบก่อนที่จะเริ่มทำการแข่งขันเกี่ยวกับการจัดช่องว่าย นักว่ายน้ำก็ให้ดำเนินการไปตามปกติรวมทั้งการเริ่มต้นและการเข้าเส้นชัย ไม่ว่าจุดเริ่มต้นจะอยู่ที่หัวสระหรือท้ายสระก็ตาม

3.2 รอบรองชนะเลิศและรอบชิงชนะเลิศ (Semi-Finals and Finals)

รอบรองชนะเลิศและรอบชิงชนะเลิศ (Semi-Finals and Finals)

3.2.1 ในรอบรองชนะเลิศ จะให้ดำเนินการไปตามตามกติกา ข้อ 3.1.1.2

3.2.2 หากไม่มีรอบคัดเลือก การจัดช่องว่ายจะให้ดำเนินการไปตามกติกาข้อ 3.1.2 ถ้าหากมีรอบคัดเลือกหรือรอบรองชนะเลิศการจัดช่องว่ายจะให้ดำเนินการไปตามกติกาข้อ 3.1.2 เป็นหลักอย่างไรก็ตาม ยังใช้เวลาเป็นตัวกำหนดในการจัดชุดนั้น ๆ

3.2.3 ในรายการแข่งขันที่มีนักว่ายน้ำในชุดเดียวกันหรือต่างชุดกัน มีเวลาที่ให้จากการแข่งขันเท่ากัน ในอัตราส่วน 1/100 วินาที สำหรับลำดับที่ 8 หรืออันดับที่ 16 เท่ากัน จะต้องทำการว่ายใหม่เพื่อหานักว่ายน้ำที่มีลำดับสูงกว่า เข้าไปแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศสำหรับการว่ายใหม่ เพื่อจัดลำดับที่ ต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมงหลังจากนักว่ายน้ำแข่งขันรอบคัดเลือกเสร็จสิ้นลง เช่นเดียวกันการว่ายใหม่เพื่อจัดลำดับที่ จะเกิดขี้นอีก ถ้าหากเวลายังเท่ากันอีก

3.2.4 หากมีนักว่ายน้ำ 1 คนหรือมากว่า ถอนตัวออกจากการแข่งขันในรอบรองชนะเลิศหรือรอบชิงชนะเลิศ นักว่ายน้ำสำรองไว้จะถูกเรียกเข้าแทน โดยพิจารณาจากการลำดับในรอบคัดเลือกหรือรอบรองชนะเลิศ รายการแข่งขันนั้น ๆ จะต้องมีการจัดเรียงลำดับใหม่และต้องจัดทำเอกสารแจ้งรายละเอียดของการเปลี่ยนแปลงหรือการเปลี่ยนตัวให้ทราบการจัดช่องว่ายใหม่เป็นไปตามกติกาในข้อ 3.1.2

3.3 ในการแข่งขันอื่น ๆ บางทีอาจใช้ระบบการจับฉลากสำหรับการจัดช่องว่ายก็ได้

ในการแข่งขันอื่น ๆ บางทีอาจใช้ระบบการจับฉลากสำหรับการจัดช่องว่ายก็ได้

ข้อ 4 การเริ่มต้น (THE START)

4.1 การเริ่มต้นในการแข่งขันการว่ายแบบฟรีสไตล์ การว่ายแบบกบ การว่ายแบบผีเสื้อ และการว่ายเดี่ยวผสม จะเริ่มจากการกระโดดข้างบนแท่น โดยเมื่อได้ยินเสียงสัญญาณนกหวีดเป่ายาว (กติกา 2.1.5) จากผู้ชี้ขาด นักว่ายน้ำจะก้าวขึ้นไปยืนบนแท่นปล่อยตัวและพักอยู่บนนั้น เมื่อมีคำสั่งของผู้ปล่อยตัวให้ “เข้าที่” (“take your marks”) นักว่ายน้ำทุกคนจะต้องรับเข้าไปอยู่ในตำแหน่งของการตั้งต้นทันทีโดยที่ต้องมีเท้าอย่างน้อยหนึ่งข้างอยู่ที่ปลายสุดของแท่นตั้งต้น ส่วนตำแหน่งของแขนนั้นไม่กำหนด เมื่อนักว่ายน้ำทั้งหมดอยู่ในลักษณะนิ่งผู้ปล่อยตัวจะให้สัญญาณปล่อยตัว

การเริ่มต้นในการแข่งขันการว่ายแบบฟรีสไตล์ การว่ายแบบกบ การว่ายแบบผีเสื้อ และการว่ายเดี่ยวผสม จะเริ่มจากการกระโดดข้างบนแท่น โดยเมื่อได้ยินเสียงสัญญาณนกหวีดเป่ายาว (กติกา 2.1.5) จากผู้ชี้ขาด นักว่ายน้ำจะก้าวขึ้นไปยืนบนแท่นปล่อยตัวและพักอยู่บนนั้น เมื่อมีคำสั่งของผู้ปล่อยตัวให้ “เข้าที่” (“take your marks”) นักว่ายน้ำทุกคนจะต้องรับเข้าไปอยู่ในตำแหน่งของการตั้งต้นทันทีโดยที่ต้องมีเท้าอย่างน้อยหนึ่งข้างอยู่ที่ปลายสุดของแท่นตั้งต้น ส่วนตำแหน่งของแขนนั้นไม่กำหนด เมื่อนักว่ายน้ำทั้งหมดอยู่ในลักษณะนิ่งผู้ปล่อยตัวจะให้สัญญาณปล่อยตัว

4.2 การเริ่มต้นในแข่งขันการว่ายแบบกรรเชียง และการว่ายแบบผลัดผสม จะเริ่มต้นจากในน้ำ โดยเมื่อผู้ชี้ขาดเป่านกหวีดยาวครั้งหนึ่ง (กติกา 2.1.5) นักว่ายน้ำจะต้องรีบลงไปในน้ำทันทีผู้ชี้ขาดเป่านักหวีดยาวครั้งที่สอง นักว่ายน้ำจะต้องไม่ถ่วงเวลา โดยต้องรีบกลับเข้ามาอยู่ในตำแหน่งเริ่มต้นทันที (กติกา 6.1) เมื่อนักว่ายน้ำทั้งหมดเข้าประจำตำแหน่งเริ่มต้นแล้ว ผู้ปล่อยตัวจะออกคำสั่งให้ “เข้าที่” (“take your marks”) นักว่ายน้ำทั้งหมดจะต้องอยู่ในลักษณะนิ่งผู้ปล่อยตัวจะให้สัญญาณปล่อยตัว

การเริ่มต้นในแข่งขันการว่ายแบบกรรเชียง และการว่ายแบบผลัดผสม จะเริ่มต้นจากในน้ำ โดยเมื่อผู้ชี้ขาดเป่านกหวีดยาวครั้งหนึ่ง (กติกา 2.1.5) นักว่ายน้ำจะต้องรีบลงไปในน้ำทันทีผู้ชี้ขาดเป่านักหวีดยาวครั้งที่สอง นักว่ายน้ำจะต้องไม่ถ่วงเวลา โดยต้องรีบกลับเข้ามาอยู่ในตำแหน่งเริ่มต้นทันที (กติกา 6.1) เมื่อนักว่ายน้ำทั้งหมดเข้าประจำตำแหน่งเริ่มต้นแล้ว ผู้ปล่อยตัวจะออกคำสั่งให้ “เข้าที่” (“take your marks”) นักว่ายน้ำทั้งหมดจะต้องอยู่ในลักษณะนิ่งผู้ปล่อยตัวจะให้สัญญาณปล่อยตัว

4.3 ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก (Olympic Games) การแข่งขันชิงแชมป์โลก (World Championships) และรายการแข่งขันอื่น ๆ ของสหพันธ์ว่ายน้ำนานาชาติ (FINA) จะใช้คำสั่งปล่อยตัวเป็นภาษาอังกฤษว่า (“take your marks”) และในการปล่อยตัวจะต้องมีเครื่องขยายเสียงติดตั้ง ในแต่ละแท่นเริ่มต้น

ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก (Olympic Games) การแข่งขันชิงแชมป์โลก (World Championships) และรายการแข่งขันอื่น ๆ ของสหพันธ์ว่ายน้ำนานาชาติ (FINA) จะใช้คำสั่งปล่อยตัวเป็นภาษาอังกฤษว่า (“take your marks”) และในการปล่อยตัวจะต้องมีเครื่องขยายเสียงติดตั้ง ในแต่ละแท่นเริ่มต้น

4.4 นักว่ายน้ำคนใดที่ออกตัวก่อนสัญญาณปล่อยตัวจะดังขึ้น จะถูกตัดสิทธิ์ออกจากว่าย ถ้าเสียงปล่อยตัวดังก่อนมีการกระทำผิด การแข่งขันจะดำเนินต่อไปและเมื่อนักว่ายน้ำหนึ่งคนดังก่อนมีการกระทำผิด การแข่งขันจะดำเนินจะถูกตัดสิทธิ์หลังจากการว่ายเสร็จสิ้นลง ถ้าหากมีการกระทำผิดก่อนสัญญาณปล่อยตัว จะไม่มีการให้สัญญาณปล่อยตัว โดยจะเรียกนักว่ายน้ำทั้งหมดที่เหลืออยู่กลับมา และให้มีการเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง

นักว่ายน้ำคนใดที่ออกตัวก่อนสัญญาณปล่อยตัวจะดังขึ้น จะถูกตัดสิทธิ์ออกจากว่าย ถ้าเสียงปล่อยตัวดังก่อนมีการกระทำผิด การแข่งขันจะดำเนินต่อไปและเมื่อนักว่ายน้ำหนึ่งคนดังก่อนมีการกระทำผิด การแข่งขันจะดำเนินจะถูกตัดสิทธิ์หลังจากการว่ายเสร็จสิ้นลง ถ้าหากมีการกระทำผิดก่อนสัญญาณปล่อยตัว จะไม่มีการให้สัญญาณปล่อยตัว โดยจะเรียกนักว่ายน้ำทั้งหมดที่เหลืออยู่กลับมา และให้มีการเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง

ข้อ 5 การว่ายแบบฟรีสไตล์ (FREESTYLE)

5.1 การว่ายแบบฟรีสไตล์ หมายถึง รายการแข่งขันนั้นกำหนดให้นักว่ายน้ำอาจจะว่ายรูปแบบใดก็ได้ ยกเว้นในรายการว่ายเดี่ยวผสมหรือว่ายผลัดผสมการว่ายแบบฟรีสไตล์หมายถึงการว่ายแบบใดก็ได้ต้องนอกเหนือไปจากการว่ายแบบกรรเชียง การว่ายแบบกบ หรือการว่ายแบบผีเสื้อ

การว่ายแบบฟรีสไตล์ หมายถึง รายการแข่งขันนั้นกำหนดให้นักว่ายน้ำอาจจะว่ายรูปแบบใดก็ได้ ยกเว้นในรายการว่ายเดี่ยวผสมหรือว่ายผลัดผสมการว่ายแบบฟรีสไตล์หมายถึงการว่ายแบบใดก็ได้ต้องนอกเหนือไปจากการว่ายแบบกรรเชียง การว่ายแบบกบ หรือการว่ายแบบผีเสื้อ

5.2 ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายนักว่ายน้ำจะต้องสัมผัสผนังสระ ในเวลากลับตัวและเมื่อเข้าเส้นชัย จึงจะเป็นการว่ายที่ถูกต้องสมบูรณ์

ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายนักว่ายน้ำจะต้องสัมผัสผนังสระ ในเวลากลับตัวและเมื่อเข้าเส้นชัย จึงจะเป็นการว่ายที่ถูกต้องสมบูรณ์

5.3 ส่วนใดส่วนหนี่งของร่างกายนักว่ายน้ำจะต้องโผล่พ้นผิวน้ำตลอดระยะทางที่ทำการแข่งขัน ยกเว้นจะอนุญาตให้นักว่ายน้ำดำน้ำในระหว่างการกลับตัวจนเสร็จสมบูรณ์ และระยะทางต้องไม่เกิน 15 เมตร หลังจากตัวและการกลับตัวแต่ละครั้งโดยนับจากจุดที่ศีรษะโผล่พ้นผิวน้ำ

ส่วนใดส่วนหนี่งของร่างกายนักว่ายน้ำจะต้องโผล่พ้นผิวน้ำตลอดระยะทางที่ทำการแข่งขัน ยกเว้นจะอนุญาตให้นักว่ายน้ำดำน้ำในระหว่างการกลับตัวจนเสร็จสมบูรณ์ และระยะทางต้องไม่เกิน 15 เมตร หลังจากตัวและการกลับตัวแต่ละครั้งโดยนับจากจุดที่ศีรษะโผล่พ้นผิวน้ำ

ข้อ 6 การว่ายแบบกรรเชียง (BACKSTROKE)

6.1 ก่อนที่จะที่มีสัญญาณปล่อยตัว นักว่ายน้ำจะต้องลงไปอยู่ในน้ำเป็นแนวเดียวกัน โดยหันหน้าเข้าหาปลายแท่นกระโดด มือทั้งสองข้างจับที่ยึดของแท่นกระโดดเท้าและรวมไปถึงนิ้วเท้าจะต้องอยู่ใต้ผิวน้ำ ห้ามไม่ให้เหยียบในหรือบนรางน้ำ หรือนิ้วเท้าเกลี่ยเกาะบนขอบของรางน้ำ

ก่อนที่จะที่มีสัญญาณปล่อยตัว นักว่ายน้ำจะต้องลงไปอยู่ในน้ำเป็นแนวเดียวกัน โดยหันหน้าเข้าหาปลายแท่นกระโดด มือทั้งสองข้างจับที่ยึดของแท่นกระโดดเท้าและรวมไปถึงนิ้วเท้าจะต้องอยู่ใต้ผิวน้ำ ห้ามไม่ให้เหยียบในหรือบนรางน้ำ หรือนิ้วเท้าเกลี่ยเกาะบนขอบของรางน้ำ

6.2 เมื่อให้สัญญาณการปล่อยตัวและหลังจากการกลับตัวนักว่ายน้ำจะถีบตัวออกและว่ายในลักษณะนอนหงายตลอดระยะทางที่ทำการแข่งขัน ยกเว้นในขณะที่ทำการกลับตัวให้เป็นไปตามกติกาข้อ 6.4 ตามปกติของการนอนหงายยังจะรวมไปถึงการเคลื่อนไหวโดยการกลิ้งของลำตัวขึ้นมา แต่ลำตัวต้องพลิกไม่เกิน 90 องศาจากแนวนอน ส่วนตำแหน่งของศีรษะไม่ได้กำหนดไว้

เมื่อให้สัญญาณการปล่อยตัวและหลังจากการกลับตัวนักว่ายน้ำจะถีบตัวออกและว่ายในลักษณะนอนหงายตลอดระยะทางที่ทำการแข่งขัน ยกเว้นในขณะที่ทำการกลับตัวให้เป็นไปตามกติกาข้อ 6.4 ตามปกติของการนอนหงายยังจะรวมไปถึงการเคลื่อนไหวโดยการกลิ้งของลำตัวขึ้นมา แต่ลำตัวต้องพลิกไม่เกิน 90 องศาจากแนวนอน ส่วนตำแหน่งของศีรษะไม่ได้กำหนดไว้

6.3 ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายนักว่ายน้ำจะต้องโผล่พ้นผิวน้ำตลอดระยะทางที่ทำการแข่งขัน จะอนุญาตให้นักว่ายน้ำดำน้ำในระหว่างการกลับตัวจนเสร็จสมบูรณ์ และระยะทางต้องไม่เกิน 15 เมตรหลังจากออกตัวและการกลับตัวแต่ละครั้ง โดยนับจากจุดที่ศีรษะโผล่พ้

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 2522เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2005 09:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2012 23:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท