ชีวิต ไร้เหตุผล เป็นสุขยิ่งนัก


 

ตอนนี้  เจอคนมี ความทุกข์เยอะ  ใครทำอะไรให้ก็ดูจะไม่ถูกใจไปสะงั้น  ต้องอย่างนั้น ต้องอย่างนี้

ผมก็เลยสอนว่า  หัดไร้เหตุผลบ้างเถอะ

มีเหตุผลมาก มันก็ทุกข์มาก

เหตุผลที่เราใช้ ตอนนี้ อาจจะเป็นเหตุผลที่เคยถูกต้องเมื่อในอดีต  แต่ บัดนาว อาจจะไม่ใช่

เหตุผลที่เราคิดได้ บัดนาว   อาจจะใช้ไม่ได้อีกในอนาคต

****

เมื่อตัด เหตุผลออกไป  ก็เหลือแต่ เรื่องของ "ใจ"    ใจที่ปกติ  ไม่อกุศล   นี่แหละ  ...

.....คนไร้กรอบ ก็ต้อง เป็น คนไร้เหตุผลด้วย

 

คำสำคัญ (Tags): #ทุกข์#เหตุผล
หมายเลขบันทึก: 251734เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2009 16:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

ขอบคุณมากครับ อาจารย์ จะลองเป็นคนไร้เหตุผล ห้อยแขวนคำพิพากษา ดูบ้างครับ

สวัสดีค่ะ อ.วรภัทร์

ไร้เหตุผล วางใจเป็นกลาง จะเอามาใช้ค่ะ

สาธุ

ไร้เหตุผล  ก็คือ  เหตุผลอย่างหนึ่ง  ที่ทำให้เรียกเป็น ไร้เหตุผล

จริงๆ แล้ว  แทบไม่มีสิ่งใดในชีวืตที่เรียกว่าไร้เหตุผล

อยู่ที่ว่า รับรู้ ที่ กาย หรือ จิต หรือ ความคิด..... มาก หรือ น้อย หรือ เบาบาง จนไม่ยอมรับว่าเป็นเหตุผล

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • ขอขอบพระคุณค่ะ
  • กับข้อคิดเตือนใจ

เหลือแต่ใจ กับจิตใจ ที่ใสตะติงโหน่ง

๑) ในช่วงแรก ไร้เหตุผล เพื่อให้ จิตว่าง เป็นกลาง ห้อยแขวนคำพิพากษา รักไม่มีเงื่อนไข และ กล้า (Open mind, open heart, open will)

๒) พอจิตเป็นกลาง ตัวเหตุผล ที่แท้จริง จะออกมาเอง ตรงนี้แหละ เป็นปัญญา

๓) ถ้าจิตไม่ว่าง ก็กลับไป ข้อ ๑ ใหม่

๔) ทำไปทำมา สติต่อเนื่อง จิตว่างต่อเนื่อง เป็นออโต้ .. ในที่สุด ก็ "นอกเหตุ เหนือผล"

มาอีกรอบ   ~_~

เปรียบเทียบง่ายๆ ตาม สังขาร ที่เราเห็นๆ กัน

วัยเด็ก  หน้าตาสดใจ  ยิ่ง เด็กมาก  ม่มีเรื่องซับซ้อน  ก็จะไม่มีรอยเหี่ยวย่นเลย

แล้วทำไม๊ ?  สังขารยิ่งแก่ ยิ่งสะสมรอยเหี่ยวย่นไว้มาก โดยเฉพาะที่ใบหน้าของคนที่มีความทุกข์ ก็จะยิ่งเหี่ยวย่นมากกว่า คนที่ทุกข์น้อยกว่า ?

คงไม่ใช่ เด็กไม่มีเหตุผล หรอกนะ

นอกเหตุ เหนือผล  กับ ไร้เหตุผล   อืม...   เรื่องเดียวกันหรือเปล่า ?

ถ้ามี ปัญหา อย่างไรก็ยังคงเป็น ปัญหา  ถึงจะไม่คิดถึง ปัญหานั้นก็ยังคงอยู่  จนกว่า จะมีเงื่อนไขอื่นมาทำให้มีการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์กลายเป็นเรื่องอื่นไป ซึ่งอาจเป็นไปในทางที่ดีกว่า หรือ แย่กว่าเดิมก็ได้ ใครจะไปรู้  

การที่บอกว่า ไม่ให้ความสนใจปัญหา เพื่อลดความทุกข์  ก็ยังคงเป็นเหตุผล ไม่ใช่ไร้เหตุผล   ~_~

 

 

มา(นมัสการ^_^) สวัสดีอาจารย์ครับ

  เมื่อตัด เหตุผลออกไป  ก็เหลือแต่ เรื่องของ "ใจ"    ใจที่ปกติ  ไม่อกุศล   นี่แหละ 

   ...จะใช่หรือเปล่าครับอาจารย์  ที่การมีเหตุผลมากๆ  หมายถึงการไม่อยู่กับปัจจุบันขณะ  ณ วินาที่นั้นๆ  หรือสถานการณ์นั้นๆ    แต่เหตุผลคือการเอาความคิดในอดีต  มาเชื่อมโยงกับเรื่องราวปัจจุบัน  หรือมาปรุงกับเรื่องปัจจุบันครับ...

....หรือว่าเหตุผล   ที่เป็นเหตุผลแบบสมมุติ  แบบโลกๆ บางทีก็แก้ได้กับปัญหาหนึ่ง ณ เวลาหนึ่ง  กับปัจจัยหนึ่งๆ   แต่ไม่สามารถนำมาอ้างอิง  เทียบเคียงหรือใช้แก้ปัญหาได้ทุกเรื่องครับ

 

เหตุผลที่เราใช้ ตอนนี้ อาจจะเป็นเหตุผลที่เคยถูกต้องเมื่อในอดีต  แต่ บัดนาว อาจจะไม่ใช่  

 ....เหมือนที่ตอบอาจารย์ไปหรือเปล่าครับ  ที่เพราะว่าจิตเราเกิดดับทุกวินาที...

 

 

   ผมเข้าใจเองว่า  ธรรมที่อาจารย์แสดงเรื่องนี้อาจจะเป็น เรื่องของวิมุติ หรือปรมัติ นะครับ

  ..ถ้าใช้ความคิด  หรือ สมมุติ ตีความ  ก็อาจจะทำให้งง  หรือเข้าใจผิดได้

ผู้เริ่มต้นครับ.....

  เหมือนเรื่อง   Vioce  dialoque สี่ช่องที่เรียนท่านไปวันนั้นครับ

"นอกเหตุ เหนือผล"

สวัสดีครับ อจ

สวัสดีครับอาจารย์ ผมมีความคิดคล้ายกับคุณ muekzero ตามหลักพุทธศาสนาครับ คือ ไม่ใช่เรื่องการมีเหตุผล หรือเป็นเรื่องไม่มีเหตุผล แต่เป็นเรื่อง เหนือเหตุผล ผมเข้าใจว่าการไร้เหตุผลของอาจารย์ น่าจะเป็นเรื่อง เหนือเหตุผล เมื่อจิตนิ่ง ปัญญาก็เกิด ครับ

"นอกเหตุ เหนือผล"

ถ้าเหตุคือเครื่องทำน้ำส้ม ผลก็คือ น้ำส้ม

แต่ถ้า นอกเหตุ เครื่องทำน้ำ... เหนือผลก็อาจจะได้ น้ำ1 น้ำ2 น้ำ3 4 5 6

แต่ชีวิตการทำงานจริงใช้ยากจังเลยครับ อจ - -

พระอาจารย์พุทธทาส...ได้พูดถึง..ตถาตา...มันก็เป็นเช่นนั้นเอง...ถ้าลดตัวกูของกูได้...สมมติ...วิมุติ...ก็จะสมดุล...เดินสายกลาง...จิตว่างก็เกิด...ทุขหาย.

ผมยังเชื่อว่าทุกข์อย่างมีเหตุผล และเหตุผลคือ ธรรมชาติ โดยตัวมันเอง

แต่ที่ท่านไร้กรอบกล่าวว่า "เหตุผล" ทำให้ทุกข์ไม่น่าจะมาจากเหตุผล เพราะเหตุผล เป็นธรรมชาติของมันเอง เป็นเช่นนั้นเอง ไม่น่าจะมีทุกข์อะไร

ที่เราทุกข์ น่าจะมาจาก "เงื่อนไข" ที่เป็น "ฐาน" ของเหตุผลมากกว่า

ที่ทำให้มีการใช้ "อัตตา" เข้าไปตัดสิน ภายใต้เงื่อนไขของ กิเลส ตัณหา ของตนเอง

ผมจึงคิดว่า การใช้เหตุผลแบบไม่มีอัตตา ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร

เช่นการบริโภคเพื่อ...การดำรงอยู่ ก็เป็นเหตุผลของการบริโภคอาหารและยา อย่างมีสติ

แต่ถ้าบริโภคโดยไม่มี(ไร้)เหตุผล ผมว่ามีแนวโน้มจะไปตามกิเลส หรือการขาดสติ ที่ผมนึกไม่ออกว่าจะเกิดอะไรขึ้น

หรือผมเข้าใจอะไรผิดไปหรือเปล่า

ถ้าผิด ช่วยแก้ความโง่ให้ผมด้วยครับ

ชอบ มากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก ครับ

ความว่าง ไร้ ซึ่ง เหตุ และ ผล

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท