งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 37 / สัปดาห์หนังสือนานาชาติครั้งที่ 7 ( 26 มีนาคม - 6 เมษายน 2552)


ก้าวหน้าด้วยการอ่าน หนังสือสร้างเด็ก เด็กสร้างชาติ

ตรวจสอบเวลาที่มีอยู่ก็คงเดินดูงานได้สัก 3-4 ชั่วโมง  พอเพียงที่จะสรรหาหนังสือดีๆที่น่าสนใจติดมือมาอ่านได้สัก 2-3 เล่ม คราวที่แล้วได้มา 10-12 เล่ม ยอมรับว่าบางเล่มยังไม่แกะพลาสติกที่ห่อออกเลย  เพราะส่วนมากก็เป็นเรื่องของนักเขียนนามปากกาว่า    ินทร์  เลียววาริณ  นวเขียนมักจะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างหนัก  อ่านไปต้องคิดวิเคราะห์ตามไปด้วย ไม่ได้อ่านแบบสบายๆแบบนวนิยายประโลมโลกทั่วๆไป  เห็นหลายคนหอบหิ้วถุงหนังสือใบใหญ่เดินผ่านหน้าไป และอีกหลายสิบคนใช้กระเป๋าลากบรรจุหนังสือพองอ้วนใบหน้าอิ่มเอิบเสมือนว่าสุขใจกับการได้ครอบครองหนังสือที่ถูกใจ  ได้เห็นสภาพแบบนี้ยิ่งรู้สึกสบายใจ  ไม่อยากจะเชื่อผลการสำรวจสถิติการอ่านหนังสือของคนไทยที่ว่าอ่านปีละ 2 เล่ม และมีการผลักดันให้ การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ ภายใต้ความร่วมมือของภาคีเครือข่ายขององค์กรต่างๆ พร้อมกับยุทธศาสตร์อื่นๆ ที่นำเสนอขึ้นมาเพื่อเป็นอีกแนวทางในการสนับสนุน และแก้ไขปัญหาการอ่านหนังสือของเด็กไทยให้เพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาหนังสือเด็กและเยาวชนให้มีรูปแบบที่น่าอ่าน การนำเสนอสื่อ e-book เพื่อสร้างความแตกต่างและน่าสนใจ ให้เด็กไทยเข้าถึงมากยิ่งขึ้น     ให้ความร่วมมือ-ร่วมใจพัฒนากันขนาดนี้ก็น่าจะบรรลุผลในไม่ช้านี้  ประเทศที่พัฒนาการศึกษาเป็นอันดับ 1ของโลกอย่างฟินแลนด์  สถิติการอ่านของเขา 80  เล่ม/ปี   


            ผ่านเข้างานครั้งแรกก็ไปที่ Food Center ก่อนเลย   แหม…. กองทัพเดินได้ด้วยท้องนี่นา  หลังจากอิ่มอร่อยกับข้าวยำปักษ์ใต้ก็เริ่มสำรวจงาน  อันดับแรกต้องแวะมุมประชาสัมพันธ์เพื่อรับ Exhibition Guide Map เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียเวลาเดินหาบู้ธของสำนักพิมพ์ที่สนใจ และตรงดิ่งไปที่บู้ธ นิทรรศหนังสือดีเด่น พ..2552 ที่ตั้งเด่นเป็นสง่าตรงทางเข้า เขาแบ่งประเภทของหนังสือออกเป็น 9 กลุ่มคือ
1.    หนังสือสารคดี
2.    หนังสือนวนิยาย
3.    หนังสือกวีนิพนธ์
4.    หนังสือรวมเรื่องสั้น
5.    หนังสือสำหรับเด็กเล็ก 3-5 ปี
6.    หนังสือสำหรับเด็กอายุ 6-10 ปี  มี 2 ประเภทคือ บันเทิงคดี และสารคดี
7.    หนังสือสำหรับวัยรุ่นอายุ  12-18 ปี  มี 3 ประเภทคือ บันเทิงคดี  สารคดีและบทร้อยกรอง
8.    หนังสือการ์ตูนหรือนิยายภาพ
9.     หนังสือสวยงามมี 2 ประเภทคือ สวยงามทั่วไป และสวยงามสำหรับเด็ก
              มีการจัดหนังสือที่ได้รับรางวัลดีเด่นและรางวัลชมเชยของแต่ละกลุ่มโชว์ไว้ด้วย  มีประวัติของผู้เขียน  บทคัดย่อของเรื่อง  พร้อมบอกชื่อสำนักพิมพ์ เลขที่บู้ธและโซน สะดวกต่อการไปหาซื้อ ได้พบบู้ธของการซื้อหนังสือบริจาค  เชิญชวนให้เข้าร่วมเป็นผู้หนึ่งในการทำบุญแห่งปัญญา  ซื้อหนังสือบริจาค 9,999 เล่ม เพื่อเด็กด้อยโอกาสกว่า 1,000,000  คน  เพียงบริจาคเงิน  50  บาท ขึ้นไป รับคำคมเทพรัตน์หนังสือแม่เหล็กเล่มจิ๋วเป็นของที่ระลึกทันที  ได้บริจาคร่วมไปด้วยพอประมาณ   ฝ่ายประชาสัมพันธ์น่าจะต้องประกาศเชิญชวนให้ผู้เข้าร่วมงานได้ยินบ่อยๆ เพราะเนื้อที่บริเวณกว้างขวางเดินเลือกซื้อหนังสือเพลินๆ อาจหลงลืมไม่ได้ไปบริจาค   เพราะทางเข้า-ทางออกของงานมีหลายประตูด้วยกัน  งานนี้เขาจัดได้ดีมีข้อมูลจัดทำเป็นแผ่นพับและเขียนกิจกรรมเด่นๆของแต่ละวันติดบอร์ดประกาศให้เห็นชัดเจน  มีมุมหนังสือของเด็กๆด้วย   เนื่องจากจำกัดด้วยเวลาจึงไม่มีโอกาสเดินสำรวจได้ทั่วถึง แต่สังเกตตรงนิทรรศการ/บู้ธหนังสือนานาชาติ ที่เห็นเนื้อๆก็น่าจะเป็นหนังสือภาพของประเทศเยอรมัน และฝรั่งเศส นอกนั้นไปแอบจัดอยู่บู้ธไหนก็ไม่ทราบ
สิ่งที่สะดุดตาและชอบใจอีกอย่างหนึ่งก็คือการนำกล่องกระดาษเพ้นท์สีสวยงามมาทำเป็นเก้าอี้   ลองนั่งแล้วรู้สึกว่าแข็งแรงพอรับน้ำหนักได้ถึง 60-70 กิโลกรัม    ว่างๆก็มาพัฒนาตนเองด้วยการอ่านดีกว่าเนาะ Develop Yourself by Reading

               

 

       

 

       

 

                      

 

 

 

 

 

                                                      

 

 

http://bangkokibf.com/aboutBKKIBF_thai.php

http://bangkokibf.com/main_thai.html

http://www.naewna.com/news.asp?ID=153160

http://news.sanook.com/economic/economic_259707.php

http://www.bookandreading.com/bookofnational/

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 251728เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2009 15:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท