ผลครั้งที่สอง "น้ำมันพืช" แทน "Toluene"


ต่อจากบันทึกที่แล้ว...หลังจากเริ่มการทดลองชุดที่สองได้ไม่ทันข้ามวัน พบว่าน้ำมันมะพร้าวที่ได้มานั้นเป็นไข แม้ทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องก็เป็นอันว่ายังไม่ทันได้วัดค่าก็พอจะเห็นเค้าลางแล้วว่าน้ำมันมะพร้าวที่นำมาใช้ในครั้งนี้คงไม่ได้ผลแน่นอน เพราะในเมื่อจับตัวกันเป็นก้อนเป็นไขสีขาวเช่นนี้นั่นก็แสดงว่าพื้นผิวของปัสสาวะก็ต้องสัมผัสอากาศเป็นแน่แท้....

และจากการเพิ่มปริมาตรน้ำมันพืชก็ไม่ส่งผลอะไร (เอ๊ะ!! หรือเราจะเพิ่มน้อยเกินไปอีก) แต่คงไม่เพิ่มไปมากกว่านี้เพราะขั้นตอนการดูดปัสสาวะนำมาวัดค่าอาจจะมีน้ำมันรบกวนได้ ซึ่งผลที่ได้ก็เป็นดังเช่นครั้งแรกคือแม้ไม่ใส่สารอะไรเลย เก็บที่อุณหภูมิห้องหรือ4C น้ำมันพืชทั้ง 2 ชนิด Toluene จากการประเมินข้อมูลโดยไม่ใช้โปรแกรมทางสถิติพบว่าไม่แตกต่าง...นอกจากผลการตรวจ Glucose คือผลออกมาเช่นเดียวกับผลการทดลองชุดแรก

อาจเป็นตามที่คาดไว้ในบันทึกผลครั้งแรกในบันทึกที่แล้ว

และสำหรับน้ำมันมะพร้าวพบว่าเป็นน้ำมันที่สกัดจากชาวบ้านธรรมดา ซึ่งการสกัดน้ำมันมะพร้าวยังมีวิธีสกัดเย็นซึ่งจะมีความบริสุทธิ์กว่า  ผู้เขียนโทรหาซื้อน้ำมันมะพร้าวโดยคาดว่าองค์การเภสัชน่าจะมี ซึ่งนายดำอาสาไปซื้อให้แต่พบว่าไม่ใช่วิธีสกัดเย็น แต่เผอิญผู้เขียนไปเดินซื้อเสื้อกับพี่ปนัดดาเขามีออกบูทพบมีน้ำมันมะพร้าวขายด้วย และเป็นวิธีสกัดเย็นอีกด้วย ดีใจมากเลยรีบขอยืมเงินพี่ปนัดดาซื้อมา 1 ขวด ขนาด 85 CC 75 บาท (ผู้เขียนไม่ได้เอาเงินไป อ้อ !!จ่ายเงินคืนพี่ปนัดดาแล้ว) แต่น้ำมันมะพร้าวที่ลงทุนไปนี้กะจะนำมาทดลองวันอังคารที่จะถึง เป็นการทดลองชุดที่ 3

ช่วงค่ำที่ผ่านมาหลังจากพี่โอ๋กระตุ้นให้เขียนบันทึก  เพราะพี่โอ๋เห็นว่าพวกเรามีความกระตือรือร้นในการทดลอง ก็อยากให้ผู้เขียนมาเขียนบรรยายให้ฟัง ผู้เขียนก็บอกไปว่าผลที่ได้มันไม่เป็นไปตามคาด ไม่น่าเขียนเท่าไร เพราะคือถ้าไม่ตรวจ Glucose ในปัสสาวะ24 ชม. ซึ่งแทบจะไม่มีสั่งตรวจเลยก็ว่าได้มีบ้างแต่น้อยมาก  ๆ อย่างนี้ไม่ใส่อะไรเป็นตัว preserve ก็ยังได้ พี่โอ๋บอกว่าจากใบแนบน้ำยาส่วนใหญ่เขาก็ไม่ได้แนะนำให้ใช้สารในการ preserve แต่เราอาจจะไม่คุ้น หากเราทำก็ถือเป็นการเก็บข้อมูล 

ก็เป็นอันว่า...ผลที่ได้ก็เกินคาดน๊ะ เพราะแนวโน้มว่าไม่ใช้สารในการ Preserve ค่าที่ได้ก็ไม่เปลี่ยนแปลง สมมติฐานน้ำมันพืชเราก็ไม่ต้องนำมาใช้

แต่อย่างไรก็กะว่าจะลองข้อมูลเพิ่มอีก และจากการค้นข้อมูล พบว่าน้ำมันมะพร้าววิธีสกัดเย็นมีคุณสมบัติดีจึงอยากรู้ว่าน้ำมันมะพร้าววิธีสกัดเย็นที่ลงทุนควักกระเป๋ามามันจะยับยั้งแบคทีเรียในปัสสาวะ 24 ชม.ได้หรือไม่ และมันจะเป็นไขรึเปล่า?? วันอังคารที่จะถึงก็คงจะรู้ !!!

 

อ้อ !! บันทึกนี้ฝากข้อคิดไว้กับความตั้งใจของตัวเองสักกะติ๊ด  แม้ผลที่ได้จะเป็นการลองผิดลองถูกแต่นั่นก็คือการเรียนรู้ และทำให้ผู้เขียนตั้งใจไว้เลยว่าต่อแต่นี้ไปจะพยายามทำดี พูดดีและคิดแต่สิ่งดี  ๆ

คำสำคัญ (Tags): #toluene#น้ำมันพืช
หมายเลขบันทึก: 251571เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2009 20:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 12:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

มาขอบคุณเจ้าของเรื่องค่ะ สมกับที่คิดเลยว่า ต้องเป็นเจ้าของเรื่องเขียนเองนี่แหละนะคะ ได้อรรถรสครบถ้วนดีจัง  

พี่เม่ยรีบเข้าระบบเพื่อมา"เม้นท์" โดยเฉพาะเลยค่ะ...

เรื่อง toluene เนี่ยเป็นไม้เบื่อไม้เมากับพี่เม่ยมานาน เคยใช้เป็นตัวสกัดโปรตีนออกจากน้ำเลือดเพื่อทดสอบชนิดและปริมาณของฮีโมโกลบิน จนสุดท้ายก็หาวิธีเลิกใช้ไปจนได้พร้อมๆกับได้วิธีง่ายๆในการเตรียมน้ำเลือดลงตีพิมพ์หนึ่งเรื่อง คุณศิริรีบๆหาวิธีเลิกใช้เร็วๆเข้า เพราะผลประโยชน์มหาศาลทั้งต่อผู้ใช้ และสิ่งแวดล้อม...เชียร์ค่ะ

อ่านวัตถุประสงค์หลักของการใช้โทลูอีนในการเก็บปัสสาวะ...เพื่อป้องกันไม่ให้ปัสสาวะสัมผัสกับอากาศเพื่อป้องกันเชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโต คำถามของพี่เม่ยก็คือ หากเปลี่ยนมาใช้น้ำมันประกอบอาหารที่สกัดจากวัตถุดิบที่มีสารอาหารที่แบคทีเรียชื่นชอบ จะทำให้มีผลข้างเคียงว่าทำให้แบคทีเรียรวมถึงเชื้อราให้ความสนใจมาเจริญเติบโตได้มากขึ้นหรือไม่? อีกอย่างคือ เราจะเลือกใช้วัสดุอื่นๆที่ไม่ใช่สารเคมีแทนได้หรือไม่ เช่นใส่เม็ดโฟมกลมๆที่แกะจากแผ่นโฟมที่ใช้แล้ว (ก็ไหนๆต้องทิ้งอยู่แล้วก็นำมาใช้ประโยชน์ก่อน) ใส่ไว้ที่ก้นขวดในปริมาณพอสมควร พอเก็บปัสสาวะลงไปมันก็จะลอยเป็นแพอยู่ข้างบน เวลาทดสอบเสร็จก็กรองทิ้งขยะได้....

ชื่นชมคุณศิรินะ กับความเป็นคน "คิดจริงทำจริง" ค่ะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท