สรุปวิจัยชิ้นที่ 2


ปัจจัยส่งผลต่อความผูกพันกับองค์การ โดยมีความพึงพอใจในงานเป็นตัวแปรสื่อ

 

สรุปสาระสำคัญของการวิจัย

 

1.       ชื่อเรื่อง                ปัจจัยส่งผลต่อความผูกพันกับองค์การ โดยมีความพึงพอใจในงานเป็นตัวแปรสื่อ

2.       ผู้วิจัย    ชวัลณัฐ  เหล่าพูนพัฒน์

3.       ปีที่วิจัย                2548

4.      วัตถุประสงค์

                    เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่งผลกับความผูกพันกับองค์การกับความผูกพันกับองค์การ โดยมีความพึงพอใจในงานเป็นตัวแปรสื่อ

5.      วิธีวิจัย

            วิธีการ

เชิงคุณภาพ

            กลุ่มตัวอย่าง

พนักงานประจำของบริษัทในเครือซีเมนต์ไทย  จำนวน  386  คน

            เครื่องมือ

มาตราวัดการได้รับการยอมรับจากองค์การ

มาตราวัดความเป็นที่พึ่งพิงได้ขององค์การ

มาตราวัดภาวะผู้นำแบบปฏิรูป

มาตราวัดการรับรู้ความยุติธรรม

มาตรวัดความพึงพอใจในงาน

มาตรวัดความผูกพันกับองค์การ

            วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล

            มีการเก็บรวบรวมข้อมูล 2 ครั้ง การเก็บข้อมูลครั้งที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณภาพของมาตรวัด โดยผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากพนักงานประจำของบริษัทในเครือซิเมนต์ไทย ที่ไม่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ จำนวน 55 คน การเก็บข้อมูลครั้งที่  2 มีวัตถุประสงค์เพื่อนำข้อมูลมาทดสอบสมมติฐานในการวิจัย

            ผู้วิจัยแจกแบบสอบถามแก่พนักงานประจำ ของบริษัทในเครือซิเมนต์ไทย จำนวน 550 ชุด สามารถเก็บคืนได้ 420 ชุด คิดเป็นร้อยละ 76 ผู้วิจัยได้คัดเลือกแบบสอบถามเฉพาะชุดที่สมบูรณ์คือไม่มีข้อมูลขาดหาย ได้แบบสอบถามที่นำมาใช้วิเคราะห์ได้รวม 386 ชุด คิดเป็นร้อยละ 70

            วิธีเคราะห์ผล

                        เป็นสถิติพรรณนา และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรของตัวแปรทั้งหมดในการวิจัย

ค่ามัชฌิมเลขคณิต,ค่าเฉลี่ย , ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ค่าร้อยละ, Z-core

6.      ผลการวิจัย พบว่า

1)      ปัจจัยส่งผลต่อความผูกพันกับองค์การทุกปัจจัย ส่งผลผ่านผลรวมทุกด้านของความพึงพอใจในงาน และความพึงพอใจในงานรายด้านอย่างน้อย 1 ด้านไปสู่ความผูกพันกับองค์การ

2)      ผลรวมทุกด้านของความพึงพอใจในงาน เป็นตัวแปรสื่อจากปัจจัยส่งผลต่อความผูกพันกับองค์การทุกปัจจัย ไปสู่ความผูกพันกับองค์การทุกด้าน

3)      ความพึงพอใจด้านเพื่อนร่วมงาน ไม่เป็นตัวแปรสื่อจากปัจจัยส่งผลต่อความผูกพันกับองค์การทุกปัจจัย ไปสู่ความผูกพันกับองค์การทุกด้าน

4)      การได้รับการยอมรับจากองค์การ ส่งผลทางออ้มอผ่านความพึงพอใจด้านพลังจูงใจในงาน ด้านผลตอบแทน ด้านหัวหน้างาน และด้านความก้าวหน้าไปสู่ความผูกพันกับองค์การด้านจิตใจ และผ่านด้านพลังูงใจในงานและด้านผลตอบแทนไปสู่ความผูกพันกับองค์การด้านบรรทัดฐาน และด้านคงอยู่

5)      ความเป็นที่พึ่งพิงได้ขององค์การ ส่งผลทางอ้อมผ่านความพึงพอใจด้านพลังจูงใจในงานไปสู่ความผูกพันกับองค์การด้านจิตใจ ผ่านด้านพลังจูงใจในงานและด้านผลตอบแทนไปสู่ความผูกพันกับองค์การด้านรรทัดฐาน และผ่านด้านหัวหน้างานและด้านผลตอบแทนไปสู่ความผูกพันกับองค์การด้านคงอยู่

6)      ภาวะผู้นำแบบปฏิรูป ส่งผลทางอ้อมผ่านความพึงพอใจด้านพลังจูงใจในงานด้านผลตอบแทน และด้านความก้าวหน้าไปสู่ความผูกพันกับอง๕การด้านจิใจ ผ่านด้านพลังจูงใจในงานและด้านผลตอบแทนในสู่ความผูกพันกับองค์การด้านบรรทัดฐาน และผ่านด้านพลังจูงใจในงาน ด้านหัวหน้างาน และด้านผลตอบแทนไปสู่ความผูกพันกับองค์การด้านคงอยู่

7)      การรับรู้ความยุติธรรม  ส่งผลทางอ้อมผ่านความพึงพอใจด้านพลังจูงใจในงานด้านผลตอบแทน และด้านความก้าวหน้าไปสู่ความผูกพันกับอง๕การด้านจิใจ ผ่านด้านพลังจูงใจในงานและด้านผลตอบแทนในสู่ความผูกพันกับองค์การด้านบรรทัดฐาน และผ่านด้านพลังจูงใจในงาน ด้านหัวหน้างาน และด้านผลตอบแทนไปสู่ความผูกพันกับองค์การด้านคงอยู่

 

หมายเลขบันทึก: 251302เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2009 15:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2012 20:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

องค์กรแห้งการเรียนล้อมวงคุยกันดี แลกเปลี่ยนเรียนรู้

ขอบคุณค่ะที่เข้ามาเยี่ยมชมค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท