ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย


กฎหมาย

กฎหมาย หมายถึง กฎเกณฑ์กำหนดความประพฤติของบุคคลให้ต้องปฏิบัติตาม ถ้าใครฝ่าฝืนจะมีความผิดและถูกลงโทษ มีลักษณะดังต่อไปนี้

1.ต้องเป็นกฏเกณฑ์ที่เป็นตำสั่งหรือข้อบังคับ

2.ออกโดยรัฐหรือเป็นข้อบังคับที่เกิดจากรัฐาธิปัตย์

3.ต้องบังคับใช้ได้กับทุกคน

4.ต้องมีสภาพบังคับ

ความสำคัญของกฎหมายและควมจำเป็นที่ต้องรู้กฎหมาย

มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่จำเป็นต้องอยู่กับคนจำนวนมากและหลากหลายซึ่งมีพื้นฐานครอบครัว การอบรมสั่งสอน วัฒนธรรมและประเพณีที่แตกต่างกันถ้าปราศจากกฎเกณฑ์ข้อบังคับในสังคมเพื่อควบคุมความเป็นระเบียบของคนในสังคม จะทำให้เกิดความสับสนวุ่นวายและไม่มีการเคารพซึ่งกันและกัน ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆมากมาย ดังนั้นเมืออยู่ในสังคมทุกคนจึงต้องรู้กฎหมายเพื่อจะได้ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคม และกฎหมายมีความสำคัญพอสังเขปดังนี้

1.กำหนดบทบาทและพฤติกรรมมนุษย์

2.ทำให้บุคคลรู้สิทธิและหน้าที่ของตนเอง

3.ทำให้เกิดความระมัดระวังตัวเองจากการกระทำผิด

4.เพิ่มประสิทธิภาพให้การประกอบวิชาชีพ

5.สร้างความั่นคงในการปกครองและารบริการงานทางการเมือง

ที่มา:เอกสารประกอบการสอนวิชากฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพพยาบาลและการผดุงครรภ์

ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ (Tags): #กฎหมาย
หมายเลขบันทึก: 250341เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2009 16:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอบคุณนะคะสำหรับความรู้

เอาไปสอบวิชากฎหมายได้เลยนะเนี่ย

อิอิ

^^

ว้าว...ดูดีมีความรู้จาง...

ขอบคุณสำหรับความรู้นะค่ะเนี่ย...

มาเพิ่มเติมตรงนี้ อาจจะสายไปหน่อย หวังว่าคนหลังๆต่อจากนี้ คงจะแยกออกว่ากฎหมายแท้ที่จริงแล้ว ไม่จำเป็นต้อมีโทษเสมอไป

John Austin กล่าวว่า กฎหมาย คือ คำสั่งของรัฐาธิปัตย์ ใครไม่ปฏิบัติ จะต้องถูกลงโทษ

เช่น กฏหมายอาญา หรือ พ.ร.บ. อื่นๆ ที่กำหนดความผิด และกำหนดโทษไว้

เหล่านี้เรียกว่า กฎหมายมีสภาพบังคับและใช้กับคนทุกคนที่ทำผิด เราเรียกว่ากฎหมายตามเนื้อความ

แต่ ยังมีกฎหมาอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า กฎหมายตามแบบพิธี

เพราะว่าใช้กับหน่วยงานของรัฐทุกองค์กร ตามทฤษฎีที่ว่า กฎหมายไม่ให้อำนาจไว้ ทำไม่ได้ ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ

กฎหมายเหล่านี้จึงไม่มีสภาพบังคับกับประชาชนโดยทั่วไป เช่น พ.ร.บ. งบประมาณแผ่นดิน

พ.ร.ฏ เปิด-ปิดประชุมสภา พ.ร.บ. กู้เงิน เป็นต้น

ดังจะเห็นได้ว่า กฎหมาย แท้ที่จริงแล้ว ไม่จำเป็นต้องมีสภาพบังคับเสมอไป

ขอบคุณที่ได้เข้ามาอ่าน และได้เพิ่มเติมตรงนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท