นกฮูก*


รูป บางทีก็ทำให้เกิดตัณหา เช่นรูปดอกไม้สวยๆ รูปอาหาร รูปภูเขาทะเลน้ำตก รูปเหล่านี้ล้วนทำให้ใจหลง จะมีประโยชน์อะไรแม้นเราบันทึกรูปเหล่านี้ เพื่อจะพิจารณากันเพียงเพราะความงามในรูป ถามว่า การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นั้น ควรเป็นไปในทางที่ หลง หรือควรเป็นไปในทางที่ รู้ คือรู้เท่าทันรูป

Bb 

หุ่นฟาง นกฮูกในงาน หุ่นฟางนกจังหวัดชัยนาท ปี 2552 เห็น หุ่นฟางนกฮูกแล้วทำให้ นึกถึง อหังการ์แห่งกาพย์กลอน ของ อัศนี พลจันทร (นายผี) อันปรากฎอยู่ในหนังสือ รำลึกถึงนายผีจากป้าลม ที่ว่า

"อันคนๆ หนึ่งนั้นสำคัญฤาที่รูป สำคัญฤาที่นาม สำคัญฤาที่ฐานะ แท้ที่จริง งานต่างหากที่ควรทึ่ง งานนั้นเพื่อใด เป็นไฉน แลอย่างไร นี้สิสำคัญแท้ อนึ่งเล่าสภาพของข้าพเจ้าผู้เขียน หาไกลกว่าการหวัวไม่เลย ดูดุจ นกฮูก แห่งราตรีกาลที่ร่อนร้องไปเหนือทิวไม้สูง เตือนผู้หลับให้ตื่น เตือนผู้ตื่นให้ลุก เตือนผู้ลุกให้โลด มันจะมีประโยชน์อันใดสำหรับผู้เรืองปัญญาทั้งหลาย ว่าในส่วนวุฒิเล่า ข้าพเจ้าก็ยังเยาว์นักในวุฒิทั้งปวง หากว่าท่านผู้ใดจะเห็นว่าดีบ้าง นั่นก็เป็นเพียงต้นละหุ่งในดินแดนอันไร้รุกขชาติดอกกระมัง"

นั่นประไร ตามองรูป นกฮูก ใจประหวัด คิดถึง คำกล่าวของนายผี (รูป ทำให้เกิด สัญญา/ความจำได้หมายรู้ ฯลฯ)

ปล. รูปข้างบนเป็นรูปนกแสก (นกเค้าลาน) ซึ่งเป็นญาติของนกฮูก ถ้าใครดูรูป แล้วไม่มีความรู้ ไม่พิจารณาก็จะเชื่อผู้เขียน โดยไม่เฉลียวใจ (ว่าไปนั่น) ขอบพระคุณ ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์ ที่เข้ามาช่วยทักท้วง ความไม่รู้ในรูป ของผู้เขียน ครับ :)


T5  

อ้างอิง

คณะกรรมกรรมพิทักษ์วรรณกรรมและลิขสิทธิ์ ของ อัศนี (นายผี) พลจันทร์. รำลึกถึงนายผีจากป้าลมช่วงชีวิตและผลงานที่เพิ่งเปิดเผยเป็นครั้งแรก. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ ดอกหญ้า. 2533

หมายเลขบันทึก: 249492เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2009 12:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สวัสดีครับคุณกวิน

ผมเคยอ่านหนังสือเล่มนี้มานานแล้ว จำรายละเอียดไม่ค่อยได้

แต่ก็ชื่นชมคารมและความคิดก้าวหน้าของนายผีครับ

คุณกวินสบายดีนะครับ

ขอบคุณครับ คุณพี่อาจารย์คนตัดไม้ ครับ กวินเห็นว่าในเวปไซต์แห่งนี้ มีการใช้รูปประกอบกันเยอะ ก็เลยจะเสนอว่าควรใช้ไปในการพิจารณา ให้รู้เท่าทันรูป ด้วย ครับ

  • เห็นรูปกิจกรรมนี้และเทศกาลที่จัดเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดชัยนาทนี้แล้ว นึกถึง ผวจ.ดร.ไพรัตน์ เตชรินทร์ อดีต ผวจ.จังหวัดชัยนาทนะครับ ท่านมีส่วนมากในการริเริ่มและทำให้จังหวัดชัยนาทมีหลายอย่าง อย่างทุกวันนี้  เป็นคนสายตาไกลและมองเห็นโอกาส  ดังนั้น นกฮูกก็ควรเป็นสัญลักษณ์แด่ท่านด้วยเช่นกัน
  • เห็นฝีมือการทำหุ่นฟางขนาดนี้แล้ว ต้องทึ่งฝีมือและจินตนาการของชุมชนนะครับ
  • แต่นกอย่างนี้  แถวบ้านผม (อำเภอหนองบัว  จังหวัดนครสวรรค์) จะเรียกว่านกเค้าลานนะคุณกวิน ส่วนนกฮูกจะตัวย่อมและมีขนหัวเหมือนมีหูสองข้าง นกเค้าลานชอบบินลอยตัวค้างฟ้าล่าหนู เป็นเพื่อนชาวนา
  • ตอนเป็นเด็กผมอยากเป็นนกฮูก  มันดูไม่ลงตัว น่าขำ ดูงุ่มง่าม แต่ไม่เคยเห็นมีใครยิงและล่านกฮูกหรือนกเค้าแมวได้ มันบินได้ก่อนเพียงอ่านการกระดิกตัวของคนแต่ไกลและหลบได้อย่างง่ายๆเวลาลูกหนังสะติ๊กพุ่งเข้าหา (แต่ผมเคยยิงนกฮูกได้ โดยยิงในขณะเคลื่อนไหวและไม่ต้องเล็ง) แล้วก็ชอบที่จะใช้นกฮูกเป็นสัญลักษณ์ตัวเองเวลาทำเครื่องหมายในหนังสือและสิ่งของที่ระลึกของตัวเอง ชอบฟังละครวิทยุคณะนกฮูกตอนหัวค่ำแทบทุกคืน
  • ตอนเรียนศิลปะยิ่งชอบเขียนรูปดีไซน์นกฮูก กระทั่งโตเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย ก็รู้ว่านกฮูกเป็นสัญลักษณ์ที่มีความหมายที่ดี สื่อถึงความรู้และการมีภูมิปัญญา  เป็นสัญลักษณ์ขององค์กรทางปัญญา เช่น เป็นเครื่องหมายของกองทุน WelcomeTrust เครื่องหมายของ Welcome Musuem สำนักพิมพ์ WelcomeTrust มีปรัชญาสั้นๆ ถึงความสำคัญของงานทางความรู้และใช้นกฮูกเป็นเครื่องหมายว่า "ความรู้ ทำให้เรามองเห็นเข้าไปในความมืดเขลา" ประมาณนี้
  • ผมเคยทำสื่อเล่านิทาน ไปร่วมกับคุณครูบ้านนอก ทำสื่อสอนหนังสือและเล่านิทานให้เด็กๆฟัง ที่อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา เล่าเรื่องการอยู่ร่วมกันในสังคมและการจัดความสัมพันธ์กันที่ดีของปัจเจกกับส่วนรวม หรือเป็นวิชาสังคมศึกษาและหน้าที่พลเมืองแบบบูรณาการ  ใช้นกฮูกเป็นผู้ทรงภูมิและเป็นนักปราชญ์ของชุมชน  เล่านิทานให้เด็กๆฟัง  คิดถึงแล้วสนุกจริงๆ  เพราะเดี๋ยวนี้ ความสดอย่างนั้น รู้สึกมันทำย๊าก-ยาก  จึงดีใจมากๆ ที่ได้ทำในตอนนั้น 

ขออภัยครับ ข้างบนนี่เป็นของผมเองนะครับ

ขอบพระคุณ ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์ ที่เข้ามาช่วยทักท้วง ความไม่รู้ในรูป ของผู้เขียน ครับ

และขอบพระคุณที่ได้เล่าประวัติ  ดร.ไพรัตน์ เตชรินทร์ อดีต ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาทครับ

เข้ามาแลกเปลี่ยนเรื่อง "รูป" เพื่อแตกแขนงความคิด ค่ะ

  • รูป เป็นรูปธรรมของสัญญะ ในการสื่อความหมาย ซึ่งอาจตรงไปตรงมา หรือ แฝงเร้น
  •  การหลงรูป โดยไม่เรียนรู้ เป็นการหลงสัญญะ ที่ส่งผ่านรูป
  • แต่บางครั้ง การใช้ รูป เป็นสื่อส่งผ่านความรู้ เพื่อให้เห็นความชัดเจน ก็จำเป็นนะคะ
  • รูป อาจใช้เป็นสิ่งสร้างจินตนาการให้ชัดเจน หรือ เพื่อสร้างจินตนาการ ก็ได้เช่นกัน
  • เช่นเดียวกัน พอเห็นรูป "นก" ที่อาจารย์เอามาฝาก ก็ได้ทั้งสองสิ่งพร้อมๆ กัน
    - สัญญะ ของนกกลางคืน บอกถึงความน่ากลัว น่าค้นหา และความมืดมิด ฯลฯ
    - ความรู้ ที่ได้แลกเปลี่ยนกันว่า อ้อ! มันเป็นนกแสก ญาติกับ นกฮูก ฯลฯ
  • หลายครั้งการสอนหนังสือ ก็ต้องใช้รูปมากมายเช่นกัน เพื่อสร้างความเข้าใจ และจินตนาการค่ะ

 เอา "รูป" มาฝากค่ะ.

ขอบคุณอาจารย์ pis.ratana  และคุณศิลา ครับ

อ้อขอบคุณคนไม่มีรากด้วยครับ

สวัสดีค่ะคุณกวิน

มีเวลา เลยตามมาอ่านบันทึกดี ๆ ของคุณกวินอีกครั้งค่ะ...

ด้วยเหตุที่ชอบถ่ายภาพ ... คงต้องรับคำเตือนของบันทึกนี้ด้วยว่า...ให้ "เท่าทันรูป"

แถมท้ายได้อนุสติว่า...อย่าเชื่อสิ่งที่เห็น หรือ ได้ยินได้ฟังมากเกินไปนัก...เพราะมักจะไม่ค่อยจริงนัก...มักมีการสร้างรูป สร้างภาพ ด้วยเสมอ...

และทำให้คิดไปถึง เรื่อง คำพิพากษา ของคุณชาติ กอบจิตติ นายฟัก คนบ้า เพราะถูกสังคมพิพากษานี่เองหนอ...

ขอบคุณค่ะ

(^___^)

ขอบคุณที่ เข้าใจเจตนารมณ์ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท