สังคมปรนัย..


ผมอยากจะเรียก สังคมที่ผู้คนมีชีวิตอยู่อย่างไร้จินตนาการ และกับตัวเลือกที่ไม่เข้าท่านี้ว่า " สังคมปรนัย

วันนี้แม่ต้อยมีภาระกิจที่จะต้องทำเป็นการส่วนตัว จึงได้ขอลาหยุดงาน เพื่อทำธุระให้เสร็จสิ้นไปในหนึ่งวัน แต่บังเอิญว่าเพียงแค่ตอนเช้าก่อนเที่ยงแม่ต้อยก็เสร็จ ภาระกิจ เวลาที่เหลือจึงได้มีโอกาสอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง ของคุณหมอโกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ เพื่อนร่วมงานที่สนิทชิดเชื้อคนหนึ่ง  หนังสือเล่มนี้มีชื่อว่า สังคมปรนัย

       ที่จริงแม่ต้อยได้ยินชื่อสังคมปรนัยตั้งแต่คราวที่แม่ต้อยได้โทรศัพท์ เชื้อเชิญให้คุณหมอมาบรรยายในการประชุมวิชาการครั้งที่ผ่านมา นับว่าคุณหมอเป็น แขกพิเศษของทางสถาบันฯทุกครั้งที่เราจะมีการประชุมวิชาการ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเป็นความรู้ทางด้าน Humanized health care หรือความรู้ทางด้านการทำงานกับชุมชนอย่างเข้าใจในวิถีความคิด หรือการผสมผสานความรู้ทางวิชาการแพทย์เข้ากับภูมิปัญญาความเป็นอยู่ของชาวบ้านอย่างแท้จริง

คุณหมอโกมาตร ปริญญาเอก ด้านมานุษยวิทยาจากมหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด

      

            หากใครมีโอกาสฟังคุณหมอโกมาตรบรรยาย ก็จะได้รับทั้งความรู้ ความเข้าใจ แง่มุมต่างๆของชีวิต อย่างสนุกสนานเลยทีเดียว  แม่ต้อยเคยได้มีโอกาสคุยกับแพทย์ระดับผู้อำนวยการโรงพยาบาลหลายๆคน โดยเฉพาะโรงพยาบาลชุมชนจะใช้แนวคิดของคุณหมอเป็นแบบอย่างในการทำงานเลยทีเดียว

      

มาถึงเรื่อง สังคมปรนัยแม่ต้อยคุยกับคุณหมอทางโทรศัพท์ เมื่อได้ยินชื่อนี้เป็นครั้งแรก

 

สังคมปรนัย เป็นอย่างไรคะ หมอ เล่าให้พี่ฟังหน่อย ?

 

พี่.. เคยเห็นหรือเคยทำข้อสอบแบบปรนัยไหม ?

ตอนเด็กๆ

 

โอ้ย..เค้ย. เคย มี ๔ ข้อคือ ก.  ข. ค. ง. จ. และ ข้อ จ.ง่ายที่สุด เพราะมันบอกว่า ถูกทุกข้อไงละ  แม่ต้อย รีบแจ้งภูมิปัญญาตัวเอง..

นั่น แหละ .. พี่ ผมจะไปบรรยาย เรื่องนี้แหละนะ ผมอยากบรรยายเรื่อง คุณภาพแบบอัตนัยด้วยนะ

 

ตอนนี้แม่ต้อยนิ่งสักพักแล้ว สานต่อการสนทนาว่า อ๋อ แปลว่า สังคมปรนัย หรือ คุณภาพแบบปรนัยนี่ จะเป็นแบบที่เขากำหนดมาให้เลือก หรือที่ภาษาอังกฤษ เรียกว่า เป็น Choice ให้เลือกใช่ไหม? เราไม่ค่อยได้คิดเองใช่ไหม? ( คุยกับคนฉลาดนี่ ต้องถามมากๆ ผิดไม่เป็นไรคะ?)

 

แม่นแล้วเด้อ..หมอโกมาตรตอบแม่ต้อยทางโทรศัพท์ ในช่วงที่คุยกันสั้นๆ  บางทีเราก็คุยกันด้วยภาษาท้องถิ่นเป็นที่ครื้นเครง แม้ว่าคุณหมอเป็นคนสุรินทร์ และแม่ต้อยเป็นคนเชียงใหม่ ก้ไม่เป็นอุปสรรคใดใด

       มาเจอกันอีกครั้งในห้องประชุมใหญ่ในวันบรรยาย แม่ต้อยจึงได้เข้าใจมากยิ่งขึ้นกับความหมายของสังคมปรนัย ที่เน้นกรอบกฎเกณท์ หรือมาตรฐานอย่างตายตัวจนทำให้ปัจเจกของแต่ละ บุคคลถูกทำลาย หรือไม่เสริมสร้างให้เห็นศักยภาพของตัวเอง

 

ที่จริงคุณหมอยกตัวอย่างที่สนุกสนานจากชีวิตจริงหลายๆเรื่องแต่แม่ต้อยจะขอเอามาเล่าต่อ ในเรื่องที่แม่ต้อยชอบ(และทันได้ฟัง)ดังนี้คะ

       คุณหมอเป็นคนสุรินทร์ เมื่อตอนไปเรียนหลักสูตร มานุษยวิทยาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาด ได้กลับไปทำวิจัยที่บ้านเกิด ได้ไปพบกับครูคนหนึ่ง ชื่อคุณครูเสงี่ยม พวงคำ ซึ่งเป็นครูที่สอนวิชาศิลปะ สมัยคุณหมอเป็นนักเรียนนั่นแหละ ครูได้เล่าให้ฟังว่า มีเด็กคนหนึ่งที่โรงเรียนนี้แหละ เรียนอ่อน สอบตกซ้ำซาก เป็นที่น่าอิดหนาระอาใจของครูผู้สอน ตอบคำถามอะไรก็ไม่ได้ ต้องถูกลงโทษทุกชั่วโมง  เด็กคนนี้ เรียนอ่อน เมื่อถูกลงโทษ จึงไม่มีแก่ใจเรียน ไม่ว่าจะเป็นวิชาเลขคณิต วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย หรือแม้แต่วิชาพละที่ใครๆก็ชอบก็ยังไม่ได้คะแนนดี  สมุดจดการบ้านมีแต่การขีดเขียนการ์ตูนเล่นซะมากกว่า

       เรียกว่าน่าจะเป็นเด็กเหลวไหลไร้อนาคตก็ว่าได้

       เมื่อออกจากโรงเรียน ก็เข้ามาที่กรุงเทพฯเพื่อหาประสบการณ์ด้านศิลปะ ด้านเดียวที่พอมีใจรัก

 

       หลังจากนั้นกลับบ้านเกิด มาเปิดร้านทำป้าย เขียนรูปพอประทังชีวิต

       จะเรียกว่าอะไรก็ตามที .. ทางจังหวัดได้เปิดการประกวดแบบของพระยาสุรินทร์ ภักดี วีรบุรุษผู้สร้างเมืองสุรินทร์.. และแบบที่เขาส่งประกวดได้รับรางวัลชนะเลิศ

       ฝีมือของเขาได้รับคัดเลือกให้สร้างเป็นอนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภักดี ปัจจุบันประดิษฐานไว้ที่ปากทางเข้าเมืองสุรินทร์

       ทุกวันนี้ไม่ว่าใครก็ตามที่จะผ่านเข้าจังหวัดสุรินทร์จะต้องยกมือไหว้อนุสาวรีย์นี้ด้วยความเคารพ

       และครูเสงี่ยม บอกว่า ที่ทุกคนไหว้นั้นเป็นผลงานของนักเรียนคนหนึ่งที่ถูกสังคมตัดสินว่า ล้มเหลว

คุณหมอโกมาตรเล่าเรื่องนี้ อย่างเห็นภาพชัดเจน ระบบหรือสังคมที่มีมาตรฐานหรือตัวชี้วัดที่กำหนดแบบปรนัย จึงจำกัดเฉพาะคำตอบที่กำหนดไว้ หากไม่ใช่ก็ล้มเหลว

" ผมอยากจะเรียก สังคมที่ผู้คนมีชีวิตอยู่อย่างไร้จินตนาการ และกับตัวเลือกที่ไม่เข้าท่านี้ว่า " สังคมปรนัย"

"สังคมปรนัยมีลักษณะสำคัญคือ นำเสนอตัวเลือกแบบสำเร็จรูปแบบง่ายๆ เราไม่ต้องใช้ความคิดหรือสติปัญญามากมายนัก ในการดำรงชีวิตอยู่ในแต่ละวัน."

คุณหมอ สรุปให้ฟังในช่วงสุดท้ายของการบรรยาย....

       มีเรื่องราวดีดีอีกมากในหนังสือของคุณหมอคะ ที่แม่ต้อยนำมาเล่าไม่หมด ใครอยากอ่านคงต้องไปหาเพิ่มเติมเอาเองคะ

 ( อิ อิ ไม่ได้ค่าโฆษณานะคะ )

       แล้วจะเข้าใจสังคมปรนัยได้ชัดเจนขึ้นคะ

สวัสดีคะ

        

 

 

 

 



 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ปรนัย
หมายเลขบันทึก: 249360เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2009 18:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (35)

ตามมาดูอ่าน คุณหมอน่ารักดี หาคำกล่าวที่แม่ต้อยเพิ่งได้รับจาก พอลล่าไม่เจอ อิอิอิๆๆ

น่าสนใจครับ "สังคมปรนัย" คล้ายๆ ชุดความคิดสำเร็จรูป เต็มไปด้วยกฎระเบียบเยอะแยะ เพื่อที่จะนำไปชี้ขาดชีวิตของคนคนหนึ่งว่า "สำเร็จหรือล้มเหลว" ต้องรีบไปหาหนังสือมาอ่านต่อแล้วครับ ขอบพระคุณมากครับ

ฮึ ฮึ

สังคมปรนัยนี่มันไม่เหลือ "ทางเลือก" อื่นนอกเหนือจากที่ให้มาเลยนะครับ

นึกถึงโจทย์บางโจทย์ที่สมัยนึง จะต้องตอบ "ผิดหมดทุกข้อ!!" (อุตส่าห์แต่งโจทย์มาซะยาวนะเนี่ย)

ข้อสอบปรนัยมีนัยว่า คำตอบนอกเหนือจากนี้นั้นไม่มี หรือใช้ไม่ได้ ฉะนั้นก็จะเป็น anti-thesis กับ การฝึกฝนประเภทจินตนาการ หรือการคิดนอกกรอบ และแน่นอน ไม่ได้หวังอะไรมากนักกับนวตกรรม หรือความคิดสร้างสรรค์ (ในเมื่อกรอบมันชัดเจนไว้ขนาดนี้แล้ว)

ข้อดีก็คงจะมี ในการออกข้อสอบประเภทความจำต่างๆ หรือพวกคำตอบที่ "ไม่ดิ้น" เช่นโจทย์คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ (กระนั้นก็ตาม ก็ยังมี defect ที่โจทย์พวกนี้ยังเดาถูกได้ประมาณ 20% หรือมากกว่านั้น หากมี "วิชาเดา" ในการทำข้อสอบ)

และใช้ไม่ได้เลยในการวัดคุณงาม ความดี จิตใจ เจตนคติ (ถ้ามีคนอยากจะวัด...)

มันก็ต้องย้อนกลับไปถามตัวเองอีกทีว่า "จะวัดไปเพื่ออะไร"

ขจิต ฝอยทอง
อาจารย์ หายเหนื่อยหรือยังคะ  อ้าว เรื่องคำกล่าวอยู่ในเรื่อง สัญญา ของหมอเด็กนอก( กรุง) ไงคะ

แสดงว่ายังไม่ได้อ่านนะสิคะ อิอิ

P

อาจารย์ บวรคะ น่าอ่านมากคะ โดยเฉพาะเอาไปใช้ในการทำงานกับผู้คนด้วยความเข้าใจคะ
ขอบคุณมากคะ

แวะมาอ่านบันทึกของแม่ต้อย และบอกว่าคิดถึงแม่ต้อยเช่นกันค่ะ ช่วงนี้ทรายยุ่งมากค่ะ แต่ใกล้จะเคลียร์เสร็จแล้วค่ะ

สังคมปรนัย   ขอยืมคำนำไปใช้บ้างนะครับ

ผมเองอยู่ในวงการศึกษา  ยอมรับครับว่ายังมีการจัดการศึกษาแบบสังคมปรนัยอยู่

             ขอบคุณมากครับสำหรับสาระดีๆ

สังคมปรนัย ที่เน้นกรอบกฎเกณท์ หรือมาตรฐานอย่างตายตัวจนทำให้ปัจเจกของแต่ละ บุคคลถูกทำลาย หรือไม่เสริมสร้างให้เห็นศักยภาพของตัวเอง

 

สวัสดีค่ะ แม่ต้อย

สังคมปรนัย แล้วใช้ทางอื่นได้ไหมค่ะ มันฟิตไปไม่ค่อยชอบค่ะ

อยู่กับกฎเกณฑืเยอะ บางครั้งก็อึดอัดค่ะ

แต่ถ้าไม่มีกฎเลยก็ไม่ดีค่ะ

ขอแบบเป็นกลางดีค่ะ

 Phoenix
สวัสดีคะ  ตอนนี้คนทางเมืองไทยคิดถึงท่านอาจารย์กันมากเลยคะ

โดยเฉพาะแม่ต้อย อิอิ

จะเก็บหนังสือ" สังคมปรนัย"ให้อาจารย์นะคะ

P

สวัสดีคะ ขอบคุณมากนะคะ และดีใจที่อาจารย์ชอบและเห้นว่ามีประโยชน์
ต้องขอบคุณคุณหมอโกมาตรคะ

P

สวัสดีคะ น้อง berger แม่ต้อยว่าทำให้เราเข้าใจ วิธีคิด ได้ลึกซึ้งขึ้น มากคะ
แต่ทางสายกลางดีที่สุดคะ

. ทรายชล
น้องทรายคะ

ดีใจคะ ที่น้องทรายมาคุยคะ

สวัสดีค่ะ แม่ต้อย

แมวเองค่ะ ได้อ่าน "สังคมปรนัย" แล้วหนูมีกำลังใจขึ้นมาทันที

คำว่าสังคมปรนัย เมื่ออ่านแล้ว แมวมองว่า มีทั้งจุดแข็ง และจุดอ่อนค่ะ

จุดแข็งสำหรับการนำไปพัฒนา(ในช่วงเวลาที่จำกัด)คือ เป็นกรอบให้คนกลุ่มใหญ่ที่ต้องการพัฒนาเลือกใช้ได้โดยไม่ต้องเสียเวลาคิดมากมาย เพราะมันเป็นกฏที่สำเร็จรูปแล้ว และที่สำคัญไม่มีทางผิดด้วย เพราะกำหนดคำตอบไว้แล้ว

จุดอ่อน มันเป็นผลกระทบระยะยาวของการเสริมแรง ที่จะสร้างศักยภาพของบุคคลค่ะ คือ ทำให้เขา ขาดความคิดที่เป็นปัจเจกของบุคคล ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นออกมา เพราะถ้าคิดผิดแปลกไปจากกรอบสังคมปรนัยเขาถือว่า "ผิด"

แต่ จุดอ่อน.นี้..เมื่อแมวมองอย่างลึกซึ้งแล้วรู้สึกว่า น่ากลัวจังเลยค่ะ

ถ้าไม่รีบแก้ไข "สังคมอัตนัย"คงหายไปแน่ค่ะ

ดีใจค่ะ ที่มีกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งดังที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลจับประเด็นนี้มาบอกเล่าให้ฟัง ไม่มองข้ามว่าคนที่ไม่ทำตามสังคมปรนัย เป็นคนล้มเหลว "กราบขอบคุณค่ะ" อ.โกมาตร และแม่ต้อยค่ะ ที่ทำให้ ข้าเจ้า มีแฮง มีกำลังใจขึ้นมาเจ้า...

นึกถึงโจทย์บางโจทย์ที่สมัยนึง จะต้องตอบ "ผิดหมดทุกข้อ!!" (อุตส่าห์แต่งโจทย์มาซะยาวนะเนี่ย)

ข้อสอบปรนัยมีนัยว่า คำตอบนอกเหนือจากนี้นั้นไม่มี หรือใช้ไม่ได้ ฉะนั้นก็จะเป็น anti-thesis กับ การฝึกฝนประเภทจินตนาการ หรือการคิดนอกกรอบ และแน่นอน ไม่ได้หวังอะไรมากนักกับนวตกรรม หรือความคิดสร้างสรรค์ (ในเมื่อกรอบมันชัดเจนไว้ขนาดนี้แล้ว)

ข้อดีก็คงจะมี ในการออกข้อสอบประเภทความจำต่างๆ หรือพวกคำตอบที่ "ไม่ดิ้น" เช่นโจทย์คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ (กระนั้นก็ตาม ก็ยังมี defect ที่โจทย์พวกนี้ยังเดาถูกได้ประมาณ 20% หรือมากกว่านั้น หากมี "วิชาเดา" ในการทำข้อสอบ)

และใช้ไม่ได้เลยในการวัดคุณงาม ความดี จิตใจ เจตนคติ (ถ้ามีคนอยากจะวัด...)

มันก็ต้องย้อนกลับไปถามตัวเองอีกทีว่า "จะวัดไปเพื่ออะไร"

ตอนนี้หนูกำลังเรียนซัมเมอร์อยู่ค่ะ

และได้ทำรายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้พอดี

เลยมีโอกาสได้มาอ่านเรื่องของแม่ต้อย

อ่านแล้วประทับใจและได้แง่คิดหลายด้านดีค่ะ

เหมือนเป็นการย้ำเตือนให้เราได้คิดว่าอย่าตัดสินคนเพียงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

เพราะคนเราแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน

ซึ่งหนูก็เคยเจอคนแบบนี้มาบ้างแล้ว

แต่ถ้าคนเหล่านั้นได้มาอ่านคงจะรู้สึกมีกำลังใจมากขึ้นเยอะเลยนะคะ

สังคมปรนัย ชื่อเก๋ดีค่ะ สะท้อนได้หลายอย่าง

ชวนทานผลไม้ เพื่อสุขภาพค่ะ

 

สวัสดีค่ะ เรื่องนี้พอลล่าก็เอามาเขียนค่ะ แต่พอประชุมจริง ไม่ได้ฟัง อ.โกมาตรบรรยายเลยค่ะ มาอ่านจากแม่ต้อย นี่แหละค่ะ อิอิ

รู้สึกน่าสนใจ เข้ามาอ่าน คิดไม่ผิดเลยค่ะ คงเป็นอีกหน้าหนึ่งที่ต้องเปิดอ่านบ่อย ๆ รวมทั้งหนังสือของคุณหมอ ในประเด็นของ สังคมปรนัยด้วยค่ะ

ไม่ได้ฟังอาจารย์เพราะว่า  มัวแต่กังวลในหน้าที่ของตัวเองครับ....

 

ก็ได้บทเรียนเหมือนกันครับ...

ครั้งหน้าจะขอเป็นคนอยู่ข้างล่างจะได้เก็บเกี่ยวความรู้  และกระบวนการที่สำคัญหลายๆอย่างครับ...^_^

 

อืม..แต่ก็ได้ประการณ์แบบก้าวกระโดดกับงานครั้งนี้มากๆครับ

กราบขอบคุณแม่ด้อยครับ...^_^

แวะมาเรียนสังคมปรนัยกับแม่ต้อยครับ

แม่ต้อยสบายดีไหมครับ

คิดถึงๆๆๆ

18. supornpun

ขอบคุณมากคะ คิดว่าคงได้ประโยชน์นะคะ

สวัสดีคะ

14. MeMeKo

น้องMeMeKo คะ  ขอบคุณมากเช่นกันคะ  คงจะเป็นประโยชน์เล็กๆๆๆๆ สำหรับซัมเมอร์นี้นะคะ

 ♥.paula ที่ปรึกษาตัวน้อย✿
ขอบคุณคะ ที่มาเตือนความจำแม่ต้อยนะคะ  อ่านแล้วเป็นไงบ้างคะ

 kmsabai

แม่ต้อยต้องขอขอบคุณคุณหมอมากๆๆ ที่ช่วยทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งคะ

จะว่าไปแล้ว วิชาการทั้งหมดในห้องนี้ อาจจะรวมในตัวคุณหมอหมดแล้ว เพียงอาจจะแค่ขอยืนยันเท่านั้นเองคะ

ใช่ไหมคะ

. ครูโย่ง หัวหน้า~ natadee

ท่านประธานชมรมคนหน้าตาดีคะ  แม่ต้อยรู้นะคะ ว่าครูโย่งนะปากหวานเสียจริงๆนะ

แวะมาอ่านบันทึกของคุณแม่ต้อยครับ

ได้ความรู้และประโยชน์มากครับแล้วจะแว้บมาอีกครับ

ผมได้ออกไปเยี่ยมหน่วยบริการของ สปสช. แล้วมีการเม้นท์เกี่ยวข้องกับงานที่คุณแม่ต้อยรับผิดชอบอยู่ด้วยลองแวะไปอ่านให้คำแนะนำด้วยครับ

ตย. การเม้นท์

หน่วยบริการหรือโรงพยาบาลที่ไปตรวจเยี่ยมนั้นมีการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานดังนี้

  • ผ่านการประเมินเข้าสู่กระบวนการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ของกรมอนามัยเมื่อปี พ.ศ. 2547
  • ผ่านการประเมินคุณภาพตามมาตรฐาน HA บันไดขั้นที่ 1 โดยสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (พรพ.) ตั้งแต่ พฤศจิกายน พ.ศ. 2548
  • ผ่านการประเมินขั้นที่ 2 ตั้งแต่ พฤศจิกายน 2550
  • ปัจจุบัน โรงพยาบาลอยู่ในระหว่างดำเนินคุณภาพตามมาตรฐาน HA สู่ขั้น 2.5 (งานด้านนี้อยู่ในการควบคุมดูแลของแม่ต้อยและคุณพอลล่าครับ)

 

http://gotoknow.org/blog/nusuwutg/249583

 

      ขอบคุณมากครับ

 

เรียน ทานพี่แม่ต้อย บางครั้งชีวิตก็ "ปรนัย"ครับ

คุณสุวัฒน์คะ

ขอบคุณมากคะ

ความจริงเรื่องการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลนั้น  เราบผิดชอบกันทั้งสถาบันฯเลยคะ  แม่ต้อยเป็นเพียงส่วนเสี้ยวเล็กๆเท่านั้นเองคะ

ผู้รับผิดชอบหลักคือ อาจารย์อนุวัฒน์ ศุภชุติกุลคะ

สวัสดีคะ

ถูกต้องแล้วคะ

บางครั้งชีวิตเราก็เป็นแบบปรนัยคะ เช่น พรุ่งนี้ เราจะไปไหนดี

  • ไปซื้อของที่ห้างสรรพสินค้า
  • ไปดูหนัง
  • ดูทีวี
  • ไปจ่ายตลาด
  • ถูกทุกข้อ

5555555   อาจารย์ กาข้อไหนดีคะ

คุณหมอเป็นคนสุรินทร์ ...

กำลังรู้จากแม่ต้อยเองนะครับ

คนบ้านเดียวกัน...^_^...

30. kmsabai

นี่แสดงว่าคนสุรินทร์นี่  ระดับไม่ธรรมดานะคะ  อย่างน้อยๆ สองคนที่รู้จักนี่ก็เยี่ยมสุดยอดแล้ว   แต่เอ้ะ..ปีนี้เป็นปีแรกที่รพ.สุรินทร์ ได้รับรางวัล Humanized health care ทั้งระบบ..

ใช่เลยละคะ

เอา link ธรรมะ จากพ่อแม่ครูอาจารย์มาฝาก่อนนอนครับ  ที่กัลญาณมิตรมาลงไว้

http://gotoknow.org/blog/emptymind/249525

...

บุญรักษา  ธรรมคุ้มครองครับ...

แวะมาที่บันทึกนี้อีกครั้ง เพื่อขอบคุณที่ทำให้รู้จัก"สังคมปรนัย" (ไปตามหาหนังสือได้แล้วครับ อ่านแล้ววางไม่ลง) ขอบคุณอีกครั้งครับผม

P

  ดีใจด้วยคะ ที่ได้อ่านเล่มจริงๆ ขอบคุณเช่นกันคะ

 

คุรหมอคะ  ขอบคุณมากคะ อนุโมทนาบุญด้วยคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท