มาแล้วภาษาเหนือเบื้องต้นที่ควรรู้


กำเมืองเจ้า

บอกรายละเอียดคร่าวๆเกี่ยวกับภาษาเหนือจ้า :
ภาษาเหนือฟังแล้วมัน จะแบบ เหมือนกับ สุภาพๆอะ แต่พวกที่ไม่สุภาพจะไม่ค่อยพูด ส่วนภาษาอีสานมันจะรู้สึกแบบ ฟังแล้วดูตรงๆ ไม่อ้อมค้อม บางคำฟังแล้วเพราะ อย่างเช่น อีสานแท้ อีสานลาว ประมาณนี้อะ แล้วภาษาเหนือ คำว่า "เจ้า" ที่ได้ยินทางทีวี มันเป็นของผู้หญิง ส่วนชายก็จะพูด "ครับ" เหมือนทั่วไป แล้วมันก็จะมีพยัญชนะต่างจากภาษากลาง เช่น
* ร ในภาษากลาง พอพูดในภาษาเหนือก็จะเป็น ฮ อย่างคำว่า "ไปเรียนกันเถอะ" ก็จะเป็น "ไปเฮียนกันเต๊อะ"
* จาก "ถ" ในภาษากลาง ก็จะเป็นตัว "ต"
* จาก "ช" ก็จะเป็น "จ" เช่นคำว่า "ชาวเหนือ" ก็จะเป็นคำว่า"จาวเหนือ" "เชียงราย" ก็จะเป็นคำว่า "เจียงฮาย"
* แล้วก็แบบ พวกคำว่า "มั๊ย" "ปะ" จะมีคำพิเศษๆพวก "ดีก่อ?" แปลว่า "ดีมั๊ย" ส่วนอีสานก็จะใช้คำว่า "ดีบ่"
* เอ่อ อะไรอีกวะ คำว่า"ใช่มั๊ย" จะเป็น"ใช่ก่อ" หรือ "ก๊ะ"
* "ไว้ใจได้มั๊ย" ก็จะพูดว่า " ไว้ใจได้ก๊ะ"
* "นู่น" (บอกทิศ) จะใช้คำว่า "ปู๊น"

ที่ได้ยินคำพูดที่ว่า "อู้กำเมือง" นี่คืออะไรหรอ? :
กำเมือง ก็คือ ภาษาเหนือที่ใช้ในเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง อย่างพะเยานี่ก็มีหลายภาษา ที่หมูบ้านเพื่อนที่อยู่ในอำเภอเชียงคำก็เป็น "ภาษาลื้อ" คำแปลกๆในภาษาเหนือ ก็เช่น "ลงต๊อง" แปลว่า "ท้องเสีย" ประมาณนี้นะ

 

ภาษาเหนือ

ภาษาเหนือหรือภาษาล้านนาเป็นภาษาย่อยหรือภาษาถิ่นของภาษาไทย ใช้กันในดินแดนล้านนา 8 จังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน

ความแตกต่างของภาษาพูด (คำเมือง) ระหว่างภาษากลางและภาษาเหนือคือ การใช้คำศัพท์ พยัญชนะ สระ หรือวรรณยุกต์ต่างกัน ตัวอย่างเช่น

คำศัพท์ต่างกัน
(ภาษากลาง - ภาษาเหนือ)

ยี่สิบ - ซาว
ไม่ -
บ่
เที่ยว - แอ่ว
ดู - ผ่อ
สวย - งาม
อีก - แหม
นาน - เมิน
สนุก, ดี, เพราะ - ม่วน
อร่อย - ลำ
ข้าวเช้า - เข้างาย
ข้าวเที่ยง - เข้าตอน
ข้าวเย็น - เข้าแลง

พยัญชนะต่างกัน
เชียงใหม่ -
เจียงใหม่ (ภาษาเหนือไม่มีเสียง ช ช้าง)
ร้อน - ฮ้อน (ภาษาเหนือไม่มีเสียง ร เรือ)
พี่ - ปี้
ที่ - ตี้

สระต่างกัน
เห็น -
หัน
เอว - แอว
ให้ - หื้อ

วรรณยุกต์ต่างกัน
กิน -
กิ๋น
จาน - จ๋าน

ประโยคสุภาพ
ครับ -
คั่บ
ค่ะ - เจ้า

ตัวอย่างวลีที่ใช้บ่อย
สวัสดีค่ะ -
สวั๋สดีเจ้า
สบายดีไหม - สบายดีบ๋อ
เป็นอย่างไรบ้าง - เป๋นจะใดพ่อง
มาจากไหน - ลุ่กไหนมา
กินข้าวแล้วหรือยัง - กิ๋นเข้าแล้วกา
อร่อยไหม - ลำก่อ
ขอบคุณมาก - ยินดีจ้าดนัก
ขอโทษ - ขอสูมาเต้อะ
ไม่เป็นไร - บ่เป๋นหยัง
จะกลับก่อนนะ - จะปิ้กก่อนเน่อ
พี่ชายชื่ออะไรค่ะ - อ้ายจื้ออะหยังเจ้า
คอยเดี๋ยวนะ - ท่ากำเน่อ
ไปทางไหน - ไปตางใด
เท่าไหร่ - เต้าใด
แล้วพบกันใหม่ - แล้วป๋ะกันใหม่

ที่มา:http://www.geocities.com/chiangmaivegetarian/language/language.htm มังสวิรัติเชียงใหม่

 

 

คำสำคัญ (Tags): #กำเมือง
หมายเลขบันทึก: 248586เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2009 15:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (36)

อยากรู้ว่ารักมักมายภาษาเหนือพูดว่าไงอ่ะ

สึ่งตึง แปลว่าโง่คับ

ในบันทึกของปุ้ยก็มีนะจ๊ะ...ลองเข้าไปดูนะ...ร้อยเรื่องเมืองล้านนา...อิอิ...ช่วยการเผยแพร่วัฒนธรรมล้านนาจ้า..

คนเมืองเหนือ ต้องอู้กำเมือง เป็นการอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น ภูมิใจค่ะ

ภาษาถิ่นแต่ละที่ต่างก็มีเอกลักษณ์อ่ะนะ คนแต่ละท้องถิ่นก็ควรจะภูมิใจในการพูดภาษาถิ่นของตนเองเนาะ

คำว่า " รักมักมาย " เหนือเค้าพูดว่า ฮักมักมาย , ฮักปะล้ำปะเหลือ , ฮักปะเล้อปะเต๋อ , ฮักหลายๆ

เป็นคนใต้แต่ชอบภาษาเหนือ

ไม่รู้ทำไม

ภาษาบ้านเองไม่ค่อยชอบ

แต่ก็พูดได้มั่งแหละ

ใช่เจ้า

เราก็พูดเหนือนะ

แต่เราพุดเจ้าลงท้ายคำไม่เป็นอ่ะ

เพราะเราเป็นคนเหนือประยุกต์

แต่คำอื่นก้พูดเหมือนกัน

อืม

เมื่อก่อนเราเคยอายที่พูดภาษาเหนือ

แต่ตอนนี้ไม่ล่ะ

ภูมิใจมากกว่า

จ๊าดลำ

อิอิ

รักมายภาษาเนหือเค้าพูว่า

"ฮักจ๊าดนัก"

ด.ช.ธีรศักดิ์ สงวนศรี

ใช่เจ้า

เราก็พูดเหนือนะ

แต่เราพุดเจ้าลงท้ายคำไม่เป็นอ่ะ

เพราะเราเป็นคนเหนือประยุกต์

แต่คำอื่นก้พูดเหมือนกัน

อืม

เมื่อก่อนเราเคยอายที่พูดภาษาเหนือ

แต่ตอนนี้ไม่ล่ะ

ภูมิใจมากกว่า

สึ่งตึง แปลว่าซื่อบื้อเน้อ

ง่าว แปล ว่าโง่

เฮาอยู๋ ชาวกังราว เน้อ

ไป๋ล่ะเน้อ ฮักเน้อ ละอ่อนง่าว

ภาษาเหนือ เป็นภาษาที่พุด ยากมากเลยค่ะ

แต่ ก้อยากเรียนรุ้ให้มากๆ ยากพุดภาษาเหนือให้ได้

สนุกดี ....

ดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีมากมากมากมากมากมากมากมากมากมากมาก 55555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555

ฮักจาวเหนือแต้ๆ เจ้า จาวเหนือน่าฮักน้อเจ้า บ่ใจ่จาวเหนือเจ้า แต่เป็นที่รักชาวเหนือคร้า

กำลังจะเป็นสะใภ้เหนือคะ ก็เลยเข้ามาผ่อ เพราะอู้คำเมืองอู้บ่จ้าง จ้าว

เทอรู้มั๊ยเทอเปนผุ้ชายคนเเรกที่ฉันรัก และเทอก็ทำให้ฉันเสียใจมากที่สุดเลย พูดยังไง ภาษาเหนือ ชอบค่ะ อยากพูดได้ อิอิ : ))

พี่ค่ะ แหลว หรือแหล๋ว แปลว่าอะไรค่ะ คนที่บ้านชอบเรียกมาตั้งแต่เด็กแล้ว

รักมากมายภาษาเหนือ พูดว่า ฮักแต้ฮักว่า ค่ะ

เเล้วคำว่า เค้าไม่เคยเบื่อเตงเลยนะ

แล้วคำว่าฉันเสียใจ

เทอรู้มั๊ยเทอเปนผุ้ชายคนเเรกที่ฉันรัก และเทอก็ทำให้ฉันเสียใจมากที่สุดเลย

ภาษาถิ่นเหนือ : ตั๋วฮู้ก่อว่าตั๋วเป๋นป้อจายคนแรกเลยตี้ย๊ะฮื้อเปิ้นฮักตั๋ว แหมบ่ปอตั๋วก่ะย๊ะฮื้อเปิ้นเสียใจ๋ตี้สุดเลยฮู้ก่อ

ผมคนอีสาน อยู่ หนองคาย แต่อยากพูด ภาษาเหนือ ถ้าพูดได้ คือความสุดยอดใน ชีวิต ของผมเลย แต่ก็จะฝึกไปเลื่อยๆ

ไปยังที่พักภาษาเหนือ อีสานว่ายังไงค่ะ

ตะก๋อนผมอายเวลาอู๋ภาษาเหนื๋อ กับคนอื่น

แต่ต๋อนนี้ผม บ่ะเกยอ่ายเลยครั๋บ เป๋นดี้แฮ๋มได๋อู๋และเผ่ยแผร่ภาษาเฮาฮื่อคนฮู้จัก

เอ่อ อะไรอีกวะ คำว่า"ใช่มั๊ย" จะเป็น"ใช่ก่อ" หรือ "ก๊ะ"บ้านเปิ้ลอู้ว่าแม่นก่อ/แม่นก๋า/ไจก้อ แม่นแล้ว/ไจแล้ว

ผมอ่ะ มาอยู่เชียงใหม่ได้ไม่กี่เดือน อยากพูดคำเมืองได้ เวลาเห็นเขาพูดกันแล้วอยากอู้บ้าง โดนพูดกำเมืองใส่ ก็เงิบจ้า อายดิ พูดไม่ได้ มีแต่คนคิดว่าอยู่เชียงใหม่ คงเพราะขาวมั้ง ตอนนี้ก็กำลังหัดพูดบ้าง พิมบ้าง คำง่ายๆแม้สำเนียงจะไม่ได้ แต่ยอมรับว่ายากอ่ะ

คุณเป็นผู้หญิงคนแรกที่ทำให้ฉันรู้จักคำว่ารักและรักมากที่สุด..รักตลอดไปตราบนานแสนนาน

คุณเป็นผู้หญิงคนแรกที่ทำให้ฉันรู้จักคำว่ารักและรักมากที่สุด..รักตลอดไปตราบนานแสนนาน ภาษาเหนือพูดยังไงคะ

หาพจนานุกรม ไทย-ล้านนา ของ รศ.อุดม รุ่งเรืองศรี มาอ่านครับ จะได้ความรู้อย่างถูกต้องเพราะ บางทีก็เป็นคำพูดแบบกลาย ๆ ที่ผสมคำภาษาไทยกลางไปเเล้วครับ มันก็จะผิดเพี้ยงไปแล้ว เช่น คำว่า "พ่อง" ในภาษาเหนือ คือบ้าง ตัวอย่างเช่น หันไผก๋ายมานี่พ่องก่อ แปลเป็นภาษากลางได้ว่า (หัน)เห็น (ไผ)ใคร (ก๋าย)ผ่าน มานี่(มานี่) (พ่อง)บ้าง (ก่อ) มั๊ย คำบางคำ เป็นคำ คำเดียวแต่มีหลายความหมายน่ะครับ สำเนียงและศัพท์ ของแต่ละจังหวัดยังม่เหมือนกันเลย แม้แต่แต่ละท้องที่ในจังหวัดนั้น ๆ ยังไม่เหมือนกันเลยครับ

'ไค่ให้นิ แปลว่าไรครับ

จะไปอึน(ภาษาพะเยา) ภาษาไทยแปลว่าอะไรค่ะ

คำว่า รักมาก จะต้องใช้ ฮักขนาดเน่อ / ฮักแต๊ๆ เน่อ / เปิ้นฮักตั๋วขนาด (ใช้กับคนอายุเท่าหรือน้อยกว่า) / น้องฮักอ้ายเน้อเจ้า (รักพี่มากนะจ๊ะ ผู้ชายอายุมากกว่า) / ฮักซุดหัวใจ๋

เราจะไม่ใช้คำว่า ปะล้ำปะเหลือ เพราะปะล้ำปะเหลือ จะใช้ในลักษณะ มากเกินไป อะไรกันนักหนา เช่น จะมาฮักเปิ้นยะหยังปะล้ำปะเหลือ (จะมารักฉันทำไมนักหนา)

และไม่ใช้คำว่า ปะเล้อปะเต๋อ เพราะคำว่าปะเล้อปะเต๋อ จะใช้กับสิ่งของ แปลว่า มีเยอะแยะเกลื่อนกลาด เช่น จะซื้อข้าวมายะหยังแห่ม มีนี้ปะเล้อ / มีนี้ปะเล้อปะเต๋อละ (จะซื้อข้าวมาทำไมอีกมีอยู่ตั้งเยอะแยะแล้ว)

มีอีกสำนวนหนึ่งที่วัยรุ่นใช้กันทั่วไป ไม่เหมาะกับผู้ใหญ่ เอาไว้คุยกับเพื่อนเช่น “ฮักใบ้ ฮักง่าว” “ฮักใบ้ ฮักบอด” คือรักหน้ามืดตามัว โคตรรักโคตรหลงคำว่า ใบ้ กับ ง่าว มักถูกใช้กับทำทั่วๆไปเช่นกัน เช่น งามใบ้ งามง่าว รวยใบ้ รวยง่าว แปลว่า โคตรๆ สวย โคตรๆ รวยเลย 555

ที่ว่ามา เป็นคำขยาย ส่วนคำกริยา จะไม่ยาก ไปยากตรงคำขยาย Adjเพราะกำเมือง Adj นักใบ้นักง่าว เช่น ดำ =ดำกิมมิม ดำกุมมุม ดำคึลึ ดำคิลิ ดำขะลึงตึง ฯลฯซึ่งคนเขียนเอง ก็ยังแยกไม่ค่อยออกว่ามันต่างกันยังไง 55555555

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท