Supportive gruop


กลุ่มประคับประคอง

              สิงที่ได้เรียนรู้จากการทำ Support  group

กลุ่มเป้าหมาย

      ผู้ป่วยมะเร็งที่มารับการฉายแสง

วัตถุประสงค์

        *  เพื่อให้ผู้ป่วยได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลตนเองภายหลังการฉายแสง

        * เพื่อให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึก

 

ประเด็นในการพูดคุย

        *  ความรู้สึกครั้งแรกเมื่อรู้ว่าเป็นมะเร็ง

        * ประสบการณ์ในการรักษา

        * เกิดอะไรขึ้นภายหลังการฉายแสง ในเรื่องเกี่ยวกับ ภาวะแทรกซ้อนจากการฉายแสงและการแก้ไข  

       * การดำเนินชีวิตเปลี่ยนไปหรือไม่อย่างไร

       * ครอบครัวมีส่วนช่วยอย่างไร

 สิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน

       * ทุกคนต่างรู้สึกตกใจ ทำอะไรไม่ถูกและเสียใจเมื่อรู้ว่าเป็นมะเร็ง

      * ทุกคนต่างผ่านกระบวนการรักษาทั้งที่เหมือนกัน โดยส่วนใหญ่ได้รับการผ่าตัดเอาเนื้อร้ายออกก่อน และมีบางส่วนที่แพทย์แนะนำให้ฉายแสงซึ่งขึ้นกับการแพร่กระจายของโรครวมทั้งอวัยวะที่เป็น

      * เมื่อมาฉายแสงไม่รู้สึกโดดเดียว  ไม่ได้เจ็บป่วยเพียงคนเดียว

       * ส่วนใหญ่ต่างมีปัญหาเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร  เบื่ออาหาร รู้สึกไม่อร่อย รับประทานอาหารรสจัดไม่ได้ บางรายมีคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย ปวดแสบบริเวณที่ฉาย

       

      ****ถึงตอนนี้ก็ทำใจได้  ทุกคนเกิดมาก็ต้องตาย แต่การเจ็บป่วยครั้งนี้มีความหมายได้รับรู้ถึงความรักและความห่วงใยที่ครอบครัวมีให้ ***

 

 

คำสำคัญ (Tags): #กลุ่ม
หมายเลขบันทึก: 248583เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2009 15:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

สวัสดีคะคุณนิตยา

เป็นกำลังใจให้ผู้ป่วยคะ

สรุปประเด็นได้ง่ายและเล่าเรื่องได้ดีคะ

น้องนิตยาคะ เรื่องกำลังใจ และการมีคนที่พุดกันรู้เรื่องนั้นเป็นสิ่งที่จำเป้นและมีความหมายต่อคนไข้มากๆคะ ดีใจที่ได้อ่านบทความนี้คะ

การมี supportive group ทำให้คนไข้มีความรู้สึกไม่โดดเดี่ยว สามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันได้เป็นอย่างดี

ที่สำคัญ ผู้ที่ให้บริการ สามารถเรียนรู้จากคนไข้ได้ด้วยคะ

ขอบคุณพี่ประกายมากค่ะ ที่แวะมาให้กำลังใจ

ขอบคุณอาจารย์ต้อยมากค่ะที่ร่วมแลกเปลี่ยน

มะเร็งเป็นเรื่องที่ผมหวาดวิตกมากเลยทีเดียว..

โดยเฉพาะการจัดการกับความเครียดที่ไม่ลงตัวของตัวเองครับ

ไม่ค่อยมีเวลามากนัก 
ทุกวันเลยซื้อเครื่องออกกำลังกายมาไว้ที่ห้อง..บางทีดูข่าวไปก็ถีบจักรยานไปในตัว..ครับ
เหนื่อยก็พัก...

ตอนนี้ดูเหมือนระบบหายใจดีขึ้นกว่าแต่ก่อน...

 

ขอให้คุณแผ่นดินมีสุขภาพแข็งแรง การเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องพบ ขอเพียงทำวันนี้ให้ดีที่สุด มีความสุขกับทุกๆวันนะค่ะ

แวะมาให้กำลังใจค่ะ..อย่าลืม supportive group ชาว AE ด้วยกันนะคะ..

ขอบคุณพี่ลดามากนะค่ะที่แวะมาให้กำลังใจ ว่าไปแล้วเรื่องของจิตใจเป็นเรื่องค่อนข้างละเอียดอ่อนค่ะ บางครั้งก็ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผล แต่สิ่งที่ทุกคนเหมือนกันคือต่างก็ต้องการความรัก ความเข้าใจ และเหนือสิ่งอื่นใดต้องการการยอมรับค่ะ

ขอเป็นกำลังใจให้ค่ะ

เอาธรรมะเข้าช่วยค่ะ

 

ขอบคุณ คุณberger มากค่ะที่แวะมาให้กำลังใจ

สวัสดีน้องอ๋อย

ขอให้ทำดีต่อไป คนไข้จะได้มีที่พึ่ง 25 มี.ค พี่แดงกับพี่ๆ น้องๆ 3ง ก็ร่วมกันทำ

CoP เรื่อง pain โดยใช้ mind mapping การทำ km ก็ให้ความรู้ แชร์ประสบการณ์ คนไข้เด็กของเรา คงจะทุกข์ทรมานกับการปวดนน้อยลง

เรื่องของความปวดเป็นเรื่องที่ Suffering ทั้งผู้ป่วยและญาติค่ะ แม่คนไข้บอกว่า "ลูกปวดกายแต่แม่ปวดใจยิ่งกว่า" ขอให้มีความสุขกับการทำงานนะค่ะ

แวะมาเรียนรู้จากพี่อ๋อยค่ะ พึ่งสมัคร GTK

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท