ความยากจนในสังคมไทยและภาคชนบท (๑๙): การมีรายได้เพิ่ม สร้างปัญหา มากกว่าการแก้ปัญหา


มีการนำรายได้สร้างเป็นระบบเครดิตให้กับตนเอง มีการออกรถใหม่ ซื้อของใช้บริโภคอุปโภค เครื่องใช้ไฟฟ้า ใหม่ จนทำให้เกิดการมีหนี้สินมากกว่าเดิม

ในระยะกว่า ๕๐ ปีที่ผ่านมา สภาพการพัฒนาโดยทั่วไป ส่วนใหญ่จะเน้นการเพิ่มรายได้เป็นเป้าหมายสำคัญ แต่ในสภาพความเป็นจริงโครงการที่เพิ่มรายได้บางส่วนกลับสร้างปัญหาเศรษฐกิจให้กับครอบครัว และชุมชน มากกว่าเดิม

 

ตัวอย่างเช่น ในช่วงประมาณปีกว่าๆที่ผ่านมา ราคายางพาราเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งน่าจะมีผลดีกับชุมชนที่ปลูกยาพารา แต่กลับปรากฏว่า

 

รายได้ที่เพิ่มขึ้นนั้น ถูกผู้มีรายได้นำไปใช้ในทางที่ไม่ค่อยเป็นประโยชน์ และไม่เป็นการแก้ปัญหาพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจ

 

กล่าวคือ มีการนำรายได้สร้างเป็นระบบเครดิตให้กับตนเอง มีการออกรถใหม่ ซื้อของใช้บริโภคอุปโภค เครื่องใช้ไฟฟ้าใหม่ๆ จนทำให้เกิดการมีหนี้สินมากกว่าเดิม

 

พอระยะต่อมา ยางพารา มีราคาลดลง ทำให้มีภาวะเกิดความลำบาก เพราะภาวะหนี้สินที่สร้างไว้นั้น ไม่สามารถจัดการได้อีกต่อไป  ทำให้ปัจจุบัน ชุมชนตกอยู่ในสภาวะที่หาทางออก เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินที่สร้างไว้ไม่ได้

 

ในสภาวะเช่นนี้ ส่งผลให้ แม้ว่า ยางพาราเป็นพืชที่ทำให้ครอบครัวมีรายได้เพิ่ม ซึ่งทำให้ชุมชนมีรายได้ มาก แต่กลับไม่ได้ทำให้ชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เนื่องจากขาดความรู้และความเข้าใจในการบริหารจัดการเรื่องการใช้จ่ายเงิน อันเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทยที่ไม่รู้จักการจัดการใช้จ่ายเงินที่ได้มา ให้เพียงพอ เหมาะสม

การสร้างกองทุนหมุนเวียน และการนำเงินสู่ชนบท ก็เกิดปัญหาคล้ายๆกัน

ทำให้คนไทยเป็นหนี้กันเกือบถ้วนหน้า แบบต้องรอวันตายจึงอาจจะใช้หนี้ได้(จากเงินฌาปนกิจ...ถ้ามีเหลือ)

 

ฉะนั้น ผมจึงคิดว่า การพัฒนาในระบบสังคมไทยนั้น เราควรหันมาพัฒนาและส่งเสริมให้ชุมชน หันกลับมาเป็นการใช้เศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริ จึงจะอยู่รอดได้ โดย

 

1.   เน้นการพึ่งตนเอง

2.   การใช้จ่ายอย่างประหยัด มีเหตุผล

3.   ลดความเสี่ยง

 

โดยการใช้ความรู้ คู่คุณธรรม เป็นตัวกำกับ

 

โดยที่ ฝ่ายจัดการหรือฝ่ายสนับสนุนในทุกระดับ ควรใช้มาตรการช่วยเหลือ และส่งเสริมให้ประชากรและชุมชน

มีการลดรายจ่าย และลดการเสี่ยงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในทุกรูปแบบ (ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง) มากกว่า การเพิ่มรายได้ มีการอยู่อย่างพอเพียง

 

จึงน่าจะเป็นแนวทางและวิธีหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาระบบเศรษฐกิจระดับครัวเรือน และชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรม

 

เลิกหลงทางกันเถอะครับ

 

เพราะคนไทยจำนวนมากชอบทำตัวแบบ “สามล้อถูกหวย” กันเป็นส่วนใหญ่

มีคนถูกลอตเตอรี่สักกี่คนที่รวยกว่าเดิม ที่ได้ยินข่าวมานั้น มีแต่กลับยากจนกว่าเดิมนั้นมากมาย

นี่คือ ปัญหาการขาดความรู้ในการจัดการเงิน หรือรายได้ที่เพิ่มขึ้นครับ

 

แต่ถ้าเรากลับไปเน้น “ลดรายจ่าย” น่าจะเป็นทางออกที่ดี ที่จะเป็นทางรอดของคนไทย และประเทศไทยครับ

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 248503เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2009 23:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีครับ อาจารย์ ดร. แสวง รวยสูงเนิน

  • อ่านแล้วตรงใจผมรู้ปัญหาสังคมภาคการเกษตรอย่างแท้จริง
  • มีแนวทางที่จะแก้ปัญหา
  • ถ้าขับเคลื่อน เกษตรตำบล อำเภอ ลงไปส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์อย่างจริงจังและป็นรูปธรรม สังคมชนบทจะมียอยยิ้ม หนี้สินจาก ธกส.กองทุนเงินล้าน กขคจ. กองทุนปุ๋ย แม่ค้าหาบเล่ กลุ่มเลี้ยงโค และเงินทุนนอกระบบ ซึ่งวงจรหมุนเวียนไปอย่างนี้ สุดท้ายก็ตายที่ทุนนอกระบบ ขายที่ทำกินหนี้ยังไม่หมด

ถูกต้องที่สุดครับคุณครูแสวง

การลดรายจ่าย = การเพิ่มรายได้ จริงแท้ที่สุด

บางครั้งผมก็ไม่เข้าใจมุมมองของเกษตรกร ที่มักจะเน้นว่าขายผลผลิตให้ได้ราคาสูงๆ และต้องเพิ่มพื้นที่การผลิตให้มากขึ้นไปอีก เมื่อเราเพิ่มพื้นที่การผลิตก็เท่ากับเราเพิ่มค่าใช้จ่ายและเพิ่มผลผลิตที่เสียหายและด้อยคุณภาพเป็นเงาตามตัว ซึ่งสุดท้ายก็จะเกิดปัญหาแบบที่คุณครูแสวงวิเคราะห์เอาไว้เป็นลูกโซ่ตามมา

ผมพยายามบอกชาวสวนอยู่เสมอๆว่า คุณต้องลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของคุณลงหน่ะ ลดสินค้าที่ด้อยคุณภาพลงหน่ะ การลดสินค้าที่ด้อยคุณภาพหรือเสียหาย ก็เท่ากับการเพิ่มกำลังการผลิตโดยคุณใช้ทรัพยากรเท่าเดิมอยู่แล้ว และมันก็จะเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับชาวสวนโดยปริยาย ส่วนการลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจริงๆแล้วก็เป็นการจัดการทางด้านการบริหารธุรกิจหรือแม้แต่การดำรงชีพโดยทั่วๆไปอยู่แล้ว เวลานี้เกษตรกรที่มีที่ดินทำกินเป็นของตัวเองโดยไม่ต้องเช่านายทุน ยังไม่สามารถบริหารจัดการที่ดินทำกินให้เกิดรายรับต่อเนื่องตลอดทั้งปีได้เลย แต่เกษตรกรกับต้องมีค่าใช้จ่ายต่อเนื่องตลอดทั้งปีดังนี้

1.ค่าผ่อนรถ

2.ค่าดอกเบี้ย ธกส.และ เงินกู้นอกระบบ

3.ค่าปุ๋ย ยา

4.ค่าโทรศัพท์มือถือ รวมไปถึงการส่ง sms mms ต่างๆ

5.ค่าเล่าเรียนลูกๆ หลานๆ

6.ค่าอาหารและเครื่องดื่ม โดยเฉพาะ เหล้าและบุหรี่

7.ค่าต่างๆที่เกี่ยวข้องกับปัจจัย 4

เฉพาะข้อ 1-4 ก็ไม่สมดุลกับรายได้แล้วหล่ะครับ

นั่นนะซิ

แล้วเกษตรกรที่ขาดทุนคนไหน จะภูมิใจในอาชีพของตัวเอง

ลำบากซะแล้วครับ

เรียน อาจารย์แสวง

ช่วงหลายปีที่ผ่านผมมีโอกาส ได้ทำงานกับชุมชนโดยเฉพาะเรื่องของแผนชุมชน สิ่งที่พยายามผลักดันในเวทีก็คือให้ลดรายจ่ายเพราะทำได้ง่ายกว่าการเพิ่มรายได้คือไม่ต้องลงทุนแค่หยุดจ่ายในสิ่งที่ควรหยุดก็มีรายได้เพิ่มแล้วครับ ตรงข้ามกับการเพิ่มรายได้ต้องหาทุนเพิ่มหากพลาดพลั้งหนี้ท่วมหัวครับ เพิ่มรายได้กลายเป็นเพิ่มหนี้สิน

ถูกต้องครับ น่าจะเป็นเช่นนั้นครับ

แต่นักวิชาการ "หอคอยงาช้าง" มักจะไม่เข้าใจ และไม่สนับสนุนครับ

และเป็นที่มาของสารพัดโครงการ "เพิ่ม" รายได้

 

ที่ทำให้ชาวบ้านเจ๊งแล้วเจ๊งอีกครับ

และมีหนี้สินกันบานตะไท อยู่จนทุกวันนี้ แหละครับ

สวสัดีค่ะอาจารย์ อาจารย์พูดยังกะมีอาชีพเป็นชาวนาหรือชาวสวนเลยนะคะ   แสดงว่าอาจารย์เข้าใจความเป็นไปจริงๆ

ดิฉันคิดว่า เกษตรกรของไทย ยังขาดความรู้ในการวางแผนการใช้จ่าย จึงอยากมีอยากได้โดยไม่คิดถึงหนี้สินที่ตามมาและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

เงินจากธกส. ดิฉันว่าถ้ายืมมาสร้างหมากสร้างผลคงดี แต่ส่วนมากครึ่งต่อครึ่งของเงินที่กู้มาเอาไปซื้อของฟุ่มเฟื่อยที่เหลือค่อยเอาไปทำการเกษตรค่ะ  หนี้สินเพิ่มเรื่อย ๆชาวนานะ  ไม่มีรายได้แน่นอนนะคะ  แล้วจะเอาเงินไปจ่ายตรงทุกเดือนได้ไงคะ  ดอกจึงเพิ่มเรื่อยๆ  หนี้สินท่วมตัว 

 

 

ผมมีอาชีพที่สองคือเป็นชาวนาครับ

ไม่เชื่อมาดูได้เลยครับ

sears parts

ขอบคุณสำหรับข้อมูล ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท