ปัญหาสุขภาพทำเศรษฐกิจสหรัฐฯ พัง


...

ท่านอาจารย์ฮาโรลด์ แมกกรอ ประธานและ CEO กลุ่มบรรษัทแมคกรอ-ฮิลล์ หัวหน้าการประชุมโต๊ะกลมกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ในสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ปัญหาสุขภาพเป็นตัวทำเศรษฐกิจสหรัฐฯ พัง และจะพังยิ่งกว่านี้ถ้าไม่รีบแก้ไข

การประชุมกลุ่มผู้นำธุรกิจใหญ่ในสหรัฐฯ เปิดเผยว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังพัง และจะพังยิ่งกว่านี้ถ้าปล่อยให้ต้นทุนระบบสุขภาพสหรัฐฯ สูงจนแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ในโลกไม่ได้

...

ต้นทุนระบบสุขภาพของประเทศยักษ์ใหญ่ด้านเศรษฐกิจได้แก่ แคนาดา ญี่ปุ่น เยอรมนี สหราชอาณาจักร(หมู่เกาะอังกฤษ) และฝรั่งเศส ทุกๆ 63 เซนต์ได้ผลดีกว่าสหรัฐฯ ซึ่งลงทุนไปทุกๆ 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ

เมื่อนำต้นทุนสุขภาพไปคำนวณแล้ว... ประสิทธิภาพของระบบสุขภาพสหรัฐฯ มีประสิทธิผลน้อยกว่าประเทศยักษ์ใหญ่อื่นๆ ประมาณ 158.73 เท่า หรือ 15873% ("หนึ่งหมื่อนห้าพันแปดร้อยเจ็บสิบสามเปอร์เซ็นต์)

...

รัฐบาลสหรัฐฯ ใช้งบประมาณด้านบริการสุขภาพ (healthcare) มากกว่าประเทศอื่นๆ ในโลก แต่คนสหรัฐฯ 46 ล้านคน หรือ 15.03% ของประชากร 303 ล้านคนเศษกลับไม่มีหลักประกันด้านสุขภาพ (uninsured; un- = ไม่; insured = มีหลักประกัน) > [ U.S. Census ]

อาจารย์อีวาน ไซเดนเบิร์ก ประธานและ CEO เวอริซอน คอมมูนิเคชันส์ กล่าวว่า สหรัฐฯ ควรจะยกเครื่อง (overhaul) ระบบสุขภาพตั้งแต่เมื่อวานนี้ ("should have been done yesterday.") > [ Reuters ]

...

ที่ประชุมฯ กล่าวว่า กฏหมายสหรัฐฯ บังคับให้นายจ้างจ่ายค่าประกันสุขภาพลูกจ้างทำให้สหรัฐฯ แข่งขันกับประเทศที่กำลังอยู่ในขาขึ้น เช่น บราซิล อินเดีย จีน ฯลฯ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสุขภาพเพียง 15% ของสหรัฐฯ ไม่ได้

อาจารย์ไซเดนเบิร์กกล่าวว่า นี่เป็นประเด็น "ต้มกบ (boiling frog issue)" ซึ่งเป็นคำกล่าวของคนที่ตั้งอยู่ในความประมาท ไม่ตัดสินใจ และไม่ลงมือทำแก้ปัญหาก่อน

...

เปรียบคล้ายกบที่ถูกนำไปใส่ในหม้อ ตั้งบนเตา ตอนแรกกบจะรู้สึก "อุ่นสบาย" หารู้ไม่ว่า อีกไม่นานความสบายจะกลายเป็น "น้ำเดือด"

ทุกวันนี้ค่าใช้จ่ายสุขภาพในสหรัฐฯ ยังเพิ่มแบบเลข 2 หลัก (double-digit = 10% ขึ้นไป) และไม่มีท่าทีว่า จะลดลงได้เลย นอกจากรัฐบาลสหรัฐฯ จะรีบปฏิรูประบบบริการสุขภาพ

...

ทางออกที่สำคัญได้แก่ ต้องควบคุมการใช้เทคโนโลยีที่มีค่าใช้จ่ายสูง และมีความคุ้มทุนน้อย เช่น การตรวจ "สแกนทั้งตัว" ซึ่งอาจจะยาก เพราะธุรกิจบางแห่งในสหรัฐฯ มีระบบ 'kick back' หรือให้เปอร์เซ็นต์ค่าตรวจกับหมอที่ส่งตรวจ

ระบบธุรกิจแบบสหรัฐฯ นั้น... หมอที่ส่งตรวจพิเศษมากๆ จะได้เปอร์เซ็นต์มาก ส่งน้อยได้ส่วนแบ่งน้อย แถมยังเสี่ยงต่อการฟ้องร้องน้อยลง แล้ว "ใครจะไม่ส่งล่ะ"...

...

นอกจากนั้นปัญหาการฟ้องร้องหมอที่ไม่มีเพดาน (unlimited) ในสหรัฐฯ ก็มีส่วนทำให้ค่าใช้จ่ายสุขภาพเพิ่มขึ้น

เนื่องจากหมอส่วนใหญ่จะไม่ยอมวินิจฉัยหรือรักษาโรคอะไร ยกเว้นมีการส่งปรึกษา "ผู้เชี่ยวชาญ" สาขาต่างๆ ให้มากที่สุด ส่งตรวจอะไรต่อมิอะไรให้มากที่สุด เผื่อพลาดพลั้งอะไรขึ้นมาจะได้มีตัวหาร (ทุกคนที่เกี่ยวข้องจะโดนหางเลข หารค่าใช้จ่ายกันหมด)

...

แถมหมอยังต้องประกันค่าฟ้องร้อง ทำให้ต้องคิด "ค่าหมอ (doctor fee)" ให้มากพอที่จะคุ้มกับค่าประกัน

คนอเมริกันประมาณ 170 ล้านคน (56.11%) ใช้ระบบประกันสุขภาพที่นายจ้างออกให้ เมื่อค่าประกันสุขภาพที่นายจ้างแบกรับภาระเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ บริษัทและบรรษัทต่างๆ ก็พากันอพยพโรงงานออกนอกสหรัฐฯ ทำให้ตำแหน่งงานในประเทศลดลงเรื่อยๆ

...

 

ถ้าพวกเราไม่อยากให้เศรษฐกิจไทยล้มละลายแบบสหรัฐฯ... เราควรเน้นการส่งเสริมสุขภาพ เน้นการป้องกันโรค เน้นการรักษาโรคที่จำเป็น อย่าไปเน้นการรักษาโรคที่ไม่มีทางหาย หรือมีค่าใช้จ่ายสูง

ขอให้คนไทยหันมาใส่ใจสุขภาพ และป้องกันโรคให้มาก เพราะชาติที่คนในชาติมีสุขภาพดี (health nation) เท่านั้นที่จะแข่งขันกับนานาชาติได้

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

 

ภาษาอังกฤษสบายๆ สไตล์เรา                       

หัวข้อข่าววันนี้คือ 'U.S. business leaders say hobbled by healthcare cost' แปลว่า "ผู้นำธุรกิจสหรัฐฯ กล่าวว่า ค่าใช้จ่ายดูแลสุขภาพทำแย่ (hobble = ทำให้แย่ ทำให้เดินกะโผลกกะเผลก)" > [ Reuters ]

  

  • 'business' > [ บิ๊ซ - เหนส ] > [ Click ] , [ Click ]
  • 'business' > noun = ธุรกิจ

...

ขอให้ย้ำเสียงหนัก (accent) ตรงเสียงตัวอักษรหนา (ขีดเส้นใต้) เสียงอื่นๆ พูดให้เบาลง ส่วนตัวเสียงที่ใช้อักษรเอียงให้พูดเบาๆ คล้ายเสียงกระซิบ

พยายามอย่าพูดภาษาอังกฤษโดยไม่ย้ำเสียง (ไม่มี accent) เพราะฝรั่งฟังแล้วไม่ค่อยเข้าใจ

...

 > [ FreeFoto ] 

ที่มา                                                       

  • Thank Reuters > Donna Smith. U.S. business leaders say hobbled by healthcare cost > [ Click ] > March 13, 2009. 
  • ขอขอบพระคุณ > อ.นพ.ศิริชัย ภัทรนุธาพร สสจ.ลำปาง + อ.นพ.โอฬาร ยิ่งเสรี ผอ.รพ.ห้างฉัตร + อ.อรพินท์ บุญเสริม + อ.อนุพงษ์ แก้วมา > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • ข้อมูลในบล็อกมีไว้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค > ท่านที่มีโรคประจำตัว หรือมีความเสี่ยงโรคสูง ควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์ > ยินดีให้ท่านผู้อ่านนำไปเผยแพร่ได้ ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า > 14 มีนาคม 2552.
หมายเลขบันทึก: 248393เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2009 12:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อ่านแล้วคล้อยตามครับผม ในเมืองไทยก็ยังมีตัวอย่าง ต้มกบในหม้อน้ำเดือด ให้เห็น เช่น คนที่ทำงานในเมืองใหญ่ หรือนิคมอุตสาหกรรมหนัก เวลาขับรถออกมาจะเห็นฝุ่นดำมากๆในบริเวณดังกล่าว แต่ถ้าเป็นคนทำงานข้างในนั้นจะไม่รู้สึกตัวเลย และคนที่ทำงานในนั้นก็มีปัญหาด้านสุขภาพหลายๆอย่างจากมลพิษดังกล่าวแล้วโดยเฉพาะสารตะกั่ว อัตราการแท้งลูกของหญิงที่ทำงานในนั้นสูงที่สุดในประเทศ(อ้างอิงจากสารคดีในทีวีปีก่อน) แล้วยังมีคนที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจอีกมากมายในนั้น

ขอขอบคุณครับอาจารย์ hall...

  • เรื่อง "กบในหม้อน้ำร้อน" นี่... 

เมืองไทยเรามีสถิติที่น่าสนใจคือ มะเร็งปอดพบมากที่ลำปางกับเชียงใหม่ ซึ่งเป็นเมือง "นักเผา (ขยะ + ใบไม้ + ไร่นา + ป่า)" 

  • เร็วๆ นี้เพิ่งพบปริมาณฝุ่นละอองในอากาศสูงสุดที่ลำปาง
  • คงไม่แปลกอะไรที่มะเร็งปอดพบที่นี่มากที่สุดในประเทศ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท