ความเข้าใจต่างระดับ


ตัดขันธ์ ๕" ไม่ใช่ไปหยุด ปิด หรือดับขันธ์ (รูป->เวทนา -> สัญญา -> สังขาร -> วิญญาณ) เพราะโดยธรรมชาติแล้วมันดับไม่ได้ แต่แค่เราเปลี่ยนความคิดใหม่ว่า "ขันธ์ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์"

 

  • "ตัดขันธ์ ๕" : รูป x เวทนา x สัญญา x สังขาร  x วิญญาณ แต่ก่อนผมเข้าใจว่า "ตัดขันธ์ ๕" คือ การตัดเจ้าความคิดปรุงแต่ง (สังขาร)
  • ขอยกตัวอย่างในทางปฏิบัติ  เช่น กีฬากอล์ฟเป็นกีฬาที่ต้องใช้สมาธิในการตีมาก ถ้าวันไหนมีสมาธิดีก็จะทำให้ตีได้ดี แต่ถ้าวันไหนไม่ค่อยมีสมาธิีวันนั้นก็จะตีได้ไม่ดีเท่าที่ควร สำหรับมือใหม่ ๆ อย่างผม ถ้าหลุมไหนตีตกน้ำหรือตีไม่ดีก็จะโกรธหรือโทษตัวเอง และพยายามตั้งใจตีหลุมต่อไปไม่ให้ผิดพลาดอีก แต่ถ้าผิดพลาดอีกตอนนี้ล่ะครับจิตจะวุ่นวายและทำให้การตีวันนั้นเสียไปเลย เพราะกว่าจะกู่จิตใจกลับมาได้ต้องใช้เวลา ต่อมาผมทดลองประยุกต์ใช้ "ขันธ์ ๕" เข้ากับการตีกอล์ฟ โดยพยายามฝึกตัดเจ้าสังขารหรือความคิดปรุงแต่งออกไป โดยการ ดับขันธ์ หยุด หรือ ปิดขันธ์
  • แต่เมื่อวานเกิดความเข้าใจใหม่ว่า จริง ๆ แล้ว คำว่า "ตัดขันธ์ ๕" ไม่ใช่ไปหยุด ปิด หรือดับขันธ์ (รูป->เวทนา -> สัญญา  -> สังขาร -> วิญญาณ) เพราะโดยธรรมชาติแล้วมันดับไม่ได้ แต่แค่เราเปลี่ยนความคิดใหม่ว่า "ขันธ์ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์"
  • แรก ๆ จะเข้าใจตรงนี้ยากมาก เราจึงต้องใช้ "สติ" และ "สัมปชัญญะ" เข้าช่วยพิจารณาให้เข้าใจ ค่อยเป็นค่อยไป
  • ตอนนี้ก็กำลังพยายามพิจารณาอยู่ตลอดครับ ก้าวหน้าประการใดจะมาเล่าต่อครับ

 

หมายเลขบันทึก: 248275เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2009 23:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2014 13:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

(^___^)

ขอร่วมแจมจากการเรียนรู้...ภายในจากตนด้วยค่ะ

เราพึงน้อมเปิดประตูใจเราให้ ... ธรรม มาเป็นตัวใช้ขันธ์...มากกว่ากิเลส...

ในส่วนที่เป็น "วิญญาณขันธ์"... นั้นกว่าจะตามได้ทันก็กระโจนพรวดพราดไปอย่างรวดเร็วมากๆ... จนต้องเพียรเจริญสติ..

ขอบพระคุณค่ะ

กะปุ๋ม

นอก = ใน = วิญญาณ >>> เก็บ (ลึกลงไปเรื่อยๆ ยากตามทันเสมือนดี่งลงไปตามแรงดึงดูด)

เป็นกระบวนการที่เคลื่อนผ่านไปเร็วมาก... จิตเสพ

และผลักฟุ้งขึ้นมาสู่..การสื่อกระทำภายนอก...อีกครั้ง

เมื่อก่อนคิดว่าต้องควบคุม...แต่ได้รู้ซึ้งแล้วว่า เพียงแค่ทำหน้าที่เป็นผู้เฝ้าดู...ก็เจ๋ง แบบพอได้พอได้...ค่ะ

(^___^)

เรียนท่านอาจารย์

  • "ความรู้" และ "ความเข้าใจ" บางครั้งไม่ไปด้วยกันครับ
  • แต่ หาก
  • "สติมา ปัญญา เกิด ครับ"

สวัสดีครับ ดร.กะปุ๋ม

P

 

  • พึ่งกลับจากการไปสอบสัมภาษณ์ผู้เรียนศูนย์โคราชมาครับ ขอบคุณที่กรุณาร่วมแจมครับ
  • ...เราพึงน้อมเปิดประตูใจเราให้ ... ธรรม มาเป็นตัวใช้ขันธ์...มากกว่ากิเลส...
    : เป็นมุมมองที่ละเอียดและน่าสนใจมากครับ เพราะส่วนใหญ่ตั้งแต่เกิดมาจนถึงก่อนจะเห็นธรรม เราก็ถูกเจ้ากิเลสครอบครองจิตใจเรามาตลอด การภาวนาถอดถอนกิเลส และใส่เกียร์ว่างให้ธรรมมาเป็นตัวใช้ขันธ์ ไม่ธรรมดาจริง ๆ ครับ
  •  จนต้องเพียรเจริญสติ.. : การเจริญสติเป็นหนทางเดียว ถ้าขาดความเพียร หรือ เผลอเมื่อไร ก็โดนเจ้ากิเลสบุกเข้าครอบครองจิตใจทุกทีไป
  • ขอบคุณครับ

 

เรียน ท่านอาจารย์ JJ ครับ

P

3. JJ

 

  • "ความรู้" และ "ความเข้าใจ" บางครั้งไม่ไปด้วยกันครับ : จริงดั่งท่านอาจารย์ว่าไว้จริง ๆ ครับ
  • ตอนนั่งรถกลับจากโคราช ได้อ่านหนังสือ "ไอน์สไตน์พบพระพุทธเจ้าเห็น" เขียนโดย ทันตแพทย์สม สุจีรา หน้า 46 หัวข้อ 20 ว่า ...พระพุทธองค์ใช้หลักการเปรียบเทียบเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น แต่ก็เป็นความเข้าใจตามความนึกคิด (จินตมยปัญญา) ส่วนความเข้าใจที่จริงแท้ (ภาวนามยปัญญา) พระพุทธองค์ก็ทรงอธิบายให้เข้าใจด้วยคำพูดไม่ได้นอกจากลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ธรรมะเป็นของรู้ได้เฉพาะตน (ปัจจัตตัง)...
  • ขอบพระคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท