โครงการลดต้นทุนการผลิตข้าว
โครงการส่งเสริมและขยายผลการลดต้นทุนการผลิตข้าว สถาบันสร้างเสริมนวัตกรรมภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียง กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

เปิดโครงการส่งเสริมและขยายผลการลดต้นทุนการผลิตข้าวในเขตลุ่มน้ำ


คำกล่าวว่า"มีนา มีชาติ" ช่วยกันยกย่องชาวนา ครูติดแผ่นดินข้าว ที่เป็นความหวังของประเทศผลิตอาหารให้เราและชาวโลก มีคุณเอนกอนันต์ต่อสังคมของเรา

โครงการส่งเสริมและขยายผลการลดต้นทุนการผลิตข้าวในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยานี้มีความต่อเนื่องจากสิ่งที่กรมส่งเสริมการเกษตรดำเนินการตั้งแต่ปี 2550 เริ่มจาก

โครงการนำร่องบูรณาการส่งเสริมการผลิตข้าวอย่างยั่งยืนในเขตชลประทานภาคกลาง 8 จังหวัด ผลจากโครงการนี้มีชาวนาสามารถลดต้นทุนการผลิตข้าวได้

จึงมีการถอดบทเรียนจากชาวนาเหล่านี้และนำไปขยายผลต่อในครูติดแผ่นดินข้าว 504 คนใน 56 จังหวัดพร้อมทั้งจัดสถานีเรียนรู้การลดต้นทุนการผลิตข้าวเพื่อเผยแพร่ความรู้สู่เกษตรกรทั่วไปด้วย

ดังนั้นในปี 2552 กรมฯจึงนำหลักการนี้ขยายผลสู่เกษตรกรในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา 20 จังหวัด(ยกเว้นจังหวัดนครปฐมและราชบุรีซึ่งไม่ได้เลือกข้าวเป็นพืชยุทธศาสตร์หลัก)

กิจกรรมแรก  เริ่มต้นด้วยการสร้างความเข้าใจกับทีมงานจังหวัดและคณะทำงานส่วนกลางดำเนินการเมื่อวันที่ 23-25 กุมภาพันธ์ 2552 โดยมีผู้เข้าร่วมเป็น ครุติดแผ่นดินข้าว นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรของจังหวัด เขต และส่วนกลาง รวม 90 คนโดยมีอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร(นายอรรถ อินทลักษณ์) เปิดการสัมมนา ท่านได้กล่าวถึงนโยบายกรมฯให้ความสำคัญเรื่องนี้มากและจะดำเนินการต่อเนื่อง

เนื้อหาการสัมมนามีตั้งแต่

1.การชี้แจงโครงการ การนำเสนอประสบการณ์การปลูกข้าวแบบลดต้นทุนโดยครูติดแผ่นดินข้าวดังนี้

   นายเฉียม เจียมสุภา   จากราชบุรี เรื่องการใช้เมล็ดพันธุ์ดี

   นายธวัช พยุงแก้ว      จากพระนครศรีอยุธยา เรื่องการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและการไม่เผาตอซัง

   นายจำรัส โกมล        จากจังหวัดสิงห์บุรี เรื่องการทำนาแบบนาดำ

   นายวินัย ไชยมโน      จากจังหวัดฉะเชิงเทรา เรืองการผลิตตามมาตรฐาน GAP

2.การบรรยายและฝึกปฏิบัติเรื่องกระบวนการส่งเสริมและขยายผลการลดต้นทุนการผลิตข้าว การเก็บตัวอย่างดินและระบบข้อมูล โดยดร.ประทีป วีระพัฒนนิรันดร์ ประธานมูลนิธิพลังนิเวศและชุมชน และ   นางสาววัลภา สิทธิพิทักษ์ ผู้อำนวยการกลุ่มภูมิสารสนเทศ  ศูนย์สารสนเทศ

3.เว็บไซด์และการรายงานความก้าวหน้าผ่านบล็อกโดยนายวีรยุทธ์  สมป่าสัก จากกำแพงเพชรและนายวิศรุต ตุ้ยศักดาจากสถาบันสร้างเสริมนวัตกรรมภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียง

4.การใช้เครื่องมือวิเคราะห์ดินอย่างง่ายโดยนายสุรโชติ ชาลสิทธิ์ พร้อมการฝึกปฏิบัติ

5.การอภิปรายคณะเรื่องแนวทางในการส่งเสริมการผลิตข้าวและระบบการผลิตตามมาตรฐาน GAP ข้าวโดยนายวิเศษศักดิ์ ศรีสุริยะธาดา นายนิวัตติ เจริญศิลป์ และนางวารี  เจริญผล

6.การถอดรหัสต้นทุนการผลิตข้าวที่ดีโดย ดร.ประทีป วีระพัฒนนิรันดร์

7.การนำเสนอแผนปฏิบัติงานตามโครงการรายจังหวัด กรอบการทำงานส่วนกลางและการทำงานของเขต

แม้ว่าเนื้อหาจะแน่นแต่ผู้เข้าสัมมนาก็ให้ความสนใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งการฝึกปฏิบัติและการอภิปรายมีผู้สนใจสอบถามวิทยากรตลอดช่วงการสัมมนา โดยที่สัมมนาไม่เคยเห็นเครื่อง GPS ก็ได้รับความอนุเคราะห์จากคุณวัลลภาจัดเจ้าหน้าที่นำเครื่องมาให้ผู้เข้าสัมมนาทดลอง นอกจากนี้คุณชัดจากชัยนาทก็ให้วิทยากรและครูติดแผ่นดินข้าวออกรายการวิทยุสัมภาษณ์สดอีกด้วย  หวังว่าโครงการนี้จะสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ในการขยายผลการลดต้นทุนการผลิตข้าวในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้สำเร็จ ชาวนาจะอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี  ดังคำกล่าวที่ตรงข้ามกับคำว่า "สิ้นนา สิ้นชาติ"   เป็น คำกล่าวว่า"มีนา มีชาติ" ช่วยกันยกย่องชาวนา ครูติดแผ่นดินข้าว ที่เป็นความหวังของประเทศผลิตอาหารให้เราและชาวโลก มีคุณเอนกอนันต์ต่อสังคมของเราเป็นอย่างยิ่งคะ

กิจกรรมอื่น ๆ จะได้รายงานเป็นระยะ ๆนะคะ

ธุวนันท์  พานิชโยทัย

13 มีนาคม 2552

หมายเลขบันทึก: 248181เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2009 15:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 17:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • โชคดีที่  CKO มอบให้ผมรับงานนี้
  • ชอบมากเลยครับ
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีคะน้องสิงห์
  • พี่ขอบคุณมากคะที่มาแนะนำการเปิดบล็อกวันสัมมนามีผู้สนใจเยอะมาก
  • คงจะได้ไปเยี่ยมเยียนในพื้นที่นะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท