เรื่องเล่าดีๆ:การเปลี่ยนแปลงจากตัวตนสู่องค์กรและครอบครัว


การจะเปลี่ยนแปลงผู้อื่นนั้นยาก ถ้าคิดจะเปลี่ยนต้องเริ่มที่ตัวเราก่อน

          จากการเข้าร่วมโครงการ IOCS (Intelligent Organization Coaching Service) รุ่นบุกเบิกตั้งแต่ 14-22 มกราคม 2551 และได้พบกันทุก ๆ 2 เดือน เพื่อได้เรียนรู้เพิ่ม และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันระหว่างทีมต่าง ๆ ช่วง 2 เดือนที่ต้องสะสมประสบการณ์ และการทำงานต่าง ๆ เพื่อไปเล่าให้เพื่อน ๆ ฟัง เวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว รู้สึกเหมือนไม่ค่อยได้ทำอะไร หรือว่าเราทำจนกลืนเข้าไปในงานประจำ นับดูพวกเราก็ทำอะไรไปที่น่าภูมิใจไปมากเช่นกัน นั่นแสดงว่าเราดึงประสบการณ์มาบูรณาการกับงานประจำได้กลมกลืน จนเกิดการเปลี่ยนแปลงจากตัวตนสู่องค์กรและครอบครัว

            การเปลี่ยนแปลงจากตัวตนสู่องค์กร...

สิ่งที่เรียนรู้ จากวงสนทนา การแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ ระหว่างวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ และเพื่อน ๆ  ทำให้รู้ว่าการจะเปลี่ยนแปลงผู้อื่นนั้นยาก ถ้าคิดจะเปลี่ยนต้องเริ่มที่ตัวเราก่อน   

แม้จะรู้ทั้งรู้ แต่อดไม่ได้เพราะใจฮึกเหิม  แอบฝันอยากเปลี่ยนคนทั้งองค์กร ทั้ง ๆ ที่คณบดีก็เตือน อย่าใจร้อน และเมื่อศาสตราจารย์ภิชาน ไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ บอกว่า อย่าไป Change the world” โอ้ผู้ใหญ่หลายคนพูดคล้ายๆ กัน จึงเกิดสติเรียกว่า สติมา ปัญญาเกิด เริ่มกลับมายังเป้าหมายเดิม เริ่มต้นจากคนกลุ่มเล็กๆ คนใกล้ๆ ตัว จึงมุ่งไปที่งานทรัพยากรบุคคล และงานประชาสัมพันธ์ ได้น้องศิริบังอร ต่อวิเศษ และน้องจามรี อ่อนโฉม เป็นทีม HR และ PR เกิดงานที่น่าภูมิใจร่วมกัน เรียกว่า เอาแรงกัน การดำเนินงานแบบคนรู้ใจกัน ช่วยกัน มีความสุข สนุก และความภูมิใจ

สรุปผลงานที่ภาคภูมิใจของทีม IOCS และ Target Partners

1.      เรื่องเล่าดี ๆ

o    ผลลัพธ์ จากการสังเกตจากผู้เล่ามีความภาคภูมิใจในสิ่งที่ทำความดี และจากผลงานที่ทำสำเร็จ รวมทั้งขยายผลสู่บทความ เล่าเรื่องความดีถวายสมเด็จพระเทพฯ ในหนังสือที่ระลึกครบรอบ 15 ปี คณะแพทยศาสตร์ จนออกมาเป็นเรื่องเล่า...ดีๆที่คณะแพทย์มน.

2.   โครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) 1 รุ่น 50 คน วิทยากร โดยทีม IOCS  

         และจิตวิวัฒน์

o    ผลลัพธ์ ได้เห็นศักยภาพของบุคลากรเพิ่มขึ้น และสามารถเลือกบุคลากรมาเป็นพี่เลี้ยงในการทำกิจกรรมกลุ่มได้

3.   โครงการพัฒนาองค์การ (OD) หลักสูตร: จากตัวตน สู่องค์กร 6 รุ่น รุ่นละ80- 100 คน

o    ผลลัพธ์ บุคลากรที่เข้าร่วม พูดว่า ได้รู้จักตัวตนของเรา ได้ก้าวออกจากความคิดจำเจ มองอะไรในมุมที่กว้างขึ้น เป็นโครงการที่ทำให้บุคลากรมีส่วนร่วม สร้างสัมพันธภาพระหว่างหน่วยงาน มารวมกลุ่มกันแลกเปลี่ยนทัศนคติ  ความคิดประสบการณ์ มีความรู้สึกที่ดีกับองค์กรมากขึ้น รู้จักและเข้าใจในบทบาทองค์กร และแต่ละหน่วยงานเพิ่มขึ้น เป็นต้น

o       แผนต่อไป

à  แผนขยายผลสู่คณะต่างๆ เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้

4.      โครงการสวนแห่งความสุข เป็นที่ที่ให้นิสิตและบุคลากรมาแสดงพฤติกรรมอาสา และจิตอาสา

ผลลัพธ์ ดำเนินการ 14 ครั้ง มี บุคลากรที่ได้รับการพัฒนามีจิตอาสาอยากแบ่งปันความสุขเล็กๆ ให้กับผู้รับบริการและผู้ร่วมงาน โดยมีส่วนร่วมในโครงการสวนแห่งความสุขเพิ่มขึ้น เช่น ตอนเทียนเจลหรรษา โดยงานทรัพยากรบุคคล, ตอนการ์ดทำมือ โดยน้องแอนงานพัฒนาคุณภาพและน้องอ้องานทรัพยากรบุคคล ตอนปั้นดินโดยน้องแตงพัสดุและน้าและยังมีหน่วยงานจองคิวอีก 3 งาน คือ งานการเงิน, งานประชาสัมพันธ์และงานธุรการ รวมทั้งนิสิตฝึกงานที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวรได้เข้าร่วมโครงการ พัฒนาองค์การ (Organization Development) ได้มีส่วนร่วมในโครงการสวนแห่งความสุข เช่น ตอนระบายสี อารมณ์ศิลป์, ตอนปั้นสบู่ให้เป็นกุหลาบ

                   

5.   โครงการ One Unit One Dream เป็นโครงการที่ให้บุคลากรที่เข้าร่วมโครงการ OD คิดโครงการ/กิจกรรม ตามฝันของตนเอง เช่น โครงการโรงพยาบาลยิ้ม ซึ่งเป็นโครงการที่เกิดการนำเสนอเรื่องยิ้มในเวที Admin. Journal Club และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ต่อยอดทางความคิดในกลุ่ม และเป็นตัวอย่างของ One Unit One Dream

o    ผลลัพธ์ด้านองค์กร พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการ 4 รุ่น บุคลากรดึงศักยภาพของตนเองในการคิดโครงการ One Unit One Dream รวม 41 โครงการ พบว่า มีโครงการสามารถนำไปสู่การปฏิบัติจริง 25 โครงการ เนื่องจากบางโครงการเป็นโครงการที่มีลักษณะคล้ายกัน จึงรวมเป็นโครงการเดียวกัน ได้แก่

1.      โครงการประหยัดพลังงาน

2.      โครงการสวัสดี

3.      โครงการยิ้ม

4.      โครงการทำสมาธิก่อนทำงาน

5.      โครงการกายพร้อม ใจพร้อม เราทำได้ (ออกกำลังกาย)

6.      โครงการขยะรีไซเคิล (Green Heart)

7.      โครงการออมด้วยใจ (ออมวันละบาท)

8.      โครงการ First in First out (5 ส)

9.      โครงการถุงผ้าสวยลดโลกร้อน

10. โครงการเพื่อนช่วยเพื่อน (จิตอาสาจาก Back Office ช่วยงานบริการ)

11. โครงการปันน้ำใจคนใกล้ตัว (รับบริจาคสิ่งของ เพื่อนำไปบริจาคผู้ยากไร้)

12. โครงการปลูกป่าเพื่อโลกสีเขียว

13. โครงการช่วยน้องหายหนาว

14. โครงการพี่เลี้ยงพัสดุ

15. โครงการออกกำลังกายวันละนิด (บุคลากรที่ปฏิบัติงาน ณ ศูนย์แพทย์)

16. โครงการ E- Book OT

17. โครงการเสียงเล็กๆ สู่งานที่ยิ่งใหญ่ (สุนทรียสนทนากับผู้รับบริการ)

18. โครงการสหกรณ์คณะแพทยศาสตร์

19. โครงการ Nursery Baby Care

20. โครงการน้องๆ ยิ้มสดใสเมื่อได้รับบริการ

21. โครงการสุขาวดี (ห้องน้ำในฝัน)

22. โครงการคิดจะพัก คิดถึงกลางวัน

23. โครงการดนตรีบำบัด (Musical therapy)

24. โครงการนาฬิกาแห่งความห่วงใย

        25.โครงการสองมือแห่งความภาคภูมิใจ

โครงการ One Unit One Dream การดำเนินโครงการต้องใช้ระยะเวลาในการติดตามประเมินผลต่อไป ซึ่งโครงการ One Unit One Dream ที่ได้ดำเนินการแล้ว เช่น

                          โครงการยิ้ม ของงานทรัพยากรบุคคลที่ช่วยสร้างสีสันและสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน โดยการนำภาพบุตรของบุคลากรมาติดไว้และเชิญชวนให้ทุกคนยิ้ม เมื่อบุคลากรเดินผ่านรูปเด็กๆ ก็อดอมยิ้มตามไม่ได้

                            โครงการถุงผ้าสวยลดโลกร้อน ของคณะแพทยศาสตร์ ในโอกาสครบรอบ 15 ปี คณะแพทยศาสตร์ ได้จัดทำกระเป๋าถุงผ้าแจกให้กับบุคลากรทุกคน

                              โครงการนาฬิกาแห่งความห่วงใย ของหอผู้ป่วย 7B เป็นการแยกประเภทผู้ป่วย โดยแบ่งนาฬิกาเป็น 4 ส่วน ส่วนที่หนึ่งสีขาว เป็นผู้ป่วยประเภทห่วงใย พักฟื้น, ส่วนที่สองสีเขียว เป็นผู้ป่วยประเภทห่วงใย เจ็บป่วยเล็กน้อย, ส่วนที่สามสีเหลือง เป็นผู้ป่วยประเภทหนักปานกลางและส่วนที่สี่สีแดง เป็นผู้ป่วยประเภทหนัก ซึ้งเป็นแนวคิดของนิสิตพยาบาลและใช้จริงในหอผู้ป่วย 7B

                           โครงการสองมือแห่งความภาคภูมิใจ ของหัวหน้าหน่วยพัฒนาทรัพยากรบุคคล ที่สอนการถักนิตติ้ง โครเชต์  ให้กับบุคลากรได้ถักผ้าพันคอ, ถักเสื้อ, ถักตุ๊กตา, ถักกระเป๋าให้กับคนที่รัก ซึ่งสร้างความภาคภูมิใจให้กับคนสอน, คนทำและคนรับ

                             โครงการปันน้ำใจคนใกล้ตัว (รับบริจาคสิ่งของ เพื่อนำไปบริจาคผู้ยากไร้) อยู่ระหว่างรวบรวมของบริจาคแล้วจะนำไปบริจาคต่อไป

                             โครงการเพื่อนช่วยเพื่อน (จิตอาสาจาก Back Office ช่วยงานบริการ) เริ่มต้นแล้ว โดยงานสุขภาพสัมพันธ์และงานสังคมสงเคราะห์เป็นหัวเรือใหญ่ในการชักนำเพื่อนๆมาจิตอาสากัน

6.   โครงการ One Knowledge One Paper เมื่อเกิดกลุ่มพัฒนางานและบันทึก จะเป็นคลังความรู้ของคณะแพทยศาสตร์ต่อไป

o    ผลลัพธ์ มีการสร้างคลังความรู้ ผ่านทางหน้าเว็บของคณะ และมีการเผยแพร่คลังความรู้ 3 เรื่อง ส่วนที่เหลืออีก 80 เรื่อง ได้เชิญผู้มีความรู้ความสามารถ คือ พันเอก นพ.ทวีศักดิ์ นพเกษร มาถ่ายทอดวิธีการเขียนเพื่อเผยแพร่ความรู้ที่ง่ายต่อความเข้าใจ

7.   การบันทึกผ่าน Blog แหล่งแบ่งปันความรู้ จัดอบรมให้บุคลากร รวม 4 รุ่น รุ่นละ 30 คน ขยายผลต่อในปีงบประมาณ 2552

o       ผลลัพธ์ บุคลากรยังมีส่วนร่วมในการเขียน จำนวนยังน้อยอยู่

8.   การนำเสนอในเวที Admin. Journal Club จากผู้บริหารขยายวงสู่บุคลากรเป็นผู้นำเสนอ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์

o    ผลลัพธ์ บุคลากรในงานทรัพยากรบุคคล และงานประชาสัมพันธ์มีส่วนร่วมในการนำเสนอทุกคน ถึงแม้อายุงานเพียง 6 เดือน และสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จนขยายผลสู่โครงการโรงพยาบาลยิ้ม

9.   การเรียนการสอนโดยงานทรัพยากรบุคคลเป็นผู้ช่วยในการทำกิจกรรมกลุ่มในการเรียนการสอนของนิสิตแพทย์ของ ผศ.นพ.ศิริเกษม ศิริลักษณ์ ซึ่งอาจารย์ได้บูรณาการความรู้ไปสอนนิสิตแพทย์ ชั้นปีที่ 1, 2 และ 3 เช่น ในหัวข้อวิชา Basic communication, Medical communication และInterpersonal Communication Skill โดยใช้กิจกรรมผู้นำสี่ทิศ Voice dialogue รวมทั้งให้ใช้เทคนิคการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น การวาดภาพ, การเล่าเรื่อง, Role Play มานำเสนอ โดยให้นิสิตแต่ละกลุ่มออกมานำเสนออย่างอิสระ รวมทั้งใช้เกมส์มาประยุกต์ในการเรียนการสอน

  ผลลัพธ์ นิสิตสามารถเรียนรู้การทำงานกลุ่มในรูปแบบใหม่ และสามารถนำเสนอได้หลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะนิสิตแพทย์ปีที่ 1 ที่นำเสนอทั้ง Role Play รวมทั้งยังสรุป Model ภาพของการนำเสนอ ถ้าพัฒนาต่อไปจะเกิดระบบการเรียนการสอนที่ดี เป็นการดึงศักยภาพในตัวนิสิตแพทย์

กิจกรรมผู้นำสี่ทิศในนิสิตแพทย์ ชั้นปีที่ 3 ทำให้นิสิตแพทย์ได้รู้จักตัวตน และเพื่อน รวมทั้งพี่เลี้ยงกลุ่มก็ได้เรียนรู้ เพราะคำตอบของนิสิต และคนวัยทำงานจะออกมาต่างกันในการให้ยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม

เกมส์กับการทำกิจกรรมกลุ่มในการสื่อสารนิสิตแพทย์ ชั้นปีที่ 2 นิสิตแพทย์ได้ประเมินเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่สนุก น่าสนใจ ไม่น่าเบื่อ ทุกคนมีส่วนร่วม สร้างสรรค์ ได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม ได้เห็นถึงความสามัคคี และเห็นถึงความตั้งใจในการทำงาน ได้คลายเครียด และยังได้แง่คิดที่ดี

 

 การเปลี่ยนแปลงจากตัวตนสู่ครอบครัว...

เรื่องคิดถึงการเปลี่ยนแปลงในคนครอบครัว เป็นสิ่งที่เกิดเกินความคาดหวังในโครงการ IOCS ปกติการพบกันทุก ๆ 2 เดือน ก็มักแลกเปลี่ยนกันเรื่องงานไม่ได้คุยกันเรื่องลูกเท่าไหร่

ครั้งเมื่อพบศาสตราจารย์ภิชาน ไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ ที่ให้คำแนะนำการทำงานของมูลนิธิสยามกัมมาจล อย่าไป change the world ให้นึกว่าลูกเราทำอะไรได้บ้าง เมื่อลูกอายุ 5 ขวบ และเมื่อว่าลูกอายุ 10 ขวบ จากเราไปอยู่กับผู้อื่น และกลับมาเจอเราเมื่ออายุ 20 ปี      อาวุธ 5 อย่าง ที่เด็กควรมีอะไรบ้าง   

จากที่รู้ตัวว่าเป็นคนทุ่มเทการทำงานให้กับองค์กรมาก กลับบ้านก่อน 6 โมงเย็นก็รู้สึกผิด และก็รู้ตัวว่าตัวเองไม่ใช่แม่คุณภาพ ฟังอาจารย์พูด ไม่ได้แล้ว พัฒนาคนทั้งองค์กรก็คงหมดแรงตาย เริ่มจากจุดเล็กๆ และค่อย ๆ ขยายวง แล้วแบ่งเวลามาพัฒนาตัวเอง ให้เป็นแม่คุณภาพ และคิดอย่างเร็วว่า สำหรับลูกเราซึ่งอายุ 5 ขวบครึ่ง และ 4 ขวบ ใกล้เคียงกับโจทย์ของอาจารย์ อาวุธ 5 อย่าง คือ 1. การมีวินัยในตนเอง 2. การช่วยเหลือตนเอง 3. ฝึกจิตใจ 4. มีความกตัญญู 5. เป็นคนมีความสุข เสาร์- อาทิตย์ (นี่แสดงถึงวันธรรมดายังกลับบ้านหลัง 6 โมงเย็นอยู่) ก็แบ่งเวลาจัดการเรียนรู้ให้กับลูก เช่น วาดรูป, เลี้ยงปลา และการปลูกต้นไม้ การเล่นแบบเด็กสมัยก่อน เช่น เป่ากบ

ต่อยอดจากหลักคิดของอาจารย์  ทำให้มีโอกาสพาลูกไปเข้าค่ายครอบครัวแห่งสติ อริยสร้างได้ ของเสถียรธรรมสถาน ก็ได้เรียนรู้ว่า เราอย่าจัดการกับลูก ลูกสามารถจัดการตัวเองได้ ที่คุณยายจ๋า เน้นในองค์กรอย่ามีนักจัดการมาก ให้มีนักปฏิบัติการมากๆ การเข้าค่ายนี้เด็กก็ต้องการช่วยเหลือตนเอง ส่วนแม่เรียนรู้การปฏิบัติธรรม ด้วยการเฝ้าสังเกตอารมณ์ ความรู้สึกของตนเองระหว่างวัน ได้นำเทคนิคต่าง ๆ มาผสมผสานประสบการณ์ตอนเด็ก ๆ มาขยายและแบ่งปันจัดโครงการครอบครัวสร้างเสริมสุขภาพ ตอนการสร้างเสริมสุขภาพ ผ่านอายตนะ: ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ โดยที่กลุ่มเป้าหมายเป็นบุตรหลานของคณะแพทยศาสตร์ กิจกรรมบางอย่างผู้ใหญ่และเด็ก ไม่เคยเห็นมาก่อน เช่น การปลอกส้มโอให้เปลือกกลายมาเป็นหมวก ซึ่งต่างกับผู้เขียนตอนเด็ก จำความได้ก็ใส่เปลือกส้มโอเป็นหมวกแล้ว ได้เห็นรอยยิ้ม และ เสียงหัวเราะของเด็ก ก็มีความสุขได้ สัญญากับเด็กไว้ว่า จะจัดให้ปีละ 2 ครั้ง ทุกปิดเทอม นี่คือหนึ่งความภาคภูมิใจที่มอบให้กับบุตรหลานของคณะแพทย์

หมายเลขบันทึก: 247928เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2009 11:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 17:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ตอนผมเป็นผู้บริหารโรงเรียนใหม่ๆ คิดแต่จะเปลี่ยนคนอื่นครับ

               ซึ่งเปลี่ยนได้ยากมาก

      ที่ง่ายที่สุด คือ เปลี่ยนที่ตัวเองครับ

 

เขียนดีมากเลยค่ะ

อ่านแล้วรู้สึกว่าผู้เขียนและทีมงานในองค์กรนี้ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ไม่ใช่แค่ทำงานตามหน้าที่อย่างเดียว แต่มีจิตที่อยากพัฒนาเพื่อองค์กรจริงๆ

สุดยอดค่ะ

ขอบคุณทุกกำลังใจนะคะ

มาติดตามหาความรู้ค่ะ ชอบคำ “เราอย่าจัดการกับลูก ลูกสามารถจัดการตัวเองได้” มากมากขออนุญาติเป็นกำลังใจต่อเนื่องนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท