พระที่นั่งอภิเษกดุสิต


พระที่นั่งอภิเษกดุสิต ตั้งอยู่ด้านพระที่นั่งวิมานเมฆทางทิศตะวันออก มีคลองร่องไม้หอมกั้นแนวระหว่างพระที่นั่งทั้งสององค์

 

 

 

 

พระที่นั่งอภิเษกดุสิต

 

     เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาประทับ ณ พระที่นั่งวิมานเมฆ เป็นการถาวรตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๔๔ นั้น ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างท้องพระโรงสำหรับวังสวนดุสิตขึ้นในปี พุทธศักราช ๒๔๔๖ พระราชทานนามว่า “พระที่นั่งอภิเษกดุสิต” ตั้งอยู่ด้านพระที่นั่งวิมานเมฆทางทิศตะวันออก มีคลองร่องไม้หอมกั้นแนวระหว่างพระที่นั่งทั้งสององค์

     สถาปนิกผู้ออกแบบคือ พระสถิตนิมานการ และมีพระยาราชสงคราม (กอน หงสกุล) เป็นนายงานก่อสร้างเช่นเดียวกับพระที่นั่งวิมานเมฆเป็นพระที่นั่งไม้ชั้นเดียวที่ได้รับอิทธิพลการก่อสร้างแบบตะวันตกสถาปัตยกรรมแบบมัว  ประกอบด้วยไม้ฉลุลายปรับด้วยกระจกสี และลวดลายปูนบั้นหน้าบันเป็นตราแผ่นดินที่มุขหน้าและมุขหลังของพระที่นั่ง แล้วเสร็จในปี พุทธศักราช ๒๔๔๗

     พระที่นั่งอภิเษกดุสิตนี้ใช้เป็นที่ประชุมสภาเสนาบดี และใช้เป็นที่สำหรับพระราชทานเลี้ยงแก่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการในงานประจำปีสวนดุสิต  เนื่องในวโรกาส สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัได้ทรงกระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ดำเนินการซ่อมแซมพระที่นั่งอภิเษกดุสิต เพื่อจัดแสดงงานหัตถกรรมองสมาชิก มูลนิธิศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ นับได้ว่าแห่งนี้เป็นพระที่นั่งจัดแสดงงานของศิลปาชีพถาวรแห่งแรกของประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานเปิดพระที่นั่งอภิเษกดุสิต  เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๓๖


         ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านที่จัดแสดง ณ พระที่นั่งอภิเษกดุสิต มีหลายหลายประเภทให้ได้ชม อาทิเช่น งานถมเงิน – ถมทอง งานเครื่องเงิน – เครื่องทอง งานคร่ำ งานตกแต่งด้วยปีกแมลงทับ งานจักส่านไผ่และย่านลิเภา งานดอกไม้ประดิษฐ์ งานแกะสลักไม้ งานทอผ้าไหมมัดหมี่ งานทอผ้าจก  งานประดับมุก และงานเซรามิก เป็นต้น

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #พระที่นั่ง
หมายเลขบันทึก: 247479เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2009 15:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 10:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับ  สวยงามมาก เป็นบุญตาของผมจริงๆ  ได้ทราบประวัติความเป็นมาอีกด้วย หากไม่เข้ามาบันทึกนี้คงไม่มีโอกาสได้เห็นแน่เลย ในในพระบรมมหาราชวัง หรอครับ  ขอบะรัคุณมากครับ

ปิดเทอมนี้..ว่าจะพาครอบครัวและหลานๆไปเที่ยวชมค่ะ..ชอบพระราชวังไม้เป็นพิเศษค่ะง.งามอย่างไทยดีค่ะ..

อยากกให้เด็กเห็นความอลังการในวิถีของไทยด้วยค่ะ..

ขอบคุณภาพงามๆนี้นะคะ..

ชวนไปเที่ยวชมมากๆเลย..^^

(*-*) ขอบคุณผอ.ประจักษ์ และครูแอ๋ว

(*-*) ที่แวะมาเยี่ยมตลอดมา และคอยให้กำลัง

(*-*) ขอบคุณมากค่ะ

                              

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท