ปลาทะเลลดสมองเสื่อมได้จริงหรือ?


 

...

ท่านอาจารย์ดอกเตอร์อลัน ดังเกอร์ และคณะนักวิจัยจากวิทยาลัยอนามัยและโรคเขตร้อน ลอนดอน (London School of Hygiene and Tropical Medicine) ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างคนสูงอายุมากกว่า 800 ราย

ผลการศึกษาพบว่า ปลาทะเลซึ่งมีน้ำมันชนิดดีพิเศษที่เรียกว่า "โอเมกา-3 (omega-3)" ไม่มีส่วนช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์

...

อาจารย์นีล ฮันท์ แห่งสมาคมอัลไซเมอร์กล่าวว่า การกินอาหารสุขภาพแบบเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งเน้นผัก ผลไม้ทั้งผล (ไม่ใช่น้ำผลไม้) ธัญพืชไม่ขัดสี (เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีทหรือขนมปังเติมรำ ฯลฯ) ปลา สัตว์ปีก (เช่น ไก่ เป็ด ฯลฯ ที่นำหนังออกบางส่วน เพื่อลดไขมันอิ่มตัว) และน้ำมันชนิดดี เช่น น้ำมันมะกอก (น้ำมันมะกอกไม่ทนความร้อน ไม่เหมาะกับการผัดหรือทอดความร้อนสูง) น้ำมันรำข้าว น้ำมันคาโนลา น้ำมันเมล็ดชา ฯลฯ มีส่วนป้องกันโรคได้

การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า การไม่สูบบุหรี่ การออกกำลังเป็นประจำ มีส่วนช่วยป้องกันโรคได้... 

...

  

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

 > [ FreeFoto ]

ภาษาอังกฤษสบายๆ สไตล์เรา

หัวข้อข่าววันนี้คือ 'Oily fish dementia boosts queried'  แปลว่า "ปลาที่มีน้ำมันมาก (oily = อุดมไปด้วยไขมัน; ในที่นี้หมายถึงปลาทะเลน้ำลึก เช่น ซาร์ดีน แซลมอน ฯลฯ ไม่ใช่ปลาน้ำจืดหรือ 'freshwater fish') ป้องกันสมองเสื่อมได้หรือ?

(dementia = สมองเสื่อม; boost = กระตุ้น ในที่นี้น่าจะหมายถึงช่วยให้ดีขึ้น; query = สงสัย; to be queried = ถูกสงสัย, ตั้งคำถาม)

  • 'query' > [ ควี้ - หรี่ ] > [ Click ] , [ Click ]
  • 'query' > verb = ตั้งคำถาม, สงสัย, ข้องใจ
  • 'query' > noun = ข้อข้องใจ, ข้อสงสัย

...

  • ตัวอย่าง > Our hotel staff are available to answer customers' queries.
  • แปลว่า > สตาฟฟ์ (staff = เจ้าหน้าที่ คณะทำงาน พนักงาน) โรงแรมของเราพร้อม (available = มีไว้พร้อมใช้งาน) ที่จะตอบข้อซักถามของลูกค้า (customers = ลูกค้าหลายคน)

...

ที่มา                                                       

  • Thank BBC > Emma Wilkinson. Oily fish dementia boosts queried > [ Click ] > 9 March 2009.
  • ขอขอบพระคุณ > อ.นพ.ศิริชัย ภัทรนุธาพร สสจ.ลำปาง + อ.นพ.โอฬาร ยิ่งเสรี ผอ.รพ.ห้างฉัตร + อ.อรพินท์ บุญเสริม + อ.อนุพงษ์ แก้วมา > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • ข้อมูลในบล็อกมีไว้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค > ท่านที่มีโรคประจำตัว หรือมีความเสี่ยงโรคสูง ควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์ > ยินดีให้ท่านผู้อ่านนำไปเผยแพร่ได้ ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า > 8 มีนาคม 2552.
หมายเลขบันทึก: 247306เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2009 16:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 22:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

แวะมาเรียนรู้

ขอบคุณค่ะ

มีความสุขเสมอๆนะคะ

ขอขอบคุณท่านผู้อ่านทุกๆ ท่าน + ทุกๆ ความเห็นครับ...

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท