ท.ณเมืองกาฬ
นาย ทรงศักดิ์ พิราบขาว ภูเก้าแก้ว

. เที่ยวชมพิพิธภัณฑ์สิรินธร


ไดโนเสาร์

พิพิธภัณฑ์สิรินธร : แหล่งเรียนรู้ธรณีวิทยา วิชาการ และซากดึกดำบรรพ์

 

         ซากไดโนเสาร์ที่ภูกุ้มข้าว ต.โนนบุรี อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์  ถูกค้นพบเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๗  โดยพระครูวิจิตรสหัสคุณ (พระญาณวิศาลเถร  รองเจ้าคณะจังหวัดในปัจจุบัน) ต่อมาคณะสำรวจจากฝ่ายชีววิทยา กองธรณีวิทยา (ส่วนวิจัยซากดึกดำบรรพ์และพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา ซึ่งเป็นสำนักธรณีวิทยาในปัจจุบัน) ได้มาขุดสำรวจจนถึงเดือนตุลาคม ๒๕๓๘ 

         พบกระดูกไดโนเสาร์กินพืชมากกว่า ๖ ตัว  มีกระดูกมากกว่า ๖๓๐ ชิ้น ภายในเวลาเพียง ๓ เดือน  ซึ่งซากไดโนเสาร์นั้นมีขนาดใหญ่มีน้ำหนักและมีจำนวนมาก  ทางฝ่ายโบราณชีววิทยา จึงได้จัดตั้งโครงการพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติภูกุ้มข้าวขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๘



         ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ ๒๕๔๘  กรมทรัพยากรธรณีได้จัดสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ขึ้น  เป็นสถานที่จัดแสดงนิทรรศการถาวร เพื่อบริการและเผยแพร่ความรู้ให้กับประชาชน และเป็นสถานที่ใช้ศึกษา ค้นคว้าของนักวิชาการจากทั่วโลก ที่มาแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน 

         ต่อมาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ทรงพระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้ชื่อพิพิธภัณฑ์นี้ว่า พิพิธภัณฑ์สิรินธร เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๙  ปัจจุบันกรมทรัพยากรธรณีได้ขุดค้นซากไดโนเสาร์พบกระดูกมากกว่า ๗๐๐ ชิ้น



         เป็นกลุ่มของกระดูกส่วนขา สะโพก ซี่โครง คอ และหางของไดโนเสาร์กินพืชและกินเนื้ออีกอย่างละ ๒ ชนิด  จากลักษณะของกระดูกพบว่า เป็นไดโนเสาร์กินพืชสกุลภูเวียง (Phuwiangosaurus Sirindhonae) ๑ ชนิด และเป็นไดโนเสาร์กินพืชชนิดใหม่อีก ๑ ชนิด  คาดว่าอาจเป็นไดโนเสาร์สกุลและชนิดใหม่ของโลก 

 

พิพิธภัณฑ์สิรินธรมีทั้งหมด ๘ โซนดังต่อไปนี้ 

 

         โซนที่ ๑  จักวาลและโลก  จักวาล โลก สิ่งมีชีวิตรวมทั้งไดโนเสาร์ถือกำเนิดขึ้นมานานแล้ว  นักวิทยาศาสตร์พยายามค้นหาเรื่องราวที่ลี้ลับนี้ นับจากการระเบิดครั้งยิ่งใหญ่หรือ บิ๊กแบง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของจักรวาล  การกำเนิดของดาวฤกษ์และพัฒนาการของระบบสุริยะและโลก  สัณฐานธรณีต่าง ๆ บนโลกรวมทั้งหินต่าง ๆ บันทึกหลักฐานเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญทางธรณีวิทยา  ตลอดช่วงเวลา ๔,๖๐๐ ล้านปีที่ผ่านมาของโลก  ซึ่งเราจะได้เรียนรู้ไปตามลำดับอายุทางธรณีวิทยา

 









         โซนที่ ๒  เมื่อสิ่งมีชีวิตแรกปรากฏ  ความอิ่มตัวในน้ำภายในชั้นบรรยากาศกลายเป็นฝน  โดยน้ำฝนจะชะล้างเอาแร่ธาตุต่าง ๆ มารวมกันเป็นซุบข้นทางเคมี เมื่อราว ๓,๔๐๐ ล้านปีก่อน  ได้มีการเกิดฟ้าผ่าลงไปยังซุบข้น ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตพวกสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว  โดยพวกมันได้เปลี่ยนแปลงบรรยากาศของโลก  จากที่เคยไม่มีออกซิเจนมาเป็นอุดมด้วยออกซิเจนคล้ายกับพืชในปัจจุบัน

 

 





โซนที่ ๓  มหายุคพาลีโอโซอิก  แบ่งออกเป็นทั้งหมด ๖ สมัย คือ

-         ยุคแคมเบรียน

-         ยุคออร์โดวิเชียน

-         ยุคไซลูเรียน

-         ยุคดีโวเนียน

-         ยุคคาร์บอนิเฟอรัส

-         ยุคเพอร์เมียน

 





         โซนที่ ๔  มหายุคมีโซโซอิค

         ๔.๑  มหายุคแห่งสัตว์เลื้อยคลานและไดโนเสาร์  หลังการสูญพันธุ์ครั้งยิ่งใหญ่ตอนสิ้นสุด มหายุคพาลีโอโซอิก  สัตว์เลื้อยคลานก็ก้าวขึ้นมาครองโลก  ไดโนเสาร์ครองความยิ่งใหญ่บนแผ่นดินเป็นครั้งแรก และสภาพแวดล้อมบนโลกก็ทวีความหลากหลายกว่าครั้งใด ๆ 

         ๔.๒  ไดโนเสาร์ไทย  ไดโนเสาร์ที่พบในประเทศไทยมีอยู่ ๑๖ สายพันธุ์ โดยมีอยู่ ๕ สายพันธุ์ที่ไม่ซ้ำใครในโลก เรียงตามอายุได้ดังนี้
         ๑. ยุคไทรแอสสิก  ได้แก่  อิสานโนซอรัส,  อรรถวิภัชชิ
         ๒. ยุคจูแรสสิก  ได้แก่  สเตโกซอร์,  ฮิบซิโลโฟดอน
         ๓. ยุคครีเทเชียส  ได้แก่  ภูเวียงโกซอรัส สิรินทรเน,  กินรีมิมัส,  สยามโมซอรัส สุธีธรนิ,  สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส,  ชิตตะโกซอรัส สัตยารักษ์กิ


 







         โซนที่ ๕  วิถีชีวิตของไดโนเสาร์  การจำแนกประเภทของไดโนเสาร์แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ ซอริสเซียน ไดโนเสาร์สะโพกแบบสัตว์เลื้อยคลาน แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ เทอโรพอด ไดโนเสาร์กินเนื้อ และเซอโรพอด ไดโนเสาร์กินพืช  ออร์นิธิเชียน ไดโนเสาร์สะโพกแบบนก แบ่งเป็น ๓ กลุ่ม คือ ไทรีโอโพแรน ไดโนเสาร์หุ้มเกราะ  ออร์นิโธพอด ไดโนเสาร์ปากจะงอย  และมาร์จิโนเซฟาเลียน ไดโนเสาร์หัวเกราะ







         โซนที่ ๖  คืนชีวิตให้ไดโนเสาร์  สิ้นมหายุคมีโซโซอิก เกิดการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ครั้งใหญ่  นักวิทยาศาสตร์ต่างพากันสันนิษฐานสาเหตุเอาไว้ได้หลายสาเหตุ เช่น อุกกาบาตพุ่งชนโลก, ภูเขาไฟระเบิด, การคุกคามของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, และสนามแม่เหล็กโลกเปลี่ยนทิศทาง







         โซนที่ ๗  มหายุคชิโนโซอิก  หรือมหายุคแห่งชีวิตยุคใหม่ ครอบคลุมระยะเวลาตั้งแต่ ๖๕ ล้านปี มาแล้วจนถึงปัจจุบัน  แบ่งออกเป็น ๒ ยุคคือ ยุคพาลีโอจีน และยุคนีโอจีน



         โซนที่ ๘  เรื่องของมนุษย์  จาก ไพรเมต หรือสัตว์ในตระกูลลิง  ที่อาศัยอยู่บนต้นไม้ซึ่งถือว่าเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์  ได้แยกตัวเองออกจากเผ่าพันธุ์ลิงใหญ่ เมื่อประมาณ ๗ ๖ ล้านปีที่แล้ว  และเริ่มวิวัฒนาการมาเป็นสัตว์ที่เดิน ๒ ขา  และอาศัยบนพื้นดินแต่ความโดดเด่นของมนุษย์อยู่ที่พัฒนาการทางสมอง และภูมิปัญญาที่มีความฉลาดกว่าสัตว์ประเภทอื่น  ซึ่งเปิดโอกาสให้เราสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ตั้งแต่ขวานหินไปจนถึงคอมพิวเตอร์





พิพิธภัณฑ์สิรินทรมีภารกิจหลัก ๓ ด้าน คือ

         ๑. งานจัดนิทรรศการ  โดยจัดแสดงเป็นนิทรรศการถาวรเกี่ยวกับธรณีวิทยา  ทรัพยากรธรณีและซากดึกดำบรรพ์ โดยเน้นที่ซากไดโนเสาร์ที่ค้นพบในประเทศไทย  ซึ่งแบ่งการแสดงออกเป็น ๘ โซนด้วยกันดังที่ได้กล่าวมาในข้างต้น 

         ๒.  งานกิจกรรมและบริการ  พิพิธภัณฑ์ได้มีการจัดค่ายอบรม สัมมนา และกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเผยแพร่ความรู้ด้านซากดึกดำบรรพ์ และธรณีวิทยา  รวมทั้งการให้บริการด้านอาคารสถานที่กับผู้ที่สนใจ ไม่ว่าจะเป็นห้องประชุม อบรม สัมมนา ห้องอาหาร บ้านพัก ฯลฯ  ซึ่งดำเนินงานโดยวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถ

         ๓.  งานศึกษาวิจัย  ทำการสำรวจศึกษาวิจัย และงานอนุรักษ์ซากดึกดำบรรพ์ที่พบในประเทศไทย เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้กับประชาชน และเป็นสถานที่ใช้ศึกษา ค้นคว้าของนักวิชาการจากทั่วโลก ที่จะมาแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน
 

 

         สถานที่แห่งนี้นับได้ว่าเป็นแหล่งเรียนรู้ธรณีวิทยา แหล่งเรียนรู้ทางวิชาการ และแหล่งเรียนรู้ซากดึกดำบรรพ์ ที่สมบูรณ์ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ผมคิดว่าถ้าจะศึกษาให้ละเอียดแล้วจะต้องใช้เวลากันเป็นวัน ๆ เลยทีเดียวครับ  สมควรเป็นอย่างยิ่งที่เด็กและเยาวชนของไทยทุกคน จะได้มาศึกษาเรียนรู้ ณ ที่นี้... 

 

           พิพิธภัณฑ์สิรินธร ตั้งอยู่ ณ ภูกุ้มข้าว  อ.สหัสขันธ์  จ.กาฬสินธุ์  เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ ๑๗.๐๐ น.  สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ โทร. ๐๔๓-๘๗๑-๐๑๔, ๐๔๓-๘๗๑-๓๙๔ โทรสาร. ๐๔๓-๘๗๑-๐๑๔
  

 

ข้อมูลจาก : เอกสารแผ่นพับแนะนำพิพิธภัณฑ์สิรินทร (SIRINDHORN MUSEUM)

คำสำคัญ (Tags): #ไดโนเสาร์
หมายเลขบันทึก: 247297เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2009 16:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

อยากไปเที่ยว...

ขอบคุณนะค่ะ...

สวัสดีครับ คุณ chipmunks

  • ถ้าแวะผ่านมาใกล้ๆ อย่าลืมไปดูของจริงนะครับ
  • ขอบคุณเช่นกัน   ที่ให้เกียรติเข้ามาเยี่ยมชม

สวัสดีค่ะ..อาจารย์

     ในภาพเป็นสถานที่น่าท่องเที่ยวมากเลยค่ะ..ถ้ามีเวลาว่างก็จะไปเที่ยว..

สวัสดีครับ คุณตัวเรา

  • ขอบคุณมากครับ ที่แวะมาทักทาย
  • อย่าลืมนะครับ ถ้าจะมาเที่ยว ผมและครอบครัวยินดีมากเลย

สวัสดีค่ะอาจารย์..เมื่อวันที่18 มี.ค.นี้ได้เดินทางไปชมพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์แล้ว..ชอบมากค่ะ ได้ความรู้อย่างมาก..ถ้ามีเวลาว่างก็จะไปอีกค่ะ 

สวัสดีครับ คุณตัวเรา

  • ขอบคุณมากที่แวะมาทักทาย
  • นั่นแหล่ะครับของดีเมืองน้ำดำ(กาฬสินธุ์)
  • แปลกแต่จริง ร้อยคำบอกเล่าหรือจะเท่าหนึ่งได้เห็นด้วยตัวเอง
  • อย่าลืมแวะมาเยี่ยมใหม่นะครับ

พานักเรียนไปศึกษา เมื่อ 23 ก.พ.52ค่ะ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชอบมาก

ขอบคุณ ข้อมูลเพิ่มเติมนี้ นะคะ

สวัสดีครับ คณะบุคลากรโรงเรียนบ้านภูมิศาลา

  • ขอบคุณครับที่แวะมาทักทาย
  • มาพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • อีสานเรามีสิ่งสวยงาม  มีคุณค่ามากมาย
  • ภูมิใจกับคนอีสานเรานะครับ
  • ถ้ามีโอกาส  ผมคิดว่าจะจัดทัศนศึกษาไปทางอีสานใต้  ไปเทียวชมโบราณสถานหลายแห่งเพื่อให้เด็กได้ซึมซับคุณค่าสิ่งเหล่านัน
  • แวะมาทักทายกันใหม่นะรับ

สวัสดีค่ะ

  • เป็นบันทึกที่ประทับใจและมีคุณค่ามากค่ะ
  • ขอเก็บไว้ให้เด็กนักเรียนดูนะคะ
  • ขอขอบคุณค่ะ

สว้สดี เช่นกันคุณครูคิม

  • ขอบคุณมากครับคุณครูที่เข้ามาเยี่ยมชมให้กำลังใจ
  • ถ้ามีส่วนใดที่เกิดประโยชน์ผมยินดีอย่างยิ่ง มอบให้เลยครับ
  • อย่าลืมแวะมาให้กำลังใจกับสมาชิกน้องใหม่คนนี้อีกนะครับ

ไปเที่ยวมาแล้วค่ะ น่าเที่ยวมากๆ

อยากให้คนที่ไม่เคยไปลองไปดูนะคะ

พาเด็กๆไปเพื่อการเรียนรู้จะยิ่งดีค่ะ

ภาพสวยนะคะ 

สวัสดีครับ คุณดุจดาว

  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมให้กำลังใจ
  • เป็นสถานที่ผู้คนสนใจมาก คนไปเที่ยวชมมากมาย
  • อย่าลืมแวะมาเยี่ยมกันใหม่นะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท