แนวทางการพัฒนาสถานศึกษา


แนวทางการพัฒนาสถานศึกษา
แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

           แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ประกอบด้วย   การเป็นบุคคลใฝ่เรียนรู้ การมีรูปแบบจำลองทางความคิด     การสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน     การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม    และการคิดอย่างเป็นระบบ

           ผลการวิจัยพบว่าปัญหาหลัก   ได้แก่   ด้านการเป็นบุคคลใฝ่เรียนรู้ ครูมีภาระงานมาก    มีความรับผิดชอบมากเกินไป ขาดแหล่งเรียนรู้สำหรับครูโดยเฉพาะ   ด้านการมีรูปแบบจำลองทางความคิด ครูบางคนยังยึดกรอบความคิดความเชื่อเดิม ๆไม่ค่อยยอมรับการเปลี่ยนแปลง   ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน การนำเสนอความคิดเห็นหรืออภิปรายไม่ได้ถูกนำไปปฏิบัติอย่างจริงจังและความแตกต่างระหว่างวัยทำให้เกิดการปิดกั้นทางความคิด ด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม การที่มีภาระงานมากเกินไปทำให้การเรียนรู้ร่วมกันน้อยลง ด้านการคิดอย่างเป็นระบบ บุคลากรบางส่วนยังไม่เกิดการคิดหรือมองภาพรวมขององค์กร ยังยึดติดเฉพาะกับงานที่ทำหรือได้รับมอบหมาย

           แนวทางการจัดการความรู้เพื่อให้ครูเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ คือ ลดภาระงานพิเศษให้น้อยลง จัดหาแหล่งเรียนรู้ สื่อ อุปกรณ์ อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ครูโดยเฉพาะ    ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงาน เปิดรับการเปลี่ยนแปลง และสิ่งใหม่ ๆ   เปิดโอกาสด้านการแสดงออกทางความคิดอย่างเสรีมากขึ้น     สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม     มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้เพิ่มมากขึ้น ส่งเสริมการทำงานข้ามสายงาน     ส่งเสริมกิจกรรมร่วมคิด ร่วมทำ    เพื่อเป้าหมายและวิสัยทัศน์ร่วมกันขององค์กร

แนวความคิดในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยพัฒนา การศึกษาตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย เชื่อว่าในอนาคตอันใกล้นี้การศึกษาจะไร้ขีดพรมแดน ข้อจำกัดในด้านสถานที่ เวลา และด้านอื่นๆ จะไม่เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้อีกต่อไป โดยเฉพาะการเปิดโอกาสให้ชุมชนมีสิทธิและส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางจัดการศึกษา โดยใช้ชุมชนเป็นฐานในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยระดมทรัพยากรและทุนทางสังคมเข้ามาเป็นปัจจัยในการจัดกิจกรรม ไม่จำเป็นจะต้องมุ่งใช้งบประมาณจากรัฐแต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสและนิมิตหมายที่ดี    ที่ชุมชนจะได้มีส่วนร่วมในการบูรณาการภูมิปัญญาชาวบ้าน จารีตประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นเข้ากับการจัดการศึกษาในชุมชน โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ  

 

ปัจจุบันการศึกษาก้าวเข้าสู่โลกแห่งเทคโนโลยี การจัดการเรียนการสอนก็เปลี่ยนไปในรูป e-learning

ซึ่งต้องสนองตอบการศึกษาได้ทุกรูปแบบทั้งในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย ตลอดจนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองโดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ เพราะฉะนั้นการบริหารจัดการก็จำเป็นต้อง ส่งเสริมและพัฒนาให้ทันกับสถานการณ์ การเปลี่ยนแปลง โดยการพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ ระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ และพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการเรียนการสอนและการปฏิบัติงานในหน้าที่ โดยจัดทำข้อมูลสารสนเทศเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตลอดจนให้บริการทางการศึกษา ส่งเสริมให้มีการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน จัดหา คอมพิวเตอร์ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพในการใช้ปฏิบัติงานที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของงานในการจัดการศึกษา ส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ประโยชน์จาก ICTเพื่อการเรียนรู้ ให้มีการสอนผ่าน e-learning จัดให้มีห้องสมุดอีเลคทรอนิคส์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตซึ่งนำไปสู่สังคมแห่งคุณธรรมและสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้

                                 

หมายเลขบันทึก: 247199เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2009 08:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  •  แนวทางการจัดการความรู้เพื่อให้ครูเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ คือ ลดภาระงานพิเศษให้น้อยลง จัดหาแหล่งเรียนรู้ สื่อ อุปกรณ์ อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ครูโดยเฉพาะ    ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงาน เปิดรับการเปลี่ยนแปลง
  • ผู้บริหารโรงเรียนงานหนักหน่อยนะคะ เพราะต้องขับเคลื่อนทั้งองค์กร
  • เพียงเห็นปัญหาและปิดใจ น่าจะแก้ไขได้ทุกเรื่องนะคะ
  • ขอบพระคุณสำหรับแนวทางที่ดีมาก ๆ ค่ะ

มาอ่านครับอาจารย์

มาเรียนรู้ร่วมกันกับอาจารย์ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท